Thanapol Eawsakul
20h
·
ทางออกเดียวของประชาธิปัตย์
คือการกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย
คือโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายก
แล้วเป็นฝ่ายค้านที่ดี เพื่อรอวันกลับมาเป็นพรรคระดับชาติอีกครั้ง
.....................................
(1)
ผลการเลือกตั้ง 2566 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 25 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่งหรือ 5 %
ประกอบด้วย ส.ส.เขต 22 ที่นั่ง จาก 400 ที่นั่ง
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คนโดยได้คะแนนเพียง 925,349 เสียง เท่านั้น
ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรค "ต่ำล้าน" เป็นครั้งแรก
ถ้าเรามาดูคะแนนแยกรายภาค
ภาคใต้: 60 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง หรือ 25.33 %
- ตรัง
สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง เขต 3
กาญจน์ ตั้งปอง ตรัง เขต 4
-นครศรีธรรมราช
ราชิต สุดพุ่ม นครศรีธรรมราช เขต 1
ทรงศักดิ์ มุสิกอง นครศรีธรรมราช เขต 2
พิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช เขต 3
ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช เขต 4
ชัยชนะ เดชเดโช นครศรีธรรมราช เขต 5
อวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช เขต 9
-สงขลา
สรรเพชญ บุญญามณี สงขลา เขต 1
สมยศ พลายด้วง สงขลา เขต 3
เดชอิศม์ ขาวทอง สงขลา เขต 5
สุภาพร กำเนิดผล สงขลา เขต 6
พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา เขต 8
ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา เขต 9
-ปัตตานี
ยูนัยดี วาบา ปัตตานี เขต 4
-พัทลุง
สุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง เขต 1
ร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง เขต 3
ภาคอีสาน: 133 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง 1.5 %
-สกลนคร
ชาตรี หล้าพรหม สกลนคร เขต 2
- อุบลราชธานี
วุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี เขต 2
ภาคเหนือ: 36 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 1 ที่นั่ง 2.7 %
-แม่ฮ่องสอน
สมบัติ ยะสินธุ์ แม่ฮ่องสอน เขต 2
ภาคตะวันตก 20 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง 10 %
-ประจวบคีรีขันธ์
จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
ประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ เขต 3
ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร: 122 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 0 ที่นั่ง 0 %
ภาคตะวันออก: 29 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 0 ที่นั่ง 0 %
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน เป็น (อดีต)หัวหน้าพรรคทั้งสิ้น
1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (67 ปี)
2. นายชวน หลีกภัย (85 ปี)
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (81 ปี)
(2)
ตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคภูมิภาคอย่างแท้จริง เพราะ จาก 6 ภูมิภาค
ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร: 122 ที่นั่ง ภาคตะวันออก: 29 ที่นั่ง มีที่นั่งรวม 151 พรรคประชาธิปัตย์ไม่มี ส.ส.เลย
ภาคอีสาน: 133 ที่นั่ง ภาคเหนือ: 36 ที่นั่ง ภาคตะวันตก 20 ที่นั่ง มีที่นั่งรวม 189 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 5 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 2.64 %
ภาคใต้: 60 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง คิดเป็น 25.33 %
แต่ถ้าคิดเป็น สัดส่วน ส.ส. เจตแล้ว จะเป็น 77.2 %
และข้อมูลที่น่าสนใจคือ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 3 คน ล้วนเป็นคนใต้ทั้งสิ้น
1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พังงา)
2. นายชวน หลีกภัย (ตรัง)
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (สุราษฎร์ธานี)
รวมแล้ว ส.ส. 25 คนของประชาธิปัตย์ เป็นคนใต้ 17+3 = 20 คนจาก 25 คน หรือคิดเป็น 80 % เลยทีเดียว
ถ้าเราไม่เรียกประชาธิปัตย์เป็นพรรคภูมิภาค แล้วจะเรียกว่าอะไร
(3)
หลังจากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ตอนนั้นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคกลายเป็น “แพะรับบาป” เพราะไปประกาศก่อนเลือกตั้งว่าจะยืนคนละฝั่งการเมืองกับประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จะสืบทอดอำนาจผ่านพรรคพลังประชารัฐ
9 เมษายน 2562 หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผมเคยเขียนว่า
ประชาธิปัตย์ยังตกต่ำไม่พอที่จะนำไปสู่ การปฏิรูปพรรค ไปสู่เส้นทางประชาธิปไตย
https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/pfbid02JzZF3ehgya3Fcg8AfeBtFQQjTtfiHaWyBdfGi515B7mzV8E9Eu4Y29HArLkckFMEl
แต่ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยังสรุปว่าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่คือ “ฝ่ายตรงข้าม”
ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ คือพันธมิตรทางการเมือง
จึงนำไปสู่การไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ
เหตุผลที่ว่าอยู่กับ ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐ ได้เป็นรัฐบาลนั้นไม่เพียงพอ
เพราะถ้าอยู่กับ ปีกพรรคเพื่อไทยและอนาคตใหม่ก็ได้เป็นรัฐบาลเช่นกัน
แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เลือกเส้นทางดังกล่าว จึงนำมาสู่การเสียบุคลากรรุ่นใหม่ ที่จะมาฟื้นฟูพรรคหลังจากความพ่ายแพ้ไปอีก เช่นกรณี
ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ ประกาศลาออกจากสมาชิกประชาธิปัตย์ ขอโทษประชาชน ขอบคุณโอกาสที่มอบให้
https://thestandard.co/parit-wacharasindhu-resign-from.../
ยังไม่รวมถึงผลงาน 4 ปีในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลกับประยุทธ์ จันทร์โอชาอย่างเหนียวแน่น ทำให้คนที่เบื่อประยุทธ์ ก็พลอยรังเกียจพรรคประชาธิปัตย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(4)
ผลการเลือกตั้ง 2566 พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นลำดับที่ 6 อย่างที่รับทราบ ขณะที่การจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยในสภาผู้แทนราษฎรเพราะรวมได้ 312 เสียงจาก 500 เสียง แต่รัฐธรรมนูญ 2560 นั้นจำเป็นจะต้องหาเสียงสนับสนุนให้ได้ 376 เสียง เพราะมีวุฒิสภาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร 2557 รวมอยู่ด้วย 250 คน (500+250 = 750)
โดยที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยู่ในสมการการจัดตั้งรัฐบาลเพราะอยู่ในขั้วรัฐบาลเดิม แต่การตั้ดตั้งรัฐบาลจะเป็นจะต้องหาเสียงสนับสนุนอีก 64 เสียง ในรัฐสภา
ในฐานะผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคก้าวไกลเลือกแนวทางเจรจากับวุฒิสภาเป็นหลักเพราะอย่างน้อยก็ให้เป็นไปตามหลักการที่วุฒิสภาชุดนี้เคยปฏิบัติเมื่อมีลงคะแนนในปี 2562 ด้วยเหตุว่าเพราะรัฐบาลในขณะนั้นรวบรวมเสียงในสภาผุ้แทนราษฎรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (255 เสียง) ได้แล้ว
แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องไปยัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยว่าการลงคะแนนครั้งนี้จะเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตย
(5)
กลับมาที่พรรคอันดับ 6 อย่างประชาธิปัตย์ ผมคิดว่าประชาธิปัตย์มีความแตกต่างจาก พรรคชาติไทยพัฒนา หรือพรรคภูมิใจไทย คือยังขายอุดมการณ์ประชาธิปไตย
แม้ว่า 2 ศวรรษหลังจะออกนอกเส้นทางประชาธิปไตยไปบ้าง
แต่การจะฟื้นฟูพรรคประชาธิปัตย์มีทางเดียวคือการกลับมาเส้นทางประชาธิปไตย ไม่มีเส้นทางอื่น
ก่อนหน้านี้เราได้ยินแต่เพียง ส.ส.สอบตกเท่านั้นที่พูดออกมาให้โหวต พิธา นั่งนายกฯ เช่น
ปชป.ฟังไว้! อลงกรณ์ ย้ำ ต้องเคารพเสียงประชาชน โหวต พิธา นั่งนายกฯ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7668684
แต่ยังไม่มีเสียงตอบรับออกมาจาก 25 ส.ส. ที่จะทำหน้าที่ในสภา
(6)
ผมคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียงต้องโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ที่สามารถรวบรวมเสียง ส.ส.ได้เกินกึ่งหนึ่งแล้วมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นฝ่ายค้านที่ดี (เหมือนกับที่พรรคก้าวไกลเคยทำในรัฐบาลประยุทธ์)
เพื่อจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเป็นพรรคหลักของประเทศไทยต่อไป
แต่เส้นทางนี้ก็ยาก และต้องใช้เวลา
ถ้าไม่เลือกเส้นทางนี้ เลือกตั้งครั้งหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคต่ำ 20
แม้แต่ในภาคใต้เองก็ไม่อาจจะยึดครองพื้นที่ได้เช่นเดิม
·
ทางออกเดียวของประชาธิปัตย์
คือการกลับสู่เส้นทางประชาธิปไตย
คือโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายก
แล้วเป็นฝ่ายค้านที่ดี เพื่อรอวันกลับมาเป็นพรรคระดับชาติอีกครั้ง
.....................................
(1)
ผลการเลือกตั้ง 2566 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 25 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่งหรือ 5 %
ประกอบด้วย ส.ส.เขต 22 ที่นั่ง จาก 400 ที่นั่ง
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คนโดยได้คะแนนเพียง 925,349 เสียง เท่านั้น
ส่งผลให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรค "ต่ำล้าน" เป็นครั้งแรก
ถ้าเรามาดูคะแนนแยกรายภาค
ภาคใต้: 60 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง หรือ 25.33 %
- ตรัง
สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง เขต 3
กาญจน์ ตั้งปอง ตรัง เขต 4
-นครศรีธรรมราช
ราชิต สุดพุ่ม นครศรีธรรมราช เขต 1
ทรงศักดิ์ มุสิกอง นครศรีธรรมราช เขต 2
พิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช เขต 3
ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช เขต 4
ชัยชนะ เดชเดโช นครศรีธรรมราช เขต 5
อวยพรศรี เชาวลิต นครศรีธรรมราช เขต 9
-สงขลา
สรรเพชญ บุญญามณี สงขลา เขต 1
สมยศ พลายด้วง สงขลา เขต 3
เดชอิศม์ ขาวทอง สงขลา เขต 5
สุภาพร กำเนิดผล สงขลา เขต 6
พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา เขต 8
ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา เขต 9
-ปัตตานี
ยูนัยดี วาบา ปัตตานี เขต 4
-พัทลุง
สุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง เขต 1
ร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง เขต 3
ภาคอีสาน: 133 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง 1.5 %
-สกลนคร
ชาตรี หล้าพรหม สกลนคร เขต 2
- อุบลราชธานี
วุฒิพงษ์ นามบุตร อุบลราชธานี เขต 2
ภาคเหนือ: 36 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 1 ที่นั่ง 2.7 %
-แม่ฮ่องสอน
สมบัติ ยะสินธุ์ แม่ฮ่องสอน เขต 2
ภาคตะวันตก 20 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง 10 %
-ประจวบคีรีขันธ์
จักพันธ์ ปิยพรไพบูลย์ ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
ประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ เขต 3
ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร: 122 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 0 ที่นั่ง 0 %
ภาคตะวันออก: 29 ที่นั่ง
ประชาธิปัตย์ได้ 0 ที่นั่ง 0 %
ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน เป็น (อดีต)หัวหน้าพรรคทั้งสิ้น
1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (67 ปี)
2. นายชวน หลีกภัย (85 ปี)
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (81 ปี)
(2)
ตอนนี้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคภูมิภาคอย่างแท้จริง เพราะ จาก 6 ภูมิภาค
ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร: 122 ที่นั่ง ภาคตะวันออก: 29 ที่นั่ง มีที่นั่งรวม 151 พรรคประชาธิปัตย์ไม่มี ส.ส.เลย
ภาคอีสาน: 133 ที่นั่ง ภาคเหนือ: 36 ที่นั่ง ภาคตะวันตก 20 ที่นั่ง มีที่นั่งรวม 189 พรรคประชาธิปัตย์ได้ 5 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 2.64 %
ภาคใต้: 60 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ 17 ที่นั่ง คิดเป็น 25.33 %
แต่ถ้าคิดเป็น สัดส่วน ส.ส. เจตแล้ว จะเป็น 77.2 %
และข้อมูลที่น่าสนใจคือ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 3 คน ล้วนเป็นคนใต้ทั้งสิ้น
1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พังงา)
2. นายชวน หลีกภัย (ตรัง)
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน (สุราษฎร์ธานี)
รวมแล้ว ส.ส. 25 คนของประชาธิปัตย์ เป็นคนใต้ 17+3 = 20 คนจาก 25 คน หรือคิดเป็น 80 % เลยทีเดียว
ถ้าเราไม่เรียกประชาธิปัตย์เป็นพรรคภูมิภาค แล้วจะเรียกว่าอะไร
(3)
หลังจากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ตอนนั้นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคกลายเป็น “แพะรับบาป” เพราะไปประกาศก่อนเลือกตั้งว่าจะยืนคนละฝั่งการเมืองกับประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จะสืบทอดอำนาจผ่านพรรคพลังประชารัฐ
9 เมษายน 2562 หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ผมเคยเขียนว่า
ประชาธิปัตย์ยังตกต่ำไม่พอที่จะนำไปสู่ การปฏิรูปพรรค ไปสู่เส้นทางประชาธิปไตย
https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/pfbid02JzZF3ehgya3Fcg8AfeBtFQQjTtfiHaWyBdfGi515B7mzV8E9Eu4Y29HArLkckFMEl
แต่ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยังสรุปว่าพรรคเพื่อไทย รวมทั้งพรรคอนาคตใหม่คือ “ฝ่ายตรงข้าม”
ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ คือพันธมิตรทางการเมือง
จึงนำไปสู่การไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ
เหตุผลที่ว่าอยู่กับ ประยุทธ์ และพรรคพลังประชารัฐ ได้เป็นรัฐบาลนั้นไม่เพียงพอ
เพราะถ้าอยู่กับ ปีกพรรคเพื่อไทยและอนาคตใหม่ก็ได้เป็นรัฐบาลเช่นกัน
แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เลือกเส้นทางดังกล่าว จึงนำมาสู่การเสียบุคลากรรุ่นใหม่ ที่จะมาฟื้นฟูพรรคหลังจากความพ่ายแพ้ไปอีก เช่นกรณี
ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ ประกาศลาออกจากสมาชิกประชาธิปัตย์ ขอโทษประชาชน ขอบคุณโอกาสที่มอบให้
https://thestandard.co/parit-wacharasindhu-resign-from.../
ยังไม่รวมถึงผลงาน 4 ปีในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลกับประยุทธ์ จันทร์โอชาอย่างเหนียวแน่น ทำให้คนที่เบื่อประยุทธ์ ก็พลอยรังเกียจพรรคประชาธิปัตย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
(4)
ผลการเลือกตั้ง 2566 พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นลำดับที่ 6 อย่างที่รับทราบ ขณะที่การจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคที่มีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยในสภาผู้แทนราษฎรเพราะรวมได้ 312 เสียงจาก 500 เสียง แต่รัฐธรรมนูญ 2560 นั้นจำเป็นจะต้องหาเสียงสนับสนุนให้ได้ 376 เสียง เพราะมีวุฒิสภาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร 2557 รวมอยู่ด้วย 250 คน (500+250 = 750)
โดยที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยู่ในสมการการจัดตั้งรัฐบาลเพราะอยู่ในขั้วรัฐบาลเดิม แต่การตั้ดตั้งรัฐบาลจะเป็นจะต้องหาเสียงสนับสนุนอีก 64 เสียง ในรัฐสภา
ในฐานะผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคก้าวไกลเลือกแนวทางเจรจากับวุฒิสภาเป็นหลักเพราะอย่างน้อยก็ให้เป็นไปตามหลักการที่วุฒิสภาชุดนี้เคยปฏิบัติเมื่อมีลงคะแนนในปี 2562 ด้วยเหตุว่าเพราะรัฐบาลในขณะนั้นรวบรวมเสียงในสภาผุ้แทนราษฎรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (255 เสียง) ได้แล้ว
แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องไปยัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยว่าการลงคะแนนครั้งนี้จะเป็นการฟื้นฟูประชาธิปไตย
(5)
กลับมาที่พรรคอันดับ 6 อย่างประชาธิปัตย์ ผมคิดว่าประชาธิปัตย์มีความแตกต่างจาก พรรคชาติไทยพัฒนา หรือพรรคภูมิใจไทย คือยังขายอุดมการณ์ประชาธิปไตย
แม้ว่า 2 ศวรรษหลังจะออกนอกเส้นทางประชาธิปไตยไปบ้าง
แต่การจะฟื้นฟูพรรคประชาธิปัตย์มีทางเดียวคือการกลับมาเส้นทางประชาธิปไตย ไม่มีเส้นทางอื่น
ก่อนหน้านี้เราได้ยินแต่เพียง ส.ส.สอบตกเท่านั้นที่พูดออกมาให้โหวต พิธา นั่งนายกฯ เช่น
ปชป.ฟังไว้! อลงกรณ์ ย้ำ ต้องเคารพเสียงประชาชน โหวต พิธา นั่งนายกฯ
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7668684
แต่ยังไม่มีเสียงตอบรับออกมาจาก 25 ส.ส. ที่จะทำหน้าที่ในสภา
(6)
ผมคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียงต้องโหวตให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล ที่สามารถรวบรวมเสียง ส.ส.ได้เกินกึ่งหนึ่งแล้วมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นฝ่ายค้านที่ดี (เหมือนกับที่พรรคก้าวไกลเคยทำในรัฐบาลประยุทธ์)
เพื่อจะนำพาพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเป็นพรรคหลักของประเทศไทยต่อไป
แต่เส้นทางนี้ก็ยาก และต้องใช้เวลา
ถ้าไม่เลือกเส้นทางนี้ เลือกตั้งครั้งหน้าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคต่ำ 20
แม้แต่ในภาคใต้เองก็ไม่อาจจะยึดครองพื้นที่ได้เช่นเดิม
อลงกรณ์ พลบุตร รก.รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกกับผมว่า ขอเรียกร้องให้ ทุกพรรคที่แพ้เลือกตั้ง แม้แต่ส.ว. โชว์สปิริต ประชาธิปไตย ยกมือโหวตพรรคที่ชนะอันดับ 1 เป็นนายกฯ เพื่อเคารพต่อเจตนารมณ์ของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทำให้การเมืองไทยเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ เลี่ยงความรุนแรง pic.twitter.com/PIAdtFbCfh
— ARM WORAWIT (@armupdate) June 7, 2023