วันอาทิตย์, กันยายน 25, 2565

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอิหร่าน จากกษัตริย์สู่รัฐอิสลาม - Iran 1979: Anatomy of a Revolution l Featured Documentary


(ขวา) ภาพวาดอยาตุลเลาะห์ โคมัยนี ผู้นำทางศาสนาอิหร่าน ฉากหลังเป็นอนุสาวรีย์บรรจุศพของโคมัยนี และครอบครัวของเขาในเมืองเตหะราน ประเทศอิหร่าน ภาพจาก AFP (ซ้าย) ชาห์โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กษัตริย์องค์สุดท้ายของอิหร่าน (ภาพโดย By Ghazarians, via Wikimedia Commons)

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอิหร่าน จากกษัตริย์สู่รัฐอิสลาม

22 กันยายน พ.ศ.2565
ศิลปวัฒนธรรม

ก่อนจะเป็นรัฐอิสลามอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ เดิมทีประเทศอิหร่านถูกปกครองโดยกษัตริย์มาเป็นเวลานาน เรารู้จักดินแดนแถบนี้กันในชื่อว่าเปอร์เซีย ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อประเทศในปี ค.ศ. 1934/พ.ศ. 2477 ไปใช้ชื่อ “อิหร่าน” แทน

จุดเปลี่ยนสำคัญในการไปสู่รัฐอิสลามต้องเริ่มจากสถานการณ์ย้อนไปเมื่อการแพร่ขยายอิทธิพลตะวันตกรุกคืบมาในเปอร์เซีย โดยเฉพาะอังกฤษที่เข้ามาหาประโยชน์จากการขุดเจาะน้ำมันในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นชาติตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศ

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติตะวันตกยังเข้ามาคุกคามและแย่งชิงผลประโยชน์ ทั้งรัสเซีย อังกฤษ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คนในประเทศเริ่มไม่พอใจนำไปสู่กระแสต่อต้านตะวันตกขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของชาติ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาติตะวันตกได้เข้าควบคุมประเทศอิหร่านโดยบีบให้กษัตริย์เรซา ชาห์ ข่าน (ซึ่งเดิมทีเป็นนายกรัฐมนตรี และประกอบพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ ค.ศ. 1925) ที่ไม่นิยมตะวันตกสละราชบัลลังก์ และนำกษัตริย์ที่นิยมตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอมริกาซึ่งเป็นโอรสคือ มุฮัมหมัด เรซา ข่าน ขึ้นครองราชย์บัลลังก์แทน อิหร่านจึงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตะวันตก

จนถึงปี ค.ศ. 1951/พ.ศ. 2494 เกิดกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวอิหร่าน ในปีนั้นผู้นำในขบวนการชาตินิยมอิหร่านคือ ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของอังกฤษกลับมาเป็นของรัฐ ทำให้ตะวันตกตอบโต้การกระทำของอิหร่านโดยการไม่ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน

รัฐบาลอิหร่านประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ เป็นเวลาเดียวกับที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังมีปัญหา หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1953/พ.ศ. 2496 กษัตริย์ของอิหร่านคือชาห์ และราชินีเสด็จออกนอกประเทศ

นายพลซาเฮดี ตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี จับกุมดร. มุฮัมหมัด มูซัดเดก และคณะรัฐบาล อิหร่านจึงกลับไปนิยมตะวันตก กลับมาเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษใหม่ มีกระแสว่า เบื้องหลังการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนให้อิหร่านกลับมานิยมตะวันตกเหมือนเดิมโดยมีซีไอเอของสหรัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญเนื่องจากสืบรู้มาว่า รัฐบาลของมูซัดเดก กำลังเข้าหาสหภาพโซเวียตและกลัวว่าหากปล่อยไว้ แหล่งน้ำมันของอิหร่านจะตกอยู่ในมือคนอื่น

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1955/พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ชาห์ซึ่งเป็นกษัตริย์เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้นและเปลี่ยนไปปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในปี ค.ศ.1963/พ.ศ.2506 พระองค์เริ่มเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวหน้า เช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี จัดตั้งหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติขาว” เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดความรุนแรงและเป็นไปตามขั้นตอน

อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันเกิดการประท้วงการปฏิรูปที่ดินของชาห์ และมีผู้เสียชีวิตไปหลายราย และเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้นำคนสำคัญของชาวมุสลิมชีอะห์และผู้นำการประท้วงคือ อยาตุลเลาะห์ โคมัยนี ถูกพระองค์ขับไล่ออกนอกประเทศ ต้องไปอยู่อิรักก่อนไปอยู่ฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายปีแต่ยังคงเผยแพร่อุดมการณ์ต่อต้านชาห์ผ่าน “เทปปฏิวัติ” ในหมู่นักศึกษาและประชาชน ขบวนการต่อต้านชาห์ เข็มแข็งขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ

แม้ประชาชนจะยอมรับการปฏิรูปของพระองค์ในตอนแรก การปฏิวัติยังทำให้ประเทศอิหร่านเจริญก้าวหน้า แต่ก็นำมาซึ่งปัญหาและนำไปสู่การล้มราชบัลลังก์ของพระองค์

มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ประชาชนไม่พอใจพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปที่ดินซึ่งคนใกล้ชิดพระองค์เป็นผู้ได้ประโยชน์จากที่ดินจำนวนมาก ผลจากการพัฒนาตามแบบตะวันตกทำให้บาร์ ไนท์คลับ สื่อลามก หลั่งไหลเข้ามาภายในประเทศจนฝ่ายศาสนาและพวกอนุรักษ์นิยมไม่พอใจ

ประเด็นที่สำคัญคือ ผลประโยชน์ในการพัฒนาประเทศตกอยู่ในมือคนรวยเพียงไม่กี่ตระกูล รวมถึงราชวงศ์ของพระองค์ที่มีธุรกิจและกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงเข้าไปมีผลประโยชน์กับบริษัทต่างชาติในอิหร่าน ในขณะที่ประชาชนอิหร่านส่วนใหญ่อยู่อย่างยากลำบาก ว่างงาน ไม่ได้ศึกษา อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และขาดยารักษาโรค รวมทั้งนโยบายของพระองค์ที่สนับสนุนอิสราเอล

ดังนั้นเมื่อประชาชนเริ่มต่อต้าน พระองค์จึงตั้งหน่วยตำรวจลับ “ซาวัค” ขึ้นมาทำหน้าที่สอดส่องและจับกุมผู้ต่อต้านพระองค์ซึ่งส่วนมากมากเป็นพวกหัวก้าวหน้า อาจารย์ นักศึกษา นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถหยุดความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้

ความไม่พอใจของประชาชนปะทุขึ้นใน 19 สิงหาคม ค.ศ. 1978/พ.ศ. 2521 ซึ่งอยู่ในช่วงรอมฎอน ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ในเมืองอะบาดานเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 387 คน รัฐบาลอ้างว่ากลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนาเป็นผู้ก่อเหตุแต่ก็ไม่สามารถจับผู้กระทำผิดได้ จึงทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลนำไปสู่การประท้วงตามที่ต่างๆ

หลังเหตุการณ์นี้ผู้ใช้แรงงานนับแสนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ต่างก็เข้าร่วมประท้วง อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวภายนอกประเทศ โคมัยนี เรียกร้องให้มุสลิมทั่วโลกสนใจการประท้วงของคนอิหร่าน โดยกล่าวระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ตอนหนึ่งว่า

“ชาห์ได้ยกทรัพยากรธรรมชาติ และผลประโยชน์ที่ชาวอิหร่านสมควรจะได้รับให้กับชาวต่างชาติ ทั้งยกน้ำมันให้อเมริกา ก๊าซให้โซเวียต ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ให้กับอังกฤษและปล่อยประชาชนอยู่อย่างยากลำบาก”

การประท้วงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1978/พ.ศ. 2521 ซึ่งตรงวันรำลึกการจากไปของอิหม่ามฮุเซน อิหม่ามองค์ที่ 3 ของนิการชีอะห์ วันนั้นเป็นวันที่ประชาชนนับล้านมาชุมชนกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ โดยฝูงชนชูรูปโคมัยนีเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติพร้อมตะโกนด่าสหรัฐอเมริกาและเรียกร้องรัฐอิสลาม

การประท้วงใหญ่ที่เกิดในเมืองมาชาด ประชาชนอิหร่านนับแสนก่อจลาจลเผาบ้านคนอเมริกัน ทำลายกิจการต่างๆของชาวตะวันตก ทหารเข้าปราบผู้ชุมนุมด้วยอาวุธปืน ระเบิดและแก๊สน้ำตาทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวมมาก

เหตุการณ์ได้ลุกลามจนควบคุมไม่ได้ทำให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากประเทศอิหร่าน รวมทั้งทำให้ชาห์ ต้องอพยพตามคำแนะนำของสหรัฐอเมริกาโดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัวในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979/พ.ศ. 2522

ในเวลาเดียวกันโคมัยนีก็กลับสู่ประเทศอิหร่านพร้อมกับการต้อนรับจากประชาชนจำนวนมาก โคมัยนี ในวัย 78 ปียังมีบุคลิกแห่งความเป็นนักสู้ ความเด็ดเดี่ยว น่าเคารพเป็นผู้นำต่อสู้กับรัฐบาลของนายบัคเตียร์ที่รักษาบัลลังก์ไว้ให้ชาห์ แม้ตอนแรกกองทัพบกไม่ยอมแต่เมื่อกองทัพอากาศได้เข้าร่วมกับโคมัยนี กองทัพบกจึงวางตัวเป็นกลาง ฝ่ายโคมัยนีเข้าควบคุมกรุงเตหะรานโดยบุกยึดที่ทำการของรัฐบาลและสถานีตำรวจไว้ทั้งหมด เมื่อสามารถควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศได้ นี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้อิหร่านเป็นรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
.....
ชมวิดีโอสารคดี Iran 1979: Anatomy of a Revolution l Featured Documentary

#AlJazeeraEnglish #IranRevolution
Iran 1979: Anatomy of a Revolution l Featured Documentary

Feb 4, 2019

Al Jazeera English

Editor's note: This film was first broadcast in 2009.

In 1979, after decades of royal rule, millions of Iranians took to the streets in a popular movement against a regime that was seen as brutal, corrupt and illegitimate.

Protesters from all social classes demanded the removal of Mohamed Reza Shah Pahlavi, the country's monarch since 1941.

The Shah had long been criticised for his ties to Western countries, particularly Britain and the United States, as well as crackdowns by internal security forces on dissenting voices.

While the country enjoyed periods of economic prosperity, citizens began protesting against the government after an economic collapse in 1977, which caused high unemployment and rising inflation.

During his rule, Pahlavi had few more staunch critics than Grand Ayatollah Khomeini.

The cleric condemned the Shah's "White Revolution", an ambitious modernisation programme that redistributed land and pushed for social reforms in the 1960s - criticising that it undermined Iran's Shia traditions and served foreign interests.

The Shah arrested Khomeini in 1963 and forced him into exile a year later. But the cleric would continue to bear influence from afar, calling for an end to the monarchy and the establishment of an Islamic republic.

Khomeini's taped speeches won a growing audience among Iranians in the 1970s, many of whom were dissatisfied with the government. The so-called "cassette revolution" was under way.

By the end of 1978, protests against the Shah had turned into a revolution and on January 16, 1979, the Shah fled the country - ending more than 2,000 years of Persian monarchy.

On February 1, Khomeini returned to Iran to crowds of supporters and soon after appointed an interim prime minister.

Under the new government, many opposition leaders were jailed or executed, while many former prisoners were released.

The country was transformed into an Islamic republic and set on a new path - one that brought it to war with its neighbour and ongoing conflict with the West.

Rageh Omaar went to Iran to find out how the Khomeini movement and Iran's Islamic revolution have influenced Iran's foreign policy.