วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 01, 2566

พิธา มั่นใจว่าสามารถ แก้รัฐธรรมนูญ ในสมัยแรกที่เป็นรบ.ได้ โดยเน้นการทำ ประชามติ “อาจจะ 4-5 ครั้ง” โดยเริ่มจากการถามว่า “ต้องการมีรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนหรือไม่” จากนั้นจะเริ่มกระบวนการได้ภายใน 100 วันแรก


Pipob Udomittipong
15h
·
#พิธา มั่นใจว่าสามารถ #แก้รัฐธรรมนูญ ในสมัยแรกที่เป็นรบ.ได้ โดยเน้นการทำ #ประชามติ “อาจจะ 4-5 ครั้ง” โดยเริ่มจากการถามว่า “ต้องการมีรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชนหรือไม่” จากนั้นจะเริ่มกระบวนการได้ภายใน 100 วันแรก ทั้ง #ไทย และ #ชิลี มีปัญหาจากรัฐธรรมนูญของเผด็จการที่แก้ยากเหมือนกัน คนชิลีร่างรธน.ใหม่อย่างไร? https://youtu.be/SdTJK5_Rugk (เป็นบทสัมภาษณ์ที่ดีมาก ควรฟังให้จบ)
เช่นเดียวกับ รธน.60 ของ #ไทย คน #ชิลี ยังคงใช้ รธน. ที่ร่างโดยเผด็จการเอากุสโต ปิโนเชต์ หลังการยึดอำนาจจากรบ.จากการเลือกตั้ง 40+ ปีที่แล้ว แม้จะแก้ไขมาหลายครั้งในยุคหลังประชาธิปไตยเบ่งบาน แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขสาระสำคัญของรธน. ที่มุ่งตอบสนองศก.เสรีนิยมสุดโต่งได้
ความไม่เท่าเทียมสุดโต่งนำไปสู้การประท้วงในวงกว้าง จนรบ. รับปากในปี 2019 ว่าจะจัดทำประชามติ เพื่อนำไปสู่การร่างรธน.ใหม่ โดยประชามติแรกเริ่มจากคำถาม 2 ข้อ (1) ต้องการรธน.ใหม่เพื่อทดแทนของเก่าหรือไม่ + (2) ต้องการให้สมาชิกสภาร่างรธน.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ ปขช.ตอบ ใช่ ทั้ง 2 ข้อ
หลังจากนั้นมีการจัดเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรธน. แต่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม รวมทั้งความเท่าเทียมทางเพศของสสร. ความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ฯลฯ สุดท้ายคนชิลีเลือกสสร.ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองหลัก เป็นผู้สมัครอิสระ + แนวทางการเมืองค่อนข้างซ้าย #รัฐสวัสดิการ
ปลายปี 2021 คน #ชิลี ก็เลือกตั้งปธน.หนุ่มสุด ซ้ายสุดเข้ามา กาเบรียล บอริช แต่ปรากฎว่าหลังจากสภาร่างจัดทำรธน.ใหม่เสร็จ มีการลงประชามติอีกครั้ง ปลายปี 2022 ปชช.กลับโหวตไม่รับรองรธน.ที่ค่อนข้างซ้าย+รัฐสวัสดิการสูง ทำให้ต้องกลับไปนับหนึ่ง จัดเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรธน.ใหม่
ล่าสุด 7 พ.ค. 2023 คน #ชิลี ลงคะเนนเลือกสสร.ชุดใหม่ ปรากฏว่าคราวนี้ ฝ่ายขวาสุดได้รับเลือกตั้งเข้ามาจำนวนมาก จึงมีแนวโน้มว่า รัฐธรรมนูญใหม่ อาจมีเนื้อหาไม่ต่างจากรธน.ที่ร่างสมัยเผด็จการมากนัก ในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่มีการแทรกแซง มันจะสวิงไปมาระหว่างซ้าย-ขวาแบบนี้
https://www.ipsnews.net/.../chile-new-constitution-hands.../