"อยากให้คืนความเป็นมนุษย์ให้กับหมอ" พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติ
หมอลาออก: จาก “เครื่องจักร” สู่ “ทาสระบบ” เมื่อแพทย์ไทยขอทวงคืนความเป็นมนุษย์
ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว
เส้นทางสู่อาชีพแพทย์ ที่ใช้เวลาศึกษานานอย่างน้อย 6 ปี จนได้สัมผัสประสบการณ์ “หมอเต็มตัว” เมื่อเริ่มการอินเทิร์นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่นั่นกลับทำให้แพทย์มือใหม่ พบกับชีวิตจริงของแพทย์ไทย ที่ต้อง “ควงกะ-ลากเวร” รวม 100-120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จนเกิดกระแส หมออินเทิร์นลาออก
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2566 พญ.นภสร “ปุยเมฆ” วีระยุทธวิไล นักแสดงสาวและแพทย์พี่เลี้ยงออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี ได้ทวิตตีแผ่เบื้องหลังการขอลาออกจากราชการ หลังใช้ทุนทรัพย์ของตนเอง เล่าเรียน 6 ปี จนได้เป็นแพทย์อินเทิร์น ประจำโรงพยาบาลใน จ.ราชบุรี ว่า “ช่วงนี้กระแสข่าวอินเทิร์นลาออกจากระบบกันเยอะ ขอพูดในฐานะคนที่เพิ่งตัดสินใจลาออกมา”
“งานในระบบหนักจริง... เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต” และ “ไปหางานที่เหมาะกับเราข้างนอกทำดีกว่า ไม่เป็นข้าราชการก็ไม่ตาย” ปุยเมฆ ทวิต ก่อนที่ต่อมาจะขอลบโพสต์ เนื่องจากเริ่มส่งผลกระทบต่อคนที่โรงพยาบาล
สำหรับ พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน สิ่งที่หมอปุยเมฆประสบมานั้น เกิดขึ้นกับ แพทย์อินเทิร์น หรือ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ แทบทุกคน หนักสุดที่ทางเธอได้รับทราบผ่านเครือข่ายของสหภาพฯ คือ ทำงาน 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และควงเวรเกิน 32 ชั่วโมงติดต่อกัน
เธอมองว่า ชั่วโมงที่ยาวนาน ภาระงานที่หนักหน่วง เป็นผลพวงจากการเปิดช่องใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงาน “ล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น” โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง โดยไม่มีการกำหนดเพดานเป็นกฎหมายว่า ทำงานสูงสุดได้กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ยกตัวอย่าง สมัยที่ พญ.ชุตินาถ เป็นอินเทิร์นปี 1 ที่โรงพยาบาลในภาคอีสาน เธอต้อง “ทำงานติดกัน 32 ชั่วโมง เว้นพัก 8 ชั่วโมง วันต่อมาก็ทำงาน 7 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน เพราะต้องดูห้องฉุกเฉินต่อ วันต่อมาได้พัก 6 ชั่วโมง แล้วก็ทำงานอีก 32 ชั่วโมง จนจำชื่อตัวเองไม่ได้เลย”
เมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว
เส้นทางสู่อาชีพแพทย์ ที่ใช้เวลาศึกษานานอย่างน้อย 6 ปี จนได้สัมผัสประสบการณ์ “หมอเต็มตัว” เมื่อเริ่มการอินเทิร์นในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่นั่นกลับทำให้แพทย์มือใหม่ พบกับชีวิตจริงของแพทย์ไทย ที่ต้อง “ควงกะ-ลากเวร” รวม 100-120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จนเกิดกระแส หมออินเทิร์นลาออก
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2566 พญ.นภสร “ปุยเมฆ” วีระยุทธวิไล นักแสดงสาวและแพทย์พี่เลี้ยงออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี ได้ทวิตตีแผ่เบื้องหลังการขอลาออกจากราชการ หลังใช้ทุนทรัพย์ของตนเอง เล่าเรียน 6 ปี จนได้เป็นแพทย์อินเทิร์น ประจำโรงพยาบาลใน จ.ราชบุรี ว่า “ช่วงนี้กระแสข่าวอินเทิร์นลาออกจากระบบกันเยอะ ขอพูดในฐานะคนที่เพิ่งตัดสินใจลาออกมา”
“งานในระบบหนักจริง... เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต” และ “ไปหางานที่เหมาะกับเราข้างนอกทำดีกว่า ไม่เป็นข้าราชการก็ไม่ตาย” ปุยเมฆ ทวิต ก่อนที่ต่อมาจะขอลบโพสต์ เนื่องจากเริ่มส่งผลกระทบต่อคนที่โรงพยาบาล
สำหรับ พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ตัวแทนจากสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน สิ่งที่หมอปุยเมฆประสบมานั้น เกิดขึ้นกับ แพทย์อินเทิร์น หรือ แพทย์เพิ่มพูนทักษะ แทบทุกคน หนักสุดที่ทางเธอได้รับทราบผ่านเครือข่ายของสหภาพฯ คือ ทำงาน 120 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และควงเวรเกิน 32 ชั่วโมงติดต่อกัน
เธอมองว่า ชั่วโมงที่ยาวนาน ภาระงานที่หนักหน่วง เป็นผลพวงจากการเปิดช่องใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงาน “ล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดได้เท่าที่จำเป็น” โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง โดยไม่มีการกำหนดเพดานเป็นกฎหมายว่า ทำงานสูงสุดได้กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ยกตัวอย่าง สมัยที่ พญ.ชุตินาถ เป็นอินเทิร์นปี 1 ที่โรงพยาบาลในภาคอีสาน เธอต้อง “ทำงานติดกัน 32 ชั่วโมง เว้นพัก 8 ชั่วโมง วันต่อมาก็ทำงาน 7 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน เพราะต้องดูห้องฉุกเฉินต่อ วันต่อมาได้พัก 6 ชั่วโมง แล้วก็ทำงานอีก 32 ชั่วโมง จนจำชื่อตัวเองไม่ได้เลย”
พญ.ชุตินาถ ต้องการให้มีกฎหมายควบคุมเวลาทำงานบุคลากรทางการแพทย์ที่ชัดเจน
เมื่อถามว่า ทำไมเธอต้องทุ่มเทขนาดนี้ เธอตอบว่า “ถ้าเราไม่ทำ มันก็ไม่มีคนทำ... แม้ป่วยก็หยุดไม่ได้ ถ้าไม่มีคนแทน แม้ที่บ้านไม่สบาย ก็หยุดไม่ได้ เพราะเราทิ้งคนไข้ไม่ได้”
สิ่งที่หมอชุตินาถเผชิญนั้น เกิดขึ้นเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ก่อนที่เธอจะตัดสินใจออกจากระบบ ไปอยู่กับ รพ.เอกชน ถึงอย่างนั้น เสียงสะท้อนจากบุคลากรทางการแพทย์ กลับมีแต่จะดังและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
“มันอยากจะกรีดร้องทุกวัน” เอิร์ธ-อติรุจ อาษาศึก อดีตแพทย์อินเทิร์น บอกกับบีบีซีไทย
“สมัยเป็นอินเทิร์น อยู่ 13-15 เวรต่อเดือน เวรละ 16 ชั่วโมง 4 โมงเย็นถึง 8 โมงเช้าของอีกวัน” หมอเอิร์ธ เล่าถึงชีวิตตอนเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ที่ รพ.จังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคอีสาน ก่อนที่จะออกจากระบบในปีที่ 3 เพราะทนไม่ได้กับชีวิตที่ไม่มี เวิร์ค-ไลฟ์ บาลานซ์ (Work Life Balance)
เอิร์ธ-อติรุจ อาษาศึก อดีตแพทย์อินเทิร์น ปัจจุบันผันตัวเป็นอินฟลูเอนเซอร์ เป็นที่รู้จักจากการทำคลิปรีแอคชัน ซีรีส์ The Interns ของไทยพีบีเอส ในมุมมองทางการแพทย์
บีบีซีไทยพาสำรวจชีวิตอดีตแพทย์อินเทิร์น ที่ตัดสินใจลาออกจากระบบราชการ หลังเจอกับฟางเส้นสุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่เหมือน “ทาส” และ “เครื่องจักร” จนบางคนเลือกหันไปสู่ชีวิตที่สมดุลกว่าใน รพ.เอกชน และเส้นทางอินฟลูเอนเซอร์
บุคลากรทางการแพทย์ = ทาส ?
เมื่อเดือน มิ.ย. ปี 2565 แพทย์กลุ่มหนึ่งจากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึง พญ.ชุตินาถ ได้ยื่นหนังสือถึงนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อร้องขอความเป็นธรรมเรื่องชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานหนักมากกว่า 100 ชั่วโมงติดต่อกัน จนไม่มีเวลาพักผ่อน กระทบต่อสุขภาพ กดดันให้แพทย์หลายคนลาออก
ข้อเรียกร้องของพวกเขา มีดังนี้
- แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ (ภาครัฐ) มีเวลาพักอย่างน้อย 8 ชั่วโมง หลังลงเวรดึก (00.00-08.00 น.) และหลังทำงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง
- ชั่วโมงทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในวันต่อไป
พญ.ชุตินาถ ยื่นหนังสือต่อหัวหน้าพรรคก้าวไกล เมื่อปี 2565
ขณะที่ ประกาศแพทยสภา ลงวันที่ 17 มิ.ย. 2565 ว่าด้วย แนวทางการกำหนดกรอบเวลาการทำงานของแพทย์ภาครัฐ ระบุว่า แพทย์เพิ่มพูนทักษะ ควรมีชั่วโมงการทำงานนอกเวลาราชการ ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉินไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน หากต้องปฏิบัติงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง แพทย์ต้องได้รับการพักผ่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไป
สำหรับ พญ.ชุตินาถ ข้อ “ยกเว้น” ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และแนวทางฯ ของแพทยสภา ที่ไม่ได้บังคับใช้ด้วยกฎหมาย หมายความว่า กฎหมายไม่เคยกำหนดจำนวนชั่วโมงสูงสุดที่บุคลากรทางการแพทย์ทำได้
แต่จำนวนการควงเวร และลากเวรของโรงพยาบาลรัฐแต่ละที่นั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ “มีแพทย์มาแบ่งเวรมากแค่ไหน” โดยผู้แทนสมาพันธ์ฯ ยกตัวอย่างข้อร้องเรียนจากแพทย์คนหนึ่ง ที่แจ้งว่า โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งมีแพทย์ 2 คน รองรับประชากร 60,000 คนในพื้นที่ ทำให้ต้องสลับกันลากเวรแบบวันเว้นวันไปเรื่อย ๆ
สำหรับตัวเธอ เหตุผลที่ลาออกจากราชการ ไปเป็นแพทย์ รพ.เอกชน มาจากฟางเส้นสุดท้าย ตอนที่เป็นแพทย์อายุรกรรม และรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิดปอดติดเชื้อ “เวรหนักมาก แพทย์ก็ติดโควิดไปด้วย... เราก็ต้องทำงานแทน” แต่ภาพที่เธอจำติดตา คือ “พยาบาลในชุดพีพีอี เป็นลมล้มไปเลย เพราะไม่ได้กินข้าวเลย จนถึงตีสองตีสาม”
“ไม่รู้ใครจะตายก่อนกัน ระหว่างคนไข้ที่นอนใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือพี่พยาบาลเราที่ล้มไปแล้ว แต่ไม่มีใครเข้าไปช่วยได้” และนั่นทำให้เธอตัดสินใจออกจากการเป็นแพทย์ในระบบราชการ เพราะรู้สึกเหมือนเป็น “ทาส”
งานโหลดช่วงโควิด คือฟางเส้นสุดท้ายของ พญ.ชุตินาถ
ชีวิตมีทางเลือกมากกว่า แพทย์ รพ.รัฐ
ในฐานะแพทย์ที่อายุน้อยกว่า เอิร์ธ-อติรุจ ยอมรับกับบีบีซีไทยว่า สาเหตุที่ลาออก ไม่ใช่เพราะภาระงานหนัก แต่เป็นสภาพแวดล้อม ระบบอาวุโส และค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม จนทำให้นานวันเข้า “ไม่มีความสุข” กับการทำงาน
“หมอเป็นเครื่องจักรที่ถูกฝึกมาอย่างยาวนาน เรื่องงานหนักไม่ได้ทำให้ต้องลาออก” หมอเอิร์ธ กล่าว “แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราก็รักษาคนไข้ได้เหมือนกัน” จึงผันตัวมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสายงานอีกมากมาย สำหรับคนรุ่นใหม่
หมอเอิร์ธ ยังมองว่า อินเทิร์น หรือแพทย์เพิ่มพูนทักษะ กลายเป็น “จุดต่ำสุดของการทำงาน” เพราะต้องเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วย ควงเวรยาวนานติดต่อกัน ทั้งที่เพิ่งเริ่มเป็น “หมอเต็มตัว” ครั้งแรก แล้วยังอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบราชการไทย ที่ถูกกดขี่ด้วยระบบอาวุโส และค่าตอบแทนที่ไม่สมเหตุสมผล
หมอเอิร์ธ จึงไม่แปลกใจกับข่าวการลาออกของแพทย์อินเทิร์นที่เพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีของ หมอปุยเมฆ ซึ่งนี่เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น เพราะปัญหามัก "ซุกอยู่ใต้พรม" จากการที่ "อำนาจมืด" ในระบบราชการ กดดันไม่ให้แพทย์เหล่านี้ กล้าวิจารณ์ระบบ ด้วยความกลัวถึงผลกระทบต่อการเรียนต่อ และอาชีพการงาน ในระบบสาธารณสุข จึงมีแต่แพทย์ที่ออกจากระบบแล้ว อย่าง หมอปุยเมฆ และหมอเอิร์ธ ที่กล้าออกมาพูดเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา
"เรื่องงานหนักไม่ได้ทำให้ต้องลาออก” แต่ "ชีวิตมีทางเลือกมากกว่านั้น" หมอเอิร์ธ
“หากไม่ดำเนินการในเชิงโครงสร้างจริง ๆ คนจะออกไปอีกแน่นอน ไม่ใช่แค่หมอจบใหม่ด้วย หมอที่อยู่ในโรงพยาบาลก็จะออกไปเยอะขึ้น เพราะภาระงานเขาเยอะขึ้น หมอก็แห่ออกไปเรื่อย ๆ แล้วคนที่อยู่ต่อก็มีแต่งานเยอะขึ้น ค่าตอบแทนเท่าเดิม สภาพแวดล้อมที่กดดันเยอะขึ้น ต้องอยู่เวรเยอะขึ้น อดหลับอดนอนมากขึ้น”
แล้วปัจจัยอะไรที่เป็นแรงจูงใจให้เป็นแพทย์โรงพยาบาลรัฐ หมอเอิร์ธตอบว่า มีเพียงอย่างเดียว คือ “ตำแหน่งข้าราชการ” ที่ก็ไม่เพียงพอในแต่ละปี และเป็นอีกปัจจัย ที่ทำให้นักศึกษาแพทย์ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้
หมอผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอ
ภายหลังสังคมตั้งคำถามถึง การลาออกของหมอที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจุดประกายจากกรณี หมอปุยเมฆ วันที่ 6 มิ.ย. 2566 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาแถลงชี้แจงถึงประเด็นภาระงานที่มากเกินไปของบุคลากรทางการแพทย์
ข้อมูลการจัดสรรนักศึกษาแพทย์ ผู้ทำสัญญาฯ ที่ไปปฎิบัติงานชดใช้ทุน คณะแพทยศาสตร์ ส่วนราชการ หน่วยงาน และกระทรวงสาธารณสุข ปีงบ 2561-2565 (5 ปีย้อนหลัง) พบว่าสำเร็จการศึกษา 13,141 คน แบ่งเป็นจัดสรรให้ส่วนราชการ/หน่วยงานอื่น จัดสรรให้ 3,937 อัตรา ไปปฏิบัติงานจริง 3,023 คน ส่วนของ สธ. จัดสรรให้ 9,951 อัตรา ไปปฏิบัติงานจริง 9,970 คน
สรุปแล้ว สธ. ผลิตหมอได้ปีละ 2,000-3,000 คน ปัจจุบัน มีแพทย์ในสังกัด 24,668 คน ที่ต้องดูแลประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ 45 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร คิดเป็นสัดส่วนหมอ 1 คนต่อภาระดูแลคนไข้ 2,000 คน จากมาตรฐาน 3 คน ต่อ 1,000 คน
โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทำงานมากกว่า 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 9 แห่ง จากการสำรวจ
ส่วนประเด็นการ ควงกะ-ลากเวร นพ.ทวีศิลป์ ได้เปิดเผยข้อมูลการสำรวจช่วงวันที่ 15-30 พ.ย. 2565 จากโรงพยาบาลในเครือ สธ. 117 แห่ง พบว่า มีแพทย์ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเกิน 40 ชั่วโมง จำนวน 65 แห่ง
- มากกว่า 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 9 แห่ง
- 59-63 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 4 แห่ง
- 52-58 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 11 แห่ง
- 46-52 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 18 แห่ง
- 40-46 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 23 แห่ง
เติมน้ำใส่แก้วรั่ว ?
แพทย์ที่ผันตัวเป็นอินฟลูเอนเซอร์ อย่าง เอิร์ธ-อติรุช ตั้งคำถามถึงเป้าหมายผลิตแพทย์เพิ่มเป็น 35,000 คนในอีก 3 ปี เพราะการผลิตแพทย์จนถึงจุดที่เป็นแพทย์อินเทิร์นได้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี อีกทั้งหากสภาพแวดล้อมและสวัสดิการการทำงาน ยังคงเหมือนเดิม ท้ายสุดแพทย์ก็จะแห่ออกไปจากระบบอยู่ดี
“แปลว่าเราจะมี 6 ปีที่เสียไป แล้วทุกคนต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม รอการเติมหมอ” หมอเอิร์ธ ระบุ “แล้วเติมไปก็ไม่พออยู่ดี เพราะตอนนี้ แก้วมีรูรั่ว เติมแต่น้ำ ไม่อุดรู ยังไงก็ไม่มีวันพอ”
การอุดรูรั่ว ในมุมของอดีตแพทย์อินเทิร์น คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่แพทย์รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง “คนเท่ากัน ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน อย่ากดขี่กันด้วยความอาวุโส” ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ หมอเอิร์ธ มองว่าทำให้แพทย์อินเทิร์น เมื่อจบปี 1 ก็ลาไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง เพราะหวังว่าภาระงานจะน้อยลง มีเวลาใช้ชีวิตมากขึ้น
“สังคมคาดหวังกับหมอเยอะมาก ต้องอดทน ต้องเสียสละ แต่ลืมนึกว่า หมอก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องใช้ชีวิตเหมือนกัน เป็นการผลักภาระให้หมออย่างเดียว โดยที่ไม่ได้แก้ปัญหาชีวิตให้หมอเลย” หมอเอิร์ธ กล่าว
นโยบายของพรรคก้าวไกล จะเป็นคำตอบหรือไม่ ?
ในส่วนของแนวทาง “ภาระงานของแพทย์” ที่ พญ.สุธัญญา บรรจงภาค รองประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ แพทยสภา จัดทำขึ้น โดยอ้างอิงมาตรฐานสากล สามารถ สรุปแนวทางได้ 7 ข้อสำคัญ คือ
- ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ภาครัฐไม่ควรเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- ควรมีวันหยุดอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์
- ระยะเวลาปฏิบัติการไม่ควรติดต่อกันเกิน 16 ชั่วโมง
- ถ้าระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง ต้องมีเวลาหยุดพัก 8 ชั่วโมง
- การอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ไม่ควรเกิน 7 เวรต่อเดือน
- การตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ควรใช้เวลาประมาณ 5 นาทีต่อคน (12 คนต่อชั่วโมง)
- แพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีเป็นต้นไป ควรงดอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
- การวางรูปแบบการทำงานใหม่ อาทิ Nigh Float คือ การอยู่เวรกลางคืนทั้งอาทิตย์ จะได้ไม่สลับเช้าต่อดึกเหมือนที่เป็นมา
- ค่าตอบแทนที่ถูก “แช่แข็งมา” มายาวนาน และ ค่าเวรที่ขึ้นน้อย
- บ้านพักบุคลากรทางการแพทย์ ที่เหมือน “บ้านผีสิง” และไม่ปลอดภัย จนแพทย์ต้องรวมเงินกันเอง เพื่อปรับปรุง
- ห้องฉุกเฉิน (อีอาร์) สำหรับคนไข้ฉุกเฉินจริง ๆ ถ้าคนไข้ไม่เร่งด่วน แนะนำให้ทำใบนัดมาตรวจวันอื่น ซึ่งจะช่วยลดภาระงานของห้องฉุกเฉินได้ 30-40%
“มันนานเกินไปแล้วที่เราเจอกับปัญหาแบบนี้ อยากให้คืนความเป็นมนุษย์ให้กับหมอ หมอจะได้ให้บริการกับคนไข้ อย่างเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน”