Saiseema Phutikarn
sSdpr516l0988u0m6h277 ·
<ทำไมเปิดเผยงบรายจ่ายยิ่งละเอียด ยิ่งเป็นผลดีต่อส่วนราชการในพระองค์?>
แปลกใจเล็กน้อยที่สเตตัสเมื่อวานเรื่อง "1บรรทัด9พันล้าน งบส่วนราชการในพระองค์" ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีฝ่ายนิยมเจ้ามาเม้นต์ตอบมากผิดปกติ หลายคนหาว่าเป็น ข้อมูลเท็จ หรือไม่ก็ บิดเบือนนี่แค่เอกสารสรุป มีรายละเอียดอีกเป็นเล่ม บางคนถึงกับขู่ด้วยว่าจะแคปไปแจ้ง 112 หรือ พรบ.คอม ก็มีบางคนที่ยอมรับว่าข้อมูลมีแค่นั้นจริง แต่ยกคำอธิบายของฝ่ายนิยมเจ้าบางคนที่ว่า "ส่วนใหญ่เป็นงบด้านบุคลากร รายละเอียดจึงไม่จำเป็น"
วันนี้จึงอยากจะโต้แย้งในประเด็นนี้ เพื่ออธิบายว่าทำไม "รายละเอียด"ถึงเป็นเรื่องจำเป็น และ ทำไมเปิดเผยข้อมูลยิ่งละเอียดยิ่งเป็นผลดีต่อส่วนราชการในพระองค์เอง
"ส่วนราชการในพระองค์" เป็นหน่วยงานรัฐที่ตั้งขึ้นภายใต้ พรบ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 โดยเป็นการโอนกิจการและงบประมาณของ 5 หน่วยราชการเดิมคือ 1.สำนักพระราชวัง 2.สำนักราชเลขาธิการ 3.กรมราชองครักษ์ 4.หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยฯ และ 5.สำนักงานนายตำรวจราชสำนักฯ แล้ว"ควบรวม"เป็นหน่วยงานรัฐใหม่ ที่มีสถานะไม่เป็นส่วนราชการ หรือ หน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด รวมถึง ข้าราชการในพระองค์ ไม่ถือเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่น
เพราะเหตุนี้พันธกิจของส่วนราชการในพระองค์จึงกว้างมาก ในเอกสารงบประมาณ ปี 66 ระบุว่ามีพันธกิจ 8 ข้อคือ 1.งานเลขานุการในพระองค์ฯ 2.จัดงานพระราชพิธี 3.งานประสานงานกับรัฐบาล ฯลฯ 4.งานบำบัดทุกข์พสกนิกรตามพระกระแส 5.การประชาสัมพันธ์พระราชกรณียกิจฯ 6.ดำเนินโครงการ มูลนิธิ กองทุน และวัด ในพระบรมราชูปถัมน์ฯ 7. ถวายความปอลดภัย และ ถวายพระเกียรติ และ 8 งานอื่นใดตามพระราชอัธยาศัย
แต่ปัญหาก็คือนับตั้งแต่ก่อตั้งในกลางปี 60 เอกสารประกอบการของบประมาณประจำปีของหน่วยงาน รายละเอียดงบรายจ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะ มีข้อมูลเพียงแค่ 1 บรรทัดมาโดยตลอด ทำให้เป็นการยากที่สาธารณชนจะเชื่อมโยง "พันธกิจ" ของหน่วยงาน กับ "งบประมาณรายจ่าย" ที่ใช้เหมือนกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ จนบางครั้งทำให้คนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข้อมูล เกิดความเข้าใจที่ผิดคิดว่า งบประมาณ 8-9 พันล้านต่อปี ทั้งหมดเป็นรายจ่ายเฉพาะของพระบรมวงศานุวงศ์ และ คนใกล้ชิดเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ ก็เหมือนกับรายจ่ายของหน่วยงานรัฐอื่นๆ คือส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่าย งบบุคลากร (1.4 หมื่นคน?) ค่าดำเนินงาน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ รวมถึงบางส่วนเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนมูลนิธิ โครงการพระราชกุศล แต่พอไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดก็ไม่แปลกที่จะมีคนเข้าใจผิด
การเปิดเผยรายละเอียดงบประมาณจำแนกตามรายจ่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น และ สามารถทำได้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องความมั่นคงต่อสถาบันแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมาก่อนจะมีส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เคยเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียดในเอกสารงบประมาณมาแล้วทุกปี
ขอยกตัวอย่างส่วนหนึ่งของเอกสารงบประมาณปี 59 ของสำนักพระราชวังที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียด เห็นชัดเจนว่างบประมาณเกือบครึ่งคืองบบุคลากร รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดูและพระราชวังที่ประทับทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีงบประมาณสำหรับอุดหนุนโครงการ มูลนิธิ เพื่อพระราชกุศล เช่น โครงการลูกพระดาบส
หรือข้อมูลรายละเอียดงบประมาณของสำนักราชเลขาธิการ ก็เช่นกัน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นงบบุคากรซึ่งทำงานด้านเลขานุการในพระองค์ คอยประสานงานกับรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ รวมถึงเงินประจำตำแหน่งองคมนตรี นอกจากนี้ ยังมีเงินอุดหนุนโครงการ มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น มูลนิธิทันตนวัตกรรม มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ฯลฯ
เช่นเดียวกับข้อมูลของ กรมราชองค์รักษ์ และ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยฯ ซึ่งถึงแม้ทั้ง 2 หน่วยนี้จะมีภารกิจหลักเป็นในเรื่องการรักษาความปลอดภัยซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์โดยตรง แต่ก็มีการเปิดเผยงบรายจ่ายโดยละเอียด ว่าแต่ละปีใช้เงินภาษีประชาชนเพื่อเป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน หรือ รายจ่ายอื่นๆเท่าไหร่ เพื่อปฏิบัติภารกิจการถวายความปลอดภัยนี้
จะเห็นว่าในเอกสารงบประมาณประจำปี การเปิดเผยงบรายจ่ายยิ่งละเอียด ยิ่งเป็นผลดีต่อส่วนราชการในพระองค์เอง เพราะในฐานะหน่วยงานรัฐการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ย่อมลดความแคลงใจจากความเข้าใจที่ผิดๆของประชาชนไปได้ ซึ่งการเปิดเผยรายจ่ายอย่างละเอียดไม่เพียงจะเป็นผลดีต่อหน่วยงานอย่างส่วนราชการในพระองค์เอง แต่ยังเป็นผลดีต่อพระเกียรติของสถาบันกษัตริย์อีกด้วย
//สเตตัสที่เกี่ยวข้อง//
-1บรรทัด9พันล้าน:งบส่วนราชการในพระองค์
https://www.facebook.com/saiseema.p/posts/pfbid0TAK9iomGJkAYebeJqKC8xjU8Fb5NeNDu3sEed4s9DxqKnYXRRMmgsbqdYGYqeEMUl
🧵เมื่อวาน #1บรรทัด9พันล้าน มีคนเม้นจำนวนมาก หลายคนหาว่า บิดเบือน ข้อมูลเท็จ บางคนขู่ด้วยว่าจะแคปไปแจ้ง112 แต่ก็มีบางคนก็รับว่าจริง แต่ยกคำอธิบายที่ว่า"รายละเอียดไม่จำเป็น" วันนี้จึงขออธิบายว่าทำไม"รายละเอียด"ถึงจำเป็น และ ยิ่งละเอียดยิ่งดีต่อ #ส่วนราชการในพระองค์ และ สถาบันเอง/1 pic.twitter.com/v4TT6S8tGI
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
โดยส่วนราชการในพระองค์ เป็น"หน่วยงานรัฐ"ที่มีสถานะไม่เป็นส่วนราชการ หรือ หน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด รวมถึง ข้าราชการในพระองค์ ไม่ถือเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่น เพราะเหตุนี้พันธกิจของส่วนราชการในพระองค์จึงกว้างมาก /3 pic.twitter.com/Yj2QfumoqE
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
แต่ปัญหาก็คือนับตั้งแต่ก่อตั้งในกลางปี 60 เอกสารประกอบการของบประมาณประจำปีของหน่วยงาน รายละเอียดงบรายจ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะ มีข้อมูลเพียงแค่ 1 บรรทัดมาโดยตลอด ทำให้เป็นการยากที่สาธารณชนจะเชื่อมโยง "พันธกิจ" ของหน่วยงาน กับ "งบประมาณรายจ่าย" ที่ใช้เหมือนกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ /5 pic.twitter.com/6QsqSfGLBe
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
ทั้งที่จริงแล้ว งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ ก็เหมือนกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ คือส่วนใหญ่เป็น งบบุคลากร (1.4 หมื่นคน?) ค่าดำเนินงาน ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ รวมถึงบางส่วนเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนมูลนิธิ โครงการพระราชกุศล แต่พอไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดก็ไม่แปลกที่จะมีคนเข้าใจผิด/7
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
ขอยกตัวอย่างส่วนหนึ่งของเอกสารงบประมาณปี 59 ของสำนักพระราชวังที่มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างละเอียด เห็นชัดเจนว่างบประมาณเกือบครึ่งคืองบบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการดูพระราชวังที่ประทับทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีงบประมาณสำหรับอุดหนุนโครงการมูลนิธิเพื่อพระราชกุศล เช่น โครงการลูกพระดาบส /9 pic.twitter.com/1yaUyH3wFT
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
เช่นเดียวกัน ปี59 กรมราชองค์รักษ์ และ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยฯ ซึ่งมีหน้าที่ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์โดยตรง แต่ก็เปิดเผยงบรายจ่ายโดยละเอียด ว่าแต่ละปีใช้เงินภาษีเพื่อเป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน หรือ อื่นๆ เท่าไหร่ เพื่อภารกิจการถวายความปลอดภัยนี้/11 pic.twitter.com/PRsmqEMxXP
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022
ทวิตเมื่อวาน และ โพสท์ในเฟสบุ๊คที่ได้รับความสนใจมาเม้นกันอย่างล้นหลามhttps://t.co/NQq4U4smPMhttps://t.co/15m3aum33Z
— Sai-See-Ma (@SaiSeeMaP) May 19, 2022