ภัควดี วีระภาสพงษ์
15h
·
ขอบคุณมิตรสหาย
///
เพิ่งรู้ว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นของคุณไหม ศิริกัญญา
เป็นงานที่ทรงพลังมากๆ ทีได้อ่านตอนนั้น
ข้อเสนองานนี้คือ แม้ว่าจะทำให้ทุกคนมีรวยเท่าคน 10’% ไม่ได้ แต่เท่าเทียมได้ด้วยโอกาสในการเข้าถึงบริการภาครัฐ
….,
ข้อเท็จจริงที่ 1: ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้ดีขึ้นเลย จากเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมา 25 ปีที่ผ่านมา GDP ของไทยนั้นเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า แต่รายได้ส่วนที่ตกถึงครอบครัวไทยนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 3 เท่า และยิ่งเมื่อดูเป็นรายหมู่บ้าน เราจะพบว่ารายได้ของแต่ละหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน รายได้ของหมู่บ้านที่ 10 นั้นโตขึ้นราว 3.2 เท่า ในขณะที่รายได้ของหมู่บ้านที่ 1 นั้นเพิ่มขึ้นไม่ถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เป็นผลให้รายได้ของ 2 หมู่บ้านนี้ยิ่งแตกต่างและทิ้งห่างกันไปเรื่อยๆ จนหมู่บ้านที่ 1 ยากที่จะตามทันได้
ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้น จาก 20 เป็น 21 เท่าจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว
ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้น
จาก 20 เป็น 21 เท่าจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว
ข้อเท็จจริงที่ 2: ครอบครัวส่วนใหญ่ในหมู่บ้านที่ 1 ที่เป็นหมู่บ้านที่จนที่สุด คือครอบครัวที่มีคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว ไม่ใช่ชาวนา หรือเกษตรกรอย่างที่เคยเข้าใจกันทั่วไป ครอบครัวคนชราที่มีอยู่ราว 40% มีรายได้หลักมาจากเงินที่ลูกหลานส่งมาให้ ที่กลายมาเป็นสิ่งที่พบเห็นทั่วไปในครอบครัวไทยในชนบท ส่วน 40% ของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 10 ทำอาชีพเฉพาะทางอย่างหมอ หรือวิศวกร อีก 12% เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นเถ้าแก่ นอกจากนี้การเป็นเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องจนเสมอไป เพราะ 9%ในหมู่บ้านนี้เป็นเกษตรกรภาคใต้
ข้อเท็จจริงที่ 3: เกือบครึ่งของครอบครัวไทยมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ครอบครัวในหมู่บ้านที่ 5 ซึ่งอยู่ตรงกลางพอดีนั้นยังมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่รายได้ครอบครัวเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 23,000 บาท/เดือน ครอบครัวที่ได้รายได้เท่ากับรายได้เฉลี่ยจะได้อยู่ในหมู่บ้านที่ 8 ส่วนรายได้ที่ครอบครัวกลุ่มใหญ่ที่สุดราว 1 ล้านครอบครัวได้รับนั้นอยู่ที่ราว 7,000-8,000 บาทต่อเดือน โดยครอบครัวกลุ่มนี้จะกระจายอยู่ในหมู่บ้านที่ 2 และหมู่บ้านที่ 3
ข้อเท็จจริงที่ 4: ความเหลื่อมล้ำจริงนั้นยิ่งแย่กว่าที่รายงานทั่วไปอย่างน้อย 25% เพราะข้อมูลรายได้ของหมู่บ้านที่รวยอย่างหมู่บ้านที่ 9 และ 10 นั้นสำรวจไม่ครบ โดยหายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้ารวมรายได้ที่หายไปนี้กลับเข้าไปจะทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของหมู่บ้านที่ 9 และหมู่บ้านที่ 10 เทียบกับหมู่บ้านที่ 1 และ 2 นั้นเพิ่มขึ้น 25% และทำให้อันดับด้านความเหลื่อมล้ำของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ร่วงลงไปกว่า 10 อันดับ
ข้อเท็จจริงที่ 5: ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก ถ้ารายได้ของทุกหมู่บ้านรวมกันเท่ากับ 100 บาท จะอยู่ที่หมู่บ้านที่ 10 ถึง 38 บาท อยู่ที่หมู่บ้านที่ 1 เพียง 2 บาท ส่วนทรัพย์สิน (หลังหักหนี้สินแล้ว) ถ้าสมมุติให้มีมูลค่ารวมกันทั้งประเทศมูลค่า 100 บาท หมู่บ้านที่ 10 นั้นมีส่วนแบ่งถึง 57 บาท ส่วนหมู่บ้านที่ 1 นั้นมีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน ถ้าที่ดินทั่วประเทศมี 100 ไร่ หมู่บ้านที่ 10 เป็นเจ้าของที่ดินร่วม 60 ไร่ ในขณะที่หมู่บ้านที่ 1 มีไม่ถึงไร่ ไม่น่าแปลกใจที่ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก
ข้อเท็จจริงที่ 6: ทรัพย์สินเฉลี่ยของครอบครัวสส. รวยกว่าอีก 99.999% ของครอบครัวไทย เราอาจจะคิดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นควรจะต้องเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริงแทบทุกครอบครัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นอยู่ในหมู่บ้านที่ 10 และเกือบจะเป็นบ้านที่มั่งมีที่สุดในหมู่บ้าน ทรัพย์สินรวมของครอบครัวสส. 500 ครอบครัวนั้นเท่ากับทรัพย์สินของ 2 ล้านครอบครัว
มูลค่าทรัพย์สินรวม
ข้อเท็จจริงที่ 7: นอกจากรายได้และสินทรัพย์ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุขนอกจากหมู่บ้านที่ 10 จะมีรายได้ และทรัพย์สินสูงกว่าหมู่บ้านที่ 1 มากๆแล้ว ลูกหลานของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 10 ยังได้เรียนโรงเรียนดีกว่า มีโอกาสได้เรียนต่อปริญญาตรีมากกว่าเด็กจากหมู่บ้านที่ 1 ถึง 3 เท่า แม้แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับเท่าเทียมกัน เด็กจากหมู่บ้านที่ 10 ยังสอบผ่านการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA) มากกว่าเด็กจากหมู่บ้านที่ 1 ถึง 2 เท่า
ข้อเท็จจริงที่ 8: ความเหลื่อมล้ำที่สำคัญที่ควรแก้ คือความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าเราคงไม่สามารถทำให้ทุกคนรายได้เท่ากัน และอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันหมด แต่สิ่งที่ต้องทำ คือทำให้คนรู้สึกว่ายังมีโอกาสที่จะได้ย้ายไปสู่หมู่บ้านที่สูงกว่า
https://thaipublica.org/.../8-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD...
·
ขอบคุณมิตรสหาย
///
เพิ่งรู้ว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นของคุณไหม ศิริกัญญา
เป็นงานที่ทรงพลังมากๆ ทีได้อ่านตอนนั้น
ข้อเสนองานนี้คือ แม้ว่าจะทำให้ทุกคนมีรวยเท่าคน 10’% ไม่ได้ แต่เท่าเทียมได้ด้วยโอกาสในการเข้าถึงบริการภาครัฐ
….,
ข้อเท็จจริงที่ 1: ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้ดีขึ้นเลย จากเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมา 25 ปีที่ผ่านมา GDP ของไทยนั้นเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า แต่รายได้ส่วนที่ตกถึงครอบครัวไทยนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 3 เท่า และยิ่งเมื่อดูเป็นรายหมู่บ้าน เราจะพบว่ารายได้ของแต่ละหมู่บ้านก็เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน รายได้ของหมู่บ้านที่ 10 นั้นโตขึ้นราว 3.2 เท่า ในขณะที่รายได้ของหมู่บ้านที่ 1 นั้นเพิ่มขึ้นไม่ถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับเมื่อ 25 ปีที่แล้ว เป็นผลให้รายได้ของ 2 หมู่บ้านนี้ยิ่งแตกต่างและทิ้งห่างกันไปเรื่อยๆ จนหมู่บ้านที่ 1 ยากที่จะตามทันได้
ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้น จาก 20 เป็น 21 เท่าจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว
ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้น
จาก 20 เป็น 21 เท่าจากเมื่อสามทศวรรษที่แล้ว
ข้อเท็จจริงที่ 2: ครอบครัวส่วนใหญ่ในหมู่บ้านที่ 1 ที่เป็นหมู่บ้านที่จนที่สุด คือครอบครัวที่มีคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว ไม่ใช่ชาวนา หรือเกษตรกรอย่างที่เคยเข้าใจกันทั่วไป ครอบครัวคนชราที่มีอยู่ราว 40% มีรายได้หลักมาจากเงินที่ลูกหลานส่งมาให้ ที่กลายมาเป็นสิ่งที่พบเห็นทั่วไปในครอบครัวไทยในชนบท ส่วน 40% ของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 10 ทำอาชีพเฉพาะทางอย่างหมอ หรือวิศวกร อีก 12% เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นเถ้าแก่ นอกจากนี้การเป็นเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องจนเสมอไป เพราะ 9%ในหมู่บ้านนี้เป็นเกษตรกรภาคใต้
ข้อเท็จจริงที่ 3: เกือบครึ่งของครอบครัวไทยมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ครอบครัวในหมู่บ้านที่ 5 ซึ่งอยู่ตรงกลางพอดีนั้นยังมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่รายได้ครอบครัวเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 23,000 บาท/เดือน ครอบครัวที่ได้รายได้เท่ากับรายได้เฉลี่ยจะได้อยู่ในหมู่บ้านที่ 8 ส่วนรายได้ที่ครอบครัวกลุ่มใหญ่ที่สุดราว 1 ล้านครอบครัวได้รับนั้นอยู่ที่ราว 7,000-8,000 บาทต่อเดือน โดยครอบครัวกลุ่มนี้จะกระจายอยู่ในหมู่บ้านที่ 2 และหมู่บ้านที่ 3
ข้อเท็จจริงที่ 4: ความเหลื่อมล้ำจริงนั้นยิ่งแย่กว่าที่รายงานทั่วไปอย่างน้อย 25% เพราะข้อมูลรายได้ของหมู่บ้านที่รวยอย่างหมู่บ้านที่ 9 และ 10 นั้นสำรวจไม่ครบ โดยหายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้ารวมรายได้ที่หายไปนี้กลับเข้าไปจะทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ของหมู่บ้านที่ 9 และหมู่บ้านที่ 10 เทียบกับหมู่บ้านที่ 1 และ 2 นั้นเพิ่มขึ้น 25% และทำให้อันดับด้านความเหลื่อมล้ำของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ร่วงลงไปกว่า 10 อันดับ
ข้อเท็จจริงที่ 5: ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก ถ้ารายได้ของทุกหมู่บ้านรวมกันเท่ากับ 100 บาท จะอยู่ที่หมู่บ้านที่ 10 ถึง 38 บาท อยู่ที่หมู่บ้านที่ 1 เพียง 2 บาท ส่วนทรัพย์สิน (หลังหักหนี้สินแล้ว) ถ้าสมมุติให้มีมูลค่ารวมกันทั้งประเทศมูลค่า 100 บาท หมู่บ้านที่ 10 นั้นมีส่วนแบ่งถึง 57 บาท ส่วนหมู่บ้านที่ 1 นั้นมีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน ถ้าที่ดินทั่วประเทศมี 100 ไร่ หมู่บ้านที่ 10 เป็นเจ้าของที่ดินร่วม 60 ไร่ ในขณะที่หมู่บ้านที่ 1 มีไม่ถึงไร่ ไม่น่าแปลกใจที่ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก
ข้อเท็จจริงที่ 6: ทรัพย์สินเฉลี่ยของครอบครัวสส. รวยกว่าอีก 99.999% ของครอบครัวไทย เราอาจจะคิดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นควรจะต้องเป็นตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริงแทบทุกครอบครัวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นอยู่ในหมู่บ้านที่ 10 และเกือบจะเป็นบ้านที่มั่งมีที่สุดในหมู่บ้าน ทรัพย์สินรวมของครอบครัวสส. 500 ครอบครัวนั้นเท่ากับทรัพย์สินของ 2 ล้านครอบครัว
มูลค่าทรัพย์สินรวม
ข้อเท็จจริงที่ 7: นอกจากรายได้และสินทรัพย์ยังมีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุขนอกจากหมู่บ้านที่ 10 จะมีรายได้ และทรัพย์สินสูงกว่าหมู่บ้านที่ 1 มากๆแล้ว ลูกหลานของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 10 ยังได้เรียนโรงเรียนดีกว่า มีโอกาสได้เรียนต่อปริญญาตรีมากกว่าเด็กจากหมู่บ้านที่ 1 ถึง 3 เท่า แม้แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับเท่าเทียมกัน เด็กจากหมู่บ้านที่ 10 ยังสอบผ่านการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA) มากกว่าเด็กจากหมู่บ้านที่ 1 ถึง 2 เท่า
ข้อเท็จจริงที่ 8: ความเหลื่อมล้ำที่สำคัญที่ควรแก้ คือความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าเราคงไม่สามารถทำให้ทุกคนรายได้เท่ากัน และอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันหมด แต่สิ่งที่ต้องทำ คือทำให้คนรู้สึกว่ายังมีโอกาสที่จะได้ย้ายไปสู่หมู่บ้านที่สูงกว่า
https://thaipublica.org/.../8-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD...