สำรวจลมหายใจสื่อไทย ยุคฟองสบู่ดิจิตัลแตก
By Wanee L.
1 ธันวาคม 2559
Voice TV
ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ชะงักงัน กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อสื่อไทยในห้วงเวลานี้ ย้อนดูสถานการณ์ต้นปีและเสียงสะท้อนของผู้บริหารสื่อบางราย เราจะผ่านด่านวิกฤตไปอย่างไร
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวไม่สู้ดีของธุรกิจสื่อประเดประดังเข้ามาเป็นระลอกๆ ในส่วนของดิจิตัลทีวีเอง หลังเริ่มดำเนินธุรกิจไปสักระยะหลายแห่งมีผลประกอบการขาดทุนบางที่ต้องยกเลิกสัมปทาน บางที่ต้องเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อเป็นการต่อลมหายใจ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์เองก็กำลังประสบปัญหาไม่น้อย
ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ชะงักงัน กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อสื่อไทยในห้วงเวลานี้ ย้อนดูสถานการณ์ต้นปีและเสียงสะท้อนของผู้บริหารสื่อบางราย เราจะผ่านด่านวิกฤตไปอย่างไร
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวไม่สู้ดีของธุรกิจสื่อประเดประดังเข้ามาเป็นระลอกๆ ในส่วนของดิจิตัลทีวีเอง หลังเริ่มดำเนินธุรกิจไปสักระยะหลายแห่งมีผลประกอบการขาดทุนบางที่ต้องยกเลิกสัมปทาน บางที่ต้องเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อเป็นการต่อลมหายใจ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์เองก็กำลังประสบปัญหาไม่น้อย
กลางปี 2558 ช่องไทยทีวี และ LOCA ภายใต้การคุมบังเหียนของ เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ได้แจ้งยกเลิกสัมปทานทั้ง 2 ช่อง หลังบริหารงาน 1 ปี ขาดทุนเป็นเงินถึง320 ล้านบาท
เดือนต.ค.2558 สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ที่ประกาศเลิกจ้างผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ผู้ช่วยช่างภาพ และพนักงานเกือบ 40 คน เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับนโยบาย
เดือนธ.ค.2558 สถานีโทรทัศน์ทีนิวส์ ประกาศปลดพนักงาน ช่างกล้อง-ตัดต่อรวมกว่า 40 คน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดทุนของบริษัท ที่มีมากกว่า 100 ล้านบาท
เดือน ก.พ. 2559 สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ประกาศปลดพนักงาน 57 คน เพื่อปรับกลยุทธ์และโครงสร้างองค์กร เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจทีวีดิจิตัล
เดือน พ.ย.2559 เครือมติชน ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดในส่วนกองบรรณาธิการ
เดือน พ.ย.2559 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ประกาศโครงการสมัครใจเกษียณก่อนกำหนดโดยได้รับเงินตอบแทน
ล่าสุด หนังสือพิมพ์บ้านเมือง เพิ่งประกาศยุติการผลิตตั้งแต่ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2560 พร้อมเลิกจ้างพนักงาน โดยให้เหตุผลว่ารูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไป ทำให้การคงอยู่ของสื่อสิงพิมพ์เป็นไปอย่างยากลำบาก ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันไม่เอื้ออำนวย
ถ้าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย สถานการณ์จะดีกว่านี้?
นายณรรธราวุธ เมืองสุข ผู้ผลิตสื่อรายหนึ่งซึ่งขอสงวนสังกัด ได้แสดงทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า ขณะนี้วงการสื่อได้รับผลกระทบทุกสื่อทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ หากเป็นธุรกิจหนังสือพิมพ์ หนึ่งในสาเหตุคือการได้รับผลกระทบจากต้นทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับตลาดปัจจุบันมุ่งเน้นในธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อออนไลน์มากขึ้น ฉะนั้นผลกระทบจึงมาตกที่หนังสือพิมพ์ ที่เริ่มเข้าถึงคนได้ยากขึ้น ทำให้ธุรกิจโฆษณาไม่ค่อยลงทุน
สภาวะเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย แต่หากย้อนไปดูอดีตที่ผ่านมาในระยะใกล้ๆ สื่อสิ่งพิมพ์หลายค่ายมีส่วนในการล้มรัฐบาล ทว่าเมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ กลับเผชิญกับภาวะชะงักงันทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบกลับคืนไปสู่สื่อที่มีส่วนร่วมในการล้มรัฐบาลที่ผ่านมา
"เราไม่สามารถสรุปได้ว่าหากรัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะดีกว่านี้ แต่เราเชื่อมั่นว่าอย่างน้อยที่สุดคนจะมีปากมีเสียงมากขึ้น มีความคล่องตัวในการใช้สิทธิของตัวเอง"
สำหรับสื่อทีวีดิจิตัล ที่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช.เข้ามาดูแลเรื่องการแบ่งเค้กเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะที่โฆษณามีเท่าเดิม ส่งผลให้ต้องกระจายกัน สื่อใหม่ที่ไม่มีคอนเนคชั่นกระจายยังไงก็ไปไม่ถึง จึงได้รับผลกระทบอย่างช่วยไม่ได้
ปัจจุบันบุคลากรในแวดวงสื่ออยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการตกงานมากขึ้น และมีจำนวนคนที่ต้องตกงานเยอะขึ้นเนื่องจากทุกสื่อต่างกันมีแนวโน้มที่จะลดพนักงานลงเพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ บริหารจัดการใหม่เพื่อให้อยู่ได้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดขณะนี้ ปีนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นที่เริ่มมีข่าวไม่สู้ดีของแต่ละสื่อออกมา ซึ่งภายในระยะเวลาก่อนสิ้นปี หรือต้นปีหน้า เราอาจจะได้รับข่าวร้ายค่อนข้างเยอะ
แม้ว่าสื่อจะมีการปรับตัวโดยการลดพนักงานลง เพื่อเป็นการต่อลมหายใจ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นจริง ถึงแม้จะปรับโครงสร้างแล้ว แต่โฆษณาไม่เข้าก็ตายอยู่ดี
"ตอนนี้ก็มีบางสื่อที่ปรับตัวเองยอมสวามิภักดิ์ต่อนายทุน เพราะพ่ายแพ้ต่อชะตากรรมด้านเศรษฐกิจ ทั้งที่ผ่านมาเคยมีสื่อเคยที่เคยปรับตัวเองในลักษณะนี้มาแล้วจนเกิดกระแสต่อต้านนายทุนฮุบสื่อ แต่ตอนนี้กลับไม่มีสื่อใดกล้าออกมาโหมกระแสนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุดมันเป็นภาวะของการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดให้ได้" ณรรธราวุธกล่าว ขณะที่ก็ยังเชื่อว่าคนวงการสื่อเองมีการทบทวนดูตัวเองมาพอสมควร
“ตั้งแต่ รัฐประหารปี2549เป็นต้นมา จนถึงรัฐประหารรอบล่าสุด การที่เลือกที่จะเคลื่อนไหวทางการเมืองไปพร้อมกับการทำหน้าที่สื่อมันไม่เวิร์คอย่างรุนแรง สุดท้ายมันกลับมาย้อนทำลายตัวเราเอง กระทบกับสื่อเล็กๆที่ไม่ได้มีปากมีเสียงอะไร ต้นทุนทางสังคมที่หลายสื่อเสียไป จากการเอาไปลงกับเรื่องการเมือง ทำให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางสื่อนั้นๆ ก็ขาดความเชื่อมั่นกับสื่อนั้นไปด้วย"
ฟองสบู่ทีวีดิจิตัลแตกไวกว่าที่คิด
ด้านสมภพ รัตนวลี ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวเวิร์คพอยท์ทีวี กล่าวว่า วงการสื่อกำลังเผชิญกับวิกฤษเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดจากวิกฤตทางการเมือง ประกอบกับความท้าทายในการทำดิจิตัลทีวี ที่ประเทศไทย ที่เมื่อมีการเปิดประมูลนายทุนก็ต่างเข้ามาจับจอง ทั้งที่ยังไม่เคยคาดการณ์กันมาก่อนว่าทิศทางธุรกิจจะเป็นไปในทางใด ท่ามกลางจำนวนช่องที่มีมากถึง 24 ช่อง ในขณะที่เม็ดเงินโฆษณามีอยู่เท่าเดิมไม่ได้เติบโตขึ้น เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่มันไม่ไหวทำให้เกิดการรัดเข็มขัด คืนสัมปทาน ฯลฯ
"สาเหตุมาจากความไม่พร้อมที่จะคุยกันก่อนที่จะมีการประมูลทีวีดิจิตัล ในต่างประเทศมีเพียงไม่กี่ช่อง ควรจะไม่เกิน10 ช่อง ถึงจะอยู่ได้ มันจะมีการแข่งขันกันในกรุ๊ป ไม่ใช่ไปต่างแย่งชิงกันมา แนวทางที่ควรจะเป็นคือการร่วมมือกัน ใครมีดีด้านไหนก็มาจับมือร่วมกันมากกว่าการที่แยกกันทำแต่ละช่อง และรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือ"
นายสมภพ มองว่า สุดท้ายดิจิตัลทีวีจะเหลือเพียง 10 ช่องในปี2560 จะหายไปหลายช่องไม่ต่ำกว่า 4 ช่อง คนที่จะลำบากคือเด็กใหม่ๆที่เพิ่งเข้าสู่วงการสื่อในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่เกิดดิจิตัลทีวี
"ก่อนหน้านี้ที่จะมีการประมูลดิจิตัลทีวี ผมเคยคาดไว้ว่าเราจะอยู่ในยุคฟองสบู่ 2 ปี แล้วจะแตก แต่ตอนนี่้มันแตกไวกว่าที่คิด ตอนนี้ถือเป็นช่วงที่เจ็บที่สุดของวงการสื่อ ถ้าเทียบกับภาพยนตร์ถือเป็นช่วงไคลแม็กซ์ ดังนั้นทุกคนต้องเตรียมตัวทำงานให้หนักขึ้น พยามคิด สร้างสรรค์ผลงานออกมา พยายามทำให้ผลงานออกไปในทุกแพลตฟอร์มให้มากที่สุด ทำให้เกิดทราฟฟิคกลับมาให้ได้" ผู้บริหารข่าวของเวิร์กพอยท์กล่าวทิ้งท้าย
ooo
Chart: The Slow Death of Traditional Media
The Slow Death of Traditional Media
DESPERATION TIME AS OLD GUARD CLINGS TO FALLING MARKET SHARE
The Chart of the Week is a weekly Visual Capitalist feature on Fridays.
By JEFF DESJARDINS
October 7, 2016
Bill Gates once famously said that we systematically overestimate the change that will occur in two years, while underestimating the change that will come in the next ten.
The ongoing conversation about the death of legacy media definitely fits that mold.
Over the last five to ten years, people have been talking about how the newspaper, magazine, or radio station would become all but obsolete. And while certainly things have changed in all of these industries, it’s clear that there has not been a full paradigm shift yet.
Here is the evidence that we have finally reached that inflection point.
FIXING THE PLANE
In a recent interview at the City University of New York’s journalism school, Ken Lerer described the challenges of traditional media as follows:
"You have to fix the plane while you’re flying it."
Lerer, a co-founder of the Huffington Post and currently the Chairman for Buzzfeed, is alluding to the fact that legacy media has to maintain old business models based on subscription and print ad revenue, while successfully venturing into the digital world. The latter category is already hard enough, even without taking into account the balancing act of the former.
The moral of the story? Some of these “planes” are going to land safely, but most of them are going to crash and burn.
The cost structure of legacy media just doesn’t make sense in today’s digital world. Overhead is high, and revenue is harder to find due to the limited success of paywalls, rampant ad blocking, and the steady fall in display ad prices due to the emergence of programmatic bidding.
LEGACY REVENUES
Why has legacy media been so slow to adopt change? Why don’t they just lay off half of their staff, ditch print operations, and start from scratch?
It’s because their major revenue sources are as slow at adopting as they are.
In 2015, there was only one age demographic with more than half of its constituents reading a daily newspaper, and that was “65 years old and up”:
That said, the people that still read newspapers are among the wealthiest people in the country. Warren Buffett, for example, reads five a day. But even he does not know how to save the print industry from its woes.
Meanwhile, Madison Avenue has been notoriously slow at evolving to meet the needs of the digital revolution. If the biggest advertisers are still demanding the status quo, it makes it very difficult to “fix the plane”.
NEW MODELS
The most noticeable signal of change, however, is the relative success of new media companies such as Vice, Buzzfeed, and Vox – and the fact that some of their largest backers are from the old guard.
All of the above companies are “unicorns” valued at $1 billion or more by private investors, which include venture capital stalwarts such as Andreessen Horowitz, Accel Partners, Khosla Ventures, RRE Ventures, or Lerer Hippeau.
More importantly, however, they’ve also posted strategic investments from legacy media companies that are trying to wisely hedge their bets. Some of these include NBC Universal, The Walt Disney Company, 21st Century Fox, and Hearst.
Digital will become the largest channel for ad revenue globally by 2019 – investors and companies that believe in the media business should position themselves accordingly.
JEFF DESJARDINS
Jeff Desjardins is a founder and editor of Visual Capitalist, a media website that creates and curates visual content on investing and business.