วันอาทิตย์, ธันวาคม 18, 2559

อ้าว... Hoei-Mai-Muen-Thi-Khui-Kan-Wai-Ni-Na (อ้าวเฮ้ย ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่นา (หนี้เพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว?!?))





ปีหน้าเป็นปีที่รัฐบาลต้องลุ้นหนัก เพราะสัญญาณ "ควัน" เรื่อง "เอ็นพีแอล" หรือ "หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้" แรงขึ้นเรื่อยๆ
.
ล่าสุด แบงก์ชาติส่งสัญญาณว่า "หนี้" ที่ต้องดูแลใกล้ชิด เพิ่มขึ้นจาก 3,000 บัญชี ในปี 2558
.
เป็น 200,000 บัญชี ในปี 2559
.
มูลหนี้รวมจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 200,000 ล้านบาท
.
#หรือเพิ่มขึ้น10เท่าตัว

ooo

หน้า 8 : อ้าว


ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับวันที่ 16 - 22 ธันวาคม 2559


และแล้วมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ก็ได้ฤกษ์แจ้งเกิด

ในระดับ “คนมีรายได้ต่ำ” ที่ต้องลงทะเบียน “คนจน”
การอัดฉีดเงิน 1,500 บาท และ 3,000 บาท ดำเนินไปอย่างคึกคัก
เป็นการเพิ่ม “กำลังซื้อ” ทันทีประมาณ 8 ล้านคน
แต่จะนำไปจ่ายหนี้นอกระบบ หรือจับจ่ายใช้สอย เรื่องนี้ไม่มีใครรู้

ส่วน “คนมีเงิน” รัฐบาลใช้มาตรการ “ช็อปช่วยชาติ” ที่สามารถนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาทมากระตุ้นให้จับจ่ายใช้สอย
ที่บอกว่าเป็นมาตรการสำหรับ “คนมีเงิน” เพราะ “ส่วนลด” (จากการลดหย่อนภาษี) ที่ได้รับจากการจ่ายเงิน 15,000 บาทซื้อของนั้น คนที่ได้มากที่สุดคือ คนที่เสียภาษีในอัตราสูง
ยิ่งรวยมาก เสียภาษีมาก ก็ได้ “ส่วนลด” มาก

มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท เสียภาษี 5%
ซื้อของ 15,000 บาท จะได้ลดหย่อน 750 บาท

แต่คนรวยที่มีรายได้สุทธิเกิน 4 ล้านบาท เสียภาษี 35%
ซื้อของ 15,000 บาท จะได้ลดหย่อน 5,250 บาท

มาตรการ “ช็อปช่วยชาติ” จึงเป็นมาตรการที่พุ่งเป้าหมายไปที่ “คนรวย” ที่พร้อมจะฟุ่มเฟือย
ควัก 15,000 บาทมาช็อปปิ้ง

“สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ฉลาดที่ออกมาตรการนี้ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ยาวเกินไป คือ ตั้งแต่ 14-31 ธันวาคมนี้

เพราะถ้านานไป คนจะคิดเยอะ และซื้อของจำเป็นที่จะซื้ออยู่แล้ว
เท่ากับรัฐบาลเสียรายได้จาก “ภาษี” ไปฟรีๆ

แต่ถ้ามีเวลาไม่นาน คนจะรีบ
ยิ่งรีบ ยิ่งซื้อของที่ไม่ได้วางแผนไว้ เพราะอยากได้ส่วนลด

แบบนี้ รัฐบาลจะได้

2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ จึงทำให้คนทำมาค้าขายได้หายใจอีกเฮือก
ก่อนลุ้นใหม่ปีหน้า


ปีหน้าเป็นปีที่รัฐบาลต้องลุ้นหนัก เพราะสัญญาณ “ควัน” เรื่อง “เอ็นพีแอล” หรือ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” แรงขึ้นเรื่อยๆ

ล่าสุด แบงก์ชาติส่งสัญญาณว่า “หนี้” ที่ต้องดูแลใกล้ชิด เพิ่มขึ้นจาก 3,000 บัญชี ในปี 2558
เป็น 200,000 บัญชี ในปี 2559
มูลหนี้รวมจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 200,000 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว

“หนี้” ก้อนนี้มีโอกาสที่จะเป็น “หนี้ดี” หากเศรษฐกิจดี
แต่ก็พร้อมจะแปลงกายเป็น “หนี้เสีย” หากเศรษฐกิจแย่

ตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ คือ “หนี้เสีย” หรือ “เอ็นพีแอล”
แบงก์ชาติรายงานว่าเมื่อสิ้นสุดไตรมาส 3 ของปีนี้ “หนี้เสีย” สูงถึง 2.89%
สูงสุดในรอบ 5 ปี

และสินเชื่อของปีนี้ขยายตัว 2.4%
ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี

ดังนั้น การที่รัฐบาลพยายามโหมประโคมว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะดีขึ้น
ถึงเวลาจริง คนส่วนใหญ่อาจต้องครวญเพลงฮิตของ “อะตอม”


…อ้าวเฮ้ย ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่นา…