หลังถูกคุมขังมา 5 เดือนโดยไม่ได้ประกันตัว ประเวศ ประภานุกูล ทนายความที่ตกเป็นจำเลยคดี 112 และ 116 รวม 13 กรรม แถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย ไม่ให้การต่อศาล ถอนทนายความ ไม่ลงชื่อในเอกสาร ประท้วงการพิจารณาคดีหมิ่นฯ ของศาลไทย โจทก์นัดสืบพยานฝ่ายเดียว 11 ปาก พ.ค.ปีหน้า
“ผมเคยเขียนถึงวิธีต่อสู้คดี 112 แบบนี้ในเฟสบุ๊คมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ถ้าผมไม่ทำแบบนี้ก็เท่ากับที่พูดไปนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ผมไม่ได้อยากอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อต้องอยู่แล้วก็ต้องใช้โอกาสนี้ให้ถึงที่สุด เพราะโทษที่เยอะขนาดนี้ อายุผมก็เท่านี้คงได้ตายในคุก....มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย”
“ที่คิดแบบนี้มันมาจากประสบการณ์ที่ทำคดีให้ดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และดูแนวทางของคดีอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมไม่มีความหวังเลยว่าจะสามารถต่อสู้คดีลักษณะนี้ได้เต็มที่และบนหลักการโดยแท้จริง”
ประเวศยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ช่วยให้จิตใจเขาคงสภาพอยู่ได้แม้สิ้นไร้หวังว่าจะได้ออกจากการคุมขังคือ การนั่งสมาธิ
...
'ทนายประเวศ'ประกาศไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทยคดี 112 โจทก์นัดสืบพยานฝ่ายเดียวปีหน้า
หลังถูกคุมขังมา 5 เดือนโดยไม่ได้ประกันตัว ประเวศ ประภานุกูล ทนายความที่ตกเป็นจำเลยคดี 112 และ 116 รวม 13 กรรม แถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย ไม่ให้การต่อศาล ถอนทนายความ ไม่ลงชื่อในเอกสาร ประท้วงการพิจารณาคดีหมิ่นฯ ของศาลไทย โจทก์นัดสืบพยาน 11 ปาก พ.ค.ปีหน้า
Published on Mon, 2017-09-18
ที่มา ประชาไท
18 ก.ย.2560 ที่ศาลอาญา รัชดา มีนัดสอบให้การและตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขดำ อ.2368/2560 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเป็นจำเลยข้อหาความผิดตามมาตรา 112, 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 13 กรรม โดยในวันนี้ประเวศถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขากล่าวต่อศาลในห้องพิจารณาคดีว่า ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย พร้อมทั้งยื่นคำร้องเป็นแถลงการณ์ 2 ฉบับ
แถลงการณ์ของเขาสรุปความได้ว่า จำเลยขอไม่เข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีนี้ โดยจะไม่ให้การต่อศาล ดำเนินการถอนทนายความ ไม่ถามค้านพยานโจทก์ ไม่นำสืบพยานจำเลย ไม่ลงชื่อในเอกสารใดๆ ของศาล เนื่องจากกังขาต่อความเป็นกลางของศาลไทยในคดีลักษณะนี้เนื่องจากศาลพิพากษาในพระปรมาภิไธย นอกจากนี้ในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลราวกับพิพากษาคดีแล้วว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว กรณีเป็นการกระทำที่ร้ายแรงต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของประชาชนโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย อันอาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาและผู้ขอประกันทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
“คำสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลอาญาดังกล่าว จึงเป็นการพิจารณาคดีล่วงหน้าก่อนสืบพยาน เป็นการพิจารณาคดีว่า ข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายโดยที่ยังไม่มีการสืบพยาน เป็นการพิพากษาคดีล่วงหน้าว่าข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายก่อนฟ้องคดีอาญาด้วยซ้ำ” แถลงการณ์จำเลยระบุ
จากนั้นศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุว่า จำเลยยื่นคำร้องขอถอนทนายความจำนวน 3 คน ศาลอนุญาตให้จำเลยถอนทนายความ ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโดยยืนยันข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำแถลงการณ์ 2 ฉบับของจำเลยที่ยื่นต่อศาล ศาลสอบถามคู่ความเกี่ยวกับพยานเอกสารที่จะให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจและอ้างส่งต่อศาลแล้ว โจทก์แถลงว่า มีพยานเอกสาร 20 ฉบับที่จะอ้างเป็นพยานให้จำเลยตรวจและส่งศาล จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลและแถลงไม่ขอตรวจพยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนพยานบุคคลนั้นโจทก์ประสงค์สืบพยานรวม 11 ปาก ศาลสอบถามจำเลยว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานโจทก์ดังกล่าวบ้างหรือไม่ จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย และยืนยันตามคำแถลงการณ์ 2 ฉบับข้างต้น และการสืบพยานจะใช้เวลา 2 วันครึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานอัยการได้ทำการนัดหมายสืบพยานที่ห้องคู่ความ ระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ทั้ง 11 ปากในวันที่ 8,9,10 พ.ค.2561 หรืออีกราว 8 เดือน
“ผมเคยเขียนถึงวิธีต่อสู้คดี 112 แบบนี้ในเฟสบุ๊คมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ถ้าผมไม่ทำแบบนี้ก็เท่ากับที่พูดไปนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ผมไม่ได้อยากอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อต้องอยู่แล้วก็ต้องใช้โอกาสนี้ให้ถึงที่สุด เพราะโทษที่เยอะขนาดนี้ อายุผมก็เท่านี้คงได้ตายในคุก....มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย”
“ที่คิดแบบนี้มันมาจากประสบการณ์ที่ทำคดีให้ดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และดูแนวทางของคดีอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมไม่มีความหวังเลยว่าจะสามารถต่อสู้คดีลักษณะนี้ได้เต็มที่และบนหลักการโดยแท้จริง”
ประเวศยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ช่วยให้จิตใจเขาคงสภาพอยู่ได้แม้สิ้นไร้หวังว่าจะเป็นอิสระจากการคุมขังคือ การนั่งสมาธิ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้มีตัวแทนจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน นักข่าว ญาติ เพื่อน รวมถึงอดีตลูกความของประเวศมาร่วมรับฟังการพิจารณาประมาณ 10 กว่าคน
บรรพต ไชยสา หนึ่งในผู้มาฟังการพิจารณาในวันนี้กล่าวว่า ที่มานั่งฟังเพราะรู้จักกับทนายประเวศมาตั้งแต่ปี 2537 เนื่องจากเขาประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำตกถนน กระดูกซี่โครงร้าว,มีบาดแผลที่ใบหน้า อาการสาหัส ในรถคันที่โดยสารมามีประกันอุบัติเหตุ แต่พนักงานบริษัทประกันภัยพยายามที่จะให้เขายอมรับค่าชดเชยเพียงแค่ 20,000-30,000 บาท
“ถึงขนาดที่จะให้ผมประทับลายนิ้วมือลงในหนังสือสัญญาเพื่อที่จะให้เป็นข้อยุติ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นผมยังบาดเจ็บรักษาตัวต้องปิดตาทั้งสองข้างอยู่ เพื่อนของผมแนะนำให้ทนายประเวศเข้ามาช่วยฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยให้ สุดท้ายบริษัทประกันยอมที่จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ประมาณสองแสนบาท ผมจึงได้เงินมารักษาตัว แต่สุดท้ายตาผมก็รักษาไว้ได้เพียงแค่ข้างเดียว อีกข้างต้องใส่ลูกตาเทียม” บรรพตกล่าว
เขากล่าวด้วยว่า ทนายประเวศช่วยคดีของเขาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่จ่ายค่ารถและเลี้ยงอาหารทนายเท่านั้น เขากล่าวด้วยว่าตัวเองเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน ในแต่ละวันต้องใช้น้ำยาล้างไตสี่ครั้ง การมาศาลครั้งนี้ทำให้ไม่สามารถล้างไตได้ตามกำหนดเวลาได้ อาจล้างได้เพียงแค่สองครั้ง
“แต่ผมอยากมาให้กำลังใจเพราะทนายประเวศมีบุญคุณกับผม” บรรพตกล่าว
ทั้งนี้ประเวศ ประภานุกูล อายุ 57 ปี มีอาชีพทนายความ เขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่เช้าวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่แจ้งให้ผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าถูกควบคุมเพราะเหตุใด ก่อนจะพาตัวไปที่ มณฑลทหารบกที่ 11 เขาถูกสอบปากคำ และซักถามประวัติส่วนตัว ซึ่งประเวศให้ความร่วมมือ และยอมลงชื่อในเอกสาร เพราะคิดว่าจะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน ระหว่างนั้นเขาขอโทรศัพท์ติดต่อบุคคลที่ไว้วางใจ แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัว จากนั้นจึงถูกดำเนินการแจ้งข้อหาและฝากขังจนครบ 7 ผัด โดยเคยยื่นประกันตัว 1 ครั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต
อัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลไปเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ก.ค.2560 คำฟ้องสรุปว่าในระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-23 เม.ย.2560 ประเวศได้กระทำความผิดรวมทั้งหมด 13 กรรม จากการโพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยเป็นการกระทำความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 10 กรรม และในข้อหากระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ยุยงปลุกปั่น) รวม 3กรรม
18 ก.ย.2560 ที่ศาลอาญา รัชดา มีนัดสอบให้การและตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขดำ อ.2368/2560 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเป็นจำเลยข้อหาความผิดตามมาตรา 112, 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 13 กรรม โดยในวันนี้ประเวศถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขากล่าวต่อศาลในห้องพิจารณาคดีว่า ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย พร้อมทั้งยื่นคำร้องเป็นแถลงการณ์ 2 ฉบับ
แถลงการณ์ของเขาสรุปความได้ว่า จำเลยขอไม่เข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีนี้ โดยจะไม่ให้การต่อศาล ดำเนินการถอนทนายความ ไม่ถามค้านพยานโจทก์ ไม่นำสืบพยานจำเลย ไม่ลงชื่อในเอกสารใดๆ ของศาล เนื่องจากกังขาต่อความเป็นกลางของศาลไทยในคดีลักษณะนี้เนื่องจากศาลพิพากษาในพระปรมาภิไธย นอกจากนี้ในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลราวกับพิพากษาคดีแล้วว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว กรณีเป็นการกระทำที่ร้ายแรงต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของประชาชนโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย อันอาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาและผู้ขอประกันทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
“คำสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลอาญาดังกล่าว จึงเป็นการพิจารณาคดีล่วงหน้าก่อนสืบพยาน เป็นการพิจารณาคดีว่า ข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายโดยที่ยังไม่มีการสืบพยาน เป็นการพิพากษาคดีล่วงหน้าว่าข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายก่อนฟ้องคดีอาญาด้วยซ้ำ” แถลงการณ์จำเลยระบุ
จากนั้นศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุว่า จำเลยยื่นคำร้องขอถอนทนายความจำนวน 3 คน ศาลอนุญาตให้จำเลยถอนทนายความ ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโดยยืนยันข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำแถลงการณ์ 2 ฉบับของจำเลยที่ยื่นต่อศาล ศาลสอบถามคู่ความเกี่ยวกับพยานเอกสารที่จะให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจและอ้างส่งต่อศาลแล้ว โจทก์แถลงว่า มีพยานเอกสาร 20 ฉบับที่จะอ้างเป็นพยานให้จำเลยตรวจและส่งศาล จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลและแถลงไม่ขอตรวจพยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนพยานบุคคลนั้นโจทก์ประสงค์สืบพยานรวม 11 ปาก ศาลสอบถามจำเลยว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานโจทก์ดังกล่าวบ้างหรือไม่ จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย และยืนยันตามคำแถลงการณ์ 2 ฉบับข้างต้น และการสืบพยานจะใช้เวลา 2 วันครึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานอัยการได้ทำการนัดหมายสืบพยานที่ห้องคู่ความ ระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ทั้ง 11 ปากในวันที่ 8,9,10 พ.ค.2561 หรืออีกราว 8 เดือน
“ผมเคยเขียนถึงวิธีต่อสู้คดี 112 แบบนี้ในเฟสบุ๊คมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ถ้าผมไม่ทำแบบนี้ก็เท่ากับที่พูดไปนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ผมไม่ได้อยากอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อต้องอยู่แล้วก็ต้องใช้โอกาสนี้ให้ถึงที่สุด เพราะโทษที่เยอะขนาดนี้ อายุผมก็เท่านี้คงได้ตายในคุก....มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย”
“ที่คิดแบบนี้มันมาจากประสบการณ์ที่ทำคดีให้ดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และดูแนวทางของคดีอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมไม่มีความหวังเลยว่าจะสามารถต่อสู้คดีลักษณะนี้ได้เต็มที่และบนหลักการโดยแท้จริง”
ประเวศยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ช่วยให้จิตใจเขาคงสภาพอยู่ได้แม้สิ้นไร้หวังว่าจะเป็นอิสระจากการคุมขังคือ การนั่งสมาธิ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้มีตัวแทนจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน นักข่าว ญาติ เพื่อน รวมถึงอดีตลูกความของประเวศมาร่วมรับฟังการพิจารณาประมาณ 10 กว่าคน
บรรพต ไชยสา หนึ่งในผู้มาฟังการพิจารณาในวันนี้กล่าวว่า ที่มานั่งฟังเพราะรู้จักกับทนายประเวศมาตั้งแต่ปี 2537 เนื่องจากเขาประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำตกถนน กระดูกซี่โครงร้าว,มีบาดแผลที่ใบหน้า อาการสาหัส ในรถคันที่โดยสารมามีประกันอุบัติเหตุ แต่พนักงานบริษัทประกันภัยพยายามที่จะให้เขายอมรับค่าชดเชยเพียงแค่ 20,000-30,000 บาท
“ถึงขนาดที่จะให้ผมประทับลายนิ้วมือลงในหนังสือสัญญาเพื่อที่จะให้เป็นข้อยุติ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นผมยังบาดเจ็บรักษาตัวต้องปิดตาทั้งสองข้างอยู่ เพื่อนของผมแนะนำให้ทนายประเวศเข้ามาช่วยฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยให้ สุดท้ายบริษัทประกันยอมที่จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ประมาณสองแสนบาท ผมจึงได้เงินมารักษาตัว แต่สุดท้ายตาผมก็รักษาไว้ได้เพียงแค่ข้างเดียว อีกข้างต้องใส่ลูกตาเทียม” บรรพตกล่าว
เขากล่าวด้วยว่า ทนายประเวศช่วยคดีของเขาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่จ่ายค่ารถและเลี้ยงอาหารทนายเท่านั้น เขากล่าวด้วยว่าตัวเองเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน ในแต่ละวันต้องใช้น้ำยาล้างไตสี่ครั้ง การมาศาลครั้งนี้ทำให้ไม่สามารถล้างไตได้ตามกำหนดเวลาได้ อาจล้างได้เพียงแค่สองครั้ง
“แต่ผมอยากมาให้กำลังใจเพราะทนายประเวศมีบุญคุณกับผม” บรรพตกล่าว
ทั้งนี้ประเวศ ประภานุกูล อายุ 57 ปี มีอาชีพทนายความ เขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่เช้าวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่แจ้งให้ผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าถูกควบคุมเพราะเหตุใด ก่อนจะพาตัวไปที่ มณฑลทหารบกที่ 11 เขาถูกสอบปากคำ และซักถามประวัติส่วนตัว ซึ่งประเวศให้ความร่วมมือ และยอมลงชื่อในเอกสาร เพราะคิดว่าจะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน ระหว่างนั้นเขาขอโทรศัพท์ติดต่อบุคคลที่ไว้วางใจ แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัว จากนั้นจึงถูกดำเนินการแจ้งข้อหาและฝากขังจนครบ 7 ผัด โดยเคยยื่นประกันตัว 1 ครั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต
อัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลไปเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ก.ค.2560 คำฟ้องสรุปว่าในระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-23 เม.ย.2560 ประเวศได้กระทำความผิดรวมทั้งหมด 13 กรรม จากการโพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยเป็นการกระทำความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 10 กรรม และในข้อหากระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ยุยงปลุกปั่น) รวม 3กรรม