ภาพจาก The Telegraph
Pavin Chachavalpongpun
17h
จนป่านนี้ เราไม่ยังรู้หมายกำหนดการว่าวชิราลงกรณ์ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานศพควีนเอลิซาเบธที่ลอนดอนไหม ซึ่งจะมีขึ้นที่ Westminster Abbey ในกรุงลอนดอนวันจันทร์นี้ ถ้าไม่ได้รับเชิญ ก็น่าจะมีการตีความได้หลายอย่าง
1. ตีความว่า นับตั้งแต่ภูมิพลตายไป ความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ก็ลดลงตามลำดับ จนไม่สนิทกันเหมือนในยุคก่อน ไทยไม่ได้อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ ถ้าไม่ได้รับเชิญก็อาจไม่แปลก แต่ถ้าคิดว่า powerful monarchy บนโลกใบนี้ ไทยก็น่าจะได้รับเชิญ
2. ในมุมมองจากไทยเอง และเป็นงานที่ดิชั้นทำวิจัยอยู่ เป็นที่ประจักษ์ว่า วชิราลงกรณ์ไม่สนใจสิ่งที่เรียกว่าเป็น international recognition หมายถึงการได้รับการยอมรับจากนานาชาติในฐานะสถาบันกษัตริย์อันทรงเกียรติ ต่างไปจากภูมิพลที่ใช้การยอมรับจากต่างชาติมาสร้างความชอบธรรมของสถาบันกษัตริย์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบริบททางการเมืองต่างไป เราไม่ได้อยู่ในยุคสงครามเย็นที่กษัตริย์ที่บทบาทในการสร้างพันธมิตรทางการเมืองระหว่างประเทศ แต่กระนั้น แม้โลกเปลี่ยนไปแล้ว ในความเห็นดิชั้น กษัตริย์ยิ่งต้องขอการยอมรับมากกว่าเดิม เพราะเราไม่มีคอมมิวนิสต์เป็นผีสร้างความชอบธรรมให้อีกแล้ว แต่ที่ปรากฏ วชิราลงกรณ์ไม่สนใจตรงนี้ เพราะแม้ไม่มีการยอมรับจากต่างประเทศ ก็สามารถรวบอำนาจทางการเมืองไว้ได้ อันนี้บวกกับนิสัยส่วนตัวของวชิราลงกรณ์ที่ไม่ชอบสุงสิงกับใคร แม้ขึ้นครองราชย์ได้ 6 ปีแล้ว ยังไม่มีแผนในการเดินทางไปเยือนต่างประเทศเพื่อ "แนะนำตัวเอง" (introductory tour) ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ภูมิพลสร้างขึ้น
3. การที่วชิราลงกรณ์มีพฤติกรรมแปลกๆ อาทิ แต่งตัวคร็อปท็อป หรือการปฏิบัติต่อเยาวชนในไทยอย่างโหดร้าย จับนักศึกษาเข้าคุก และกำจัดผู้เห็นต่างด้วยการอุ้มฆ่า น่าจะเป็นจุดที่วังอังกฤษต้องเอามาพิจารณาอยู่บ้าง อย่าลืมว่า หลังจากในหลวงอานันท์ตาย และภูมิพลอยากไปเยือนอังกฤษ กษัตริย์จอร์ชถึงกับบอกว่า "บัคกิ้งแฮมไม่ต้อนรับฆาตกร"