ความหวังเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ: ซูการ์โน มะทา
วรกมล องค์วานิชย์: เรื่องและภาพ
ที่มา The Voters
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก
ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ ว่ากันตามหลักการสากลผ่านงานวิจัยศึกษาและเทียบเคียงประเทศการปกครองคล้ายไทยอย่างอังกฤษหรือญี่ปุ่นซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และกระจายอำนาจคือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ คือมรรคาขยับบ้านเมืองสู่ประเทศพัฒนา
ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกสักเรื่อง การกระจายอำนาจคือการรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เมื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คงมีไม่ใครคิดแยก ในอินโดนีเซีย ครั้นสิ้นสุดอำนาจของ ซูฮาโต ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนเคยรุมเร้าในอดีตที่ถูกกดไว้ทวีรุนแรงขึ้น
อินโดนิเซียมีผู้นำและนักวิชาการที่สนใจการกระจายอำนาจ เกิดปรากฏการณ์ Big Bang Decentralization ตรากฎหมาย 2 ฉบับ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการกระจายอำนาจ อาเจะห์ที่คล้ายกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย แก้สำเร็จด้วยการกระจายอำนาจให้มีการเจรจาตกลงกัน
“จังหวัดจัดการตนเองนั่นแหละ คนที่อยู่ใต้ดินก็ขึ้นมาอยู่บนดินหมด” ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านกระจายอำนาจเคยกล่าว
กลุ่ม We’re all voters : เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง ก่อนเปลี่ยนเป็น The Voters เคยยื่นหนังสือข้อเรียกร้องและรายชื่อประชาชนแก่ ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ เพื่อเรียกร้องรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ และกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
ตัดภาพมาในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรอภิปรายเกี่ยวกับการ ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัด มีอำนาจ เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ โดยมีคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาแคมเปญเรา จากคณะก้าวหน้า กับ บรรณ แก้วฉ่ำ คณะทำงานเรื่องนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม
วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้องต่อ ซูการ์โน มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น
น่าเสียดายที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย บางคน ค้านจนต้องเลื่อนการพิจารณาออกไป แต่ไม่เป็นไร การเมืองคือเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ ผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ และเรายังมีความหวังกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมากน้อยแค่ไหน บทสัมภาษณ์ ซูการ์โน มะทา ชิ้นนี้ น่าจะพอให้ภาพได้
รบกวนขอความรู้ว่า หลังเรายื่นหนังสือและรายชื่อต่อกรรมาธิการฯ แล้ว กระบวนการจะเป็นอย่างไร
ต้องอธิบายแบบนี้ ผมและกรรมาธิการใหญ่ในคณะของกรรมาธิการที่ผมเป็นประธาน ส่วนใหญ่แล้วมาจากคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นมาก่อน ทั้ง นายก อบจ. และรอง นายก อบจ. ดังนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่เข้าใจในประเด็นรื่องการกระจายอำนาจ เราพยายามเทียบจากกรอบของแผนปฏิรูปจากคณะรัฐประหารเมื่อปี 2557
เหตุผลข้อหนึ่งคือต้องการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การกระจายอำนาจก็อยู่ในแผนปฏิรูปของคณะรัฐประหาร วันนี้เราคาดการณ์ว่าข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปไม่ได้มีผลชัดเจน ผมเลยตั้งโจทย์ว่าเราจะพยายามยกร่างกฎหมายเพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยตรง เราใช้ข้อเรียกร้องหลังจาก อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ทำกิจกรรมร่วมรณรงค์กับพี่น้องชาวจังหวัดเชียงใหม่
จากนั้นผมนำข้อเรียกร้องมาเป็นข้อสังเกตว่า ไม่ใช่แค่คนเชียงใหม่และ 3 จังหวัดชายแดนใต้เท่านั้นที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยชูนโยบายมหานครปัตตานีขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ถูกต่อต้านโดยฝ่ายความมั่นคง
ในการเลือกตั้งปี 2554 กลุ่มเราแพ้ทั้งหมด เพราะมีคนของฝ่ายความมั่นคงมาแทรกแทรงทางการเมืองด้วย ผมเชื่อว่า ถ้าฝ่ายความมั่นคงทางการเมืองไม่ได้กดดันคนในพื้นที่ เป็นไปไม่ได้ที่ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยจะแพ้ทั้งหมด แนวคิดของพรรคเพื่อไทยคือจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงโดยเสนอให้ 3 จังหวัดเป็นเขตการปกครองพิเศษ ผมได้นำประเด็นนี้มาตั้งโจทย์ให้คณะกรรมมาธิการว่าจะต้องยกร่างกฎหมายเสนอเข้าสู่สภาฯ ให้ได้ เนื่องจากว่าเรามีหน้าที่กำกับดูแลส่วนที่เป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครและพัทยา
กรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่
ในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ พ.ร.บ.กรุงเทพมหานครยังไม่ครอบคลุมกับจังหวัดอื่น ในด้านการยกเลิกกฎหมายปกครองท้องที่ ทำให้ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน แทนการจัดตั้ง พ.ร.บ.เทศบาล ซึ่งอาจเป็นปัญหาถ้านำไปใช้กับจังหวัดอื่น อาจเกิดกระแสต่อต้าน เพราะกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นหน่วยงานที่ได้รับการก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของข้าราชการมาดูแลพี่น้องประชาชน
ผมได้คุยกับ อ.ชำนาญ ว่าเรายึดแนวทางจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งกฎหมายได้รับการพิจารณาเสร็จแล้ว ยกร่างเสร็จแล้ว เพราะโดยปกติแล้วก่อนการประชุมสภา คณะทำงานของสภาก็จะต้องเขียนระเบียบวาระขึ้นมา แม้กระทั่งการประชุมองค์กรก็ต้องมีระเบียบวาระการประชุม ซึ่งข้อเสนอได้รับการบรรจุตั้งแต่ชุดที่ 21 เป็นกระทู้ถาม หรือกระทู้สดด้วยวาจา และได้เสนอเข้าระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ครั้งที่ 4 เมื่อประธานกรรมมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ จะถูกส่งต่อ
รายงานการศึกษาเรื่องรูปแบบการบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง อยู่ในขั้นตอนที่ 4.10 ซึ่งกรรมาธิการเสนอเสร็จแล้ว ก็ต้องพิจารณาเรียงลำดับไปเรื่อยๆ นอกจากมีความเห็นของพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลว่าควรเลือกเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน แต่ส่วนใหญ่พิจารณาจากสาระสำคัญที่จำเป็นต่อพี่น้องประชาชน เช่น กรณีการแพร่ระบาดของโควิดที่อยู่ลำดับสุดท้าย ก็ต้องเลื่อนมาพิจารณาก่อน ถ้าไม่ได้เป็นเรื่องที่กระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนก็ว่ากันไปตามระเบียบ
ถามกลับไปที่คุณบอกว่า ไม่ใช่แค่คนเชียงใหม่ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น ที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ
เราลงพื้นที่ไปสอบถามความเห็นของประชาชน ยกตัวอย่างอุดรธานี ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงระบบราชการไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกเลิกข้าราชการส่วนภูมิภาคในทันทีทันใด จะทำให้เกิดแรงต้านจากข้าราชการ แม้กระทั่งรัชกาลที่ 5 ต้องการเปลี่ยนแปลงจากระบบ เวียง วัง คลัง นา ในช่วงนั้นก็เกิดแรงต้าน ทำให้ต้องใช้เวลานาน
เหมือนกันกับแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองที่ผมให้แนวคิดกับ อ.ชำนาญ คือ เราน่าจะมีจังหวัดนำร่อง ในตอนนี้เรามีข้อกฎหมายที่ร่างไว้ ซึ่งถ้ากระทรวงมหาดไทยหรือนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ก็สามารถนำกฎหมายที่เราเสนอกลับมาพิจารณาในสภาได้ เรามีหน้าที่ทำการศึกษาเพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล
ถ้ารัฐบาลรับเรื่องของเราไปพิจารณาและเห็นว่าเป็นประโยชน์กับประชาชนตามที่เข้าชื่อมา เขาก็จะเสนอเป็นมาตรากฎหมายเข้าสู่สภา ฉะนั้น ต้องรอว่าเมื่อไหร่กระบวนการที่บรรจุวาระสำเร็จแล้วจะได้เลื่อนเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณา
ในความเห็นของผมซึ่งเป็นประธานกรรมมาธิการ ผมว่าวันนี้เราต้องนำร่อง เพราะระบบการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครเรารู้แล้วว่าประชาชนเห็นด้วย แต่ก็ยังมีจุดที่เป็นปัญหา ถ้าจะเริ่มต้นที่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี หรือ นครราชสีมา ต้องไม่ใช่แบบกรุงเทพมหานคร
อ.ชำนาญให้ความเห็นว่า ถ้าเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยนำร่องบางจังหวัดก่อน เราก็จะไม่ได้เลือกทั่วประเทศสักที เพราะเรานำร่องที่กรุงเทพฯ มานานแล้ว ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในจังหวัดอื่น คุณมองประเด็นนี้อย่างไร
ถ้าต้องการโอกาสเลือกทั้งประเทศ จะต้องทำให้เกิดการเรียกร้องของประชาชนมากกว่านี้ ทุกจังหวัดต้องออกมาแบบ 14 ตุลา วันนี้เรามีอำนาจต่อรองน้อยลงเรื่อยๆ ผมมองว่า 8 ปีที่ผ่านมายังต่อต้านรัฐบาลเผด็จการไม่ได้เลย เพราะพลังเราน้อยเกินไป
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก อย่าลืมว่าระบบที่ใหญ่สุดในประเทศไทยคือระบบรัฐราชการ พรรคการเมืองที่ใหญ่สุดคือพรรคราชการ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเสนอร่างกฎหมายนี้
เราต้องให้องค์ความรู้ทั้งหมดว่าเราได้ศึกษาในมิติใดไปบ้าง ประชาชนมีความเห็นอย่างไร เรายกแนวคิดกฎหมายนำร่องจังหวัดจัดการตนเอง การเมือง 2 ชั้น ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง ก็มีการร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อยกฐานะ นายก อบจ.ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
จะไม่ใช่รูปแบบการปกครองเดิมที่มีทั้งผู้ว่าฯ และนายก อบจ. นี่คือเป้าหมายของข้อเสนอจังหวัดจัดการตนเอง แต่ว่าทั้งหมดจะเกิดหรือไม่เกิดอยู่ที่นายกรัฐมนตรี อยู่ที่ประธานกรรมมาธิการ ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. แต่กฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนก็มักถูกปัดตก
แสดงว่าต้องมีรัฐบาลที่สมาทานระบอบประชาธิปไตย?
ตราบใดที่ยังมีโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ โอกาสที่เราจะได้รัฐบาลประชาธิปไตยมันยาก ตอนนี้เราเป็นการเมืองแบบกึ่งๆ จะเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ จะเป็นเผด็จการก็ไม่ใช่ บอกไม่ถูกว่าเรากำลังอยู่ในระบบอะไร จะบอกเป็นเผด็จการก็ไม่เต็มปาก เพราะเรามีสภา จะบอกว่าเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ได้ เพราะฝ่ายบริหารยังมาแทรกแทรงฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ ทำให้กฎหมายหลายฉบับถูกฝ่ายบริหารแทรกแซง ถ้าไม่มีการแทรกแซงก็ควรจะเป็นไปตามกระบวนการ อย่าง พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอกฎหมายของ ilaw ที่ถูกปัดตก มีประชาชนเสนอชื่อเป็นหมื่นๆ ความจริงแล้วสภาต้องรับร่างกฎหมาย
ก่อนหน้านี้ พ.ร.บ.ปลดล็อคท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า สามารถล่ารายชื่อได้ 6-7 หมื่นเสียง และผลักดันเข้าสภาแล้ว ตอนนี้กำลังมีการระดมความเห็นจากประชาชนอยู่ คุณมองว่ามีความหวังไหม
ปลดล็อคท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า ถ้าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ประชาชนเลือกพรรคฝ่ายประชาธิปไตยและจับมือกับพวกเรา ตั้งคณะรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ข้าราชการ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
อีกประเด็นหนึ่งคือกระทรวงมหาดไทยต้องถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันไม่ง่าย เพราะอำนาจเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในระบบของประเทศไทย ตราบใดที่ยังอยู่ในรัฐบาลประยุทธ์ ข้าราชการมาดำรงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย ที่ถามเรื่องความหวังตอบตามตรงคือไม่มี
ภาคประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ผลักดันเรื่องนี้ ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไร
ใครพูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษใน 3 จังหวัด จะถูกติดตามโดยฝ่ายความมั่นคง เหมือนกลุ่มการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รัฐมองว่าอะไรก็ตามที่ขัดกับความมั่นคงในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้กระทั่งเรื่องศาสนา รัฐธรรมนูญยังเขียนไว้ให้เชื่อมโยงถึงความมั่นคงของรัฐ
ถ้าเราเคลื่อนไหวในประเด็นที่กระทบความมั่นคง ฝ่ายความมั่นคงก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ประชาชนในจังหวัดอื่นอาจไม่รู้สึก แต่คน 3 จังหวัดเขารู้สึก ถูกกระทบ คนในพื้นที่ตาย ถูกซ้อมทรมานในห้องสอบสวนโดยไม่มีความผิด พวกผมเจอมา 10 กว่าปี สิ่งที่สะท้อนในสภาฯ คือความจริง บางคนถูกยิง หรือใส่ถังแดงโยนทิ้งแม่น้ำปัตตานี โดยมูลเหตุจากการประท้วงรัฐประหารปี 19
ถ้าพูดถึงการเคลื่อนไหวของคนใน 3 จังหวัด มันไม่ใช่แค่ 18 ปีหลังเหตุการณ์ชุมนุมระหว่างปี 2547 – 2548 มันเกิดก่อนหน้า ตั้งแต่ หะยีสุหลง หายไป (หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำทางศาสนาและการเมืองคนสำคัญของปาตานี ถูกบังคับสูญหาย พร้อมบุตรชายคนโตและเพื่อนรวม 4 คน เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2497) ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงคือการกระจายอำนาจ เขตการปกครองพิเศษ ดังนั้น คนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้เหมือนชีวิตสั้นลง
ในปัจจุบันคน 3 จังหวัดมีพรรคการเมืองของตนเอง ยิ่งทำให้รัฐกลัว รวมถึง ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผ่านแล้ว ต่อไปใครจะมาซ้อมทรมานประชาชนไม่ได้แล้ว
ปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีนักวิชาการที่ทำงานวิจัยประเด็นนี้ระบุว่า การกระจายอำนาจนั้นช่วยลดความขัดแย้งได้ คุณเห็นด้วยไหม
เห็นด้วย เพราะหลังจากเราเริ่มมีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เริ่มมีการเลือกตั้งเทศบาล นั่นคือการกระจายอำนาจเบื้องต้น แต่ไม่ใช่การกระจายอำนาจแบบที่เราต้องการ รัฐยังต้องให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมาควบคุม
ถ้ายกตัวอย่างประเทศมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น จะไม่มีตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือ นายก อบจ. แต่ประเด็นของกฎหมายฉบับนี้ที่เราต้องการไม่ให้กระทบกับส่วนท้องที่ เพราะเห็นปัญหาทั้งหมดที่ผ่านมา เช่น การปกครองแบบกรุงเทพมหานคร ทำให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหายไป กลายเป็นอำนาจของเขต ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดการต่อต้าน
ในกฎหมายฉบับนี้เราจึงบอกว่าต้องยกเลิกการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ นายก อบจ. มาเป็นตำแหน่งนี้จากการเลือกตั้งโดยตรง แต่ นายก อบต.ยังอยู่เหมือนเดิม สามารถทำงานร่วมกันได้ เพียงแต่ว่าอำนาจเบ็จเสร็จเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้กฎหมาย แต่เราไม่ได้พูดถึงในระดับอำเภอ เพราะยิ่งถ้าเราพูดถึงระดับอำเภอก็ยิ่งมีผลกระทบ ดังนั้น วิธีการที่ผมพยายามบอกในตอนนี้คือนำร่องให้ได้ในจังหวัดที่พร้อม
ส่วนการบริหารท้องที่ เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านนั้น จะมีการเลือกตั้งเป็นปกติอยู่แล้ว และมีวาระ 60 ปี ในช่วงปี 2535 เคยเปลี่ยนมาเป็นวาระ 5 ปี แต่ต้องเปลี่ยนกลับ เพราะเกิดปัญหาภายในพื้นที่ ยกตัวอย่างผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนึ่งมีประชากร 200 คน และมีคนลงเลือกตั้งสัก 4 คน อาจทำให้กลุ่มที่ไม่ได้ตำแหน่งเกิดความไม่พอใจ
ถ้ามีวาระ 60 ปี และมีการประเมินผลทุก 5 ปี จะทำให้ไม่ต้องเลือกตั้งหลายครั้ง และไม่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งประชาชนยังคงสามารถตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามีกำนันผู้ใหญ่บ้านหลายคนที่ประเมินไม่ผ่าน เพราะเสียงของประชาชนเช่นกัน
ในการเลือกตั้งท้องถิ่นมักมีวลีว่า ชาวบ้านเลือกผู้มีอิทธิพลมาดำรงตำแหน่ง แต่นักวิชาการกล่าวว่า การเลือกตั้งคือหลักการที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลต้องลงเล่นตามกติกา เสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก คุณมีความเห็นอย่างไร
การเลือกตั้งนั้นเป็นโอกาส ผมมองว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกคนแบบไหน ถ้าคุณเป็นนักเลง คุณบอกว่าจะเข้าสู่การเลือกตั้ง ประชาชนก็ไม่เลือก ผมเองก็มาจากการสู้กับผู้มีอิทธิพลที่สั่งกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ห้ามเลือกผม แต่ทำไมผมชนะ มันอยู่ที่ตัวผู้สมัคร ถ้าเรามีผลงาน ถ้าเราพูดแล้วประชาชนเชื่อมั่นในจุดยืนทางการเมืองของเรา
สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าในสายตาผม คือผู้มีอิทธิพลในขบวนการยาเสพติด ที่จะเข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ นายก อบต. อบจ. ในหลายพื้นที่ หรือองค์กรท้องถิ่น ผู้ที่สนับสนุนการใช้อำนาจคือขบวนการยาเสพติด ถ้า นายก อบต. อบจ. มีผู้อยู่เบื้องหลังเป็นคนที่ค้ายาเสพติด สุดท้ายประเทศไทยก็อยู่ไม่ได้
การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเป็นเรื่องใหญ่มาก คุณมีข้อแนะนำไหมว่า ควรยกเลิกอย่างไร ให้มีความละมุนละม่อมและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด
ยากมาก ผมมองไม่เห็นทางเลย อย่าลืมว่าประชาชนยังกลัวข้าราชการ ในกรุงเทพมหานครอาจไม่เป็นแบบนั้น แต่อีก 75 จังหวัดไม่เหมือนกัน ในความเป็นจริงแล้วรัฐ หรือกระแสพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 9 ว่า ข้าราชการต้องบริการประชาชน ผู้แทนก็คือผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่นายของประชาชน แต่ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้น
ถ้าเราต้องการ ร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศและจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน คุณมีข้อแนะนำอย่างไรที่จะทำให้มีความรัดกุมมากที่สุด
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือเราคนรุ่นใหม่ต้องปลุกกระแสจากข้างล่าง ถ้ามาจากข้างบนจะไม่สำเร็จ ต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็ต้องรวมตัวใหญ่ขึ้น จากลมหมุนเป็นลมพายุ ต้องพัฒนาวิธีการสร้างกระแส ผมฟังความเห็นในห้องประชุมก็อาจไม่เหมือนกับสิ่งที่ประชาชนคิด ประชาชนอาจไม่เข้าใจระบบในสภาฯ หรือหน้าที่ของประธานกรรมาธิการ
วิธีการคือปลุกกระแส แต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดง่ายๆ
แต่ละภูมิภาคก็มีวัฒนธรรมหรือความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ในตัว พ.ร.บ.ควรเขียนให้ครอบคลุมทั้งหมดหรือเฉพาะเจาะจงตามพื้นที่
ควรเขียนกว้างๆ ไว้ก่อน เหมือนรัฐธรรมนูญ เช่น ในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รัฐธรรมนูญไม่ได้คุ้มครองแค่คนพุทธ แต่คุ้มครองคนทุกศาสนา
ตอนนี้อุปสรรคของการกระจายอำนาจคืออะไร
กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ต้องรอให้ฝ่ายประชาธิปไตยกลับมาเป็นรัฐบาล และเรื่องการกระจายอำนาจต้องชัดเจน วันนี้แค่พูดเรื่องงบประมาณส่วนท้องถิ่นก็ยังไม่ชัดเจน
ไม่ชัดเจนอย่างไร
จากเดิมวันนี้ 70% เป็นหน้าที่ของรัฐส่วนกลาง ให้ท้องถิ่นเหลือแค่ 30% ทำให้เราต้องปฏิรูปกระทรวงและระบบราชการ อย่างภาษี 100 บาท ตอนนี้ต้องจ่ายเป็นค่าดูแล บำเน็จ บำนาญ 73 บาท เราเหลือเงินบริหารประเทศ 27 บาท ตราบใดที่เราไม่ปฏิรูปรัฐราชการให้เล็กลง เราก็ไม่มีเงินมาเป็นงบลงทุน อาจต้องปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
สามารถดึงกระทรวงมหาดไทยมาช่วยขับเคลื่อนได้ไหม
ในมุมข้าราชการบางกลุ่มก็มีการพูดถึงการพูดถึงการกระจายอำนาจ แต่ว่าคนที่ดำรงตำแหน่งมานาน จะบอกว่าให้ประชาชนเลือกตั้งเขาก็ไม่ยอม ต้องให้คนที่เรียนมาทางด้านรัฐศาสตร์ หรือนิติศาสตร์มาทำงานด้านนี้โดยตรง
คนเหล่านี้มักแพ้คนของประชาชน ถ้าเข้าสู่ระบบเลือกตั้งให้ประชาชนสนใจหรือรู้จักจริงๆ มันยาก เพราะในการเลือกตั้งมันมีทั้งมวลชน มีการจัดตั้งของตนเองด้วย
รัฐบาลคิดว่าประชาชนมีความพร้อมในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศไหม
รัฐราชการไม่เคยมองว่าประชาชนพร้อมเลือกตั้งผู้ว่าฯ ยิ่งทางปลัดกระทรวงมหาดไทยยิ่งบอกว่ายังไม่พร้อม หลังจากรัฐประหาร 2557 เป็นเวลา 8 ปีที่ไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่น
ปล่อยให้ข้าราชการที่เป็นปลัดมาบริหาร ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ เพาะปลัดมีอำนาจน้อย เช่น เวลาน้ำท่วมก็ไม่สามารถเบิกงบประะมาณได้เพราะ เกินอำนาจของผู้รักษาการ ประชาชนสะท้อนมาว่ามหาดไทยเป็นเผด็จการ และโครงสร้างมันซ้อนทับกัน
การเสนอให้กระจายอำนาจไปที่ภาคประชาชน ทำให้รัฐมองว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนตามรัฐธรรมนูญหมวด 1 หรือไม่
มันเป็นเรื่องที่ถูกฝังลึกมา เช่น ผมถามว่าจะให้มีการเลือกผู้ว่าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาก็กลัวว่าคน 3 จังหวัดจะประกาศเอกราชเหมือน ติมอร์ ซึ่งความจริงถ้าเราอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ก็ประกาศเอกราชไม่ได้อยู่แล้ว
สุดท้ายแล้ว เราต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ แม้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ก็ยังต้องทบทวนว่าพ่อแม่เรามาจากไหน ดังนั้น ในมุมประวัติศาสตร์ของประเทศเราต้องศึกษาว่ากว่าจะเป็นประเทศไทยมีที่มาอย่างไร อาณาจักรล้านนา ขอม ปัตตานี ก็คืออาณาจักรที่ถูกควบรวม มีแนวคิดรวมศูนย์การปกครอง แต่แนวคิดของคนในแต่ละพื้นที่ มีบ้างยังรู้สึกว่าตนเองเป็นคนอาณาจักรล้านนา เป็นคนมลายูปัตตานี
กลุ่มวัยรุ่นที่ต่อสู้ในแนวทางที่เขาเรียกร้องมาตุภูมิของตนเองไม่ใช่ความผิด แต่เป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งแนวทางของผมคือสู้ตามรัฐธรรมนูญ เป็นตัวแทนเพื่อดูแลพี่น้องของผม ทั้งใน 3 จังหวัดและคนทั้งประเทศ
* หมายเหตุ: เป็นการสัมภาษณ์ก่อน 2 กันยายน 2565 ที่สภาผู้แทนราษฎรอภิปรายเกี่ยวกับการ ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัด มีอำนาจ เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วรกมล องค์วานิชย์: เรื่องและภาพ
ที่มา The Voters
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก
ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ ว่ากันตามหลักการสากลผ่านงานวิจัยศึกษาและเทียบเคียงประเทศการปกครองคล้ายไทยอย่างอังกฤษหรือญี่ปุ่นซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และกระจายอำนาจคือการกระจายคุณภาพชีวิตที่ดีสู่คนทั้งประเทศ คือมรรคาขยับบ้านเมืองสู่ประเทศพัฒนา
ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกสักเรื่อง การกระจายอำนาจคือการรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น เมื่อผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คงมีไม่ใครคิดแยก ในอินโดนีเซีย ครั้นสิ้นสุดอำนาจของ ซูฮาโต ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ศาสนา ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนเคยรุมเร้าในอดีตที่ถูกกดไว้ทวีรุนแรงขึ้น
อินโดนิเซียมีผู้นำและนักวิชาการที่สนใจการกระจายอำนาจ เกิดปรากฏการณ์ Big Bang Decentralization ตรากฎหมาย 2 ฉบับ นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการกระจายอำนาจ อาเจะห์ที่คล้ายกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย แก้สำเร็จด้วยการกระจายอำนาจให้มีการเจรจาตกลงกัน
“จังหวัดจัดการตนเองนั่นแหละ คนที่อยู่ใต้ดินก็ขึ้นมาอยู่บนดินหมด” ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านกระจายอำนาจเคยกล่าว
กลุ่ม We’re all voters : เลือกผู้ว่าฯ ทั่วประเทศต้องเกิดขึ้นจริง ก่อนเปลี่ยนเป็น The Voters เคยยื่นหนังสือข้อเรียกร้องและรายชื่อประชาชนแก่ ซูการ์โน มะทา ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ เพื่อเรียกร้องรณรงค์ให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ และกระจายอำนาจอย่างแท้จริง
ตัดภาพมาในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรอภิปรายเกี่ยวกับการ ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัด มีอำนาจ เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการเรื่อง จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ โดยมีคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ และ อาจารย์ชำนาญ จันทร์เรือง ที่ปรึกษาแคมเปญเรา จากคณะก้าวหน้า กับ บรรณ แก้วฉ่ำ คณะทำงานเรื่องนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม
วาระนี้ถูกบรรจุอยู่แล้ว แต่การที่พวกเราร่วมลงชื่อ รวมถึงส่งตัวแทนไปยื่นรายชื่อและข้อเรียกร้องต่อ ซูการ์โน มีส่วนช่วยผลักให้วาระพิจารณามาเร็วขึ้น
น่าเสียดายที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย บางคน ค้านจนต้องเลื่อนการพิจารณาออกไป แต่ไม่เป็นไร การเมืองคือเรื่องของการต่อรองผลประโยชน์ ผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ และเรายังมีความหวังกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการทุกจังหวัดมากน้อยแค่ไหน บทสัมภาษณ์ ซูการ์โน มะทา ชิ้นนี้ น่าจะพอให้ภาพได้
รบกวนขอความรู้ว่า หลังเรายื่นหนังสือและรายชื่อต่อกรรมาธิการฯ แล้ว กระบวนการจะเป็นอย่างไร
ต้องอธิบายแบบนี้ ผมและกรรมาธิการใหญ่ในคณะของกรรมาธิการที่ผมเป็นประธาน ส่วนใหญ่แล้วมาจากคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นมาก่อน ทั้ง นายก อบจ. และรอง นายก อบจ. ดังนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่เข้าใจในประเด็นรื่องการกระจายอำนาจ เราพยายามเทียบจากกรอบของแผนปฏิรูปจากคณะรัฐประหารเมื่อปี 2557
เหตุผลข้อหนึ่งคือต้องการปฏิรูปการเมืองการปกครอง การกระจายอำนาจก็อยู่ในแผนปฏิรูปของคณะรัฐประหาร วันนี้เราคาดการณ์ว่าข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปไม่ได้มีผลชัดเจน ผมเลยตั้งโจทย์ว่าเราจะพยายามยกร่างกฎหมายเพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยตรง เราใช้ข้อเรียกร้องหลังจาก อ.ชำนาญ จันทร์เรือง ทำกิจกรรมร่วมรณรงค์กับพี่น้องชาวจังหวัดเชียงใหม่
จากนั้นผมนำข้อเรียกร้องมาเป็นข้อสังเกตว่า ไม่ใช่แค่คนเชียงใหม่และ 3 จังหวัดชายแดนใต้เท่านั้นที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยชูนโยบายมหานครปัตตานีขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ถูกต่อต้านโดยฝ่ายความมั่นคง
ในการเลือกตั้งปี 2554 กลุ่มเราแพ้ทั้งหมด เพราะมีคนของฝ่ายความมั่นคงมาแทรกแทรงทางการเมืองด้วย ผมเชื่อว่า ถ้าฝ่ายความมั่นคงทางการเมืองไม่ได้กดดันคนในพื้นที่ เป็นไปไม่ได้ที่ตัวแทนของพรรคเพื่อไทยจะแพ้ทั้งหมด แนวคิดของพรรคเพื่อไทยคือจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงโดยเสนอให้ 3 จังหวัดเป็นเขตการปกครองพิเศษ ผมได้นำประเด็นนี้มาตั้งโจทย์ให้คณะกรรมมาธิการว่าจะต้องยกร่างกฎหมายเสนอเข้าสู่สภาฯ ให้ได้ เนื่องจากว่าเรามีหน้าที่กำกับดูแลส่วนที่เป็นการปกครองรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครและพัทยา
กรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่
ในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ พ.ร.บ.กรุงเทพมหานครยังไม่ครอบคลุมกับจังหวัดอื่น ในด้านการยกเลิกกฎหมายปกครองท้องที่ ทำให้ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน แทนการจัดตั้ง พ.ร.บ.เทศบาล ซึ่งอาจเป็นปัญหาถ้านำไปใช้กับจังหวัดอื่น อาจเกิดกระแสต่อต้าน เพราะกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นหน่วยงานที่ได้รับการก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของข้าราชการมาดูแลพี่น้องประชาชน
ผมได้คุยกับ อ.ชำนาญ ว่าเรายึดแนวทางจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งกฎหมายได้รับการพิจารณาเสร็จแล้ว ยกร่างเสร็จแล้ว เพราะโดยปกติแล้วก่อนการประชุมสภา คณะทำงานของสภาก็จะต้องเขียนระเบียบวาระขึ้นมา แม้กระทั่งการประชุมองค์กรก็ต้องมีระเบียบวาระการประชุม ซึ่งข้อเสนอได้รับการบรรจุตั้งแต่ชุดที่ 21 เป็นกระทู้ถาม หรือกระทู้สดด้วยวาจา และได้เสนอเข้าระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ครั้งที่ 4 เมื่อประธานกรรมมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ จะถูกส่งต่อ
รายงานการศึกษาเรื่องรูปแบบการบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง อยู่ในขั้นตอนที่ 4.10 ซึ่งกรรมาธิการเสนอเสร็จแล้ว ก็ต้องพิจารณาเรียงลำดับไปเรื่อยๆ นอกจากมีความเห็นของพรรคฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลว่าควรเลือกเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน แต่ส่วนใหญ่พิจารณาจากสาระสำคัญที่จำเป็นต่อพี่น้องประชาชน เช่น กรณีการแพร่ระบาดของโควิดที่อยู่ลำดับสุดท้าย ก็ต้องเลื่อนมาพิจารณาก่อน ถ้าไม่ได้เป็นเรื่องที่กระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนก็ว่ากันไปตามระเบียบ
ถามกลับไปที่คุณบอกว่า ไม่ใช่แค่คนเชียงใหม่ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้เท่านั้น ที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ
เราลงพื้นที่ไปสอบถามความเห็นของประชาชน ยกตัวอย่างอุดรธานี ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ แต่ต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงระบบราชการไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกเลิกข้าราชการส่วนภูมิภาคในทันทีทันใด จะทำให้เกิดแรงต้านจากข้าราชการ แม้กระทั่งรัชกาลที่ 5 ต้องการเปลี่ยนแปลงจากระบบ เวียง วัง คลัง นา ในช่วงนั้นก็เกิดแรงต้าน ทำให้ต้องใช้เวลานาน
เหมือนกันกับแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองที่ผมให้แนวคิดกับ อ.ชำนาญ คือ เราน่าจะมีจังหวัดนำร่อง ในตอนนี้เรามีข้อกฎหมายที่ร่างไว้ ซึ่งถ้ากระทรวงมหาดไทยหรือนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ก็สามารถนำกฎหมายที่เราเสนอกลับมาพิจารณาในสภาได้ เรามีหน้าที่ทำการศึกษาเพื่อยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล
ถ้ารัฐบาลรับเรื่องของเราไปพิจารณาและเห็นว่าเป็นประโยชน์กับประชาชนตามที่เข้าชื่อมา เขาก็จะเสนอเป็นมาตรากฎหมายเข้าสู่สภา ฉะนั้น ต้องรอว่าเมื่อไหร่กระบวนการที่บรรจุวาระสำเร็จแล้วจะได้เลื่อนเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณา
ในความเห็นของผมซึ่งเป็นประธานกรรมมาธิการ ผมว่าวันนี้เราต้องนำร่อง เพราะระบบการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครเรารู้แล้วว่าประชาชนเห็นด้วย แต่ก็ยังมีจุดที่เป็นปัญหา ถ้าจะเริ่มต้นที่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี หรือ นครราชสีมา ต้องไม่ใช่แบบกรุงเทพมหานคร
อ.ชำนาญให้ความเห็นว่า ถ้าเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยนำร่องบางจังหวัดก่อน เราก็จะไม่ได้เลือกทั่วประเทศสักที เพราะเรานำร่องที่กรุงเทพฯ มานานแล้ว ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในจังหวัดอื่น คุณมองประเด็นนี้อย่างไร
ถ้าต้องการโอกาสเลือกทั้งประเทศ จะต้องทำให้เกิดการเรียกร้องของประชาชนมากกว่านี้ ทุกจังหวัดต้องออกมาแบบ 14 ตุลา วันนี้เรามีอำนาจต่อรองน้อยลงเรื่อยๆ ผมมองว่า 8 ปีที่ผ่านมายังต่อต้านรัฐบาลเผด็จการไม่ได้เลย เพราะพลังเราน้อยเกินไป
ถ้าประชาชนไม่ออกมาเรียกร้องทุกจังหวัดจริงๆ แม้แต่ประชาชนเชียงใหม่ไม่แสดงพลังมากพอ โอกาสที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ อย่างที่ We’re All Voter เคยเสนอก็เกิดขึ้นได้ยาก คนรุ่นใหม่คิดแบบนี้ได้ แต่จะเปลี่ยนความคิดของคนรุ่นเก่านั้นยาก อย่าลืมว่าระบบที่ใหญ่สุดในประเทศไทยคือระบบรัฐราชการ พรรคการเมืองที่ใหญ่สุดคือพรรคราชการ ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเสนอร่างกฎหมายนี้
เราต้องให้องค์ความรู้ทั้งหมดว่าเราได้ศึกษาในมิติใดไปบ้าง ประชาชนมีความเห็นอย่างไร เรายกแนวคิดกฎหมายนำร่องจังหวัดจัดการตนเอง การเมือง 2 ชั้น ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้ง ก็มีการร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อยกฐานะ นายก อบจ.ให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง
จะไม่ใช่รูปแบบการปกครองเดิมที่มีทั้งผู้ว่าฯ และนายก อบจ. นี่คือเป้าหมายของข้อเสนอจังหวัดจัดการตนเอง แต่ว่าทั้งหมดจะเกิดหรือไม่เกิดอยู่ที่นายกรัฐมนตรี อยู่ที่ประธานกรรมมาธิการ ไม่ได้อยู่ที่ ส.ส. แต่กฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชนก็มักถูกปัดตก
แสดงว่าต้องมีรัฐบาลที่สมาทานระบอบประชาธิปไตย?
ตราบใดที่ยังมีโครงสร้างแบบที่เป็นอยู่ โอกาสที่เราจะได้รัฐบาลประชาธิปไตยมันยาก ตอนนี้เราเป็นการเมืองแบบกึ่งๆ จะเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ จะเป็นเผด็จการก็ไม่ใช่ บอกไม่ถูกว่าเรากำลังอยู่ในระบบอะไร จะบอกเป็นเผด็จการก็ไม่เต็มปาก เพราะเรามีสภา จะบอกว่าเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ได้ เพราะฝ่ายบริหารยังมาแทรกแทรงฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ ทำให้กฎหมายหลายฉบับถูกฝ่ายบริหารแทรกแซง ถ้าไม่มีการแทรกแซงก็ควรจะเป็นไปตามกระบวนการ อย่าง พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอกฎหมายของ ilaw ที่ถูกปัดตก มีประชาชนเสนอชื่อเป็นหมื่นๆ ความจริงแล้วสภาต้องรับร่างกฎหมาย
ก่อนหน้านี้ พ.ร.บ.ปลดล็อคท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า สามารถล่ารายชื่อได้ 6-7 หมื่นเสียง และผลักดันเข้าสภาแล้ว ตอนนี้กำลังมีการระดมความเห็นจากประชาชนอยู่ คุณมองว่ามีความหวังไหม
ปลดล็อคท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า ถ้าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ประชาชนเลือกพรรคฝ่ายประชาธิปไตยและจับมือกับพวกเรา ตั้งคณะรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ข้าราชการ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
อีกประเด็นหนึ่งคือกระทรวงมหาดไทยต้องถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันไม่ง่าย เพราะอำนาจเหล่านี้ฝังรากลึกอยู่ในระบบของประเทศไทย ตราบใดที่ยังอยู่ในรัฐบาลประยุทธ์ ข้าราชการมาดำรงตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย ที่ถามเรื่องความหวังตอบตามตรงคือไม่มี
ภาคประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ผลักดันเรื่องนี้ ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไร
ใครพูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษใน 3 จังหวัด จะถูกติดตามโดยฝ่ายความมั่นคง เหมือนกลุ่มการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รัฐมองว่าอะไรก็ตามที่ขัดกับความมั่นคงในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้กระทั่งเรื่องศาสนา รัฐธรรมนูญยังเขียนไว้ให้เชื่อมโยงถึงความมั่นคงของรัฐ
ถ้าเราเคลื่อนไหวในประเด็นที่กระทบความมั่นคง ฝ่ายความมั่นคงก็จะดำเนินการตามกฎหมาย ประชาชนในจังหวัดอื่นอาจไม่รู้สึก แต่คน 3 จังหวัดเขารู้สึก ถูกกระทบ คนในพื้นที่ตาย ถูกซ้อมทรมานในห้องสอบสวนโดยไม่มีความผิด พวกผมเจอมา 10 กว่าปี สิ่งที่สะท้อนในสภาฯ คือความจริง บางคนถูกยิง หรือใส่ถังแดงโยนทิ้งแม่น้ำปัตตานี โดยมูลเหตุจากการประท้วงรัฐประหารปี 19
ถ้าพูดถึงการเคลื่อนไหวของคนใน 3 จังหวัด มันไม่ใช่แค่ 18 ปีหลังเหตุการณ์ชุมนุมระหว่างปี 2547 – 2548 มันเกิดก่อนหน้า ตั้งแต่ หะยีสุหลง หายไป (หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำทางศาสนาและการเมืองคนสำคัญของปาตานี ถูกบังคับสูญหาย พร้อมบุตรชายคนโตและเพื่อนรวม 4 คน เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2497) ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงคือการกระจายอำนาจ เขตการปกครองพิเศษ ดังนั้น คนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้เหมือนชีวิตสั้นลง
ในปัจจุบันคน 3 จังหวัดมีพรรคการเมืองของตนเอง ยิ่งทำให้รัฐกลัว รวมถึง ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผ่านแล้ว ต่อไปใครจะมาซ้อมทรมานประชาชนไม่ได้แล้ว
ปัญหาความขัดแย้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีนักวิชาการที่ทำงานวิจัยประเด็นนี้ระบุว่า การกระจายอำนาจนั้นช่วยลดความขัดแย้งได้ คุณเห็นด้วยไหม
เห็นด้วย เพราะหลังจากเราเริ่มมีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เริ่มมีการเลือกตั้งเทศบาล นั่นคือการกระจายอำนาจเบื้องต้น แต่ไม่ใช่การกระจายอำนาจแบบที่เราต้องการ รัฐยังต้องให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมาควบคุม
ถ้ายกตัวอย่างประเทศมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น จะไม่มีตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือ นายก อบจ. แต่ประเด็นของกฎหมายฉบับนี้ที่เราต้องการไม่ให้กระทบกับส่วนท้องที่ เพราะเห็นปัญหาทั้งหมดที่ผ่านมา เช่น การปกครองแบบกรุงเทพมหานคร ทำให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหายไป กลายเป็นอำนาจของเขต ซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดการต่อต้าน
ในกฎหมายฉบับนี้เราจึงบอกว่าต้องยกเลิกการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ นายก อบจ. มาเป็นตำแหน่งนี้จากการเลือกตั้งโดยตรง แต่ นายก อบต.ยังอยู่เหมือนเดิม สามารถทำงานร่วมกันได้ เพียงแต่ว่าอำนาจเบ็จเสร็จเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้ง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้กฎหมาย แต่เราไม่ได้พูดถึงในระดับอำเภอ เพราะยิ่งถ้าเราพูดถึงระดับอำเภอก็ยิ่งมีผลกระทบ ดังนั้น วิธีการที่ผมพยายามบอกในตอนนี้คือนำร่องให้ได้ในจังหวัดที่พร้อม
ส่วนการบริหารท้องที่ เช่น กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านนั้น จะมีการเลือกตั้งเป็นปกติอยู่แล้ว และมีวาระ 60 ปี ในช่วงปี 2535 เคยเปลี่ยนมาเป็นวาระ 5 ปี แต่ต้องเปลี่ยนกลับ เพราะเกิดปัญหาภายในพื้นที่ ยกตัวอย่างผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนึ่งมีประชากร 200 คน และมีคนลงเลือกตั้งสัก 4 คน อาจทำให้กลุ่มที่ไม่ได้ตำแหน่งเกิดความไม่พอใจ
ถ้ามีวาระ 60 ปี และมีการประเมินผลทุก 5 ปี จะทำให้ไม่ต้องเลือกตั้งหลายครั้ง และไม่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งประชาชนยังคงสามารถตรวจสอบได้ ที่ผ่านมามีกำนันผู้ใหญ่บ้านหลายคนที่ประเมินไม่ผ่าน เพราะเสียงของประชาชนเช่นกัน
ในการเลือกตั้งท้องถิ่นมักมีวลีว่า ชาวบ้านเลือกผู้มีอิทธิพลมาดำรงตำแหน่ง แต่นักวิชาการกล่าวว่า การเลือกตั้งคือหลักการที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลต้องลงเล่นตามกติกา เสนอนโยบายให้ประชาชนเลือก คุณมีความเห็นอย่างไร
การเลือกตั้งนั้นเป็นโอกาส ผมมองว่าเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชน ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกคนแบบไหน ถ้าคุณเป็นนักเลง คุณบอกว่าจะเข้าสู่การเลือกตั้ง ประชาชนก็ไม่เลือก ผมเองก็มาจากการสู้กับผู้มีอิทธิพลที่สั่งกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ห้ามเลือกผม แต่ทำไมผมชนะ มันอยู่ที่ตัวผู้สมัคร ถ้าเรามีผลงาน ถ้าเราพูดแล้วประชาชนเชื่อมั่นในจุดยืนทางการเมืองของเรา
สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าในสายตาผม คือผู้มีอิทธิพลในขบวนการยาเสพติด ที่จะเข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ นายก อบต. อบจ. ในหลายพื้นที่ หรือองค์กรท้องถิ่น ผู้ที่สนับสนุนการใช้อำนาจคือขบวนการยาเสพติด ถ้า นายก อบต. อบจ. มีผู้อยู่เบื้องหลังเป็นคนที่ค้ายาเสพติด สุดท้ายประเทศไทยก็อยู่ไม่ได้
การยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคเป็นเรื่องใหญ่มาก คุณมีข้อแนะนำไหมว่า ควรยกเลิกอย่างไร ให้มีความละมุนละม่อมและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด
ยากมาก ผมมองไม่เห็นทางเลย อย่าลืมว่าประชาชนยังกลัวข้าราชการ ในกรุงเทพมหานครอาจไม่เป็นแบบนั้น แต่อีก 75 จังหวัดไม่เหมือนกัน ในความเป็นจริงแล้วรัฐ หรือกระแสพระราชดำรัสของรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 9 ว่า ข้าราชการต้องบริการประชาชน ผู้แทนก็คือผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่นายของประชาชน แต่ปัจจุบันไม่เป็นแบบนั้น
ถ้าเราต้องการ ร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศและจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน คุณมีข้อแนะนำอย่างไรที่จะทำให้มีความรัดกุมมากที่สุด
สิ่งที่ผมอยากเห็นคือเราคนรุ่นใหม่ต้องปลุกกระแสจากข้างล่าง ถ้ามาจากข้างบนจะไม่สำเร็จ ต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็ต้องรวมตัวใหญ่ขึ้น จากลมหมุนเป็นลมพายุ ต้องพัฒนาวิธีการสร้างกระแส ผมฟังความเห็นในห้องประชุมก็อาจไม่เหมือนกับสิ่งที่ประชาชนคิด ประชาชนอาจไม่เข้าใจระบบในสภาฯ หรือหน้าที่ของประธานกรรมาธิการ
วิธีการคือปลุกกระแส แต่เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดง่ายๆ
แต่ละภูมิภาคก็มีวัฒนธรรมหรือความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ในตัว พ.ร.บ.ควรเขียนให้ครอบคลุมทั้งหมดหรือเฉพาะเจาะจงตามพื้นที่
ควรเขียนกว้างๆ ไว้ก่อน เหมือนรัฐธรรมนูญ เช่น ในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รัฐธรรมนูญไม่ได้คุ้มครองแค่คนพุทธ แต่คุ้มครองคนทุกศาสนา
ตอนนี้อุปสรรคของการกระจายอำนาจคืออะไร
กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ต้องรอให้ฝ่ายประชาธิปไตยกลับมาเป็นรัฐบาล และเรื่องการกระจายอำนาจต้องชัดเจน วันนี้แค่พูดเรื่องงบประมาณส่วนท้องถิ่นก็ยังไม่ชัดเจน
ไม่ชัดเจนอย่างไร
จากเดิมวันนี้ 70% เป็นหน้าที่ของรัฐส่วนกลาง ให้ท้องถิ่นเหลือแค่ 30% ทำให้เราต้องปฏิรูปกระทรวงและระบบราชการ อย่างภาษี 100 บาท ตอนนี้ต้องจ่ายเป็นค่าดูแล บำเน็จ บำนาญ 73 บาท เราเหลือเงินบริหารประเทศ 27 บาท ตราบใดที่เราไม่ปฏิรูปรัฐราชการให้เล็กลง เราก็ไม่มีเงินมาเป็นงบลงทุน อาจต้องปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
สามารถดึงกระทรวงมหาดไทยมาช่วยขับเคลื่อนได้ไหม
ในมุมข้าราชการบางกลุ่มก็มีการพูดถึงการพูดถึงการกระจายอำนาจ แต่ว่าคนที่ดำรงตำแหน่งมานาน จะบอกว่าให้ประชาชนเลือกตั้งเขาก็ไม่ยอม ต้องให้คนที่เรียนมาทางด้านรัฐศาสตร์ หรือนิติศาสตร์มาทำงานด้านนี้โดยตรง
คนเหล่านี้มักแพ้คนของประชาชน ถ้าเข้าสู่ระบบเลือกตั้งให้ประชาชนสนใจหรือรู้จักจริงๆ มันยาก เพราะในการเลือกตั้งมันมีทั้งมวลชน มีการจัดตั้งของตนเองด้วย
รัฐบาลคิดว่าประชาชนมีความพร้อมในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศไหม
รัฐราชการไม่เคยมองว่าประชาชนพร้อมเลือกตั้งผู้ว่าฯ ยิ่งทางปลัดกระทรวงมหาดไทยยิ่งบอกว่ายังไม่พร้อม หลังจากรัฐประหาร 2557 เป็นเวลา 8 ปีที่ไม่มีการเลือกตั้งท้องถิ่น
ปล่อยให้ข้าราชการที่เป็นปลัดมาบริหาร ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ เพาะปลัดมีอำนาจน้อย เช่น เวลาน้ำท่วมก็ไม่สามารถเบิกงบประะมาณได้เพราะ เกินอำนาจของผู้รักษาการ ประชาชนสะท้อนมาว่ามหาดไทยเป็นเผด็จการ และโครงสร้างมันซ้อนทับกัน
การเสนอให้กระจายอำนาจไปที่ภาคประชาชน ทำให้รัฐมองว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนตามรัฐธรรมนูญหมวด 1 หรือไม่
มันเป็นเรื่องที่ถูกฝังลึกมา เช่น ผมถามว่าจะให้มีการเลือกผู้ว่าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เขาก็กลัวว่าคน 3 จังหวัดจะประกาศเอกราชเหมือน ติมอร์ ซึ่งความจริงถ้าเราอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ก็ประกาศเอกราชไม่ได้อยู่แล้ว
สุดท้ายแล้ว เราต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ แม้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ก็ยังต้องทบทวนว่าพ่อแม่เรามาจากไหน ดังนั้น ในมุมประวัติศาสตร์ของประเทศเราต้องศึกษาว่ากว่าจะเป็นประเทศไทยมีที่มาอย่างไร อาณาจักรล้านนา ขอม ปัตตานี ก็คืออาณาจักรที่ถูกควบรวม มีแนวคิดรวมศูนย์การปกครอง แต่แนวคิดของคนในแต่ละพื้นที่ มีบ้างยังรู้สึกว่าตนเองเป็นคนอาณาจักรล้านนา เป็นคนมลายูปัตตานี
กลุ่มวัยรุ่นที่ต่อสู้ในแนวทางที่เขาเรียกร้องมาตุภูมิของตนเองไม่ใช่ความผิด แต่เป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งแนวทางของผมคือสู้ตามรัฐธรรมนูญ เป็นตัวแทนเพื่อดูแลพี่น้องของผม ทั้งใน 3 จังหวัดและคนทั้งประเทศ
* หมายเหตุ: เป็นการสัมภาษณ์ก่อน 2 กันยายน 2565 ที่สภาผู้แทนราษฎรอภิปรายเกี่ยวกับการ ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัด มีอำนาจ เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น