ในเดือนตุลาคม66
— ยิ่งชีพ (เป๋า) (@yingcheep) October 1, 2023
มีนัดฟังคำพิพากษาคดี #ม112 15 คดี
มีวันทำการ 21 วัน นัดพิจารณาคดี 112 อยู่ 34 คดี
แล้วเราก็พอเห็นผลคำพิพากษา กับผลประกันช่วงที่ผ่านมาเดือนสองเดือนนี้ตั้งแต่ได้รัฐบาลใหม่ คือ ลงโทษ ไม่ให้ประกันตัว
😟😟🤨🧐
14h·
กันยาฯ ถูกขังอีก 6 คน ผู้ต้องขังการเมืองพุ่ง 35 คน
ขณะศาลยังไม่ให้ประกัน 'สักคดี' ในเรือนจำมา 7 เดือนแล้ว
ด้าน ‘วารุณี-เวหา’ อดอาหารเกิน 1 เดือน แต่ข้อเรียกร้องไม่คืบหน้า
.
.
จนถึงปัจจุบัน (1 ต.ค. 2566) มีผู้ต้องขังคดีการเมืองถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ อย่างน้อย 35 ราย แบ่งเป็นผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี 25 ราย และเป็นผู้ต้องขังในคดีที่สิ้นสุดแล้ว (นักโทษเด็ดขาด) 10 ราย
.
ในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาเพิ่มอีก 6 ราย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะข้อกล่าวหา ได้แก่ คดีมาตรา 112 จำนวน 3 คน และคดีจากการถูกกล่าวหาจากการชุมนุม เผารถตำรวจ ครอบครองวัตถุระเบิด (ระเบิดปิงปอง) และปาระเบิด (ระเบิดปิงปอง) จำนวน 3 คน ส่วนคดีสิ้นสุดแล้วมีจำนวนผู้ถูกคุมขังเท่าเดิมอยู่ที่ 10 ราย มาตั้งแต่เดือน ก.ค. 2566
.
ในเดือนที่ผ่านมา ศาลไม่มีคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาอยู่เลย ‘แม้แต่คนเดียว’ ซึ่งเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาแล้ว ขณะที่มีผู้ต้องขังการเมืองในคดี ม.112 จำนวน 2 คน คือ ‘วารุณี’ และ ‘เวหา’ อดอาหารเพื่อประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวต่อศาลและยืนยันตามข้อเรียกร้องของตนเองเป็นเวลานานมากกว่า 1 เดือนแล้ว
.
.
#ระหว่างสู้คดี: ถูกขังเพิ่ม 6 คน หลังศาลชั้นต้นพิพากษา-ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกัน ขณะผู้ต้องขังรายเดิมไร้วี่แววได้ประกัน
.
ตลอดเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ถูกคุมขังระหว่างสู้คดีเพิ่มขึ้นมากถึง 6 คน ซึ่งล้วนแต่ถูกคุมขังหลังจากการศาลมีคำพิพากษา และส่งคำร้องประกันตัวให้ศาลสูงเป็นผู้พิจารณาสั่ง ซึ่งต่อมา ‘ทุกคดี’ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว
.
ในจำนวน 6 คนนี้ แบ่งเป็น
.
ถูกคุมขังภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ระหว่างอุทธรณ์) จำนวน 5 คน ได้แก่ ไพฑูรย์, สุขสันต์, ธนายุทธ, อานนท์ นำภา และวีรภาพ วงษ์สมาน
.
ถูกคุมขังภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา (ระหว่างฎีกา) จำนวน 1 คน คือ สมบัติ ทองย้อย
.
.
ผู้ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดีรายใหม่ จำนวน 6 คน มีรายละเอียดคดีและข้อหาที่ถูกคุมขังโดยสรุป ดังนี้
.
คดีมาตรา 112 จำนวน 3 คน
.
1. #สมบัติ ทองย้อย - อดีตการ์ดเสื้อแดง อายุ 55 ปี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 2566 ภายหลังศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ให้จำคุก 4 ปี ในข้อหา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14 (3) กรณีโพสต์ข้อความ “#กล้ามาก #เก่งมาก #ขอบใจนะ” ประกอบกับแปะภาพบันทึกหน้าจอจากข่าวมติชนเกี่ยวกับบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เข้ารับปริญญาทั้งคณะ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2563 ในคอมเมนต์ข้อความดังกล่าว พร้อมกับอีก 2 ข้อความ กล่าวถึงการทำตัวใกล้ชิดประชาชนและการแจกลายเซ็น ซึ่งโพสต์เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2563
.
นี่เป็นการถูกคุมขังครั้งที่ 2 แล้วในคดีนี้ ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นเคยพิพากษาจำคุก 6 ปี ทำให้สมบัติถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาเป็นเวลา 287 วัน ระหว่างวันที่ 28 เม.ย. 2565 จนถึง 6 ก.พ. 2566 แต่ถูกปล่อยตัวในวันที่ 7 ก.พ. 2566 เนื่องจากต้องรอคำสั่งประกันในอีกคดีหนึ่งที่ทีคำพิพากษาจำคุกในระหว่างที่สมบัติถูกคุมขังอยู่
.
2. #อานนท์ นำภา - ทนายความและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อายุ 39 ปี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. ภายหลังศาลอาญา (ศาลชั้นต้น) พิพากษาจำคุก 4 ปี ในข้อหา ม.112 จากกรณีปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ14ตุลา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563
.
3. ‘#รีฟ’ วีรภาพ วงษ์สมาน - นักกิจกรรม อายุ 20 ปี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. ภายหลังศาลอาญา (ศาลชั้นต้น) พิพากษาจำคุก 4 ปี ในข้อหา ม.112 จากกรณีถูกกล่าวหาว่า พ่นสีสเปรย์ข้อความ “ควรปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ #ไอ้ษัตริย์” บริเวณแยกดินแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564
.
.
คดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกระหว่างการชุมนุม จำนวน 3 คน
1-2 ‘ทูร’ ไพทูรย์ และ ‘ตั๊ก’ สุขสันต์
.
ประชาชนอายุ 22 และ 21 ปี ตามลำดับ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 14 ก.ย. ภายหลังศาลอาญา (ศาลชั้นต้น) พิพากษาจำคุกจากการถูกฟ้องในคดีจากการชุมนุม #ม็อบทะลุแก๊ส ที่หน้าบริเวณดุริยางค์ทหารบก และ ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้ระเบิดโยนใส่เจ้าหน้าที่จนได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2564 โดยศาลตัดสินจำคุกไพฑูรย์ 33 ปี 12 เดือน และจำคุกสุขสันต์ 22 ปี 2 เดือน 20 วัน
.
3. ‘บุ๊ค’ ธนายุทธ
.
ศิลปินแร็ปเปอร์วง Eleven Finger วัย 20 ปี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. หลังศาลอาญา (ศาลชั้นต้น) พิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน ในคดีครอบครองวัตถุระเบิด หลังเจ้าหน้าที่ตรวจพบประทัดลูกบอล, ไข่ก็อง, พลุควัน และระเบิดควัน ที่บ้านพัก
.
ทำให้ปัจจุบัน จำนวนผู้ต้องขังทางการเมือง ‘ระหว่างสู้คดี’ เพิ่มขึ้นจาก 19 คน ในวันที่ 1 ก.ย. 2566 เป็น 25 รายแล้วหลังเข้าสู่วันที่ 1 ต.ค. 2566
.
แบ่งตามชั้นที่ถูกคุมขังระหว่างต่อสู้คดี
1. ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี (ศาลยังไม่มีคำพิพากษา) จำนวน 4 คน ได้แก่ ชนะดล, วุฒิ, ธีรภัทร และปฐวีกานต์
.
2. ถูกคุมขังระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา (ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว) จำนวน 19 คน ได้แก่ ถิรนัย, ชัยพร, เวหา, ทีปกร, วารุณี, ประวิตร, วัฒน์, ขจรศักดิ์, คเชนทร์, โสภณ, พลพล, จตุพล, วัชรพล, ณัฐพล, ไฑูรย์, สุขสันต์, ธนายุทธ อานนท์ และวีรภาพ
.
3. ถูกคุมขังระหว่างฎีกาคำพิพากษา (ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว) จำนวน 2 คน ได้แก่ อดุม และสมบัติ
.
แบ่งตามข้อกล่าวหาที่ถูกคุมขัง
.
1. ม.112 จำนวน 10 คน ได้แก่ วุฒิ, เวหา, ทีปกร, วารุณี, วัฒน์, โสภณ, อุดม, สมบัติ, อานนท์ และวีรภาพ
.
2. คดีที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและปาระเบิด (ระเบิดปิงปอง) จำนวน 8 คน ได้แก่ ถิรนัย, ชัยพร, ชนะดล, ธีรภัทร, ปฐวีกานต์, ธนายุทธ, ไฑูรย์ และสุขสันต์
.
3. คดีที่เกี่ยวข้องกับการเผาป้อมจราจรหรือรถตำรวจ จำนวน 7 คน ได้แก่ ประวิตร, ขจรศักดิ์, คเชนทร์, พลพล, จตุพล, วัชรพล และณัฐพล
.
.
#คดีสิ้นสุด: จำนวนคงที่ ‘10 คน’
ในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ไม่มีผู้ถูกดำเนินคดีการเมืองถูกคุมขังเพิ่มเติมเนื่องจากคดีสิ้นสุด ทำให้ผู้ต้องขังการเมืองในคดีที่สิ้นสุดแล้วจึงมีจำนวนคงที่ เป็นจำนวน 10 คนเช่นเดิม มาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2566 แล้ว
.
จำนวน 10 รายนี้อาจแบ่งตามข้อหาที่ถูกคุมขังได้เป็น 4 กลุ่ม
.
1. คดี ม.112 จำนวน 4 คน ได้แก่ อัญชัญ, ศุภากร, พลทหารเมธิน และปริทัศน์
.
2. คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 2 คน ได้แก่ ศุภากร และเอกชัย หงส์กังวาน
.
3. คดีเป็นอั้งยี่ จำนวน 2 คน ได้แก่ วรรณภา และกฤษณะ
4. คดีที่เกี่ยวข้องกับระเบิดปิงปอง 3 คน ได้แก่ มะ ณัฐชนน, สุวิทย์ และทัตพงศ์
.
ในเร็ว ๆ นี้ มีผู้ต้องขังเด็ดขาด 1 ราย มีกำหนดได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากถูกคุมขังจนครบกำหนดโทษแล้ว
.
นั่นคือ ‘#ศุภากร’ ปัจจุบันอายุ 24 ปี ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษธนบุรีมาตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 2564 ในคดีข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการถูกกล่าวหาว่าโพสต์ภาพตัดต่อเกี่ยวกับพระมหาษัตริย์ จำนวน 9 ข้อความ ในช่วงปี 2563 โดยมีกำหนดถูกปล่อยตัวในวันที่ 5 พ.ย. 2566 นี้
.
.
Case Highlight : 3 ผู้ต้องขังคดี ม.112 ประท้วงศาลเรียกร้อง ‘สิทธิประกันตัว’ และอื่นๆ
.
2 ราย อดอาหารประท้วง
#วารุณี - ผู้ต้องขังระหว่างต่อสู้คดีในคดี ม.112 (ชั้นอุทธรณ์) ตัดสินใจอดอาหารประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัว ตั้งแต่วันที่ 21 ส.ค. 2566 จากนั้นได้ยกระดับเป็นการจำกัดการดื่มน้ำร่วมด้วย ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. เป็นต้นมา
.
ปัจจุบันวารุณีถูกคุมขังนาน 3 เดือนเศษ พร้อมกับอดอาหารและจำกัดน้ำดื่ม มากว่า 1 เดือนแล้ว ตลอดการอาหารประท้วง ระหว่างนั้นวารุณีถูกพาตัวไปรักษาที่ รพ.ราชทัณฑ์ 7 วัน จากนั้นถูกส่งตัวไปอยู่ใต้การดูแลของ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ 8 วัน ต่อมาจึงถูกส่งตัวกลับมาอยู่ที่ รพ.ราชทัณฑ์ จนถึงปัจจุบัน
.
ตลอดการถูกคุมขังของวารุณี ทนายความยื่นประกันตัวต่อศาลอุทธรณ์แล้ว 5 ครั้ง และยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาอีก 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเป็นการยื่นประกันตัวต่อศาลอุทธรณ์ในวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา
.
#เวหา - ผู้ต้องขังระหว่างต่อสู้ในคดี ม.112 (ชั้นอุทธรณ์) ตัดสินใจอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. 2566 เพื่อเคียงข้างการอดอาหารประท้วงของวารุณี และได้เสนอข้อเรียกร้องส่วนตัว 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
.
1. เรียกร้องให้ ‘สส.’ เข้ามารับข้อเสนอ “ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม” จากผู้ต้องขังในเรือนจำ
.
2. เรียกร้องให้ ‘คณะรัฐมนตรีชุดใหม่’ ออกมาแถลงความคืบหน้าและความเป็นไปได้ของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมคดีทางการเมือง
.
3. เรียกร้อง ‘ศาล’ ให้คืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดียังไม่สิ้นสุดเด็ดขาด และปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมืองที่คดีสิ้นสุดเด็ดขาดแล้ว
.
หากมีความคืบหน้าแม้เพียงข้อเดียว เวหาจะพิจารณายุติการอดอาหารประท้วงครั้งนี้ การอดอาหารประท้วงของเวหา เขาปฏิเสธการกินอาหารทุกอย่าง แต่ยังดื่มน้ำ นม น้ำผลไม้ น้ำหวาน และสารอาหารเหลวอื่น ๆ
.
แต่จนถึงปัจจุบันการอดอาหารประท้วงดำเนินไปมากกว่า 1 เดือน ขณะที่ถูกคุมขังมากกว่า 4 เดือนแล้ว ทว่า 3 ข้อเรียกร้องของเวหายังคงไม่มีความคืบหน้า โดยเฉพาะข้อเรียกร้องที่ 3 ที่สถานการณ์ในตอนนี้กลับสวนทางมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค. 2566 เป็นต้นมา ศาลไม่มีคำสั่งให้ประกันตัวผู้ต้องขังการเมืองแม้แต่คนเดียว มีแต่จะถูกจะคุมขังมากขึ้น
.
1 ราย ปฏิเสธอำนาจศาล - กระบวนการยุติธรรม
.
#เก็ท โสภณ - ผู้ต้องขังระหว่างสู้คดีในคดี ม.112 (ชั้นอุทธรณ์) ในวันที่ 4 ก.ย. ตัดสินใจถอนทนายความในการพิจารณาคดี ม.112 อีกคดีหนึ่งที่ศาลอาญาธนบุรี ได้แก่ คดีปราศรัยในกิจกรรม #ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน เมื่อปี 2565 พร้อมประกาศปฏิเสธกระบวนการยุติธรรม และได้เสนอ 2 ข้อเรียกร้อง ได้แก่
.
1) ขอให้คืนสิทธิประกันตัวแก่ผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคน
2) เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีมาตรา 112 ทั้งหมด
.
แม้ภายหลังการประกาศถอนทนายความและปฏิเสธกระบวนการยุติธรรม โสภณจะยังคงถูกเบิกตัวจากเรือนจำมาร่วมการสืบพยานที่ศาลอาญาธนบุรีทุกนัด แต่ตลอดการพิจารณาคดีในช่วงเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา โสภณได้นั่งหันหลังผู้พิพากษาและปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือใด ๆ ซึ่งเป็นไปตามจุดยืนที่ได้แถลงไว้ตอนต้น
.
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีจะยังคงดำเนินต่อไป โดยโสภณจะถูกเบิกตัวมาที่ศาลทุกครั้ง
.
1 ราย ถูกคุมขังที่เรือนจำห่างไกล
.
#อุดม - คนงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากจังหวัดปราจีนบุรี วัย 35 ปี ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดนราธิวาส 1 ใน 3 จังหวัดตอนล่างสุดของประเทศไทย หรือห่างจาก ‘บ้าน’ ของอุดมเป็นระยะทางประมาณ 1,321 กิโลเมตร หากขับรถยนต์โดยไม่หยุดพักอาจใช้เวลาเดินทางประมาณ 18 ชม.
.
อุดมถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 2566 ภายหลังศาลจังหวัดนราธิวาสอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ยืนจำคุกตามชั้นต้น ลงโทษจำคุก 4 ปี ในคดี ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ (3) จากการโพสต์และแชร์เฟซบุ๊กรวมจำนวน 7 ข้อความ โดยศาลเห็นว่าผิดตามฟ้อง 2 ข้อความ
.
หลังพิพากษา ศาลจังหวัดนราธิวาสส่งคำร้องประกันให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่ง ซึ่งจากนั้นศาลฎีกามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว ทำให้อุดมถูกคุมขังเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนานกว่า 1 เดือนแล้ว
.
อุดมนับได้ว่าเป็นผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ถูกคุมขังอยู่ ณ เรือนจำที่ห่างไกลจากที่พำนักปัจจุบันมากที่สุด โดยผู้ต้องขังคดีการเมืองระลอกนี้ จำนวน 35 คน ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำในโดยกรุงเทพฯ จำนวน 32 คน นอกจากนี้มีอยู่ที่เรือนจำใน จ.นครปฐม และ จ.ชลบุรี แห่งละ 1 คน
.
การถูกคุมขังในที่ห่างไกลเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าเยี่ยมของญาติและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความ
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/60134