ไม่เพียงเพราะเนื้อเรื่องลึกล้ำกินใจ สะท้อนชีวิตต้องสู้อีกมิติที่เข้มข้น แต่ยังเป็นผลงานน่าชื่นชมของทายาท นักเขียนผู้ยืนหยัดและต่อสู้ในชีวิตสังคมอย่างยิ่งยง กล่าวได้ว่า “ไม้หล่นใกล้ต้น”
“ต่อให้ต้องอยู่ที่นี่คนเดียวก็ยังดีกว่ากลับไปอยู่เมืองไทย”
เป็นคำยืนยันของ 'อร' แรงงานไทยจากครอบครัวชาวนา
ผู้พลัดอีสานมาอยู่ปารีสนาน 20 ปี
โดยเริ่มต้นจากการเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ทำงานหนัก-เสี่ยง
จนได้สัญชาติฝรั่งเศสและก้าวสู่การเป็นเจ้าของกิจการ
ทั้งหมดนี้เพื่อการต่อสู้กับความยากจนและแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ซึ่งเธอหาไม่ได้ในไทย
อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/life-of-isan-worker-in-paris/
ชีวิตในต่างประเทศของเธอนั้นรสชาติขมปร่า
แต่เธอยืนยันหลายครั้งว่าทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความลำบาก
หรือจะพูดให้ถูกต้องคือไม่ได้ลำบากไปกว่าชีวิตในไทย
“เราไม่ได้มองว่ามันคือความลำบาก
เราเป็นคนต่างจังหวัด คนชนบท ตอนเด็กๆ ก็นอนตามพื้นเป็นเรื่องปกติ
แต่สำหรับคนอื่นอาจเป็นเรื่องลำบาก บางคนก็ร้องไห้ เขารับไม่ได้
อย่างที่ไปเก็บขยะกิน เพื่อนเราที่ไปด้วยกันเขาอาย ไม่กล้าทำ แต่เราไม่อาย
เพราะถ้าไม่ทำก็ต้องไปซื้อกิน"
เรื่องที่หนักหนาสำหรับอรคือการอยู่แบบผิดกฎหมายและการต้องหาเงินดูแลทุกคนในครอบครัวที่ไทย
อุบัติเหตุในชีวิตหลายครั้งทำให้เส้นทางการทำงานของเธอพลิกผันจากช่างเย็บผ้า
หมอนวดแผนไทย สู่การทำงานนวดเปลื้องผ้า เซ็กซ์เวิร์กเกอร์
และมาเป็นเจ้าของกิจการในที่สุด
"กลับไปก็ไม่รู้จะทำอะไรกิน
ที่เมืองไทยเราเป็นคนจน ต้องอยู่ในสังคมอีกแบบ ทำงานในกรุงเทพฯ ก็โดนดูถูก
โดนเหยียด แต่ที่ปารีสไม่มีแบบนั้นเลย ทุกคนเท่ากันหมด
คนไทยจบปริญญาตรี-ปริญญาโทมาทำงานที่นี่ทุกคนเท่ากันหมด คุณไม่ได้เหนือกว่าเรา”
“เราการศึกษาน้อย
สู้คนอื่นไม่ได้ เราไม่อยากให้ลูกเป็นเหมือนเรา ลูกเราต้องมีการศึกษา
ถ้าเรากลับไปอยู่ไทย ที่บ้านเราทำนา ก็ไม่มีเงินพอส่งลูกเข้ามหา’ลัย"
"ถามว่าทำไมเราต้องรับผิดชอบพี่น้อง
เพราะเป็นเราคนเดียวที่มีโอกาสมาอยู่ที่นี่...จริงๆ
แล้วรัฐบาลมีหน้าที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น
แต่เราก็ไม่มีรัฐสวัสดิการ
ฉะนั้นมีเราคนเดียวที่สามารถดึงญาติพี่น้องขึ้นมาให้มีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าอดีตได้"
เรื่องและภาพ: วจนา วรรลยางกูร