วันอาทิตย์, พฤษภาคม 22, 2565

ความดีของหนังคังคุไป ทำให้หนังนี้กลายเป็นกระบอกเสียงให้โสเภณีอินเดียทั่วประเทศ ช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิ และก็ยังเป็น “ตัวเร่ง” ให้การแก้ปัญหาขยับได้ไวขึ้น เพราะหนังมันสร้างวาระให้สังคมเอาไปสนทนากันต่อ


Chalathip Tistoo
May19

เป็นโสเภณีในอินเดียนี่ถูกกีดกันถึงขนาดเลือกตั้งก็ไม่ได้ เปิดบัญชีธนาคารก็ยังไม่ได้...
เห็นบทความในมูลนิธิทอมป์สัน รอยเตอร์ ลงไปสัมภาษณ์พูดคุยกับโสเภณีอินเดียในเมืองต่างๆ รวมทั้ง กามธิปุระ ย่านโคมแดงของเมืองมุมไบในหนังคังคุไบด้วย
.
Sex Worker หลายคน ที่ได้ดูหนังเรื่องนี้กันแล้วก็บอกว่าหนังช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้พวกเธออย่างมาก
ทุกคนก็ชอบหนังเรื่องนี้กัน และมันก็มาแบบถูกจังหวะ เพราะตอนนี้ในอินเดียมีการเรียกร้องสิทธิให้ผู้ประกอบอาชีพ Sex Worker กันอยู่
แล้วมันน่าเห็นใจตรงที่ ถึงอาชีพค้าประเวณีในอินเดียแม้จะถูกกฎหมาย แต่คนทำอาชีพนี้ก็ไม่ได้ถูกทำให้เท่าเทียมกันหรือได้รับการคุ้มครองตามสิทธิแรงงานเหมือนอาชีพทั่วไป
เป็น “คนชายขอบ” ถูกปฏิบัติจากรัฐแบบไม่เท่าเทียม รัฐต่าง ๆ ในอินเดีย ก็เข้มข้นกับเรื่องนี้มากน้อยไม่เท่ากัน
.
บางรัฐในอินเดียเข้มงวดมาก ถึงขนาดคนทำอาชีพนี้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ยังไม่ได้ โหดสุดคือ เปิดบัญชีธนาคารก็ไม่ได้ แล้วยังเข้าไม่ถึงเงินอุดหนุนจากรัฐที่สนับสนุนค่าอาหารสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพราะไม่มีเอกสารระบุตัวตนที่จำเป็นจะเอามาใช้ยื่นได้ หลายคนก็เลยต้องไปเป็นหนี้นอกระบบกันมาก
.
เขาเลยบอกว่า หนังคังคุไบ คือมาได้จังหวะกับที่ปีก่อนศาลฏีกาอินเดียเพิ่งจะสั่งให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในมุมไบต้องออกบัตรปันส่วนอาหารให้กับ Sex Worker และให้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
.
หนังเรื่องนี้นอกจากนางเอกจะคาริสม่าดีมาก เล่าเรื่องน่าติดตาม มีบทพูดฮึกเหิม มีชุดส่าหรีสีขาวซิกเนเจอร์ที่พากันไปซื้อมาใส่ ดีไม่ถึงขนาดไปทำฟันทองตาม 555
.
แต่ที่ดีสุด ๆ เลยคือ ความแรงของกระแสหนังคังคุไป ทั้งในอินเดียและต่างประเทศ ทำให้หนังมันกลายเป็นกระบอกเสียงให้โสเภณีอินเดียทั่วประเทศ ช่วยสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิ และก็ยังเป็น “ตัวเร่ง” ให้การแก้ปัญหาขยับได้ไวขึ้น เพราะหนังมันสร้างวาระให้สังคมเอาไปสนทนากันต่อ
.
ความอยากรู้เลยไปค้นข้อมูลเท่าที่หาได้ มีรายงานแบบตีพิมพ์เป็นหนังสือออกมาปี 2015 บอกอินเดียมีโสเภณี 3 ล้านคน (ของไทยก็มี เดี๋ยวเล่าตอนท้าย)
.
ในอินเดียคือทำอาชีพ Sex Worker ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่ยังผิดกฎหมายคือ ตัวซ่อง ตัวสถานบริการเปิดเป็นธุรกิจไม่ได้ รวมทั้งอาชีพเกี่ยวเนื่องในวงจร ทั้งแม่เล้า มาม่าซัง คนคุม พวกนี้ถือเป็นอาชญากรรมหมด มันก็เลยแปร่งๆหน่อย ตัวอาชีพไม่ผิดกฎหมาย แต่สถานที่ทำงานไม่อนุญาตให้เปิดถูกกฎหมาย (หลายประเทศก็ไฟเขียวลักษณะนี้เหมือนกัน เข้าใจว่ายังกังวลประเด็นลักลอบค้ามนุษย์)
.
ตรงนี้ก็ยังถกเถียงกันอีกเยอะว่าถ้าทำแบบเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และอีกบางประเทศไปเลยที่ให้เป็นธุรกิจสมบูรณ์แบบครบวงจร เพราะตัวซ่องก็ถูกกฎหมาย คนดูแลซ่องก็ถูกกฎหมาย ตัวผู้ประกอบวิชาชีพ Sex Worker มีการลงทะเบียน ได้สิทธิประกันสังคม สิทธิด้านสาธารณสุข มีการกำหนดตรวจสุขภาพปีละกี่ครั้งๆก็ว่าไป แล้วก็ต้องจ่ายภาษีด้วย แบบนี้มันโอเคกว่ามั้ย
.
ทีนี้ในรายงานธุรกิจค้าประเวณีทั่วโลก Prostitution: Prices and Statistics of the Global Sex Trade (เผยแพร่ปี 2015) น่าจะเป็นข้อมูลที่ทางการเปิดเผยที่สุดแล้ว บอกว่าไทยมีโสเภณีราวๆ 250,000 คน ตัวเลขรายได้จากธุรกิจค้าประเวณีของประเทศไทยสูงถึง 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนอินเดียที่มีรายงานโสเภณี 3 ล้านคน มีรายได้รวมกันมากกว่าไทยแบบไม่ทิ้งห่าง เขารายงานไว้ 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
.
ส่วนประเทศที่มักจะเอามาใช้เป็นกรณีศึกษาเวลาพูดถึงประเด็นสิทธิของอาชีพ Sex Worker และไฟเขียวให้ธุรกิจค้าประเวณีถูกกฎหมายอย่างเยอรมนี และเนเธอร์แลนด์
เยอรมนี มี Sex Worker 400,000 คน มูลค่าธุรกิจ 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
เนเธอร์แลนด์ มี 7,000 คน มูลค่าธุรกิจ 800 ล้านเหรียญสหรัฐ
.
ส่วนประเทศที่มีผู้ประกอบอาชีพ Sex Worker เยอะที่สุด
อันดับหนึ่ง คือ จีน มี 5 ล้านคน มูลค่าธุรกิจ 7.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
รองลงมาคือสเปน และญี่ปุ่นตามมาเป็นอันดับสาม
.
บ้านเรา เมื่อต้นปี มีข่าวกระทรวงพัฒนาสังคมฯ แถลงผลการทำแบบสำรวจ คนส่วนใหญ่โหวตให้อาชีพโสเภณีเป็นอาชีพถูกกฎหมาย เห็นว่าเอาไปทำโฟกัสกรุ๊ปฟังความคิดเห็นจากส่วนอื่นๆต่อไปอีก ถ้าออกมารูปนี้ ก็มีแนวโน้มว่า เบื้องต้นคงให้ถูกกฎหมายเฉพาะตัวอาชีพ แต่ตัวพวกธุรกิจที่จะเสรีน่าจะซับซ้อนไปไม่ถึง
.
ถ้าย้อนไปดูในอดีตเรามีอาชีพโสเภณีที่ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมายตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว แต่กลายมาเป็นเรื่องผิดกฎหมายเอาตอนยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ออกกฎหมายปรามการค้าประเวณี บนแนวคิดขณะนั้นว่า การค้าประเวณีทำให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ตกต่ำลง เป็นสาเหตุของการก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ และแพร่ระบาดของโรค
.
สมัยรัชกาลที่ 4 บ้านเรามีเก็บภาษีค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหญิงโสเภณีที่สันนิษฐานถูกเรียกว่าเป็น “ภาษีบำรุงถนน”
.
พอมาสมัยรัชกาลที่ 5 ล้ำไปอีก ออกกฎหมายให้สถานบริการทางเพศต้องจดทะเบียนและมีชื่อของผู้ประกอบอาชีพโสเภณีที่ตรวจสอบได้ แต่ละคนก็ต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน รวมทั้งให้ค้าประเวณีได้แค่ในสำนักโสเภณี มี พ.ร.บ.สัญจรโรค ร.ศ.127 (พ.ศ.2451)
.
ถึงสมัยรัชกาลที่ 6 เอาให้ชัดไปเลย ประกาศให้ใช้กฎหมายนี้ไปทุกหัวเมืองทุกมณฑลทั่วประเทศไทย
.
จนมาถึงยุครัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกกฎหมายปราบปราม กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โสเภณีกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ลงเอยมาเป็นธุรกิจสีเทาหลบๆซ่อนๆ จนถึงทุกวันนี้ที่ใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 อยู่
.
รอดูคังคุไบเวอร์ชั่นไทยแลนด์ เห็นรัฐขยับบ้างแล้ว หน้าตากฎหมายเกี่ยวกับ Sex Worker ไทยจะเป็นยังไงต่อไป จะมีการดูแลคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานได้มั้ย ไฟเขียวแบบไหน
เพราะขนาดสีเทาๆ มูลค่าธุรกิจในไทยยังตั้งหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ