นิตยสาร Corporate Thailand ซีพีกินรวบประเทศไทย
Posted on March 6, 2016
by Buak Bangbuathong
ที่มา https://whatwereadblog.wordpress.com
นิตยสาร Corporate Thailand ฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่ออกวางจำหน่าย คือเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ นี่ก็เกือบ ๒๐ ปีแล้ว ต้องบอกว่า ตอนที่ออกมานี่เรียกเสียงฮือฮาได้มากเลยทีเดียว เพราะนอกจากเรื่องจากปกแล้ว นิตยสารฉบับนี้ยังเต็มไปด้วยคอลัมนิสต์ด้านนโยบายและเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าชั้นแนวหน้าที่สุดของประเทศไทยในเวลานั้น
บอกไว้ก่อนว่าแต่ละคนนี่ประวัติการทำงานล้นเหลือมาก ใครอยากรู้ไปเปิดวิกิพีเดียดูเอาเองนะฮะ ไม่ว่าจะเป็น ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เห็นชื่อแต่ละคนแล้วต้องบอกว่า ขนาดผ่านมาเกือบ ๒๐ ปียังน่าสนใจ แล้วในเวลานั้นจะขนาดไหน
ในส่วนของเรื่องจากปก ซึ่งได้ไล่เรียงและอธิบายถึงแนวคิดการทำธุรกิจของซีพี รวมถึงการขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ นอกเหนือจากธุรกิจเกษตรที่เป็นรากฐานเดิม ไม่ว่าจะเป็นสื่อสาร ค้าปลีก ค้าส่ง และปิโตรเคมี
แต่ธุรกิจของซีพีในวันนั้นกับปัจจุบันอาจต่างกันไปบ้าง เนื่องจากวิกฤติต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๔๐ ทำให้ซีพีต้องปรับตัว โดยจำใจตัดขายบางธุรกิจออกไปก่อนแม้รู้ว่าวันข้างหน้าธุรกิจนี้จะประสบความสำเร็จแน่นอน เช่น โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่กองบรรณาธิการนำมาลงไว้ก็คือ บรรดาสายสัมพันธ์ทั้งหลายของซีพี ที่มีต่อคนในภาครัฐและการเมือง ทั้งที่มีสีและไม่มีสี ความสัมพันธ์นี้น่าจะช่วยอธิบายอะไรได้หลายอย่าง
อ่านชุดเรื่องจากปกแล้วก็จะเข้าใจได้ว่า ทำไมทีมงานถึงใช้คำโปรยปกว่า ซีพีกินรวบประเทศไทย
นอกจากเรื่องจากปกและคอลัมนิสต์ที่ว่ามาแล้ว ในเล่มนี้ยังมีสัมภาษณ์พิเศษอีกสองคน คือ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ ผู้เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของดร.สมคิด โดย ณ ขณะนั้นดร.สม เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันถูกธนาคารธนชาตซื้อไปแล้ว) และหลังจากนั้นอีกเพียงปีเดียวได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
บทสัมภาษณ์อีกคนคือ เอกกมล คีรีวัฒน์ อดีตเลขาธิการคนแรกของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในสมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เป็นบทสัมภาษณ์ที่คุณเอกกมลมาเล่าถึงชีวิตและความรู้สึกหลังพ้นจากราชการและอยู่ในระหว่างถูกฟ้องดำเนินคดี
เรื่องราวในนิตยสารเล่มนี้หากจะมองว่าเป็นข้อมูลเก่า ล้าสมัย ก็คงได้ แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ก็ช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจที่มาที่ไปของเหตุการณ์ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้มากขึ้นนะครับ
สำหรับนิตยสาร Corporate Thailand ปัจจุบันปิดตัวไปแล้วครับ
ที่มา https://whatwereadblog.wordpress.com
นิตยสาร Corporate Thailand ฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่ออกวางจำหน่าย คือเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ นี่ก็เกือบ ๒๐ ปีแล้ว ต้องบอกว่า ตอนที่ออกมานี่เรียกเสียงฮือฮาได้มากเลยทีเดียว เพราะนอกจากเรื่องจากปกแล้ว นิตยสารฉบับนี้ยังเต็มไปด้วยคอลัมนิสต์ด้านนโยบายและเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าชั้นแนวหน้าที่สุดของประเทศไทยในเวลานั้น
บอกไว้ก่อนว่าแต่ละคนนี่ประวัติการทำงานล้นเหลือมาก ใครอยากรู้ไปเปิดวิกิพีเดียดูเอาเองนะฮะ ไม่ว่าจะเป็น ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช อาจารย์รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เห็นชื่อแต่ละคนแล้วต้องบอกว่า ขนาดผ่านมาเกือบ ๒๐ ปียังน่าสนใจ แล้วในเวลานั้นจะขนาดไหน
ในส่วนของเรื่องจากปก ซึ่งได้ไล่เรียงและอธิบายถึงแนวคิดการทำธุรกิจของซีพี รวมถึงการขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจใหม่ ๆ นอกเหนือจากธุรกิจเกษตรที่เป็นรากฐานเดิม ไม่ว่าจะเป็นสื่อสาร ค้าปลีก ค้าส่ง และปิโตรเคมี
แต่ธุรกิจของซีพีในวันนั้นกับปัจจุบันอาจต่างกันไปบ้าง เนื่องจากวิกฤติต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๔๐ ทำให้ซีพีต้องปรับตัว โดยจำใจตัดขายบางธุรกิจออกไปก่อนแม้รู้ว่าวันข้างหน้าธุรกิจนี้จะประสบความสำเร็จแน่นอน เช่น โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่กองบรรณาธิการนำมาลงไว้ก็คือ บรรดาสายสัมพันธ์ทั้งหลายของซีพี ที่มีต่อคนในภาครัฐและการเมือง ทั้งที่มีสีและไม่มีสี ความสัมพันธ์นี้น่าจะช่วยอธิบายอะไรได้หลายอย่าง
อ่านชุดเรื่องจากปกแล้วก็จะเข้าใจได้ว่า ทำไมทีมงานถึงใช้คำโปรยปกว่า ซีพีกินรวบประเทศไทย
นอกจากเรื่องจากปกและคอลัมนิสต์ที่ว่ามาแล้ว ในเล่มนี้ยังมีสัมภาษณ์พิเศษอีกสองคน คือ ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ ผู้เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของดร.สมคิด โดย ณ ขณะนั้นดร.สม เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย (ปัจจุบันถูกธนาคารธนชาตซื้อไปแล้ว) และหลังจากนั้นอีกเพียงปีเดียวได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
บทสัมภาษณ์อีกคนคือ เอกกมล คีรีวัฒน์ อดีตเลขาธิการคนแรกของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในสมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา เป็นบทสัมภาษณ์ที่คุณเอกกมลมาเล่าถึงชีวิตและความรู้สึกหลังพ้นจากราชการและอยู่ในระหว่างถูกฟ้องดำเนินคดี
เรื่องราวในนิตยสารเล่มนี้หากจะมองว่าเป็นข้อมูลเก่า ล้าสมัย ก็คงได้ แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ก็ช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจที่มาที่ไปของเหตุการณ์ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้มากขึ้นนะครับ
สำหรับนิตยสาร Corporate Thailand ปัจจุบันปิดตัวไปแล้วครับ