วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 01, 2566

ปฏิบัติการชิงตัดหน้า

ภัควดี วีระภาสพงษ์
6h
·
ถึงแม้มันพยายามชิงตัดหน้าเพื่อเปลี่ยนให้น้อยที่สุด แต่นี่ก็สะท้อนว่า มันรู้ตัวว่าจะไปแบบเดิมต่อไม่ได้แล้วจริงๆ ประชาชนต้องกดดันต่อไปค่ะ การปฏิรูปต้องกำกับมาจากนอกกองทัพ พลเรือนต้องนั่งเป็นประธานจ้ะ


Wassana Nanuam
9h
·
เหล่าทัพลดจำนวนเกณฑ์ทหาร
เหลือปีละ 9 หมื่นคน
กลาโหม เดินหน้า
ยกเลิก เกณฑ์ทหาร ใช้ระบบสมัครใจ
ลดทหารพราน ใต้ 1,656 อัตรา
“บิ๊กตู่” รับทราบรายงานคืบหน้า
แผนปฏิรูปกองทัพ
ยุติแผนการเสริมสร้าง
พล.ร.7-พล.ม.3
เตรียมลด นายพล ราว50%
กว่า 400 นาย ภายในปี2570
ประหยัดงบฯกว่า 2,900 ล้านบาท
ยันปฏิรูปกองทัพ ลดนายพล เป็นไปตามแผนเดิม ไม่ใช่เพราะ “ก้าวไกล”
ย้ำแผนปฏิรูปกองทัพ
เดินหน้าตามแผนเดิม
.
.
พันเอก จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกลาโหม แถลง ผลการประชุมสภากลาโหม ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมเป็นประธาน
การเตรียมกำลัง การใช้กำลัง เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องตัว ทันสมัย เช่น
การยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 ที่ดูแลภาคเหนือ ของกองทัพภาค3 โดยไม่มีการบรรจุกำลังพลเพิ่ม
และกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) ที่ จ.ขอนแก่น ของกองทัพบก
การปรับลด กำลังทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,656 อัตรา
การปรับลดนายทหารชั้นยศสูงเพื่อลดงบประมาณด้านกำลังพล โดยในห้วงปี 2570 ให้เหลือ 50% ตามแผนที่กาหนด
การปิดการบรรจุกำลังพลและลดกาลังพลในปี2560-2564ไปแล้วกว่า8,000นาย สามารถประหยัด งบประมาณได้ จำนวน 1,500 ล้านบาท
และเมื่อถึงปี 2570 จะสามารถปรับลดกำลังพล ลง ได้ประมาณ 12,000 นาย และประหยัดงบกำลังพลลงได้ 2,900 ล้านบาทเศษ
สำหรับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจาการ นั้น จำนวนที่ตรวจเลือกในแต่ละปี จะสอดคล้องกับโครงสร้างการจัดและภารกิจของกองทัพ
โดยปัจจุบันมีความต้องการพลทหารปีละ ประมาณ 90,000 นาย จากเดืม ปีละ 1 แสนคน
และกำลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครใจเข้าเป็นทหาร ประมาณ 35,000 นาย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบการสมัครใจเข้าเป็นทหารได้ ในอนาคต
การนำกำลังพลสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตามสัญญาจ้างระยะ4ปีการเตรียมการ บรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และการเตรียมการด้านกำลังพลสำรอง เพื่อรองรับสถานการณ์ยามวิกฤตและยามสงคราม
ส่วนเรื่องพิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่องสำคัญๆ ร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนา
ศักยภาพกองทัพและเสริมสร้างหน่วยให้มีความสมบูรณ์ พร้อมรบ ในห้วงระยะ 5 ปี เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ
ซึ่งแผนพัฒนาขีดความสามารถ ฯ แบ่งกลุ่มการพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มดำรงสภาพความพร้อมรบ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในระดับความต้องการต่ำสุด และให้สิ่ง อุปกรณ์ของกองทัพสามารถใช้งานตามมาตรฐานของสิ่งอุปกรณ์นั้น รวมทั้งการจัดหาให้ครบตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์และการจัดหาทดแทน
2. กลุ่มขยายขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถของสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น
3. กลุ่มเสริมสร้างความทันสมัยโดย เพื่อให้มีสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและรูปแบบภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ กล่าวในที่ประขุมว่าการปฏิรูปกองทัพ เป็นไปตามแผนเดิมของกระทรวงกลาโหม ไม่ใช่เป็นเพราะ ใครจะมาเป็นรัฐบาล
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสภากลาโหม ว่า ไม่ได้มีการกำชับอะไรเป็นพิเศษกับผู้บัญชาการเหล่าทัพถึงสถานการณ์ในขณะนี้ เพราะทุกคนอยู่หน้าที่ดีอยู่แล้ว มีหน้าที่ตามกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ในการดูแลตามอำนาจหน้าที่ และตามสถานการณ์ที่พัฒนาไป พร้อมย้ำว่าทหารไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยงานของกระทรวงกลาโหมไม่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้ เพราะหน้าที่ของทหารคือการป้องกันประเทศ และการเตรียมแผนพัฒนากองทัพการติดตามสถานการณ์ในภูมิภาค รวมถึงการดูแลเหล่าทัพ และดูแลความมั่นคงต่างๆ โดยวันนี้ได้มีการย้ำเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี ในการเตรียมแผนพัฒนาระยะต่างๆให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต รวมถึงการฝึกร่วม การประชุมร่วมกับประเทศต่างๆ ในทุกระดับ
ส่วนการปฏิรูปกองทัพ มีแผนกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ก็ต้องพิจารณาว่าจะปรับแผนการปฏิรูปหรือไม่ เพราะต้องดูจากบริบทของประเทศไทย และพิจารณาจากหลายปัจจัย ต้องใช้วิธีการผสมผสานหลายภาคส่วน เพราะแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน แต่เราต้องเป็นเรา