ชื่อเรื่องเดิม
ภาพจากประชาไท FB อานนท์ อำภา
เรื่อง ประชาไท
Sat, 2014-11-01 20:55กิจกรรมมืดรำลึกนวมทอง ไพรวัลย์ นักศึกษากางป้ายแฟลชม็อบ “นวมทองยังไม่ตาย” พันธ์ศักดิ์แสดงละครใบ้ แกนนำจัดกิจกรรมอานนท์-พันธ์ศักดิ์ ถูกนำตัวไปสอบปากคำ ผู้ร่วมงาน 3 รายถูกปรับ 100 ข้อหาไม่พกบัตรประชาชน
หลังจากเพจกิจกรรม ‘มืด’ ตั้งขึ้นโดยอานนท์ นำภา ทนายความ โพสต์ข้อความเชิญชวนผู้สนใจจัดกิจกรรมศิลปะรำลึกการจากไปครบรอบ 8 ปีของนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับแท็กซี่ต้านรัฐประหารที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม
กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจ มีผู้ไปรวมตัวที่ร้านลาบด้านข้างอนุสาวรีย์ประชาธิไตยอันที่เป็นจุดนัดหมายราว 30-40 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจสังเกตการณ์อยู่ราว 7-8 นาย กิจกรรมหลักได้แก่การแสดงละครใบ้ของพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ผู้เป็นพ่อของสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ น้องเฌอ หนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 และการกางป้ายผ้าของกลุ่มนักศึกษาข้อความว่า “นวมทองยังไม่ตาย” ราว 2-3 นาที ท้ายที่สุดตำรวจได้เชิญตัวอานนท์และพันธ์ศักดิ์ไปสอบปากคำที่สน.นางเลิ้ง
อานนท์ ได้โพสต์เฟซบุ๊คชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เมื่อคืนผมกับ ปีเตอร์ ศรี มีเฌอเป็นลูกรัก (พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ – ประชาไท) ถูกเรียกให้ไปให้ปากคำ กรณีมีนักศึกษานำป้ายผ้าไปชูที่บริเวรอนุสาวรียประชาธิปไตย พ่อน้องเฌอให้การไปแล้ว ส่วนผมขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 5 พ.ย.57 เวลา 18.00 น. ที่ สน.นางเลิ้ง เนื่องจากเมื่อคืนนี้ผมไม่พร้อมที่จะให้การ
ผมมีประเด็นที่จะให้การอยู่ 2-3 ประเด็นคือ
1) เสรีภาพในการแสดงออก
2) ดุลพินิจในการจำกัดเสรีภาพ
3) ปัญหาของกฎอัยการศึกในสังคมประชาธิปไตย
ผมเพิ่งมาเห็นรูปนี้ซึ่งถูกแชร์ในเฟซบุ๊คเมื่อเช้า ผมคิดว่าโดยพฤติการณ์และข้อความบนผ้า เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งไม่ผิดต่อกฎหมายแต่ประการใด ทั้งยังเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมในความกล้าหาญของน้องนักศึกษา
ขอบคุณพี่ทหารและพี่ตำรวจระดับปฏิบัติการณ์ที่เข้าใจและอะลุ่มอะล่วยในการทำกิจกรรม ขอบคุณระดับผู้บังคับบัญชาที่ไม่ตึงจนเกินไป ส่วนที่สูงกว่านั้นและไม่เข้าใจในเรื่องเสรีภาพ ย่อมเป็นโจทย์ให้เราต้องแก้เพื่อจะได้เข้าใจร่วมกันว่า ในสังคมประชาธิปไตย เราให้ความสำคัญกับการแสดงออกซึ่งเสรีภาพขนาดไหน
ปล. ผมเชื่อว่าลึกๆแล้วท่านก็ไม่ได้คิดว่าคนกลุ่มเล็กๆนี้จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรมากหรอก เพียงแต่ท่านถูกกดทับมาอีกทีจากอำนาจ "มืด" เท่านั้น
ผมจะพยายามทำคำให้การเป็นหนังสือไปยื่นกับพนักงานสอบสวนนะครับ จะได้ไม่ต้องบันทึกอะไรยาวนานเกินไป 5 พ.ย.57 นี้เจอกันครับ”
3 รายโดนปรับ ข้อหาไม่พกบัตรประชาชน
อัจฉรา อิงคามระธร หนึ่งในผู้ถูกปรับกล่าวว่า เข้าร่วมกิจกรรมงานศิลปะในความมืด โดยไปถึงก่อน 22.00 น.และนั่งทานอาหารในร้านลาบอันเป็นที่นัดหมาย โดยทราบข่าวมาว่าในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ได้ขอให้ลุงและป้าเจ้าของร้านปิดร้าน แต่ทั้งสองไม่ยอมปิดโดยให้เหตุผลว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายซึ่งซื้อของไปแล้ว อย่างไรก็ตามเจ้าของร้านยอมขยับร้านรถเข็นไปไว้ด้านในซอยจากเดิมที่เคยอยู่ริมถนน
จนถึงเวลาประมาณ 22.00 น. กลุ่มนักศึกษาก็ทำกิจกรรมกางป้ายผ้ารำลึกนวมทองตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาสั้นๆ คล้ายเป็นแฟลชม็อบ จากนั้นพันธ์ศักด์ก็แสดงละครใบ้ เธอจึงเดินไปถ่ายรูป เมื่อเดินกลับมานั่งที่โต๊ะก็พบว่าตำรวจเริ่มมาสมทบกันมากขึ้นจากเดิมที่มีอยู่นิดหน่อยตามปกติ ก็มีตำรวจมาเพิ่มอีก 3 คันรถ ทหารอีก 1 คันรถ โดยเริ่มแรกเจ้าหน้าที่เข้าไปพูดคุยกับอานนท์และพันธ์ศักดิ์ จากนั้นจึงเดินมาที่โต๊ะของเธอและเพื่อนเพื่อขอตรวจบัตรประชาชนท่ามกลางความงุนงงของทุกคนเนื่องจากสถานที่ดังกล่าวไม่ใช่ผับ ท้ายที่สุดมี 3 ราย เป็นหญิงทั้งหมด ที่ไม่ได้นำบัตรประชาชนติดตัวมาด้วย จึงยินยอมถูกควบคุมตัวไปสน.นางเลิ้งเพื่อเสียค่าปรับคนละ 100 บาท
ทั้งนี้ กิจกรรม "มืด" นั้นระบุจุดประสงค์งานในเพจเฟซบุ๊กว่า “ในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้ แม้งานศิลปะ ก็ต้องแสดงกันในความมืด พบกับการแสดงงานศิลปะ ดนตรีในความมืดของศิลปินในความมืด และขอชวนเชิญมิตรสหายร่วมแสดงงานศิลปะในความมืด ในบ้านเมืองที่มืดมิด ไม่จำกัดประเภทงานศิลปะ ( ดนตรี ภาพถ่าย ภาพวาด บทกวี ฯลฯ ) พร้อมพบปะพูดคุย ดื่มกินในบรรยากาศ "มืดๆ" หมายเหตุ : ศิลปินเตรียมอุปกรณ์มาเองทั้งเครื่องดนตรีและเครื่องเสียง(หากต้องใช้) ส่วนค่าอาหารก็แชร์กันครับ บรรยากาศร้านลาบ ราคาสบายๆ เช่นเคย”
ooo
วาด รวี
ที่มา ประชาไท
ที่มา ประชาไท
2014-10-31
นวมทอง ไพรวัลย์ฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 เขาจงใจสังหารตนเองในเดือนตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าเพราะเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ผมสงสัยมาตลอดว่านวมทองเลือกเดือนผิดหรือไม่ ยิ่งเมื่อคิดถึงพฤติกรรมของบรรดา “วีรชนเดือนตุลา” จำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และยิ่งเมื่อย้อนทบทวนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ตุลาคมปี 2516 เดือนตุลาคมสมควรเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงหรือไม่? “คนเดือนตุลา” มีจิตใจและการกระทำสมควรแก่การยกย่องและโอ่อวดมาตลอด 41 ปีที่ผ่านมาหรือไม่?
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรนวมทองก็เลือกไปแล้ว และการเลือกของเขาก็ช่วยต่อชีวิตและจิตวิญญาณให้กับสัญลักษณ์เดือนตุลาคมที่ผูกพันกับประชาธิปไตย
นวมทอง ไพรวัลย์ไม่ได้ฆ่าตัวตายครั้งเดียว แต่ทำทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเขาขับรถแท๊กซี่พุ่งชนรถถัง การแลกชีวิตครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เขารอดตาย แต่ก็กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง “แท็กซี่ขับชนรถถัง” เพื่อประท้วงการรัฐประหาร
ตามที่ระบุไว้ในจดหมายฉบับสุดท้ายของเขา หลังจากฆ่าตัวตายครั้งแรกไม่สำเร็จ เขาไม่ได้คิดที่จะทำอีก แต่ตั้งใจจะกลับไปทำมาหากินตามปรกติ แต่เมื่อมีนายทหาร คมช. ออกมาสบประมาทว่า “ไม่มีใครมีอุดมการณ์พอที่จะตายได้หรอก” นวมทอง ไพรวัลย์จึงตัดสินใจอีกครั้ง...
เป็นการตัดสินใจท่ามกลางการมอบดอกไม้และถ่ายรูปกับรถถังของชนชั้นกลาง ท่ามกลางความเงียบใบ้ หรือไม่ก็แอบเชียร์รัฐประหารของปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ผมจำได้ว่าตอนนั้น การตายของนวมทอง ไพรวัลย์ สั่นสะเทือนผมอย่างรุนแรง เป็นเหมือนมือที่ตบผลัวะเข้าที่ใบหน้าในขณะที่ผมกำลังเกือบจะเคลิ้มไปกับคำออกตัวต่าง ๆ นานาเพื่อจะไม่คัดค้านต่อต้านการรัฐประหารของบรรดาปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ล้วนเป็นคนที่ผมเคยนับถือทั้งสิ้น
ความตายของนวมทองเปรียบได้กับมือที่ตบหน้าผมให้ตื่นขึ้นจากความหลอกหลวง หลับใหล หรือแม้แต่กะล่อนของคนเหล่านั้น และทำให้ผมมองพวกเขาใหม่อีกครั้งด้วยดวงตาที่กระจ่างแจ้งกว่าเดิม
การฆ่าตัวตายของนวมทองเป็นการกระทำของ “ผู้ตื่นรู้” ที่ถือครองอำนาจของการปลดปล่อยอย่างแท้จริง เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา และเป็นอดีตทหารชั้นผู้น้อย ไม่ใช่ปัญญาชน นักวิชาการโก้หร่าน นักเขียน กวี ใหญ่คับกะลา พ่นน้ำลายปนน้ำหมึกตอแหลหลอกลวงเทศนาโอ้อวดตัวว่าตื่นว่ารู้และคอยเก็บเกี่ยวอ้าปากรับเศษผลประโยชน์ที่กระเด็นมาเข้าปากตัวเอง
ท่วงทีแห่งการตายของเขาคือหลักฐานว่านวมทอง ไพรวัลย์ไม่ใช่คนสิ้นคิด และไม่ใช่คนไม่รักชีวิต การฆ่าตัวตายของเขาไม่ใช่การปราศจากศรัทธาที่จะมีชีวิตต่อ ไม่ใช่การพยายามวิ่งหนีจากอะไร แต่เป็นการออกไปเผชิญหน้า ออกไปรบ...ก้าวสู่สมรภูมิที่ต้องเอาชีวิตเข้าแลกกับการปลุกผู้คนและทำลายความปลิ้นปล้อนหลอกลวง ก่อนตายเขาอัดเทปและฝากเพลง “ลูกแก้วเมียขวัญ” ถึงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความอาลัยอาวรณ์อย่างซื่อสัตย์จริงใจ ไม่ต้องการจากผู้เป็นที่รัก ทว่า สมรภูมิรออยู่เบื้องหน้า และเขาต้องออกไปแลกชีวิตกับมัน และนี่คือความหมายมนุษย์ที่ยืนหยัดอยู่บนส้นตีนและศักดิ์ศรีของตน ไม่ใช่ฝุ่นละอองใต้ฝ่าเท้าหรือไม้เถาที่ต้องเลื้อยพันสิ่งอื่น
ลาก่อนเถิดหนาจอมขวัญ
เพลาสายัญพี่จะต้องจากไปทัพ
อยู่บ้านจงหมั่นดูแล ดูลูกดูแม่กว่าผัวจะกลับ
แม้นเสร็จศึกทัพ แล้วพี่จะกลับมาเชย
อยู่บ้านเถิดหนานวลเนื้อ
ผู้ชายพายเรือน้องอย่าได้เชื่อคำเลย
สงวนทรามเชยไว้อย่าให้เปื้อนราคี
อยู่บ้านหมั่นสวดมนต์สวดพร
ก่อนหลับก่อนนอนวอนคุณพระให้ช่วยที
ถ้าแม้นบุญมีแล้วพี่คงได้กลับมา
ไก่แก้วตะโกนแว่วร้อง แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้า
ถึงเวลาแล้วพี่ต้องจากบังอร
จูบลูกเป็นครั้งสุดท้าย โอ้ยอดดวงใจพ่อต้องลาไปก่อน
ขวัญเอยขวัญอ่อนจงสุขสบาย
อยู่บ้านอย่ากวนแม่นัก
ลูกเอ๋ยลูกรักจงอย่าเที่ยวให้ไกล
โรงร่ำโรงเรียนเจ้าจงได้หมั่นเพียรไป
สางแล้วไก่แก้วแว่วมา
ถึงเวลาแล้วที่พ่อต้องจากไกล
ต้องขอลาไปแล้วลูกแก้วเมียขวัญ
นวมทอง ไพรวัลย์ฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2549 เขาจงใจสังหารตนเองในเดือนตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าเพราะเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ผมสงสัยมาตลอดว่านวมทองเลือกเดือนผิดหรือไม่ ยิ่งเมื่อคิดถึงพฤติกรรมของบรรดา “วีรชนเดือนตุลา” จำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และยิ่งเมื่อย้อนทบทวนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ตุลาคมปี 2516 เดือนตุลาคมสมควรเป็นเดือนสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงหรือไม่? “คนเดือนตุลา” มีจิตใจและการกระทำสมควรแก่การยกย่องและโอ่อวดมาตลอด 41 ปีที่ผ่านมาหรือไม่?
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรนวมทองก็เลือกไปแล้ว และการเลือกของเขาก็ช่วยต่อชีวิตและจิตวิญญาณให้กับสัญลักษณ์เดือนตุลาคมที่ผูกพันกับประชาธิปไตย
นวมทอง ไพรวัลย์ไม่ได้ฆ่าตัวตายครั้งเดียว แต่ทำทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเขาขับรถแท๊กซี่พุ่งชนรถถัง การแลกชีวิตครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เขารอดตาย แต่ก็กลายเป็นข่าวหน้าหนึ่ง “แท็กซี่ขับชนรถถัง” เพื่อประท้วงการรัฐประหาร
ตามที่ระบุไว้ในจดหมายฉบับสุดท้ายของเขา หลังจากฆ่าตัวตายครั้งแรกไม่สำเร็จ เขาไม่ได้คิดที่จะทำอีก แต่ตั้งใจจะกลับไปทำมาหากินตามปรกติ แต่เมื่อมีนายทหาร คมช. ออกมาสบประมาทว่า “ไม่มีใครมีอุดมการณ์พอที่จะตายได้หรอก” นวมทอง ไพรวัลย์จึงตัดสินใจอีกครั้ง...
เป็นการตัดสินใจท่ามกลางการมอบดอกไม้และถ่ายรูปกับรถถังของชนชั้นกลาง ท่ามกลางความเงียบใบ้ หรือไม่ก็แอบเชียร์รัฐประหารของปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ผมจำได้ว่าตอนนั้น การตายของนวมทอง ไพรวัลย์ สั่นสะเทือนผมอย่างรุนแรง เป็นเหมือนมือที่ตบผลัวะเข้าที่ใบหน้าในขณะที่ผมกำลังเกือบจะเคลิ้มไปกับคำออกตัวต่าง ๆ นานาเพื่อจะไม่คัดค้านต่อต้านการรัฐประหารของบรรดาปัญญาชน นักเขียน บรรณาธิการ... ล้วนเป็นคนที่ผมเคยนับถือทั้งสิ้น
ความตายของนวมทองเปรียบได้กับมือที่ตบหน้าผมให้ตื่นขึ้นจากความหลอกหลวง หลับใหล หรือแม้แต่กะล่อนของคนเหล่านั้น และทำให้ผมมองพวกเขาใหม่อีกครั้งด้วยดวงตาที่กระจ่างแจ้งกว่าเดิม
การฆ่าตัวตายของนวมทองเป็นการกระทำของ “ผู้ตื่นรู้” ที่ถือครองอำนาจของการปลดปล่อยอย่างแท้จริง เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา และเป็นอดีตทหารชั้นผู้น้อย ไม่ใช่ปัญญาชน นักวิชาการโก้หร่าน นักเขียน กวี ใหญ่คับกะลา พ่นน้ำลายปนน้ำหมึกตอแหลหลอกลวงเทศนาโอ้อวดตัวว่าตื่นว่ารู้และคอยเก็บเกี่ยวอ้าปากรับเศษผลประโยชน์ที่กระเด็นมาเข้าปากตัวเอง
ท่วงทีแห่งการตายของเขาคือหลักฐานว่านวมทอง ไพรวัลย์ไม่ใช่คนสิ้นคิด และไม่ใช่คนไม่รักชีวิต การฆ่าตัวตายของเขาไม่ใช่การปราศจากศรัทธาที่จะมีชีวิตต่อ ไม่ใช่การพยายามวิ่งหนีจากอะไร แต่เป็นการออกไปเผชิญหน้า ออกไปรบ...ก้าวสู่สมรภูมิที่ต้องเอาชีวิตเข้าแลกกับการปลุกผู้คนและทำลายความปลิ้นปล้อนหลอกลวง ก่อนตายเขาอัดเทปและฝากเพลง “ลูกแก้วเมียขวัญ” ถึงครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความอาลัยอาวรณ์อย่างซื่อสัตย์จริงใจ ไม่ต้องการจากผู้เป็นที่รัก ทว่า สมรภูมิรออยู่เบื้องหน้า และเขาต้องออกไปแลกชีวิตกับมัน และนี่คือความหมายมนุษย์ที่ยืนหยัดอยู่บนส้นตีนและศักดิ์ศรีของตน ไม่ใช่ฝุ่นละอองใต้ฝ่าเท้าหรือไม้เถาที่ต้องเลื้อยพันสิ่งอื่น
ลาก่อนเถิดหนาจอมขวัญ
เพลาสายัญพี่จะต้องจากไปทัพ
อยู่บ้านจงหมั่นดูแล ดูลูกดูแม่กว่าผัวจะกลับ
แม้นเสร็จศึกทัพ แล้วพี่จะกลับมาเชย
อยู่บ้านเถิดหนานวลเนื้อ
ผู้ชายพายเรือน้องอย่าได้เชื่อคำเลย
สงวนทรามเชยไว้อย่าให้เปื้อนราคี
อยู่บ้านหมั่นสวดมนต์สวดพร
ก่อนหลับก่อนนอนวอนคุณพระให้ช่วยที
ถ้าแม้นบุญมีแล้วพี่คงได้กลับมา
ไก่แก้วตะโกนแว่วร้อง แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้า
ถึงเวลาแล้วพี่ต้องจากบังอร
จูบลูกเป็นครั้งสุดท้าย โอ้ยอดดวงใจพ่อต้องลาไปก่อน
ขวัญเอยขวัญอ่อนจงสุขสบาย
อยู่บ้านอย่ากวนแม่นัก
ลูกเอ๋ยลูกรักจงอย่าเที่ยวให้ไกล
โรงร่ำโรงเรียนเจ้าจงได้หมั่นเพียรไป
สางแล้วไก่แก้วแว่วมา
ถึงเวลาแล้วที่พ่อต้องจากไกล
ต้องขอลาไปแล้วลูกแก้วเมียขวัญ