วันจันทร์, กันยายน 27, 2564

ย้อนดูมาตรการช่วยเหลือน้ำท่วมใหญ่ปี 54 "มหาอุทกภัย" รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" กับการเยียวยาราษฎร



“มหาอุทกภัยปี 54” ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ให้สำนักนายกรัฐมนตรีและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ออกเอกสารชี้แจงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยปี 54

สำหรับ "ผู้ใช้แรงงาน" กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ขณะที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทนการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน คงสิทธิรักษาพยาบาล คลอดบุตร ทุพพลภาพ ต่อไปอีก 6 เดือน และจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมือแรงงานโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บาท นาน 10 วัน, ให้ที่พักพิงกรณีไม่มีที่อยู่อาศัยชั่วคราว

สำหรับ "ผู้ใช้แรงงาน" กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ขณะที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทนการว่างงาน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน คงสิทธิรักษาพยาบาล คลอดบุตร ทุพพลภาพ ต่อไปอีก 6 เดือน และจัดฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมือแรงงานโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บาท นาน 10 วัน, ให้ที่พักพิงกรณีไม่มีที่อยู่อาศัยชั่วคราว

ส่วนเกษตรกรจ่ายชดเชยข้าวไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนไร่ละ 5,098 บาท กรณีพืชสวนที่สามารถฟื้นฟูได้ไร่ละ 2,549 บาท, พื้นที่ทางการเกษตรถูกดินถล่มทับได้รับความเสียหายไร่ละ 7,500 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่, ปลาทุกชนิดไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่, กุ้ง ปู หอย ไร่ละ 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่, กระชัง บ่อซีเมนต์ ตารางเมตรละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร, โค-กระบือตัวละ 3,600-15,800 บาท รายละไม่เกิน 2 ตัว, สุกร แพะ แกะ นกกระจอกเทศ ตัวละ 12,000-25,000 บาท รายละไม่เกิน 10 ตัว, ไก่พื้นเมืองตัวละ 20-40 บาท ห่านตัวละ 50 บาท รายละไม่เกิน 300 ตัว, เป็ดเนื้อ ไข่ ตัวละ 15-40 บาท ไก่เนื้อ ไข่ ตัวละ 15-60 บาท นกกระทาตัวละ 5-10 บาท รายละไม่เกิน 1,000 ตัว

ทั้งนี้แปลงปลูกหญ้า หรือพืชอาหารสัตว์ ช่วยเหลือเป็นเมล็ดพันธุ์รายละไม่เกิน 20 ไร่ ไร่ละ 20 กก., ท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์รายละไม่เกิน 20 ไร่ ไร่ละไม่เกิน 250 กก., ผู้ปลูกข้าวนาปีช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.54 ชดเชยไร่ละ 1,437 บาท ช่วยเหลือพันธุ์ข้าวไร่ละ 10 กก. ไม่เกินรายละ 10 ไร่, พักชำระหนี้เงินกู้และงดดอกเบี้ยนาน 3 ปี พร้อมปรับโครงสร้างหนี้, ให้สินเชื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย MRR และงดเว้นเก็บค่าเช่าที่ดินราชพัสดุนาน 1 ปี



จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) ในปี 54 ประเทศไทยมีพื้นน้ำท่วมประมาณ 69.02 ล้านไร่ โดยมีเพียงเดือนเดียวที่ไม่มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม คือ เดือนก.พ. ซึ่งเดือนต.ค.มีพื้นที่ถูกน้ำท่วมมากที่สุด 18.49 ล้านไร่ รองลงมาเดือนพ.ย. และเดือนก.ย.กันยายน 16.67 และ 15.38 ล้านไร่

สำหรับ "ประชาชนทั่วไป" ชดเชยที่อยู่อาศัยเสียหายรายละไม่เกิน 5,000 บาท 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิ ส่วนบ้านเสียหายทั้งหลังจ่ายเท่าที่เสียหายจริง แต่ไม่เกินหลังละ 30,000 บาท ช่วยค่าวัสดุก่อสร้างหลังละไม่เกิน 240,000 บาท ขณะที่บ้านเสียหายบางส่วนหลังละไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับผู้เช่าอาศัยที่บ้านเสียหายไม่อาจอาศัยได้ ช่วยค่าเช่ารายละ 1,500 บาท ไม่เกิน 2 เดือน, ทรัพย์สินเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเสียหาย ช่วยเหลือตามที่เสียหายจริง รายละไม่เกิน 10,000 บาท และช่วยซ่อมแซมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าให้กลับมาใช้งานได้


กรณีเสียชีวิตได้ค่าทำศพรายละไม่เกิน 25,000 บาท หากเป็นหัวหน้าครอบครัว ผู้หาเลี้ยงครอบครัวได้รับ 100,000 บาท, ผู้พิการที่หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต บาดเจ็บ จนดำรงชีวิตไม่ได้ตามปกติ ได้รับเงินช่วยเหลือดำรงชีพครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท, นักเรียน นักศึกษา ที่ผู้อุปการะเสียชีวิตรับค่าอุปกรณ์การเรียนไม่เกินรายละ 3,000 บาท และค่ายานพาหนะรายละ 500 บาท ผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้านาน 3 เดือน, ขยายเวลาชำระค่าน้ำประปาโดยไม่ตัดน้ำจนกว่าสถานการณ์เป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม หากมีสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารของรัฐ พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย งดคิดดอกเบี้ยชั่วคราว ปรับลดค่างวด ยืดเวลาผ่อนชำระ ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้แล้วแต่กรณี นอกจากนี้ยังให้กู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย งดเว้นภาษีเงินได้สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนกับภาครัฐ, ที่อยู่อาศัยที่เช่าที่ราชพัสดุเสียหายบางส่วนงดเก็บค่าเช่า 1 ปี เสียหายทั้งหลังงดเก็บค่าเช่า 2 ปี

ที่มา https://www.dailynews.co.th/regional/659508/