น้ำตาตกใน! ชาวนาอุทัยฯ ขายข้าวขาดทุนยับ วอนรัฐช่วยก่อนโบกมือลาอาชีพทำนา
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
26 ตุลาคม 2559
อุทัยธานี - ชาวนาร้อนเงินแห่นำข้าวเกี่ยวสดออกมาขาย ถูกกดราคาต่ำเพราะความชื้นสูง ได้เพียงราคาตันละ 5,500-6,500 บาทเท่านั้น ต้องขาดทุนย่อยยับ วอนรัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือด่วน ไม่อย่างนั้นคงต้องหันไปทำอาชีพอื่นแทน
รายงานข่าวจากจังหวัดอุทัยธานี ว่า ขณะนี้ชาวนาในหลายพื้นที่ ทั้งที่อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอทัพทัน ได้พากันนำข้าวเปลือกที่เกี่ยวสดเพราะต้องหนีน้ำท่วม นำไปจำหน่ายให้ตลาดรับซื้อข้าวเปลือกในเขตเทศบาลตำบลทัพทัน วันละหลายร้อยราย รวมปริมาณข้าวกว่า 400-500 ตันต่อวัน แต่ชาวนาต้องทุกข์ระทมอย่างหนักเมื่อนำไปขายแต่ถูกกดราคาเหลือเพียงตันละ 5,500-6,500 บาทเท่านั้น
ชาวนารายหนึ่งที่นำข้าวไปขาย บอกว่า จำต้องขายข้าวราคาถูกอย่างไม่มีทางเลือก เพราะชาวนาส่วนใหญ่ไม่มีลานตากข้าว ประกอบกับมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องพากันเร่งเกี่ยวขายไม่ให้ได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ ซึ่งราคาที่ขายดังกล่าวถ้าคิดต้นทุนแล้วไม่เหลืออะไรเลย แม้แต่ค่าแรงของตนเอง และถ้าเป็นนาเช่าด้วยแล้วขาดทุนกันอย่างย่อยยับ ต้องเป็นหนี้เป็นสินกับที่ต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนในครั้งนี้ ทุกคนน้ำตาตกในกันหมด จึงได้เรียกร้อง และขอวอนให้รัฐบาลเข้ามาพยุงราคาข้าว และประกันราคาข้าวให้ได้ราคาอย่างน้อยตันละ 8,000 บาท ก็พอที่จะอยู่กันได้ และพอกินพอใช้
หากราคาข้าวยังเป็นเช่นนี้ชาวนาคงต้องหยุดทำนาไปหาอาชีพอื่นทำแทน เพราะต้องประสบต่อสภาวะการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของสถานการณ์ภัยแล้งติดต่อกันหลายปี รวมถึง สถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้พื้นที่นาข้าวเสียหายกันเป็นจำนวนมาก
ooo
นี่เงินทอน? ความไม่โรแมนติกของชาวนา เมื่อราคาข้าวดิ่งเหว
รายงานโดย c-editor เมื่อ 25 Oct 2016
นักข่าวพลเมือง
ข้าเรื่องอย่างเร็วที่สุด
กองบรรณาธิการนักข่าวพลเมืองคุยกับ ธนากร พรมลิ ชาวนา ต.กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ เกี่ยวกับการทำนา ต้นทุนการผลิต และราคาของหยาดเหงื่อเมื่อข้าวจากรวงถูกส่งถึงโรงสี
“สัปดาห์ที่แล้ว เขาขายได้ที่กิโลกรัมละ 8 บาทนะ แต่ตอนนี้คนเริ่มเกี่ยวเยอะและเอาไปขายพร้อมๆ กัน ราคาก็โดนกดลง เมื่อวานนี้ข้าวที่ผมเกี่ยวไป คือ ข้าวมะลิ กข.15 เป็นข้าวอายุสั้น ชาวบ้านนิยมปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำน้อยในนาดอน ผมมีที่นา 18 ไร่ แบ่งเป็นสองแปลง ปลูกข้าวมะลิ กข.15 จำนวน 6 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ปลูกข้าวหอมมะลิ กข.105 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังจากช่วงนี้”
“ตอนนี้ที่ศรีสะเกษข้าวราคากิโลกรัมละ 7 บาทครับ ถ้าขายสด ซึ่งขายสดก็คือพอรถเกี่ยวเสร็จก็ขนไปขายที่โรงสีไม่ต้องรอตากแห้ง แต่โรงสีจะหักค่าความชื้นอีก 60% เบ็ดเสร็จก็เหลืออยู่ที่ 6 บาท 40 สตางค์ ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา”
เล่าถึงวรรคนี้ ไพล่นึกถึงบางข้อความที่ประชาชนบนโลกออนไลน์ได้ประดิษฐ์ถ้อยคำไว้น่าฟัง “ข้าวความชื้นสูงเพราะมันมีน้ำตาของชาวนาเจือปนด้วย”
“ข้าวราคาถูกก็ต้องลดต้นทุนสิ” บางข้อความจากชาวนาคีย์บอร์ดเริ่มเทศนา
เรานำประเด็นนี้คุยกับธนากร พรมลิ เขาจึงแจกแจงเป็นข้อๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปที่สุด
“การทำนาลงทุนเยอะ อย่างผมเองก็พยายามลดค่าใช้จ่ายหลายส่วน เช่น ใช้ปุ๋ยคอก ทำนาอินทรีย์ไม่ฉีดยาแต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายเยอะอยู่ดี ทั้งค่าไถ ค่าเกี่ยว ส่วนค่าแรงยังไม่คิด”
“ชาวนาแถบนี้ ไถนา 2 รอบนะ รอบแรกเรียกว่าไถดะ ราคาไร่ละ 120 บาท และรอบสองจะไถหว่านราคาไร่ละ 140 บาท ถ้าเราไม่มีแรงงานก็จะต้องจ้างคนหว่านค่าแรงคิดเป็นกระสอบละ 60 บาท 1 ไร่ต่อหนึ่งกระสอบ แล้วถ้าไม่มีเมล็ดพันธุ์ก็ต้องซื้อกิโลกรัมละ 20-25 บาท หนึ่งกระสอบก็ 40 กิโลกรัม แต่โชคดีหน่อยที่ผมคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เก็บไว้เอง ตรงนี้ก็ช่วยลดกันไป”
“พอข้าวอายุได้หนึ่งเดือนก็ต้องใส่ปุ๋ยอีก 2 รอบ รอบแรกตอนอายุ 30-50 วัน ปุ๋ยสูตรต่ำราคาจะอยู่ที่กระสอบละ 700 บาทต่อที่นา 3 ไร่ จากนั้นพอช่วงข้าวใกล้ตั้งท้องก็จะใส่อีกรอบคราวนี้จะเยอะหน่อย 8 ไร่ ต่อ 3 กระสอบ ส่วนราคาปุ๋ยก็พอๆ กัน”
“พอเกี่ยวข้าวก็มีค่าใช้จ่าย รถเกี่ยวข้าวราคาไร่ละ 550 บาท ตอนนี้คนเริ่มเกี่ยวข้าวกันมาประมาณสองสัปดาห์แล้ว เกี่ยวเสร็จก็ต้องมีค่าขนส่งไม่ว่าจะเอาไปขายที่โรงสี หรือจะเอาไปตากที่บ้าน ไม่ว่าจะจ้างรถกระบะ หรือ รถยนต์หกล้อ ราคาก็อยู่ที่ 200 - 400 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางตามที่ตกลงกัน”
ตัวเลข 2,165.83 บาท จากตารางด้านบนคือค่าใช้จ่ายในการทำนาต่อ 1 ไร่ ซึ่งยังไม่รวมค่าแรง ค่าขนส่ง เมื่อนำมาบวกลบคูณหารกับผลผลิตที่ธนากรบอกว่า ปีนี้ข้าวของเขางามพอสมควร 1 ไร่ ได้ข้าว 600 กิโลกรัมโดยประมาณ หากขายในราคากิโลกรัมละ 6 บาท 40 สตางค์ จะได้เงินทั้งสิ้น 3,840 บาทต่อ 1 ไร่
1,674.17 บาท ต่อ 1 ไร่ คือเงินคงเหลือที่ย้ำว่ายังไม่หักค่าแรงและค่าขนส่งแต่อย่างใด
มันคือเงินที่ใช้เวลากว่า 3 เดือนนับจากชาวนาเริ่มนับหนึ่งของการเพาะปลูก ทุกขั้นตอนมีแรงที่ต้องออก มีทุนที่ต้องควัก มีความฝันที่ต้องหล่อเลี้ยง กระทั่งเห็นราคาข้าวนั่นแลความจริงจึงแจ่มชัด
“ปีนี้ข้าวงามพอใช้ได้แต่ราคาถูกมาก ก่อนหน้านี้เคยต่ำสุดที่กิโลกรัมละ 10 บาท ก็ยังพออยู่ได้ แต่นี่มันเกินไป ชาวนาจะทนไหวได้อย่างไร”
ธนากร พรมลิ ชาวนา อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
รายงานโดย c-editor เมื่อ 25 Oct 2016
นักข่าวพลเมือง
ข้าเรื่องอย่างเร็วที่สุด
กองบรรณาธิการนักข่าวพลเมืองคุยกับ ธนากร พรมลิ ชาวนา ต.กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ เกี่ยวกับการทำนา ต้นทุนการผลิต และราคาของหยาดเหงื่อเมื่อข้าวจากรวงถูกส่งถึงโรงสี
“สัปดาห์ที่แล้ว เขาขายได้ที่กิโลกรัมละ 8 บาทนะ แต่ตอนนี้คนเริ่มเกี่ยวเยอะและเอาไปขายพร้อมๆ กัน ราคาก็โดนกดลง เมื่อวานนี้ข้าวที่ผมเกี่ยวไป คือ ข้าวมะลิ กข.15 เป็นข้าวอายุสั้น ชาวบ้านนิยมปลูกในพื้นที่ที่มีน้ำน้อยในนาดอน ผมมีที่นา 18 ไร่ แบ่งเป็นสองแปลง ปลูกข้าวมะลิ กข.15 จำนวน 6 ไร่ ส่วนที่เหลือก็ปลูกข้าวหอมมะลิ กข.105 ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังจากช่วงนี้”
“ตอนนี้ที่ศรีสะเกษข้าวราคากิโลกรัมละ 7 บาทครับ ถ้าขายสด ซึ่งขายสดก็คือพอรถเกี่ยวเสร็จก็ขนไปขายที่โรงสีไม่ต้องรอตากแห้ง แต่โรงสีจะหักค่าความชื้นอีก 60% เบ็ดเสร็จก็เหลืออยู่ที่ 6 บาท 40 สตางค์ ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา”
เล่าถึงวรรคนี้ ไพล่นึกถึงบางข้อความที่ประชาชนบนโลกออนไลน์ได้ประดิษฐ์ถ้อยคำไว้น่าฟัง “ข้าวความชื้นสูงเพราะมันมีน้ำตาของชาวนาเจือปนด้วย”
“ข้าวราคาถูกก็ต้องลดต้นทุนสิ” บางข้อความจากชาวนาคีย์บอร์ดเริ่มเทศนา
เรานำประเด็นนี้คุยกับธนากร พรมลิ เขาจึงแจกแจงเป็นข้อๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปที่สุด
“การทำนาลงทุนเยอะ อย่างผมเองก็พยายามลดค่าใช้จ่ายหลายส่วน เช่น ใช้ปุ๋ยคอก ทำนาอินทรีย์ไม่ฉีดยาแต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายเยอะอยู่ดี ทั้งค่าไถ ค่าเกี่ยว ส่วนค่าแรงยังไม่คิด”
“ชาวนาแถบนี้ ไถนา 2 รอบนะ รอบแรกเรียกว่าไถดะ ราคาไร่ละ 120 บาท และรอบสองจะไถหว่านราคาไร่ละ 140 บาท ถ้าเราไม่มีแรงงานก็จะต้องจ้างคนหว่านค่าแรงคิดเป็นกระสอบละ 60 บาท 1 ไร่ต่อหนึ่งกระสอบ แล้วถ้าไม่มีเมล็ดพันธุ์ก็ต้องซื้อกิโลกรัมละ 20-25 บาท หนึ่งกระสอบก็ 40 กิโลกรัม แต่โชคดีหน่อยที่ผมคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เก็บไว้เอง ตรงนี้ก็ช่วยลดกันไป”
“พอข้าวอายุได้หนึ่งเดือนก็ต้องใส่ปุ๋ยอีก 2 รอบ รอบแรกตอนอายุ 30-50 วัน ปุ๋ยสูตรต่ำราคาจะอยู่ที่กระสอบละ 700 บาทต่อที่นา 3 ไร่ จากนั้นพอช่วงข้าวใกล้ตั้งท้องก็จะใส่อีกรอบคราวนี้จะเยอะหน่อย 8 ไร่ ต่อ 3 กระสอบ ส่วนราคาปุ๋ยก็พอๆ กัน”
“พอเกี่ยวข้าวก็มีค่าใช้จ่าย รถเกี่ยวข้าวราคาไร่ละ 550 บาท ตอนนี้คนเริ่มเกี่ยวข้าวกันมาประมาณสองสัปดาห์แล้ว เกี่ยวเสร็จก็ต้องมีค่าขนส่งไม่ว่าจะเอาไปขายที่โรงสี หรือจะเอาไปตากที่บ้าน ไม่ว่าจะจ้างรถกระบะ หรือ รถยนต์หกล้อ ราคาก็อยู่ที่ 200 - 400 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางตามที่ตกลงกัน”
ตัวเลข 2,165.83 บาท จากตารางด้านบนคือค่าใช้จ่ายในการทำนาต่อ 1 ไร่ ซึ่งยังไม่รวมค่าแรง ค่าขนส่ง เมื่อนำมาบวกลบคูณหารกับผลผลิตที่ธนากรบอกว่า ปีนี้ข้าวของเขางามพอสมควร 1 ไร่ ได้ข้าว 600 กิโลกรัมโดยประมาณ หากขายในราคากิโลกรัมละ 6 บาท 40 สตางค์ จะได้เงินทั้งสิ้น 3,840 บาทต่อ 1 ไร่
1,674.17 บาท ต่อ 1 ไร่ คือเงินคงเหลือที่ย้ำว่ายังไม่หักค่าแรงและค่าขนส่งแต่อย่างใด
มันคือเงินที่ใช้เวลากว่า 3 เดือนนับจากชาวนาเริ่มนับหนึ่งของการเพาะปลูก ทุกขั้นตอนมีแรงที่ต้องออก มีทุนที่ต้องควัก มีความฝันที่ต้องหล่อเลี้ยง กระทั่งเห็นราคาข้าวนั่นแลความจริงจึงแจ่มชัด
“ปีนี้ข้าวงามพอใช้ได้แต่ราคาถูกมาก ก่อนหน้านี้เคยต่ำสุดที่กิโลกรัมละ 10 บาท ก็ยังพออยู่ได้ แต่นี่มันเกินไป ชาวนาจะทนไหวได้อย่างไร”
ธนากร พรมลิ ชาวนา อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ