วันเสาร์, กันยายน 25, 2564

มีคนสงสัย ใครคือ "บิดาแห่งการแพทย์สมัยใหม่ไทย" ตัวจริง ? เรามีสิทธิจะได้รู้เรื่องจริงบ้างใหม หรือสุดท้ายได้ดูแค่ละคร บางคนว่า คือ คุณหมอบรัดเลย์



Prach Panchakunathorn
September 24, 2020 ·

วันมหิดล
วันนี้วันมหิดล เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของเจ้าฟ้ามหิดล ผู้ที่ทางการไทยยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน" ของไทย
ผมก็นึกสงสัย ว่าที่เจ้าฟ้ามหิดลได้รับยกย่องนี้ เป็นเพราะเขาสร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อวงการการแพทย์แบบที่ไม่มีใครเทียบได้ หรือว่าเป็นเพราะเขาเป็นเจ้า (และเป็นพ่อของ ร.8 และ ร.9)
ที่ผ่านมาไม่เคยมีคนไทยคนไหนเลยเหรอที่สร้างคุณูปการต่อการสาธารณสุขได้มากเท่าเจ้าฟ้ามหิดล? อย่างนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ริเริ่มแนวคิดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า นี่ก็สู้ไม่ได้หรือ?
วันนี้ก็เลยลองไปเปิดอ่านประวัติของเจ้าฟ้ามหิดลดู ปรากฏว่ายิ่งงงกับตำแหน่ง "พระบิดาการแพทย์" ครับ
เจ้าฟ้ามหิดลเดิมทีเรียนทหารเรือ และสนใจเรื่องเรือรบ ไม่ใช่เรื่องการแพทย์ แต่หลังกลับมาไทยถูกชักจูงให้มาสนใจการแพทย์โดยพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งคุมวิทยาลัยแพทย์อยู่ขณะนั้น
เจ้าฟ้ามหิดลเลยยอมไปเรียนต่อ MD ที่ Harvard โดยขอให้ส่งนักเรียนแพทย์ 2 คน และนักเรียนพยายาล 2 คนไปช่วยเรียนด้วย (หนึ่งในนั้นคือ สังวาลย์ ตะละภัฏ ผู้ที่กลายมาเป็น "สมเด็จย่า")
หลังจากจบ Harvard เจ้าฟ้ามหิดลกลับมาไทย แจกทุนเรียนสาขาการแพทย์ แล้วไปฝึกงานที่โรงพยาบาล McCormick เชียงใหม่ อยู่ได้ 3 สัปดาห์ ก็ต้องกลับมากรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานศพลุง (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์)
แต่หลังงานศพก็ป่วย ต้องรักษาตัวในวังสระปทุม และเสียชีวิตในปีเดียวกัน (เสียชีวิตหลังจากกลับไทยได้แค่ 1 ปี)
สรุปคือ คุณูปการของเจ้าฟ้ามหิดลในด้านการแพทย์ คือการแจกทุนเรียนแพทย์ แล้วก็การทำงานในฐานะแพทย์อยู่ 3 สัปดาห์ จบ
.....
Supachai Amorngitticharean
คิดว่าคนที่มีบทบาทพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ในไทยจริงๆคงเป็นหมอบรัดเลย์ เรื่องเจ้าฟ้ามหิดลก็มีคนเขียนไว้บ้างในโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/SciThaiPolitics/posts/168118861775223



วิทยาศาสตร์และการเมือง - Scientists for Thai Politics
January 22 ·

รากฐานสาธารณสุขไทย ใครวาง ใครสร้าง ใครต่อเติม?
--------------------------------------------------------------------------
“...คนพูดเรื่องนี้รู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่ไม่รู้จักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ไทยมาถึงวันนี้ได้ใครเป็นผู้วางรากฐานสาธารณสุข ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก ทำให้ประชาชนภายในประเทศมีพื้นฐานสุขภาพที่ดี มีวิถีชีวิตที่ดี...”
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล สำหรับโควทข้างบนที่กระตุกต่อมสงสัย(เสือก)ของพวกเราได้เป็นอย่างดี เป็นคอนเทนต์ยามว่างให้พวกเราทำแก้เบื่อตอนรอโค้ดรันบน Cluster ซึ่งเราก็มีความสงสัยต่อโควทนี้นะ ตามกมลสันดานของนักวิทยาศาสตร์ ว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้วางรากฐานการสาธาณสุขสมัยใหม่ให้คนไทย ในเมื่อมันไม่มีคำตอบสำเร็จให้ก็ค้นคว้ามันไปเลย
หมายเหตุ เนื่องจากบทความนี้จะเน้นไปยังเรื่องแพทย์แผนตะวันตก ดังนั้นถึงจะไม่ได้กล่าวถึงแพทย์แผนโบราณผู้มีคุณูปการซึ่งมิได้หวงวิชาความรู้ไว้กับตัว เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ [อ้างอิงการสะกดจากราชกิจจานุเบกษา] (หมอพร) เป็นต้น
และนี่ก็คือสิ่งที่พวกเราเจอ
# อะแฮ่ม…
ถ้าจะเริ่มพูดเรื่องนี้คงต้องย้อนเวลากลับไปช่วงยุค 1800 สักเล็กน้อย จากหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ เราคงทราบกันดีว่ามีแพทย์หลายท่านที่เดินทางมาพร้อมกับคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียน และได้สร้างคุณูปการต่อสยามอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา และการแจกประชาธิปไตย อาทิ หมอแบรดลี่ย์(หมอบรัดเล) หมอเฮาส์(หมอเหา) หมอแมคฟาร์แลนด์(หมอฟ้าลั่น) เป็นต้น การผ่าตัด (1837) การถอนฟัน (1837) การรักษาอหิวาตกโรคในสยาม (1866) การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ (1840) ก็ได้มีการบุกเบิกโดยหมอๆ เหล่านี้นี่แหละ สรุปง่ายๆ คือชาวสยามรู้จักการแพทย์สมัยใหม่มาก่อนหน้าสักพักหนึ่งแล้ว
ทว่า ต้องรอถึง 7 ปี หลังจากการระบาดใหญ่ของอหิวาตกโรคในปี 1881 รัฐบาล`สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มความสนใจแพทย์แผนตะวันขึ้นมาแบบจริงจัง (สักที)
โดยเริ่มจากการจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น คือโรงพยาบาลศิริราช ตามพระนามของเจ้าฟ้าศิริราชกกุฏภัณฑ์ ที่สิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควรด้วยโรคบิด (ทำให้ได้อานิสงส์คือ ได้รับพระราชทานข้าวของเครื่องใช้และไม้จากงานพระเมรุ มาช่วยในการก่อสร้าง) แล้วตามด้วยการก่อตั้งราชแพทยาลัย (ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ในอีก 1 ปีถัดมา โดยมีหมอแมคฟาร์แลนด์เป็นแพทย์ใหญ่คนแรก
และการออกพระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ ในปี 1897 ตามข้อเสนอของหมอแบรดลี่ย์ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบและมีสุขาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (ถึงจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้จริงก็เถอะ)
การเรียนการสอนของโรงเรียนแพทย์ยุคตั้งไข่ ยังไม่ค่อยเป็นรูปเป็นร่างนัก กล่าวคือ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ไม่แน่น ภาคปฏิบัติมีบ้าง เข้าแล็ปไม่ค่อยเยอะ แต่ที่ตลกร้ายที่สุดคือไม่มีการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ (หมอไม่รู้กายวิภาคแล้วจะวินิจฉัยโรคยังไงฟระ?) หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐในช่วงแรกมีไม่เยอะนัก เช่น
- กรมพยาบาล สังกัดกระทรวงธรรมการ ซึ่งปรุงยาตำราหลวงออกจำหน่ายและจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ มีข้อสังเกตจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า ยาตำราหลวงส่วนใหญ่ไม่ใคร่จะได้ผลนัก เพราะบรรดาหมอหลวงทั้งหลายกั๊กสูตรยาของพวกตนไว้ตอนมีการจัดทำตำรา
- โรงปลูกฝีดาษวัวของกรมพยาบาล สำหรับป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งก่อนหน้านี้สยามจำเป็นต้องนำเข้าจากที่อื่น
- สถานปาสเตอร์ (Pasture Institute) ของกรมการปกครอง โดยการสนับสนุนของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในปี 1917 (ช่างน่าขันที่พระองค์เองเคยแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการตั้งสถาบันนี้ในปี 1902) มีหน้าที่ผลิตวัคซีนแก้ไขโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า (ซึ่งพระองค์เคยเสียพระธิดาไปองค์หนึ่งด้วยโรคนี้) ต่อมาถูกโอนไปสังกัดสภากาชาดสยามและเปลี่ยนชื่อเป็นสถานเสาวภาในเวลาต่อมา
ก่อนจะอธิบายต่อ การพัฒนาระบบสาธารณสุขรวมถึงการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ในไทยคงจะไปได้อย่างเชื่องช้าถ้าขาด “มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์” ไป
อ้าว… แล้วมูลนิธินี้มันสำคัญยังไงหรอ ?
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์เป็นองค์กรการกุศลที่มีภารกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายบนโลกใบนี้ แน่ล่ะ สยามก็เป็นหนึ่งในนั้น ปี 1913 คือช่วงที่มูลนิธิฯ เริ่มมองหาว่าจะส่งคนเข้าไปแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ไหนดี ข่าวคราวเงียบหายไปสองสามปี ปี 1916 ทางมูลนิธิจึงเลือกสยามเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ โดยจะเริ่มจากการแก้ปัญหาพยาธิปากขอก่อน (ภายหลังมีการศึกษาด้านระบาดวิทยา พบว่า สยามยุคนั้น ความเสี่ยงในการติดเชื้อพยาธิปากขอ สูงถึง 75%) โดยได้ส่ง Dr. Heisner และ Dr. Barnes เข้ามาเจรจากับข้าราชการระดับสูง ทั้งพระยามหาอำมาตย์ กรมพระยาดำรงฯ และรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็เป็นไปอย่างสะดวกโยธิน
แต่เดี๋ยวก่อน... แผนนี้กลับไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากพวกข้าราชการในกรุงเทพ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณสนับสนุน ฝั่งมูลนิธิเข้าใจว่ารัฐบาลสยามกับมูลนิธิเองจะช่วยออกงบกัน`คนละครึ่ง` แต่ทางสยามแจ้งต่อมูลนิธิว่า เฟสแรก ทำฟรีนะจ๊ะ เพราะรัฐบาลสยามช่วงนั้นประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งที่เก็บภาษีสลาก ภาษีการพนัน ภาษีฝิ่น(เอ๊ะ หรือเราต้องเรียกว่าภาษีแป้ง) ได้มูลค่ามหาศาล นอกจากนั้น มุมมองต่อเจ้าหน้าที่รัฐต่อแผนเรื่องพยาธิปากขอของมูลนิธิฯ มีความสำคัญรองลงมาจากปัญหาไข้ทรพิษ และอัตราการเสียชีวิตของทารกที่สูงลิบลิ่ว
ก็เข้าใจนะว่าสองเรื่องนั้นมันก็สำคัญ แต่ตอบแบบนี้มันก็อะหยังก่ะไปนิด
เพื่อเป็นการพิสูจน์ต่อรัฐบาลกรุงเทพ ทางมูลนิธิฯ จึงได้ดำเนินการสาธิตการแก้ปัญหานี้เป็นการนำร่องไปก่อนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ โอละพ่อ ราวกับว่าเป็นหนังคนละม้วน ข้าราชการท้องถิ่นของเชียงใหม่ให้ความร่วมมืออย่างดี สนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือและทรัพยากรให้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แถมด้วยความช่วยเหลือจากเจ้านายฝ่ายเหนือและคณะเพรสไบทีเรียนที่มีความคุ้นเคยกับคนเมืองอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การสื่อสาร การรักษา รวมถึงการบังคับใช้นโยบายต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อพยาธิขึ้นอีก สำเร็จไปได้ ปังเบอร์นี้รัฐบาลกรุงเทพจะเฉยได้ไง สุดท้ายโปรแกรมนี้ก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ (ถึงจะแค่สิบเปอร์เซ็นต์ของที่มูลนิธิฯ ลงไปก็เถอะ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เลย) จึงได้ต่อยอดไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงรุก การเริ่มศึกษาพยาธิวิทยาในไทย การปฏิรูปกรมพยาบาล (กระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน) รวมไปถึงมาตรการส่งเสริมสุขลักษณะที่ดีทั่วราชอาณาจักรในอีก 10 ปี ให้หลังอีกด้วย
แล้วเรื่องโรงเรียนแพทย์ละยังไง // ใจเย็นๆ หน่อยนะจ๊ะ กำลังจะเล่าเนี่ย ปั๊ดโธ่
อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าโรงเรียนแพทย์ยุคแรกเริ่มมัน….ขนาดไหน มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงได้นำรูปแบบโรงเรียนแพทย์ของ John Hopkins University (and so on) มาปรับใช้ โดยวางแผนในระยะสั้นว่าจะส่งแพทย์จำนวนหนึ่งไปฝึกที่ฟิลิปปินส์ไม่ก็กัลกัตตา เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรอย่างรวดเร็ว คู่ขนานไปกับการปรับหลักสูตร ที่ Dr. Heisner อยากจะให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ และตัวหมอเองก็สามารถอัพเดทแพทช์ความรู้ให้เป็นปัจจุบันได้ ถึงแม้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่สมัยนั้นยืนกรานจะให้สอนเป็นภาษาไทยก็เถอะ อ๊ะๆ อย่าลืมนะว่าประเทศนี้มันอะหยังวะมาตั้งแต่ไหนแต่ไร การจะแก้ปัญหาอะไรสักอย่างในระบบรัฐราชการจึงยากพอๆกับการเดินทางด้วยอัตราเร็วแสง
(ไหนเขียนค่าอัตราเร็วแสงด้วยเลขไทยซิ…)
ดังนั้น การจะทำอะไรให้ราบรื่นเหมือนถีบเรือเป็ดในทะเลสาบชตาร์นแบร์กจึงต้องการผู้อุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลมากพอ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระยศในขณะนั้น) ที่ลาออกจากกองทัพเรือเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้า (เนื่องจากทะเลาะกับผู้ใหญ่หัวโบราณในกองทัพเรือ ที่อยากจะซื้อเรือรบลำใหญ่ๆ ทั้งที่ประเทศประสบปัญหาการเงิน) พระองค์มีความสนใจด้านการแพทย์ โดยคำแนะนำของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เนื่องจากโรงพยาบาลวังหลังในสมัยนั้น หลังคายังเป็นมุงจาก คนไข้นอนกันไม่เป็นที่เป็นทาง เป็นที่เวทนา จึงทำให้พระองค์เสด็จไปเรียนด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้รับประกาศนียบัตรในปี 1921 ด้วยทรงเล็งเห็นว่า “ถ้าการสาธารณสุขดี ประชาชนมีความรู้พื้นฐานในการดูแลสุขภาพของตนเอง โรคภัยทั้งหลายหาทางป้องกันได้ ย่อมดีกว่า เป็นการทุ่นแรงในการรักษา” เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรสาธารณสุขแล้ว พระองค์กลับมาเป็นอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตอนนั้นยังอยู่ร่วมกัน) ในช่วงนี้เองที่พระองค์ได้รับการติดต่อจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์อยู่สม่ำเสมอและทรงเป็นตัวแทนกระทรวงธรรมการในการร่วมวางแผนปฏิรูป อีกทั้งยังเป็นคนโน้มน้าวให้ข้าราชการ และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ร่วมมือกับมูลนิธิ เกิดเป็นข้อตกลงซึ่งทำให้เกิดการตั้งคณะวิทยาศาสตร์ในฐานะ `โรงเรียนเตรียมแพทย์` และคณะอื่นๆ เช่น พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์(ถึงเครดิตส่วนนี้จะตกไปอยู่กับคณะราษฎรก็เถอะ) เกิดขึ้นตามมา
นอกจากนั้น พระองค์มีความสนใจที่จะทำการสอนด้วยพระองค์เอง จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.) ผลการเรียนระดับดี (cum laude) เมื่อกลับมา ก็ทรงทำการสอนและพัฒนาวิชาแพทย์ด้วยพระองค์เอง (อย่างที่บอกไปข้างต้นที่แรกไม่มีการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ด้วยซ้ำ อุปกรณ์ กำลังคนก็ไม่พร้อม) และ รวบรวมนักเรียนนอกให้มาช่วยกันสอน ทรงเขียนตำราการแพทย์จำนวนหนึง นอกจากนี้ยังให้ทุนและคัดเลือกนักเรียนแพทย์ไปเรียนต่อต่างประเทศโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ (ถึงพระองค์จะไม่ค่อยได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ทำการรักษาก็ตาม เนื่องจากมาวุ่นวายกับการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาแพทย์)
โอเค.. ขออนุญาตข้ามไปยังช่วง `รัถบาลคนะราสดร` ก็แล้วกัน (ถ้าปวดหัวกับ ภาสาไทย ยุค จอมพล ป. ก็ขอโทษด้วยแล้วกันนะจ๊ะ)
ในสมัยราชาธิปไตยไต้รัถธัมนูญ นโยบายไนการสร้างชาติยุคนายกรัถมนตรีแปลก พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายที่ไห้ความสำคัญต่อโภชนาการของชาวสยามเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ โดยการส่งเสิมกิจการถั่วเหลืองเพื่อเปนโปรตีนหลัก ล้มล้างแนวคิดแบบเก่าที่ว่า “หย่ากินกับข้าวเยอะ เดี๋ยวเปนตานขโมย” โดยสร้างชุดความคิด “กินกับมากๆ กินข้าวน้อยๆ” ขึ้นมาแทนที่ เพื่อไห้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเปนต่อการเติบโตของร่างกายครบถ้วน อีกทั้งยังพยายามสร้างโรงพยาบาลขึ้นทั่วทุกจังหวัด เพื่อสร้างเสิมสุขภาพราสดร โดยเฉพาะแม่และเด็ก เพื่อไห้แม่มีบุตรที่แขงแรง และไม่ตายก่อนวัยอันควร ตอบสนองนโยบายสร้างชาติ แสดงให้เหนว่า รัถบาลไทยไนยุคประชาธิปไตยเอาไจใส่ไนชีวิตของราสดร
นอกจากนั้น รัถบาลได้เริ่มจัดระเบียบโครงสร้างของวิชาชีพทางการแพทย์ เนื่องจากไนขณะนั้นมีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นแพทย์อยู่จำนวนมาก โดยการไห้มีการสอบไบประกอบโรคสิลปขึ้น การดำเนินการนโยบายสุขาภิบาล ที่ไม่สามารถบังคับไช้อย่างเต็มที่นักไนรัถบาลสมบูรนาญาสิทธิราชย์ รวมถึงการส่งเสิมกิจการโรงเรียนเตรียมแพทย์เพื่อไห้มีองค์ความรู้พื้นถานทางวิทยาสาสตร์ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เกิดเป็นคนะวิทยาสาสตร์ คนะแพทยสาสตร์ และคนะเภสัชสาสตร์ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย แนวทางของคนะราสดรไนช่วงนี้ ได้รับคำชมจากพระองค์เจ้ารังสิต เปนหย่างมาก โดยเฉพาะการที่คนะราสดรสามารถดำเนินนโยบายที่คั่งค้างในรัถบาลสมบูรนาญาสิทธิราชย์ เนื่องด้วยปัญหาบูโรเครซีในสมัยก่อน จึงไม่สามารถทำตามที่วางแผนได้สำเหร็ด
กว่าจะเขียนมาถึงตรงนี้ได้ หมดแรงไปเยอะเหมือนกัน ขอกินผัดไทยเติมพลังหน่อย
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ถอนตัวจากประเทศไทยเป็นช่วงเวลาหนึ่งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะกลับมาในช่วงปี 1960 (ซึ่งจะอยู่ในช่วงรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) ด้วยปัญหาที่ว่าประเทศไทยมีจำนวนแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอ โดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้การสนับสนุนทุนทรัพย์และบุคลากร กับ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ เนื่องจากเป็นคณะแพทย์ที่มีความพร้อมสูงที่สุดของประเทศไทย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยก่อตั้ง โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์(ปัจจุบันคือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) เพื่อจัดการศึกษาเตรียมแพทย์และเตรียมประเภทวิชาอื่นๆ ก่อนที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้มูลนิธิยังสนับสนุนให้จัดตั้งมหาลัยและคณะแพทย์ตามหัวเมืองต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือจาก พลเอก เนตร เขมะโยธิน, ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์, ศ. นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย์ และ ศ. สตางค์ มงคลสุข ทำให้เกิด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การสาธารณสุขของไทยมีการพัฒนาการเรื่อยมาทั้งด้านการผลิตกำลังคน วิทยาการ และความครอบคลุม แต่ผู้มีรายได้ต่ำหาเช้ากินค่ำก็ยังเข้าถึงได้ยาก ซึ่งผู้ที่ทำให้สาธารณสุขไทยเข้าถึงคนรากหญ้า และเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลกนั้นก็คือ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ริเริ่มโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดี จากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (ก่อนหน้านี้เคยเสนอ รัฐบาลชวน หลีกภัย แต่ไม่ได้รับความสนใจ) ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศ ที่สามารถจัดให้มีสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนในประเทศ ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศยังไม่สามารถจัดหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้ (ถึงแม้จะแลกด้วยการปล่อยให้หมอทำงานหนักจนจนด่าวดิ้นสิ้นชีวีก็ตาม)
จากที่เขียนมาข้างต้นคงจะตอบคำถาม ท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล ได้ว่า ไทยมาถึงวันนี้ได้ใครเป็นผู้วางรากฐานสาธารณสุข และใครทำให้สาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเพราะคนในคนหนึ่งหรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง หากปราศจากความร่วมมือขององค์กรที่แข็งแกร่ง มิตรสหายที่ปราดเปรื่อง และประชาชนที่อดทนแล้ว ไหนเลยจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยื่นได้
References
ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2487). นิทานที่ 12 เรื่อง ตั้งโรงพยาบาล. ใน นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๒-เรื่องตั้งโรงพยาบาล
ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2487). นิทานที่ 13 เรื่อง อนามัย. ใน นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๓-เรื่องอนามัย
ทวีศักดิ์ เผือกสม (2550) เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม.
http://www.naph.or.th/upload/Download/ประวัติศาสตร์สุขภาพ/Of_Germs,_Bodies,_and_the_Medicalizing_State.pdf
William H. Becker (2013) Innovative Partners: The Rockefeller Foundation and Thailand
https://www.rockefellerfoundation.org/.../Innovative...