Winyat Chatmontree
18h ·
#ศาลแพ่งและศาลปกครองเห็นพ้องกันให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาในศาลแพ่ง ต่อคดีวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ณัฐพล โดยมีอาจารย์กุลลดา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ศาลแพ่ง มีความเห็น สรุปใจความว่า ฟ้องโจทก์บรรยายฟ้อง เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 (อจารย์กุลลดา)ไม่ทักท้วงข้อความในวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่หนึ่งเป็นการจงใจและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ทำหน้าที่สมกับฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำเวียนิพนธ์ ไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของจำเลยที่ 1 (อาจารย์ณัฐพล) ตามวิสัยของผู้ที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ปล่อยปละละเลยให้มีการอนุมัติวิทยานิพนธ์ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จ จนกระทั่งมีการนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไป ทำให้เป็นที่เสียหายต่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร และราชสกุลรังสิต นั้น
เป็นการกระทำอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยทั่วไปของบุคคลซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ให้คำปรึกษาหลักในการทพวิทยานิพนธ์ โดยมิได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ หรือคำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดแต่อย่างใด มิได้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยละเลยต่อหน้าที่
ศาลปกครองกลาง เห็นว่า การทำหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นิสิต เกี่ยวกับเนื้อหาทางทฤษฎี แนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย รวมถึงการเขียนวิทยานิพนธ์ และการใช้ภาษา เป็นเพียงการปฎิบัติหน้าที่โดยทั่วไปในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ตามข้อ 69 ของข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2551 เท่านั้น จำเลยที่2 มิได้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฏหมาย หรือดำเนินกิจการทางปกครอง อันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ศาลแพ่งออกนั่งพิจารณา แจ้งความเห็นของศาลปกครองให้คู่ความทราบว่า คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม คดีนี้จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ศาลนี้ต่อไป
ให้เลื่อนไปกำหนดวันนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งหกในวันที่ 11 มีนาคม 2565 เวลา 9.30
[#ข้อกังวล: อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยใดๆ ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งอาจารย์ขึ้นตามข้อบังคับฯ เมื้อเกิดข้อพิพาทฟ้องร้องดำเนินคดีขึ้นมาจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยจะไม่ต้องถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดชอบใดๆอย่างเช่นกรณีนี้]
ท่านอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักกฎหมายมหาชน ท่านให้ความเห็นว่า “ส่วนหนึ่งมันเป็นปัญหาจากการใช้คำในตัวบท ทำให้มองเรื่องการใข้อำนาจเป็นหลัก ไม่ได้ดูว่าลักษณะการกระทำอยู่ในขอบเขตของกฎหมายมหาชนหรือไม่ ที่สำคัญอาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่ได้กระทำในทางส่วนตัวด้วย”
บันทึกไว้ 8 กุมภาพันธ์ 2565
...
Khemthong Tonsakulrungruang
11h ·
ศาลทหารไม่เคยมีเครดิต
ศาลรัฐธรรมนูญหมดเครดิตไปนานแล้ว
ศาลยุติธรรมตามไปติดๆ ปล่อยเพื่อนเรา
วันนี้ ศาลปกครองเหงา กระโดดลงน้ำครำตามเพื่อนไปด้วยกัน นับถือน้ำใจตุลาการไทยทุกคน
Khemthong Tonsakulrungruang
11h ·
ศาลทหารไม่เคยมีเครดิต
ศาลรัฐธรรมนูญหมดเครดิตไปนานแล้ว
ศาลยุติธรรมตามไปติดๆ ปล่อยเพื่อนเรา
วันนี้ ศาลปกครองเหงา กระโดดลงน้ำครำตามเพื่อนไปด้วยกัน นับถือน้ำใจตุลาการไทยทุกคน
Thanapol Eawsakul
19h ·
ต่อไปบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยที่รับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย
มีสิทธิ์โดนฟ้องทั้งแพ่งและอาญานะครับ
กรณีอาจารย์กุลลดา เกษบุญชูถูกฟ้องเพราะเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว โดยหลานของผู้เสียชีวิตที่ไม่รู้ว่ามีอำนาจฟ้องหรือไม่
( ศาลแพ่งไม่ยอมชี้บอกว่าให้รอคำตัดสินทีเดียว)
วันนี้ศาลแพ่ง มีคำสั่งว่าต้องขึ้นศาลแพ่งไม่ใช่ศาลปกครอง สวนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะต้นสังกัดลอยตัว