แล้วทำไมต้องประชาธิปไตย
ในทางรัฐศาสตร์ เผด็จการ หรือประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่งที่ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง แต่ถ้าเลือกได้คุณอยากจะอยู่ในสังคมที่ปกครองด้วยระบอบไหน
อย่าเพิ่งตอบคำถามนี้จนกว่าได้จะฟังแนวคิดของประจักษ์ที่มีต่อระบอบการปกครองทั้ง 2 แบบ
“ผมไม่ได้มองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เลิศเลอ เผด็จการก็เช่นกัน สำหรับนักรัฐศาสตร์เวลาพูดถึงระบอบการปกครองจะถือว่าเป็นความหมายธรรมดาสามัญมากเลย แค่พูดถึงระบอบการเมืองต่างชนิดกัน เหมือนเป็น OS (Operating System) ทางการเมือง"
แล้วทำไมเขาถึงเชื่อในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า?
ประจักษ์ตอบว่า “เพราะอย่างน้อยมันผ่านการพิสูจน์ และทดลองใช้มาแล้วในที่ต่างๆ ทั่วโลก มันเป็น OS ที่มีศักยภาพในการปรับตัวได้มากกว่าระบอบเผด็จการ โดยเฉพาะระบอบเผด็จการแบบทหารซึ่งเป็น OS ที่ล้าหลังที่สุด”
ถึงแม้จะยอมรับว่าระบอบประชาธิปไตยอาจจะยังไม่ใช่ระบอบที่สมบูรณ์แบบที่สุดในปัจจุบัน แต่ข้อดีของมันคือเป็นระบอบที่ยังอัพเดตให้ดีขึ้นได้ ต่างจากระบอบเผด็จการที่อาจเดินทางมาถึงทางตันจนไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
“คุณจะไปคาดหวังให้เขาเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่ไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะเอาทหารประเทศไหนก็ตามมาบริหารประเทศก็ต้องเจอแบบนี้แหละ เพราะทหารส่วนใหญ่ถูกฝึกมาให้คิดถึงเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก นอกนั้นเป็นเรื่องรองหมด ดังนั้นทหารจึงมองทุกอย่างจากเลนส์ของความมั่นคง โปเกมอนโกก็เป็นภัยความมั่นคงได้ ถ้าคุณเป็นนักธุรกิจ โปเกมอนโกอาจเป็นโอกาสทางธุรกิจ ถ้าคุณเป็นวัยรุ่น โปเกมอนโกคือการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ถ้าคุณเป็นทหาร คุณจะมองว่าโปเกมอนโกเป็นภัยความมั่นคงหรือเปล่า เพราะโดยธรรมชาติเขาถูกฝึกมาปกป้อง คุ้มครองความปลอดภัยของพวกเรานี่แหละ
“ฉะนั้นพอเราเอาเผด็จการทหารมาใช้ในฐานะระบอบการเมือง นี่คือสิ่งที่คุณจะได้ คุณจะไปคาดหวังในสิ่งที่เขาไม่มีไม่ได้ ทั้งความโชติช่วงทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การปรับตัวให้เข้ากับโลกภายนอก ในขณะที่ประชาธิปไตยมีความลื่นไหล ยืดหยุ่นมากกว่า แล้วก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นไม่รู้กี่สิบประเทศ ระบอบเผด็จการสร้างแค่ความสงบ แต่เป็นความสงบที่มีต้นทุนสูงมาก และเป็นต้นทุนที่ถูกทำให้มองไม่เห็น เพราะมีการควบคุมข้อมูลข่าวสาร มีปัญหาเราก็พูดไม่ได้อย่างเต็มที่หรอก มันถึงดูสงบสุขดี ต้นทุนก็เลยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ในการอยู่แบบสงบอย่างนี้”
สุดท้ายถึงวันนี้เราจะเลือกไม่ได้ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองรูปแบบไหน แต่สิ่งที่เราพอจะทำได้คือพยายามเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นอยู่ให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้รู้เท่าทัน และช่วยกันเฝ้าระวังสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป เหมือนที่ประจักษ์ทิ้งท้ายไว้ว่า
“วิกฤติในสังคมตอนนี้ ถ้าจะมีข้อดีอย่างหนึ่งที่ผมเห็นคือ อย่างน้อยสังคมไทยก็เรียนรู้แล้วว่าระบอบประชาธิปไตยมีความบกพร่อง ผิดพลาดได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอาจจะไม่ได้ดีเสมอไป เราจะได้รู้จักตรวจสอบนักการเมือง รัฐบาล หรือใครก็ตามที่ใช้อำนาจประชาชนผ่านการเลือกตั้งในนามของประชาธิปไตย
“แต่สิ่งที่ยังไม่เกิดก็คือ สังคมไทยยังไม่ได้วิพากษ์ หรือรู้เท่าทันระบอบเผด็จการเท่าๆ กับที่เราวิพากษ์ระบอบประชาธิปไตย พูดง่ายๆ คือสังคมไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังโลกสวยกับเผด็จการ เวลาพูดถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราจะตื่นตัวมาก อยากจะตรวจสอบ
“แต่พอเป็นระบอบเผด็จการ เรากลับบอกว่า ให้เขาบริหารบ้านเมืองไปเถอะ เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ซึ่งจะว่าไปมันก็ประหลาดนะ”
#TheMomentum #SeizeTheMoment #6ตุลา
ที่มา FB
The Momentum
ooo
.....วันนี้เมื่อ 40ปีที่แล้วรุ่นพี่พวกเราถูกฆ่าอย่างโหดร้ายที่สนามบอลแห่งนี้ ผ่านมาสังคมไทยพยายามทำให้ความทรงจำเลือนลางไป #6ตุลา #เราไม่ลืม6ตุลา pic.twitter.com/K3fLeyJVvl— ธรรมศาสตร์เสรี.ปชต (@LLTD_TU) October 6, 2016
มุมที่พลาดไม่ได้ในงาน #รำลึก40ปี6ตุลา19
6-8 ตุลาคม ปีนี้ ที่มธ.ท่าพระจันทร์
ทีมงานเขาใช้เทคนิคซ้อนภาพ กลางแจ้ง โดยใช้แผ่นอะคริลิคใส สกรีนภาพเหตุการณ์ในอดีต แล้วนำมาวางในตำแหน่งปัจจุบัน หากท่านยืนในจุดที่พอดีจะมองเห็นภาพอดีตซ้อนกับภาพปัจจุบัน จนเหมือนว่าเรายืนอยูในเหตุการณ์
งานชุดนี้มีสามชิ้นวางอยู่ตามมุมต่างๆในสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ต้องชื่นชมว่าทีมงานทั้งคนคิดและคนทำเขาเยี่ยมยอดครับ
นอกจากนี้รอบสนามฟุตบอล ยังมีป้ายผ้าความยาวรวมกว่า 200 เมตร เขียนบรรยายลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สามเณรถนอมบวชเณรเข้ามาในประเทศ จนกลางเช้าตรู่วันที่ 6 ตุลาคม
#เราไม่ได้ตอกย้ำความแค้น
#แต่เราไปเพื่อสร้างความเข้าใจ
#ว่าคนไทยไม่ควรฆ่ากันเอง
ooo
“ถึงแม้พวกเค้าอาจจะตายเมื่อ 40 ปีมาแล้ว ถึงแม้ว่าเราอาจเกิดไม่ทันเหตุการณ์วันนั้น แต่ผมเชื่อว่า ความปรารถนาที่จะคืนความเป็นมนุษย์ให้แก่เหยื่อทุกคนนั้น เป็นเรื่องอยู่ในใจของคนทุกรุ่น”
เช้าวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2519 ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูลในวัย 19 ปี อยู่ที่เวทีสนามฟุตบอล ท่ามกลางเสียงกระสุนปืนที่ระดมยิงเข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร่ำพูดใส่ไมโครโฟนขอร้องกับเจ้าหน้าที่ว่า "กรุณาหยุดยิงเถิดครับ" ซ้ำๆ ทว่าไร้ผล และต้องเห็นเพื่อนตายไปต่อหน้าต่อตา
“ผมนอนแผ่อยู่ตรงนั้น ได้แต่ร้องไห้...ร้องเป็นบ้าเป็นหลังอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่รู้ว่าโกรธแค้น เสียใจ กลัว สิ้นหวัง สงสารเพื่อนที่ติดอยู่ในตึกต่างๆ ไปไหนไม่ได้ ห่วงตัวเอง หรือทุกอย่างรวมกัน”
“ผมนึกสมเพชตัวเอง ละอายใจ และรู้สึกผิด ผมน่าจะทำอะไรได้ดีกว่าพูดซ้ำซากขอชีวิตอย่างนั้นไหม? ผมควรจะอยู่ข้างในธรรมศาสตร์ ผมไม่น่าทอดทิ้งเพื่อนที่ตึกบัญชีเลย ผมหนีออกมาทำไม? ทำไมผมยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่หลายชีวิตในธรรมศาสตร์จากไปไม่มีวันกลับ?"
กระทั่งครึ่งหลังของชีวิต อ.ธงชัยได้ไปศึกษาต่อและใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ ในฐานะอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่มีวันใดที่ผ่านไปโดยไม่นึกถึงเช้าวันที่ 6 ตุลา
และในวันนี้ 40 ปี ผ่านไป ก็เป็นอีกครั้งที่ อ.ธงชัย กลับมายังประเทศไทย เพื่อร่วมรำลึกถึงวันนั้น
“ประวัติศาสตร์ช่างโหดร้ายเหลือเกิน ช่างไร้เหตุผลสิ้นดี ทุกวันนี้ผมพอบอกตัวเองได้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร แต่ผมกลับตอบไม่ได้ว่า ทำไมผมจึงยังมีชีวิตอยู่”
———————————————————
งานครบรอบ 40 ปี 6 ตุลา 2519
6-7-8 ตุลาคม 2559, ธรรมศาสตร์, ท่าพระจันทร์
Download กำหนดการเต็ม | http://bit.ly/2do9pNJ
กดติดตามกิจกรรม | http://bit.ly/2cSPY3O
ที่มา
6 ตุลา 2519 เราไม่ลืม