วันศุกร์, กันยายน 10, 2564

สรุปการพูดคุยจากห้อง #ทะลุแก๊ซ ทะลุ 100 ของศูนย์ทนายฯ


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
10h ·

วันนี้ (9 ก.ย. 2564) เวลา 20.00 น. คลับเฮาส์ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนชวนฟังเรื่องราวจากทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและทนายความเครือข่าย ในหัวข้อ “คดีเยาวชน ทะลุแก็ซ ทะลุ 100 “
.
ตลอดเดือนสิงหาคมมีการชุมนุมที่สามเหลี่ยมดินแดงและมีผู้ถูกจับกุมจำนวนมาก โดยหนึ่งในผู้ถูกจับกุมกลุ่มใหญ่คือเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี กว่า 100 คน กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับเยาวชนเป็นอย่างไร มีทิศทางและท่าทีในการปกป้องสิทธิเด็กหรือไม่ สามารถร่วมฟังและแสดงความคิดเห็นได้ในคืนนี้!
.
ร่วมสนทนาโดย 3 ทนายความ : ทนายคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ l ทนายผรัณดา ปานแก้ว l ทนายคุณากร มั่นนทีรัย
ดำเนินรายการโดย อธิกัญญ์ แดงปลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล
.
ฟังที่นี่ : https://www.clubhouse.com/event/xB44n4ld

2. ตร.อ้างว่าผู้ชุมนุมมีอาวุธ จึงเข้าปราบปราม แต่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อเอาคนที่มีอาวุธออกไปจากสถานที่ชุมนุม ไม่พยายามให้คนที่ชุมนุมอย่างสงบได้ชุมนุมต่อ แต่มีการใช้ความรุนแรงกับคนที่ไม่มีอาวุธ คนที่ขับรถหนี คนที่ไม่ได้ร่วมชุมนุม คนที่ผ่านไปบริเวณที่มีการชุมนุม ก็ถูกทำร้ายจาก คฝ.

3. ตร.ไม่ยอมให้มีการชุมนุม ไม่พยายามแยกเยาวชนที่มีอาวุธออกจากคนที่ไม่มี เมื่อบางคนมีอาวุธแล้วก็ใช้มาตรการเดียวกันจัดการทุกคน ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของคนที่ไม่มีอาวุธ ไม่ได้ดำเนินการจากน้อยไปมาก ข้ามไปใช้ความรุนแรงในการสลายความชุมนุม มีการยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง

4.การจับกุม และควบคุมตัว มีการใช้ความรุนแรง แม้เยาวชนไม่มีอาวุธ ขณะถูกจับกุมไม่ได้ใช้ความรุนแรง ไม่ขัดขืน และยอมให้จับแล้วก็ยังโดนตี โดนทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ ขัดหลักการจับกุมและควบคุมตัวเด็กนั้นต้องเป็นไปโดยละมุนละม่อม และมีการใช้เครื่องใช้สายรัด

5.เมื่อจับกุมตัวได้แล้ว ตร.ไม่ได้แจ้งสิทธิให้เด็กทราบว่าสามารถมีทนายความได้ ทำให้ไม่รู้สิทธิตัวเอง เยาวชนที่เพศหลากหลายถูกตำรวจตรวจร่างกายโดยให้แก้ผ้า มีการยึดโทรศัพท์ไป ทำให้เด็กติดต่อครอบครัวไม่ได้ มีการพาเด็กไปควบคุมตัวสโมสรตำรวจ ทั้งที่ไม่ใช่สถานีตำรวจที่มีอำนาจในการสอบสวนคดี

6. ตำรวจทำการสอบสวนไปโดยที่เด็กไม่มีคนที่ตัวเองไว้วางใจ ไม่มีผู้ปกครอง ไม่มีทนายความอยู่ด้วย หลายคนลงชื่อในเอกสารไปโดยที่ไม่เข้าใจเนื้อหาในเอกสาร เด็กถูกจับตอนกลางคืน ผู้ปกครองไม่สามารถผ่าเคอร์ฟิวไปหาได้ ผู้ปกครองหลายคนเป็นคนยากจนไม่มีเงินเดินทางมารับตัวลูกที่ศาล7. การตรวจสอบการจับกุมในศาลเยาวชน ทนายคัดค้านว่าเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ไม่เป็นไปตามกฎหมาย เด็กแจ้งให้ศาลทราบว่าในการจับกุมมีการใช้กำลัง มีการใช้กระบองทุบ มีการใช้กระสุนยาง พบร่องรอยบาดเจ็บในร่างกาย
ศาลสั่งว่าการจับกุมชอบแล้ว หากติดใจให้ไปดำเนินคดีอาญากับตำรวจที่จับกุมต่างหาก

(ข้อ 8 หาย)

9. เยาวชนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจนหาเช้ากินค่ำ บางคนถูกยึดโทรศัพท์ซึ่งมีเครื่องเดียวของบ้าน บางคนถูกยึดรถมอเตอร์ไซค์คันเดียวของบ้านที่ใช้ในการทำงาน ทำให้ถูกบีบบังคับให้ต้องยอมเข้าสู่กระบวนการพิเศษก่อนพิพากษาเพราะสภาพครอบครัว แม้เห็นว่าการที่ออกมาชุมนุมนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้

10.กระบวนการพิเศษก่อนพิพากษา คือเยาวชนต้องยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเป็นความผิด และได้สำนึกในการกระทำแล้ว และจะไม่กระทำการเช่นเดิมอีกในอนาคต เพื่อแลกกับการที่จะไม่ถูกฟ้องคดี และไม่ต้องมีประวัติอาญา แต่สิ่งที่เด็กออกมาเรียกร้องเพราะสภาพชีวิตในปัจจุบันนี้ลำบาก

11. ที่ผ่านมาที่เยาวชนที่ต้องเข้ากระบวนการพิเศษก่อนพิพากษาคือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาทั่วไป เช่น ทำร้ายร่างกาย คดียาเสพติดที่มีโทษต่ำกว่า 5 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ปรับปรุงตัวเอง แต่การนำวิธีการนี้มาใช้กับคดีที่เด็กออกมาประท้วงนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นธรรม