เหลือขอจริงๆ หมอนี่ ประยุทธ์พูดถึงการที่ญี่ปุ่นเอาเงินมาให้กู้ถึงบ้าน ๑๓,๒๓๕ ล้านบาท ว่าเพราะ “การเงินการคลังเราเข้มแข็ง” พูดเหมือนระดับสติปัญญาเท่าจิ๋มแมงหวี่ ก็ถ้ามันแข็งจริงแล้วจะต้องไปกู้ทำไม
จะว่ากู้เพื่อแบ่งค่าหัวคิว (ทำให้การเงินหมุนเวียนด้วยดอกเบี้ย) ก็จะเป็นการหมิ่นนายกฯ ญี่ปุ่นเขาเกินไป ในประเด็นที่ว่าเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แม้นว่ากู้ครั้งนี้ยังอยู่ในยอดเงินกู้ ๕ แสนล้าน “ที่อนุมัติไปแล้ว” ก็ไม่จำเป็น ไม่สมควรดังที่คนด่าไว้อยู่ดี
เรื่องของเรื่องอยู่ที่ว่าต้องรู้จัก และ/หรือเรียนรู้ การบริหารจัดการเงินที่ยังเหลือแค่ก้นถุง เสียที ๘ ปีแล้วยังดูแลประเทศและประชากรด้วยการกู้ ถ้าเป็นบรรษัทเอกชนเขาเปลี่ยนตัวกันไปนานแล้ว อ้างแต่โควิดตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา ทั้งๆ นั่นมันปลายเหตุ
เหตุต้นๆ อยู่ที่ความเดือดร้อนเรื่องทำมาหากิน ชีวิตความเป็นอยู่ และสวัสดิภาพของประชาชน ซึ่งผู้เป็นรัฐบาลจะต้องดำเนินการให้สัมฤทธิ์ผล ตามพันธกรณีของการเข้ามาเป็นรัฐบาล หากเป็นรัฐบาลที่มาจากการอนุโมทนาด้วยคะแนนเสียง
แต่นี่เป็นรัฐบาลที่มาจากการ ‘บุลลี่’ แล้วตามด้วยการฉ้อฉลจนได้อยู่ต่อ ตอนนี้เอาแต่ตอแหลรายวันเพื่อจะอยู่ยาว เรื่องธรรมดาพื้นฐานของชาวบ้าน เกี่ยวกับผลกระทบจากธรรมชาติที่เปลี่ยนไปทางร้าย เนื่องจากการเอารัดเอาเปรียบของมนุษย์ด้วยกัน
ตัวอย่างย่อยๆ แต่เรื่องใหญ่ กรณีชาวบ้านริมโขง ๘ จังหวัดยื่นฟ้องไว้ต่อศาลปกครอง ๑๐ ปีนี่แล้ว ว่าการทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไชยะบุรีในลาว ที่พวกเศรษฐีไทยไปลงทุนนั้นกระทบต่อภาวะธรรมชาติแวดล้อม ชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของประชาชน
โดยที่ศาลปกครองสูงสุดรับคำฟ้อง อันมีต่อ ๕ หน่วยงานรัฐบาล เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คณะกรรมการพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เป็นต้น ด้วยข้อหา ละเลยต่อหน้าที่ “ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน”
เรื่องอย่างนี้รัฐบาลควรต้องยื่นมือเข้าไปทำการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้น มิใช่ละเลยให้ประชาชนต้องเข้าไปดำเนินการด้วยตนเอง แล้วถูกระบบศาลพระภูมิไทยลากถูลู่ถูกังมาเป็นเวลา ๑๐ ปี แล้วยังฟันขาดสายใยที่จะต่ออายุวิถีชาวบ้านของพวกเขา
‘ตุลาการเจ้าของสำนวน’ ออกนั่งบัลลังก์เมื่อเช้าวานนี้ เพื่อจะทำการ ‘แถลงคดี’ ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาต่อไป ปรากฏว่า ตลก.คดีนี้ “มีความเห็น 'ยกฟ้อง' โดยไม่ได้ให้เหตุผล” และใช้เวลาแจ้งความเห็นนั้นเพียง ๗ วินาที
ฮ่วย ถึงการแถลงความเห็นนี้จะ “ยังไม่ใช่คำพิพากษาของศาลปกครอง” แต่มันมีผลกระทบซ้ำเติมความสิ้นหวังของชาวบ้าน ๓๗ คนผู้เป็นโจทก์ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนตลอดมาช่วง ๑๐ ปี ดังชาวบ้านรายหนึ่งบอกเล่าเรื่องที่ดินริมโขงของเขา
ว่าเดิมมีที่ ๓ ไร่ แต่ผลกระทบจากภาวะที่ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชนกอบโกยประโยชน์จากลำน้ำโขง ทำให้ธรรมชาติแวดล้อมเปลี่ยนไป เกิดตลิ่งพังต่อเนื่องมาจนบัดนี้ ที่ดินของเขาเหลืออยู่เพียง ๑ งาน
(https://prachatai.com/journal/2022/05/98433 และ https://www.dailynews.co.th/news/1012331/)