วันจันทร์, กันยายน 07, 2563

เด็กสมัยนี้เขาอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง





ooo

2 เล่มนี้ เคยอ่านยัง... 


Thanapol Eawsakul
6h ·

The King Never Smiles vs พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย
ความไร้น้ำยาของนักวิชาการ "ขวาไทย"

....................

ในปี 2549 มีหนังสือเล่มสำคัญออกมา 1 เล่มคือ The King Never Smiles : A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej โดย Paul M. Handley
จัดพิมพ์โดย Yale University Press. 2006
หนังสือเล่มนี้โดนแบนจากรัฐบาลไทยในสมัยทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่หนังสือเล่มนี้จะวางจำหน่ายด้วยซ้ำ
และถ้าคนในแวดวงวิชาการ ก็พอจะอ่าน ต้นฉบับก่อนตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้อยู่บ้า่ง

ต่อมาในเดือนธันวาคม 2549 ก็มีหนังสือ พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : 60 ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หนังสือ The King Never Smiles ของ Paul Handley สำคัญแค่ไหน ดูได้จากการประชุมทางวิชาการไทยคดีศึกษา ครั้งที่ 10 (The 10th International Conference on Thai Studies) ซึ่งจัดโดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 9-10 มกราคม 2551

มีวงเสวนา เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้โดยตรง
"Monarchy III : Critical Comments on Paul Handley's The King Never Smiles (panel discussion)"

ในงานดีงกล่าว นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเสนา วิจารณ์ หนังสือ The King Never Smile ด้วย
https://prachatai.com/journal/2008/01/15462

ในบทความชิ้นนี้ นอกจากนิธิจะชี้ให้เห็นความสำคัญของหนังสือ The King Never Smile ต่อวงการไทยศึกษาแล้ว นิธิ ยังพูดถึง หนังสือ พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย : 60 ปี สิริราชสมบัติกับการเมืองการปกครองไทย ของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ โดยบอกว่า

"ดูประหนึ่งว่างานชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อตอบโต้งานของคุณแฮนด์ลีย์โดยตรง

นิธิบอกว่าถึงแม้ว่าในคำนำ นครินทร์ได้กล่าวสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นการชี้จุดอ่อนในงานของคุณแฮนด์ลีย์ได้อย่างดีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ว่า "... และพระองค์ไม่ได้ทรงมีความสามารถและไม่ได้ทรงอยู่ในฐานะที่ทำให้ประชาธิปไตยของไทยมีความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ไปได้ตลอด หรือในทางกลับกัน พระองค์ก็ทรงไม่สามารถที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยตกต่ำถึงขีดสุดด้วยพระองค์เองตามลำพัง ซึ่งการพิจารณาอย่างสุดโต่งในทางหนึ่งทางใด ล้วนไม่มีความสอดคล้องกับการศึกษาระบอบประชาธิปไตย ทั้งที่ได้มีวิวัฒนาการอยู่ในประเทศต่างๆ และวิวัฒนาการในประเทศไทยด้วยในตลอดระยะเวลา..."

แต่น่าเสียดายที่ว่า ในชิ้นงานของหนังสือทั้งเล่ม เกือบไม่ได้ใช้เนื้อที่ในการวิเคราะห์ศักยภาพและข้อจำกัดของสถาบันพระมหากษัตริย์ในแง่ส่งเสริมหรือขัดขวางประชาธิปไตยแต่อย่างใด เช่น หากทรงส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สถาบันฯได้ใช้พลังอะไรส่วนไหนของสถาบันฯ และอย่างไร ในการผลักดันให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ ท่ามกลางกระแสที่ขัดขวางประชาธิปไตยจากกลุ่มพลังต่างๆ อะไรคือข้อจำกัดที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจทำได้มากกว่านั้น หรือในทางอื่นๆ นอกจากทางที่ได้ทำไปแล้วนั้น

เนื้อหาทั้งหมดคือบทบาททางการเมืองของกลุ่มพลังต่างๆ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกับสถาบันฯบ้าง ไม่ราบรื่นบ้าง กลุ่มพลังเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันในทางการเมืองอย่างเข้มข้น โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ห่างๆ ยกเว้นแต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเมืองครั้งใด พระมหากษัตริย์ก็จะทรงเข้ามาแก้ไข เพื่อให้อย่างน้อยรูปแบบของประชาธิปไตยสามารถดำเนินต่อไปได้

พระราชกรณียกิจทั้งหมด จึงไม่เคยถูกพิจารณาในฐานะ "การกระทำทางการเมือง" ไม่ว่าการเสด็จเยือนประชาชน, โครงการพระราชดำริ, หรือพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกพิจารณาว่าเป็นสถาบันที่ "ไม่การเมือง" ฉะนั้นที่เรียกว่าวิกฤตการเมืองครั้งต่างๆ จึงเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นจากกลุ่มพลังต่างๆ ที่ไม่อาจจัดความสัมพันธ์ให้ลงตัวได้เอง สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีส่วนในพัฒนาการของวิกฤตนั้นๆ ยกเว้นแต่ระงับความขัดแย้งที่รุนแรงเกินไป

ข้อความในคำนำทำให้เราคิดว่า กรอบคำอธิบายใหม่ที่ท่านอาจารย์นครินทร์จะเสนอก็คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการเมืองไทย มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยสำคัญทางการเมืองอื่นๆ อย่างไร มีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวท่ามกลางเงื่อนไขนานาชนิดที่ไม่ได้อยู่ในความควบคุมของสถาบันฯทั้งหมด แต่เนื้อหาของหนังสือไม่ได้เกี่ยวอะไรกับที่พึงคาดหวังเลย สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงเป็นสถาบัน "ไม่การเมือง" ที่ลอยอยู่พ้นออกไปจากฉากการเมืองไทย เสด็จลงมาเพียงครั้งคราวในยามจำเป็นที่บ้านเมืองตกอยู่ในวิกฤตเท่านั้น กรอบคำอธิบายเช่นนี้ไม่ต่างอะไรจากที่พบได้ในงานรัฐศาสตร์ไทยทั่วไปก่อน 6 ตุลา 2519"

..............
กล่าวโดยสรุปงานของนครินทร์คือ "ท่าดีทีเหลว"
เริ่มต้นเหมือนจะดีแต่ลงท้ายด้วยอาเศียรวาท

นี่ยังไม่พูดถึงบทวิจารณ์หนังสือ "พระผู้ทรงปกเกล้าฯ ประชาธิปไตย" โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในบทความชื่อ

"การฆ่าตัวตายทางวิชาการของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์"

https://doct6.com/archives/14366

นั้นแสดงให้เห็นถึงความไร้น้ำยาของนักวิชาการ "ขวาไทย" นอกจากการเซนเซอร์ที่เป็นสิ่งคุ้นชินกันมาตลอด 

ooo


Thuethan Prasobchoke
19h · 

เห็นมีเด็กในที่ชุมนุมของนักเรียนหน้ากระทรวงศึกษาธิการเมื่อวาน ใส่หมวก”คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ” 
ผมเห็นทีแรกรู้สึกอึ้ง!แล้วก็มีความรู้สึกทึ่ง!ตามมา
ถามว่า ทำไมรู้สึกแบบนั้น
คำตอบคือ นั่นแสดงว่า เด็กศึกษาสืบค้นข้อมูลการต่อสู้ และเห็นวิวัฒนาการการต่อสู้ 
กลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ นับเป็นคนตาสว่างกลุ่มแรกๆในช่วงการต่อสู้หลังการรัฐประหารปี 2549 มา คนรุ่นผู้ใหญ่ที่เพิ่งจะมาสนใจการเมืองยังไม่รู้จักกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการเลย
ดูรายละเอียดของงาน การจัดเวทีที่ล้อเวที กปปส.การเอานกหวีดมาเป่า การมอบขนมปูไทย มอบกะทิของหวานและนกหวีด
ล้วนสะท้อนความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงการรัฐประหารในปี 2557จนมาถึงทุกวันนี้
แต่ก็ยังมีคนแก่ดักดานไปหาว่าเด็กคิดไม่เป็น
เพราะเอาความดักดานคิดไม่เป็นของตัวเองไปเป็นมาตรวัดเด็กๆ