iLaw
16h ·
3 ตุลาคม 2566 เวลา 11.30 น. ที่สำนักงานประธานศาลฎีกา ฝั่งถนนราชินี องค์กรเครือข่าย 22 องค์กร อาทิ DemHope, ทะลุวัง, ทะลุฟ้า และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ร่วมกันเคลื่อนไหวในนาม “เครือข่ายประชาชนคืนความยุติธรรม” ยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เรื่องขอให้ศาลพิจารณา 2 ข้อเรียกร้องของเก็ท-โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง คือ คืนสิทธิประกันตัวให้ประชาชนและยุติการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อประชาชน
.
อันเจลโล ศตายุ สาธร กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวว่าคดีที่ได้กล่าวถึงในจดหมายนี้นั้นเป็นคดีที่ยังไม่ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกา จึงสามารถเรียกได้ว่าคดียังตัดสินไม่ถึงสิ้นสุด ดังนั้นศาลจึงต้องเคารพสิทธิการประกันตัวของผู้ถูกคุมขังทางการเมือง และในตอนนี้ มาตรา 112 ยังไม่มีขอบเขตการใช้ที่ชัดเจนทำให้มีการใช้เป็นเครื่องมือปิดปากประชาชนผู้เห็นต่าง ดังนั้นศาลควรจะยุติการดำเนินคดีมาตรา 112 จนกว่าการกำหนดขอบเขตของการใช้ที่ชัดเจน
.
“ถึงฝ่ายตุลาการว่า นักโทษทางการเมืองทุกคนที่กำลังถูกคุมขังอยู่ตอนนี้ เป็นคนมีครอบครัว มีความฝัน มีการงานมีหน้าที่เหมือนคนทั่วไป หากศาลยิ่งพรากอิสรภาพของเขาไป หลักนิติธรรมในประเทศก็จะยิ่งเสื่อม”
.
ต่อมาในเวลา 11.34 น. นิติกรศาลฎีกาได้เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือ โดยหนังสือฉบับนี้ไม่ได้กำหนดเวลาในการตอบกลับ แต่อัลเจลโลว์เสริมว่า จะคอยโทรถามคำตอบจากศาลฎีกาเป็นระยะ
.
แถลงการณ์ระบุว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างอุธรณ์ของเก็ท-โสภณ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 มีผู้ต้องขังทางการเมืองจำนวนหนึ่งเริ่มอดอาหารเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม คือวารุณีและเวหา เก็ทมีความคิดเห็นว่า ศาลนั้นอยุติธรรมและกระบวนการของศาลไม่มีความชอบธรรมในการพิจารณคดีต่อผู้ต้องขังทางการเมืองได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งในคดีมาตรา 112 เก็ทจึงประกาศขอเรียกร้องต่อฝ่ายตุลาการของประเทศด้วย 2 ข้อเรียกร้องดังกล่าว
.
สุดท้ายในขณะนี้มีประชาชนที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวแม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดทั้งหมด 25 คน คือ น้ำ-วารุณี, เวหา แสนซนชนะศึก, วุฒิ, เก็ท-โสภณ, อุดม, อานนท์ นำภา, ถิรนัย, ชัยพร, มาร์ค-ชนะดล, ประวิตร, ธีรภัทร, ปฐวีกานต์, คเชนทร์, ขจรศักดิ์, วัฒน์, ทีปกร, จตุพร, พลพล, วัชรพล, ณัฐพล, วีรภาพ วงษ์สนาม, สมบัติ ทองย้อย, ไพฑูรย์, สุขสันต์, ธนายุทธ ณ อยุธยา
Chanakarn Laosarakham