ขอสันติวิธี มือเปล่า มึงให้สงคราม (สงสารไอ้น้องนัท)
Paisarn Junparn
Puangthong Pawakapan
August 13 at 8:34 AM ·
ตำรวจทำให้ปฏิบัติการควบคุมการชุมนุมกลายเป็น “ปฏิบัติการทางทหาร” (militarization) ในเมืองไปแล้ว … สร้างความชอบธรรมให้รัฐเพื่อนำไปสู่การปราบปรามขนาดใหญ่ในอนาคตอันใกล้
นับตั้งแต่การประท้วงได้ก่อตัวขึ้นในปลายปี 2563 รัฐบาลประยุทธ์เลือกใช้หน่วยควบคุมฝูงชน (คฝ.) ของตำรวจเพื่อรับมือกับผู้ชุมนุมเป็นหลัก ด้านหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะบทเรียนจากกรณีปราบปรามคนเสื้อแดงในปี 2553 ที่กองทัพถูกวิจารณ์ว่าใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อประชาชน เอา “ปฏิบัติการสงคราม” มาใช้กับประชาชนที่มีความคิดต่างกับตน ทำให้ผู้นำกองทัพที่ร่วมวางแผนปฏิบัติการดังกล่าวสุ่มเสี่ยงจะติดร่างแหไปกับนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกอัยการยื่นการฟ้องร้องคดีอาญา (แม้ว่าคดีนี้ระบบตุลาการช่วยกันทำให้แท้งก็ตาม)
ในอีกด้านหนึ่ง การใช้กำลังตำรวจทำให้รัฐบาลดูเหมือนใช้วิธีการแบบ “เบาๆ” รับมือกับผู้ชุมนุม ดูมีความอดทนอดกลั้นมากกว่า ประนีประนอมมากกว่า ไม่เอากันถึงตายอย่างที่ทหารเคยทำในปี 2535 และ 2553 ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง เครื่องมือของตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นไม้กระบอง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง รถฉีดน้ำความดันสูง สามารถทำอันตรายร้ายแรงจนทำให้ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตได้
แต่นี่เป็นเพียงภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเบาๆ เท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ตำรวจมี mindset แบบเดียวกับทหาร - mindset ที่ว่าก็คือ ทัศนคติที่เห็นว่าผู้ชุมนุมเป็นศัตรูของรัฐ/ระบอบ ที่ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด ไม่มีการประนีประนอม ยิ่งนับวัน mindset นี้ก็ยิ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนขึ้น ตำรวจตัดสินใจสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ในหลายกรณี ผู้ชุมนุมไม่ได้ทำอะไรมากกว่ายืนปราศรัยด้วยเครื่องเสียงขนาดเล็ก
วิธีการเช่นนี้ส่งผลให้ผู้ชุมนุมบันดาลโทสะและต้องการตอบโต้เจ้าหน้าที่อย่างได้ผล แน่นอนว่าในกลุ่มผู้ชุมนุม มีพวกเลือดร้อนที่ยากจะควบคุมได้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการชุมนุมระยะหลัง การตัดสินใจสลายการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผลของ คฝ. เป็นจุดเริ่มต้นของการปะทะ เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ <ชุมนุม-ปราบปราม-ตอบโต้-ถูกจับ/บาดเจ็บ-สลายตัว-ชุมนุม>
สิ่งที่รัฐได้ก็คือ ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ตอกย้ำความเลวร้ายของผู้ชุมนุมผ่านสื่อของตน -- ผู้ชุมนุมที่ต้องการล้มล้างสถาบันหลักของชาติ ใช้ความรุนแรง ก่อจลาจล เผยแพร่โรคโควิด ฯลฯ นี่คือกับดักที่รัฐวางไว้เพื่อสะสมความชอบธรรมในการปราบขนาดใหญ่ต่อไป
ปัญหาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจในประเทศนี้ได้เคยหยุดถามตนเองหรือไม่ว่า อะไรคือภารกิจของพวกท่านกันแน่?
ตำรวจยังเป็นผู้รักษากฎหมายหรือไม่ ตำรวจยังเป็นผู้พิทักษ์สันติสุขให้กับราษฎรหรือไม่ หรือตำรวจเป็นแค่ “ลูกน้องของทหาร” เป็นแค่หุ่นยนต์ที่รับคำสั่งจากทหาร/รัฐบาลทรราชย์ ไร้สำนึกผิดชอบชั่วดี แยกไม่ออกว่าอะไรคือรัฐทรราชย์ อะไรคือรัฐที่ทำเพื่อประชาชน
ถ้าตำรวจในประเทศนี้ยังเชื่อว่าตนมีหน้าที่รักษากฎหมายและพิทักษ์สันติราษฎร์ นั่นหมายความว่าพวกท่านต้องไม่ทำตามคำสั่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา พวกท่านต้องตระหนักว่า
1. ประชาชนมีสิทธิในแสดงความคิดเห็น และจัดการชุมนุม – พรก.ฉุกเฉินป้องกันการระบาดของโรคโควิด ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงได้ แบบเดียวกับที่พวกท่านไม่สามารถใช้กำลังปราบปรามประชาชนที่เข้าคิวแออัดยัดเยียดเพื่อรอรับวัคซีนที่สถานรถไฟบางซื่อ ซึ่งเสี่ยงกับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคอย่างน่ากลัว
2. ต่อให้มี พรก.ฉุกเฉินคุ้มครองท่าน ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกท่านจะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ หากพิสูจน์ว่าจริง ภาพและคลิปข่าวจำนวนมากอาจชี้ว่า คฝ.ได้ละเมิดกฎการสลายการชุมนุมอย่างชัดเจน เช่น ยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตาจากที่สูงใส่ผู้ชุมนุมด้านล่าง, ยิงใส่พวกเขาโดยไม่มีเหตุอันควร, ขึ้นรถกระบะและยิงไล่ล่าผู้ชุมนุมที่ขับจักรยานยนต์หนีตาย, ใช้ไม้กระบองทุบตีรถยนต์ที่มีคนนั่งอยู่ภายในอย่างสงบ, รุมสกรัมผู้ชุมนุมที่มีเพียงมือเปล่า ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกนำมาฟ้องร้องพวกท่านในวันข้างหน้าอย่างแน่นอน – 10 ปีก็ไม่สายเกินไป
3. การทำหน้าที่รักษากฎหมายและพิทักษ์สันติสุขของราษฎร ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธเสมอไป ดิฉันเชื่อว่าตำรวจที่มีความรู้เรื่องจิตวิทยามีอยู่ไม่น้อย กรุณาหันมาใช้วิธีเจรจา ประนีประนอม อลุ้มอล่วยให้มากขึ้น
กรุณาใช้เครื่องมือสลายการชุมนุมให้น้อยลง ช้าลงด้วยเถอะ – ปัญหาของเครื่องมือเหล่านี้คือ ในด้านหนึ่ง ทำให้ตำรวจรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น เพราะสามารถสร้างความเจ็บปวดต่อผู้ชุมนุมจากระยะไกลได้ จนเชื่อว่าจะจบเกมได้อย่างรวดเร็ว (หรืออย่างสะใจ?) จึงอาจทำให้เจ้าหน้าที่มีแนวโน้มใช้กันอย่างไม่บันยะบันยัง และในอีกด้านหนึ่ง มันทำให้ปฏิบัติการของตำรวจกลายเป็น “ปฏิบัติการทางทหาร” มากขึ้น
หากไม่ละทิ้ง mindset แบบทหาร ตำรวจก็เป็นเพียงเครื่องมือคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นแค่ลูกน้องของทหาร ประการสำคัญ mindset เช่นนี้จะนำไปสู่การขนอาวุธร้ายแรงมากขึ้นออกมาจัดการกับผู้ชุมนุมในอนาคตอันใกล้ นี่หมายความว่าพวกคุณไม่ใช่ผู้รักษากฎหมายและพิทักษ์สันติราษฎร์อีกต่อไป แต่เป็นเพียง a killing machine ของรัฐทรราชย์เท่านั้น
พวกเด็กๆกล้าหาญมากสู้ทุกวันไม่มีสื่อไหนออกข่าวเลยมีแต่พวกประชาชนที่เป็นสื่อในโซเชี่ยลกันเอง pic.twitter.com/ybGqcllWvw
— ไป๋ ชิว อี้ (@saiyasasmith) September 9, 2021
ทำกันขนาดนี้เลยใช่มั๊ย #ม็อบ9กันยา#ไล่ประยุทธ์ pic.twitter.com/w4UelRhdg4
— อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล (@AmaratJeab) September 9, 2021
ผู้ชุมนุมอายุ 18 ปี บาดเจ็บที่ศีรษะ บอกว่าโดนยิงด้วยกระสุนยางขณะขี่รถจักรยานยนต์ผ่านหน้ากรมดุริยางค์ทหารบก ตอนนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มหนึ่งกำลังขว้างประทัดใส่หน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ขณะที่อีกคนโดนยิงด้วยกระสุนยางที่บริเวณกลางหลัง #ม็อบ9กันยา pic.twitter.com/axhxOiDG4O
— Zag_ThaiPBS (@Zag_Thaipbs) September 9, 2021