การรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาพิจารณาพิพากษาใหม่ เป็นไปได้หรือไม่
กังวาฬ พุทธิวนิช
18ตุลาคม2566
สถาบันปรีดี พนมยงค์
Focus
- พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ให้โอกาสในการรื้อฟื้นคดีเพื่อพิจารณาทบทวนคำพิพากษาคดีอาญาต่างๆได้ใหม่ รวมถึงคำพิพากษาคดีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 อันยังคงเป็นปริศนาและเป็นที่กังขาของประชาชนไทย ในความถูกต้องของคำพิพากษาเดิมของศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2497 กระทั่งทุกวันนี้
- ในกฎหมายฉบับนี้ หัวใจสำคัญของโอกาสการรื้อฟื้นคดี ได้แก่ การมีความสำคัญเป็นพิเศษ การจำกัดกรอบเวลาในการยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับจากพบหลักฐาน หรือ ต้องยื่นภายใน 10 ปี เมื่อคดีเดิมถึงที่สุด หรือเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ (ไม่ขึ้นกับเวลา) และการยื่นรื้อฟิ้นได้เพียงครั้งเดียว
- ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารอย่างมาก ดังที่เป็นอยู่ในปัจุบัน อันแตกต่างจากในอดีต ทำให้ศาลต้องออกคำพิพากษาใหม่ โดยเกิดขึ้นมาแล้วบางคดีในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น และการอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบใหม่ สามารถถือเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะช่วยให้สามารถค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลใหม่ที่หาได้ยาก แต่อาจเป็นข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ที่สามารถลบล้างข้อมูลเดิมหรือหลักฐานเดิม (หรือความรู้ความเข้าใจเดิม) ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ และอาจจะนำไปสู่การตัดสินใหม่ที่ถูกต้องเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ถูกพิพากษาผิดและผู้ที่เกี่ยวข้องในที่สุด
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ในงานสัมมนา “รำลึก 76 ปี แห่งการสวรรคต สามารถรื้อฟื้นคดีฯได้หรือไม่” ณ ห้องปรีดี เกษมทรัพย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมจึงได้เรียนเชิญ ศ. (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล (อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, ผู้พิพากษาศาลฯ) มาอธิบายข้อกฎหมายใน พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาฯ พ.ศ. 2526 กับการรื้อฟื้นคดีสวรรคต ว่าเข้าข่ายหรือไม่
ผมใคร่ขออนุญาตนำใจความสำคัญของคำบรรยายบางส่วน มาเผยแพร่ดังนี้
กราบเรียนท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ผมมั่นใจว่าถ้าพวกเราสามารถให้ความสนใจกับเรื่องนี้ และทำความจริงให้ปรากฏ จะเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และผมก็มั่นใจว่าทีมงานที่ศึกษาเรื่องนี้มาตลอดระยะเวลายาวนานและลึกซึ้งลงรายละเอียดอย่างชนิดที่ไม่เคยปรากฏทางฐานข้อมูลที่ใดมาก่อน
ผมประทับใจคุณกังวาฬและคณะที่ทำเรื่องนี้ และผมก็มั่นใจว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาดีที่จะทำความจริงในเรื่องนี้ให้ปรากฏและจะได้ชวนพวกเรา “แนวแน่แก้ไขในสิ่งผิด” ด้วยความเชื่อมั่นอย่างนี้ครับ ผมจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบหมาย หรือเชิญชวนจากคุณกังวาฬและคณะให้มาร่วมงานประชุมสนทนาในวันนี้ ….
สำหรับคำถามจากคุณหญิง เจตนารมณ์ของกฎหมายรื้อฟื้นคดีอาญาเป็นที่ปรากฏในสากลและของไทยเราก็ชัดเจนเพื่อต้องการให้ความถูกต้องและเป็นธรรมแก่คนที่ถูกเป็นเหยื่อของกระบวนการยุติธรรมที่ทุกประเทศผิดพลาดเป็นครั้งคราว ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย
ผมอาจจะกล่าวได้ว่า เคยทำสำรวจแทบจะไม่มีคำยืนยันจากประเทศไหนเลยว่า ระบบงานยุติธรรมเขาไม่เคยผิดพลาด ไม่มี เพราะมันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนในคดีอาญา แต่ละคดีเมื่อเหตุการณ์เกิดไปแล้ว จบไปแล้ว เราไม่มีไทม์แมชชีนที่จะย้อนเวลากลับไปตรวจสอบเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว
สมัยโบราณยิ่งหนักกว่านี้ เพิ่งจะมาดีขึ้นสัก 100 ปี ที่ผ่านมาให้ใช้พยานหลักฐานเป็นตัวสะท้อนให้เราเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเกิดขึ้น อย่างไร ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ต่อใคร และเราก็จบอยู่ที่เทคโนโลยีนี้
พยานหลักฐานเป็นกระจกส่องให้เรามองเห็นเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะค้นคิดได้ เรายังไม่มี Metaverse เข้าไปในจักรวาลนฤมิตร ซ้อนเข้าไป ทุกวันนี้ก็ยังไม่มี แต่โชคดี เรามีการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นพยานหลักฐานมากขึ้น และเราก็เอาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน IT อิเล็กทรอนิกส์ หรือจะเรียกว่า ดิจิทัล ก็ได้รับการยอมรับ เวลานี้ต้องถือว่าเกือบทั่วโลกรวมทั้งของไทย เราก็ยอมรับให้เอาพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิทัล เข้ามาร่วมกับพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำให้มาตราฐานเดิมคือ ต้องใช้พยานหลักฐานสะท้อนให้เห็น เหตุการณ์ที่พิพาทในคดี
แต่พยานหลักฐานในยุคปัจจุบันดีขึ้น มีคุณภาพชัดเจนมากขึ้น และถ้าเราทำเรื่องนี้ได้สำเร็จ โอ้โห!! น่าชื่นใจ เหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งนี้ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้สำคัญมาก
กรณีในสหรัฐอเมริกา เมื่อนักโทษชนิดที่จำคุกตลอดชีวิต ติดคุกมาแล้วกว่า 20 ปี เขาติดคุกตั้งแต่ยังหนุ่ม ข้อหาฆ่าข่นขืน ปรากฏว่า เมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ DNA เทคโนโลยี
เมื่อสมัยที่เขาถูกพิสูจน์ต่อศาลว่าเป็นคนร้าย ไม่มีเทคโนโลยีนี้ เมื่อเขาขอรื้อฟื้น และเอาเทคโนโลยี DNA และโชคดีประการที่ 2 ระบบการเก็บสำนวน พยานหลักฐานในคดีอาญาในสหรัฐเขาเก็บยาว 20 กว่าปี ก็ยังย้อนเข้าไปดูในคดีร้ายแรงได้ว่า อาวุธที่ใช้ เสื้อผ้าของเหยื่อ อะไรที่เขาเก็บเป็นพยานหลักฐานหลักยังมีอยู่ และเทคโนโลยีก็ตรวจย้อนหลัง match ได้ว่า เชื้อพันธุกรรมที่ติดอยู่ที่ชั้นในของเหยื่อไม่ใช่ของจำเลยคนนี้
กรณีนี้ไม่ใช่คดีเดียว ผมดูแล้วน่าจะเกิดในประเทศไทยได้อีกเยอะเลย แต่ก็ไม่เกิด เพราะว่าระบบการเก็บสำนวนคดีที่เสร็จไปแล้ว อย่าว่าแต่เก็บหลักฐาน แม้แต่คำพิพากษายังไม่เก็บเลย ถูกเผาทำลาย เมื่อครบ 10 ปี 20 ปี
ช่วงแลกเปลี่ยนคำถาม
หลักเกณฑ์ข้อสำคัญใน พ.ร.บ. รื้อฟื้นคดีอาญา ปี พ.ศ. 2526 คือ?
คำตอบ
ต้องเริ่มที่ตัวคนที่ริเริ่มคดีนี้ได้ต้องเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือผู้สืบสันดาน รวมไปถึงพนักงานอัยการ แต่ว่าถ้าบุคคลนั้นถึงแก่กรรมไปก่อนก็มีปัญหาครับ มาตรา 6 เปิดช่องไว้ว่าถ้าผู้ถูกพิพากษาถึงแก่ความตาย ก็ให้ผู้บุพพาการี ผู้สืบสันดานหรือผู้เป็นสามีภรรยาเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นคำร้องได้ ถ้าจะมีการยื่นคำร้องต้องหาเลือกกลุ่มเดียวคือ ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือสามีภรรยาก็ยื่นได้
ยื่นคำร้อง 2 ช่วง ยื่นกับศาลชั้นต้นที่เคยพิพากษาคดีนั้นให้ศาลชั้นต้นทำหน้าที่ไต่สวนมูลฟ้องก่อน ศาลชั้นต้นตรวจแล้วต้องไต่สวนมูลฟ้อง สั่งเองไม่ได้ต้องส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ จากข้อมูล 39 - 40 ปี มีคดีเดียวที่ศาลอุทธรณ์เห็นแล้วว่ามีมูล คือคดีคุณครูจอมทรัพย์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีมูล… แต่สุดท้ายก็ยืนตามคำพิพากษาเดิม
หัวใจสำคัญในการใช้ช่องทางกฎหมาย. อยู่ในมาตรา 20 คือ พฤติการณ์พิเศษ มาตรา 20 จำกัดกรอบเวลาในการยื่นคำร้องต้องภายใน 1 ปี นับจากพบหลักฐานหรือต้องยื่นภายใน 10 ปี คดีเดิมถึงที่สุด แต่เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลสามารถรับคำร้องที่ยื่นเมื่อพบกำหนดเวลาดังกล่าวได้?
คำตอบ
ความหมายพฤติการณ์พิเศษในมาตรา 20 จำนวนปีไม่มีที่ไหนบอกไว้ แต่มีตัวอย่างชัดเจนในสหรัฐอเมริกา ผมพยายามไปตรวจดูกฎหมายไทยไม่มี… หรือไม่ตรง
ที่นี้ถ้าจะให้ผมเดา คาดการณ์ พฤติการณ์พิเศษจะนึกถึงอะไร คือผมนึกถึง
ข้อแรก คดีจะต้องมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นคดีอาญาทั่วไป หากลักวิ่งชิงปล้นคดีอาญาพื้นฐานก็ใช้กรอบเวลาปกติ ไม่มีอะไรพิเศษ …
แต่คดีบางคดีเป็นคดีที่จะกระทบมิติฐานความเข้าใจของชาติ และผู้คนก็เข้าใจไปคนละทิศคนละทางเป็นแง่มุมของความขัดแย้งทางความคิดและบางส่วนอาจจะถูกบิดเบือนคือ จะว่าเขาบิดเบือนก็ไม่ถูกหรอก เขาพยายามอ้างมา อันเป็นประโยชน์ในแนวทางการต่อสู้ของแต่ละฝ่าย แต่ผลของมันทำให้ความสมัครสมานสามัคคีของชนในชาติแตก แล้วประเทศใดที่ความสามัคคีในชาติแตก ประเทศนั้นเตรียมล่มสลาย
ข้อสอง เงื่อนไขของการจะพิสูจน์ความจริงในคดีนี้เหลือเพียงช่องทางเดียว คือพยานหลักฐานใหม่ เพราะพยานบุคคลเช่นพยานนายตี๋ ที่บอกว่า ไปเบิกความเท็จต้องมีคำพิพากษาใหม่ ว่าคุณตี๋เบิกความเท็จต้องนำมาลงโทษ นั่นจึงเข้าเหตุที่จะขอรื้อฟื้น ซึ่งไม่มีทางจะดำเนินคดีกับคุณตี๋ เพราะขาดอายุความไปแล้ว แกเปิดตัวหลังขาดอายุความ
พยานหลักฐานอื่น พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญ จะเอามาใช้ได้ต้องมีคำพิพากษาเหมือนกัน และจะทำให้มีได้ไหม ไม่มีช่องทาง เพราะระบบไม่มีทางพิสูจน์พยานหลักฐานโดยไม่มีคดีหลัก เหลือช่องทางที่ 3 พยานหลักฐานใหม่ที่ยากที่จะแสวงหามาได้ จะหาพยานหลักฐานใหม่ได้อย่างไร ความยากในการหาหลักฐานใหม่นี้จึงเป็นพฤติการณ์พิเศษ
ข้อสาม พยานหลักฐานใหม่ที่จะเอามาใหม่ ต้องมีความสำคัญและชัดเจน ส่วนนี้ก็ยากและชัดเจน จะเอาเร็วๆ ก็ไม่ได้ ดูเฉพาะตัวอย่างต้องรอถึง 20 -30 ปี…
ข้อสี่ ให้ยื่นได้ครั้งเดียว ต้องทำให้ครั้งเดียวเท่านั้น นี่จึงเป็นพฤติการณ์พิเศษ ต้องใช้เวลา จำเป็นต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้มั่นคงชัดเจนพิสูจน์ความบริสุทธิ์
ปืน และ การพิสูจน์ปืน เป็นพยานหลักฐานใหม่หรือไม่?
คำตอบ
เราต้องใช้พยานหลักฐานใหม่ถึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะทำการรื้อฟื้นเรื่องนี้ได้ พยานหลักฐานใหม่คืออะไร คุณกังวาฬ พูดถึงปืน ปืนไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ ปืนก็คือพยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วใช้เป็นหลักในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีนี้อยู่แล้ว แต่ว่าหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการตรวจพิสูจน์อาวุธปืนกระบอกนั้น และให้ความเห็นทางวิชาการวิทยาศาสตร์
ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความเห็นทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการตรวจอาวุธปืนคลาดเคลื่อนจากความจริง เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยน พัฒนาเปิดเผยความจริง …..
และความรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ที่เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ปืนและสรุปความเห็น ฟังดูแล้วน่าจะใช้เป็น “พยานหลักฐานใหม่ได้”
สรุป
1) การยื่นรื้อฟื้นคดีสวรรคต ผ่าน พ.ร.บ. รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ถือว่าเข้าข่ายตาม พ.ร.บ. ปี 2526 ในหลักเกณฑ์ “พฤติการณ์พิเศษ” ตามมาตรา 20
2) ต้องใช้พยานหลักฐานใหม่เท่านั้นในการขอรื้อฟื้นคดีฯ
3) จากการตีความเบื้องต้นของ ศ. (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล การพิสูจน์ปืนที่แสดงให้เห็นเปรียบเทียบว่ามีการคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ได้
4) ดังนั้นหากเป็นพยานหลักฐานใหม่ก็จะนำไปสู่การพิสูจน์ นำสืบในการรื้อฟื้นคดีนี้ในชั้นศาล หากไม่ถูกตีตก
หวังว่าศาลฯ ยังคงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน แล้วพบกันในศาล
แต่คดีบางคดีเป็นคดีที่จะกระทบมิติฐานความเข้าใจของชาติ และผู้คนก็เข้าใจไปคนละทิศคนละทางเป็นแง่มุมของความขัดแย้งทางความคิดและบางส่วนอาจจะถูกบิดเบือนคือ จะว่าเขาบิดเบือนก็ไม่ถูกหรอก เขาพยายามอ้างมา อันเป็นประโยชน์ในแนวทางการต่อสู้ของแต่ละฝ่าย แต่ผลของมันทำให้ความสมัครสมานสามัคคีของชนในชาติแตก แล้วประเทศใดที่ความสามัคคีในชาติแตก ประเทศนั้นเตรียมล่มสลาย
ข้อสอง เงื่อนไขของการจะพิสูจน์ความจริงในคดีนี้เหลือเพียงช่องทางเดียว คือพยานหลักฐานใหม่ เพราะพยานบุคคลเช่นพยานนายตี๋ ที่บอกว่า ไปเบิกความเท็จต้องมีคำพิพากษาใหม่ ว่าคุณตี๋เบิกความเท็จต้องนำมาลงโทษ นั่นจึงเข้าเหตุที่จะขอรื้อฟื้น ซึ่งไม่มีทางจะดำเนินคดีกับคุณตี๋ เพราะขาดอายุความไปแล้ว แกเปิดตัวหลังขาดอายุความ
พยานหลักฐานอื่น พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญ จะเอามาใช้ได้ต้องมีคำพิพากษาเหมือนกัน และจะทำให้มีได้ไหม ไม่มีช่องทาง เพราะระบบไม่มีทางพิสูจน์พยานหลักฐานโดยไม่มีคดีหลัก เหลือช่องทางที่ 3 พยานหลักฐานใหม่ที่ยากที่จะแสวงหามาได้ จะหาพยานหลักฐานใหม่ได้อย่างไร ความยากในการหาหลักฐานใหม่นี้จึงเป็นพฤติการณ์พิเศษ
ข้อสาม พยานหลักฐานใหม่ที่จะเอามาใหม่ ต้องมีความสำคัญและชัดเจน ส่วนนี้ก็ยากและชัดเจน จะเอาเร็วๆ ก็ไม่ได้ ดูเฉพาะตัวอย่างต้องรอถึง 20 -30 ปี…
ข้อสี่ ให้ยื่นได้ครั้งเดียว ต้องทำให้ครั้งเดียวเท่านั้น นี่จึงเป็นพฤติการณ์พิเศษ ต้องใช้เวลา จำเป็นต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้มั่นคงชัดเจนพิสูจน์ความบริสุทธิ์
ปืน และ การพิสูจน์ปืน เป็นพยานหลักฐานใหม่หรือไม่?
คำตอบ
เราต้องใช้พยานหลักฐานใหม่ถึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะทำการรื้อฟื้นเรื่องนี้ได้ พยานหลักฐานใหม่คืออะไร คุณกังวาฬ พูดถึงปืน ปืนไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ ปืนก็คือพยานหลักฐานที่ปรากฏแล้วใช้เป็นหลักในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีนี้อยู่แล้ว แต่ว่าหลักวิชาทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้จากการตรวจพิสูจน์อาวุธปืนกระบอกนั้น และให้ความเห็นทางวิชาการวิทยาศาสตร์
ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความเห็นทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการตรวจอาวุธปืนคลาดเคลื่อนจากความจริง เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยน พัฒนาเปิดเผยความจริง …..
และความรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ที่เกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ปืนและสรุปความเห็น ฟังดูแล้วน่าจะใช้เป็น “พยานหลักฐานใหม่ได้”
สรุป
1) การยื่นรื้อฟื้นคดีสวรรคต ผ่าน พ.ร.บ. รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ถือว่าเข้าข่ายตาม พ.ร.บ. ปี 2526 ในหลักเกณฑ์ “พฤติการณ์พิเศษ” ตามมาตรา 20
2) ต้องใช้พยานหลักฐานใหม่เท่านั้นในการขอรื้อฟื้นคดีฯ
3) จากการตีความเบื้องต้นของ ศ. (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล การพิสูจน์ปืนที่แสดงให้เห็นเปรียบเทียบว่ามีการคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ถือเป็นพยานหลักฐานใหม่ได้
4) ดังนั้นหากเป็นพยานหลักฐานใหม่ก็จะนำไปสู่การพิสูจน์ นำสืบในการรื้อฟื้นคดีนี้ในชั้นศาล หากไม่ถูกตีตก
หวังว่าศาลฯ ยังคงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน แล้วพบกันในศาล