วันเสาร์, กันยายน 05, 2563

Free อานนท์ : หากไม่สู้วันนี้อย่าหมายนึก วันข้างหน้าจักผนึกคนนับแสน + “ทำไมต้องมาชุมนุม” ฟังเสียงจาก “ทนายอานนท์” ในวันไร้อิสรภาพ… (The Reporters)


ภาพจาก Pensupa Sukkata
...
ประเวศ ประภานุกูล
16h ·

บอกก่อนว่าผมไม่เห็นคำสั่งศาลแบบเต็มๆในเคสอานนท์และไมค์ ข้อเขียนนี้เป็นการวิเคราะห์จากข่าว โดยใช้หลักกฎหมายทั่วไป
หลักกฎหมายในการดำเนินคดีอาญามีว่า...จำเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด
ดังนั้น....ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะปฏิบัติต่อจำเลยเฉกเช่นผู้กระทำความผิดแล้วไม่ได้
เคสของอานนท์และไมค์ เป็นเพียงชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวน(ตำรวจ) ซึ่งยังไม่มีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด แน่นอนว่าหากมีหลักฐานครบถ้วน ตำรวจย่อมส่งสำนวนให้อัยการยื่นฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลได้แล้ว
การที่ตำรวจเพียงแต่นำตัวอานนท์และไมค์ไปฝากขังต่อศาลอาญา จึงบ่งบอกชัดแจ้งว่า....ตำรวจยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะยื่นฟ้องบุคคลทั้งสอง
การฝากขังต่อศาลนี้ เป็นขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายที่ตัดสิทธิของประชาชน การใช้กฎหมายดังกล่าวจึงต้องตีความเคร่งครัดและใช้อย่างจำกัดขอบเขต ข้อสำคัญ จะต้องใช้ควบคู่กับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเรื่อง ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดี นั่นคือ จะต้องยึดเป็นหลักว่า ศาลจะต้องปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดี...ทุกคดี เว้นแต่จะมีเหตุตามที่ระบุในตัวบท
ในเคสอานนท์และไมค์ เริ่มต้นจากศาลให้ประตัวชั่วคราวโดยตั้งวงเงินประกันตัวที่คนละ 100,000 บาท พร้อมเงื่อนไข "ห้ามกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาซ้ำอีก"
ประเด็นตามเงื่อนไขของศาลคือ อะไรคือการ "กระทำความผิด" ต้องย้อนกลับไปหลักพื้นฐานทั่วไปที่ว่า...จำเลย(หรือผู้ต้องหา)ทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด....ในชั้นนี้ทั้งอานนท์และไมค์ จึงยังไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา
ประเด็นที่สอง "กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาอีก" ความหมายในถ้อยคำนี้ คือ หากมีการขึ้นปราศรัยบนเวที ก็เป็นการ "กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาอีก"
ขอย้ำอีกครั้ง คดีของอานนท์และไมค์ ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ความผิด ยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลด้วยซ้ำ แต่ศาลได้ปฏิบัติต่อคนทั้งสองเฉกเช่นคนที่ถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดแล้ว ด้วยการสั่งขังบุคคลทั้งสอง
การสั่งขังบุคคลทั้งสองก่อนมีการฟ้องคดีเช่นนี้ ไม่เพียงเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลทั้งสองเฉกเช่นผู้กระทำความผิดแล้วเท่านั้น การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นนี้ ยังเป็นการ "พิพากษาคดีล่วงหน้า" ว่าหากมีกการกระทำแบบเดียวกับที่ถูกกล่าวหาในการฝากขัง ก็เป็นการ "กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา" แล้ว
ถึงเวลารื้อระบบศาลไทยแล้วหรือยัง....ผู้พิพากษาต้องมาจากการเลือกตั้ง และใช้ลูกขุนในการพิพากษาคดี

https://www.facebook.com/Prawais/posts/3368375956554501
...


...


The Reporters
6h ·

SPECIAL:โปรดฟังอีกครั้ง !! “ทำไมต้องมาชุมนุม” ฟังเสียงจาก “ทนายอานนท์” ในวันไร้อิสรภาพ
The Reporters สัมภาษณ์ นายอานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ก่อนที่จะสูญเสียอิสรภาพ ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ หลังถูกถอนประกันตัว จากคดีชุมนุม เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมกับ นายภาณุพงศ์ จาดนอก
นายอานนท์ บอกถึงที่มาในการชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา มาจากการเริ่มต้นของพวกเขาเอง ไม่มีแกนนำ มาจากการถูกกดทับของอำนาจเผด็จการ และการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม ของ คณะ คสช.ที่ถูกสืบทอดผ่านรัฐธรรมนูญ 2560
นายอานนท์ เห็นว่า การชุมนุมของนักเรียน นักศึกษา เป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง แม้จะมีการบังคับใช้กฏหมาย ออกหมายจับ และการถูกคุกคาม