ที่มา The Voters
* เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ท่านสามารถรับชมการอภิปรายเต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JfnpuQalFZs อยู่ในช่วงท้ายๆ
ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ
สามารถอ่านรายงานย้อนหลังที่ลิงค์ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/
เริ่มต้นโดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดถึง รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยได้เชิญ บรรณ แก้วฉ่ำ และชำนาญ จันทร์เรือง เข้าร่วมชี้แจง
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตรัง อภิปรายก่อนว่า ในคณะกรรมาธิการล้วนเป็นผู้คร่ำหวอด แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยบอกว่าประชาธิปัตย์สนับสนุนแนวคิดนี้ น่าเสียดายที่รายงานฉบับนี้ มาในช่วงปลายสมัยสภาฯ พอดี ทำให้โอกาสผลักดันมีระยะเวลาจำกัด
“ดีที่สุดคือทุกพรรคการเมือง ต้องหยิบยกเป็นนโยบายพรรค เร่งขับเคลื่อนต่อไปให้เป็นรูปธรรม”
ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย อภิปรายต่อว่า ปัจจุบันเรามีการปกครองรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา แต่ในรายงานมุ่งเน้นไปยังจังหวัดภูมิภาค ต้องการกระจายอำนาจ โดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ มีสภาพลเมืองในสาระสำคัญ
“ในการเชิญหน่วยงานเข้าเป็นที่ปรึกษา ทำไมมองข้ามกรุงเทพมหานครที่เป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจ ตั้งแต่ 2528 ถึง ปัจจุบัน ซึ่งหน้าที่ของผู้ว่าฯ รองผู้ว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะฐานปีรามิดคือประชาชน ไม่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เราจึงพยายามเสนอให้ผู้บริหารระดับเขตมาจากการเลือกตั้ง”
อย่างไรก็ตาม ประเดิมชัยเห็นด้วยกับหลักการ
“การที่ท่านอยากให้เป็นจังหวัดจัดการตนเอง อย่างกรุงเทพฯ ซึ่งยกเลิก กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมด แต่ของท่านยังให้มี แถมผูกติดกับข้อบัญญัติท้องถิ่น นั่นหมายถึง เขาเหล่านี้ต้องไปปฏิบัติงานภายใต้ นายก อบต. หรือนายก อบจ. ภาคปฏิบัติเป็นไปได้ยาก”
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ความเป็นไปของประเทศ ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนเหมือนกันหมดว่า มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร จะแบ่งแยกมิได้ ท่านทำจังหวัดจัดการตนเองประโยชน์คืออะไร ไม่ชัดเจน
“ข้อเสียคืออะไร เดี๋ยวตอบผมนะ มีแต่ประโยชน์อย่างเดียวรึไง จังหวัดใหญ่ๆ ก็ร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาสิ คุณจะเพิ่งรัฐบาลกลางไหม คิดให้มากกว่านี้ อย่าเอาความสนุกเข้าว่า”
* เพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ท่านสามารถรับชมการอภิปรายเต็มๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=JfnpuQalFZs อยู่ในช่วงท้ายๆ
ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรมีการอภิปรายเกี่ยวกับการ #ให้ประชาชนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดมีอำนาจเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ตลอดทั้งข้อเสนอให้ #ยุบรวมราชการส่วนภูมิภาคเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักการ เรื่อง ‘จังหวัดจัดการตนเอง’ ซึ่งเป็นข้อเสนอในรายงานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจฯ
สามารถอ่านรายงานย้อนหลังที่ลิงค์ https://thevotersthai.com/voteourgovernor/
เริ่มต้นโดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวเปิดถึง รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการ รูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่นและการบริหารราชการรูปแบบพิเศษได้พิจารณาแล้วเสร็จ โดยได้เชิญ บรรณ แก้วฉ่ำ และชำนาญ จันทร์เรือง เข้าร่วมชี้แจง
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดตรัง อภิปรายก่อนว่า ในคณะกรรมาธิการล้วนเป็นผู้คร่ำหวอด แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองเป็นเรื่องที่พูดกันมานาน แต่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน โดยบอกว่าประชาธิปัตย์สนับสนุนแนวคิดนี้ น่าเสียดายที่รายงานฉบับนี้ มาในช่วงปลายสมัยสภาฯ พอดี ทำให้โอกาสผลักดันมีระยะเวลาจำกัด
“ดีที่สุดคือทุกพรรคการเมือง ต้องหยิบยกเป็นนโยบายพรรค เร่งขับเคลื่อนต่อไปให้เป็นรูปธรรม”
ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย อภิปรายต่อว่า ปัจจุบันเรามีการปกครองรูปแบบพิเศษ 2 แห่ง กรุงเทพฯ และเมืองพัทยา แต่ในรายงานมุ่งเน้นไปยังจังหวัดภูมิภาค ต้องการกระจายอำนาจ โดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ มีสภาพลเมืองในสาระสำคัญ
“ในการเชิญหน่วยงานเข้าเป็นที่ปรึกษา ทำไมมองข้ามกรุงเทพมหานครที่เป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจ ตั้งแต่ 2528 ถึง ปัจจุบัน ซึ่งหน้าที่ของผู้ว่าฯ รองผู้ว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะฐานปีรามิดคือประชาชน ไม่ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม เราจึงพยายามเสนอให้ผู้บริหารระดับเขตมาจากการเลือกตั้ง”
อย่างไรก็ตาม ประเดิมชัยเห็นด้วยกับหลักการ
“การที่ท่านอยากให้เป็นจังหวัดจัดการตนเอง อย่างกรุงเทพฯ ซึ่งยกเลิก กำนัน ผู้ใหญ่บ้านหมด แต่ของท่านยังให้มี แถมผูกติดกับข้อบัญญัติท้องถิ่น นั่นหมายถึง เขาเหล่านี้ต้องไปปฏิบัติงานภายใต้ นายก อบต. หรือนายก อบจ. ภาคปฏิบัติเป็นไปได้ยาก”
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ความเป็นไปของประเทศ ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขียนเหมือนกันหมดว่า มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร จะแบ่งแยกมิได้ ท่านทำจังหวัดจัดการตนเองประโยชน์คืออะไร ไม่ชัดเจน
“ข้อเสียคืออะไร เดี๋ยวตอบผมนะ มีแต่ประโยชน์อย่างเดียวรึไง จังหวัดใหญ่ๆ ก็ร่าง พ.ร.บ.ขึ้นมาสิ คุณจะเพิ่งรัฐบาลกลางไหม คิดให้มากกว่านี้ อย่าเอาความสนุกเข้าว่า”
ชำนาญ จันทร์เรือง ชี้แจงว่า หลังจาก พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครได้เสนอเข้าสู่สภาฯ แต่มีการยุบสภาฯ ไปก่อนในปี 2556 ไม่ได้ถูกบรรจุในวาระ หลังจากนั้นแต่ละจังหวัดก็มีการร่าง ขับเคลื่อน มีวิวัฒนาการ นับได้ถึง 58 จังหวัด หลักการใหญ่ๆ คือ
หลักการที่ 1.ในจังหวัดที่เป็นจังหวัดจัดการตนเอง จะมีการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค เป็นท้องถิ่นเต็มรูปแบบ เหลือราชการส่วนกลางกับท้องถิ่นเท่านั้น จังหวัดจัดการตนเอง คือรูปแบบปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ไม่ได้ยึดไปทั้งหมด ราชการส่วนกลางยังมีอำนาจอยู่
“ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดจัดการตนเอง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 4 ปี ในชั้นนี้เราใช้คำว่า ผู้ว่าฯ ในจังหวัดจัดการตนเอง แต่ในชั้นต่อไป อาจเปลี่ยนชื่อเรียกก็ได้ ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเรียกว่า จังหวัดจัดการตนเอง เช่น เชียงใหม่จัดการตนเอง ชั้นล่างเป็นการปกครองท้องถิ่น แบ่งหน้าที่กันทำกับระดับบน คือเทศบาลและหรือ อบต.”
หลักการที่ 2 คือมีสภาพลเมือง เป็นสภาที่ปรึกษา พัฒนามาจากแถบ New England หรือในญี่ปุ่น ไม่มีเงินเดือนประจำ เป็นลักษณะจิตอาสา แต่ละจังหวัดองค์ประกอบไม่เหมือนกัน เชียงใหม่ ปัตตานี หรืออำนาจเจริญ ก็ไม่เหมือนกัน แล้วแต่สภาจังหวัดนั้นจะออกข้อบัญญัติ เป็นรูปแบบที่เรียกว่า ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ อาจไม่จำเป็นต้องชนะด้วยการโหวต อาศัยการมีฉันทามติ
หลักการที่ 3 คือเรื่องรายได้ ปัญหาในข้อ 1 และ 2 จะทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าไม่มีงบประมาณ ปัจจุบันท้องถิ่นมีรายได้น้อยมาก ห้างร้านใหญ่ๆ มักเลือกเสียภาษีส่วนกลาง ท้องถิ่นก็จะไม่ได้ รับแต่มลภาวะ
“เราจึงกลับหลักเสีย” ชำนาญว่า “ผมใช้คำว่ารายได้ ภาษี รวมถึง VAT อะไรต่างๆ ที่เราแบ่งกันแล้วว่าอันนี้ส่วนกลางเก็บ อันนี้ท้องถิ่นเก็บ ให้อยู่ที่ท้องถิ่น 70 % อีก 30 % ส่งไปยังจังหวัดอื่น ตัวอย่างที่ญี่ปุ่นเก็บ 40/60 หรือแม้แต่จีน ซึ่งเป็นสังคมนิยม มณฑลก็เก็บไว้ 60 อันนี้รายละเอียด ท่านสามารถดูได้ในรายงาน
“เรื่องการเมืองบ้านใหญ่ จริงอยู่การเมืองเราเป็นแบบอุปถัมภ์ แต่ท่านอย่าลืมว่า คนที่พึ่งบ้านใหญ่ เพราะเขาพึ่งกลไกลของรัฐไม่ได้ พึ่งผู้ว่าฯ ไม่ได้ เพราะว่ามีอำนาจแต่ไม่มีงบประมาณ พึ่งท้องถิ่นก็ไม่ได้ ถึงมีงบประมาณ แต่ไม่มีอำนาจ ในครั้งแรกๆ ที่มีการเลือกตั้ง เราอาจได้บ้านใหญ่มา แต่มันจะเกิดวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ เมื่อมีอำนาจ หน้าที่เต็ม คนดีมีฝีมือก็จะมาลง ประเทศในโลกนี้ มากกว่า 2 ใน 3 ไม่มีราชการส่วนภูมิภาคแล้ว
“กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นเรื่องใหญ่ กระทรวงมหาดไทยก็รับฟังอยู่ ตอนเราศึกษา นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านก็มาชี้แจง ผมอธิบายให้ฟังว่า กำนันผู้ใหญ่บ้าน เกิดโดยพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ 2457 ฟังให้ชัดนะครับ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ไม่ใช่ราชการส่วนภูมิภาค แต่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือเท่านั้นเอง ราชการส่วนภูมิภาค คือจังหวัดและอำเภอเท่านั้น”
ชำนาญ ชี้แจงต่อว่า ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังมีกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ โดยตั้งคำถามว่า ถ้าไม่มีผู้ว่าฯ แต่งตั้งโดยมหาดไทย กำนันผู้ใหญ่บ้านขึ้นกับใคร คำตอบคือ ขึ้นกับผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง ใน พ.ร.บ.จังหวัดจัดการตนเอง แบ่งชัดถึงอำนาจหน้าที่ ไม่ซ้ำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“ถามถึงความพร้อมของประชาชน จังหวัดอื่นๆ ก็เป็นประเทศไทยเหมือนกัน ต้องดูตามเจตนารมย์ ถ้าเห็นด้วย ก็ออก พระราชกฤษฎีกา ไม่ต้องออกกฎหมายซ้ำ เพราะตอนร่างจังหวัดจัดการตนเอง แต่ละจังหวัดต่างทำ แต่ยุบสภาก่อน ผมจึงเอามาร่างใหม่ ส่วนนายอำเภอไม่มีแล้วนะครับ เพราะเราไม่มีราชการส่วนภูมิภาคแล้ว”
บรรณ แก้วฉ่ำ ผู้พิจารณาศึกษารายงานเล่มนี้ ลุกขึ้นกล่าวถึงกรณีแบ่งแยกดินแดนว่า หน่วยงานความมั่นคงทราบดีที่สุด และได้เชิญเข้าร่วมด้วย โดยสรุปคือ มันแบ่งแยกไม่ได้ ก่อนเล่าว่า ถ้าท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาได้เอง คงไม่ต้องมาหารือในสภาแห่งนี้
“แต่ในปัจจุบัน สิ่งที่ กทม.ทำได้ ไม่ได้หมายความว่า เทศบาล อบจ.อบต.จะทำได้ ต้องรอกระทรวงมหาดไทยเขียนระเบียบให้ว่า คุณจะใช้จ่ายเรื่องอะไรได้บ้าง ผมเป็นนิติกร ของ อบจ.มา 10 กว่าปี ได้เห็นปัญหาท้องถิ่นเป็นอย่างดี ต้องตั้งโครงการต่างๆ เหมือนๆ กันทั้งประเทศ เพราะต้องดูว่ามหาดไทยให้เบิกจ่ายได้หรือไม่”
ก่อนจบ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า จริงๆ เขาชอบมาก ถ้าเพื่อบ้านเขาที่เชียงราย แต่พอนึกถึงความเป็นชาติ นึกถึงส่วนรวม มันไม่ได้
วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย อภิปรายฝากพี่น้องที่ฟังอยู่ 4 ล้านคนว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการเสนอเป็นกฎหมาย เป็นเพียงรายงานของกรรมาธิการ เป็นเพียงอนุกรรมาธิการที่ได้ศึกษาเรื่องกระจายอำนาจ ทำให้พี่น้องราชการส่วนภูมิภาคตกใจ ปั่นป่วนไปหมด เขาเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ถามต่อว่า ประเทศไทยเป็นอังกฤษได้เหรอ เป็นญี่ปุ่นได้เหรอ
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย ยังอภิปรายอีกว่า รายงานฉบับนี้ ไม่เห็นด้วย และขอให้มีการโหวต
สุชาติ ตันเจริญ ทำหน้าที่ประธานสภาแทนชวนจึงปิดว่า เนื่องจากยังไม่ได้มีการโหวต ให้มีการอภิปรายในคราวต่อไป
“ท่านพิเชษฐ์ยังไม่เห็นด้วยนะครับ” สุชาติถาม
“ครับ เอาไว้โหวตในคราวต่อไป” พิเชษฐ์ตอบ
“ขอไปพิจารณาในคราวต่อไป ปิดประชุมครับ” สุชาติสรุป
ต่อคำถามที่ว่า ประเทศไทยเป็นอังกฤษได้เหรอ ของวิสารนั้น เราขอแจงบ้างว่า รัฐสภาไทยระบบอังกฤษนะครับ
เราประชาชนคงต้องร่วมกันผลักดันเรื่องนี้ต่อไปในระยะยาว เพราะความเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดขึ้นโดยง่าย โปรดรอติดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และจังหวัดจัดการตนเอง ฉบับประชาชน ที่จะเปิดให้ลงชื่อในเว็บพร้อมเลขบัตรประชาชน ให้ถึง 5 หมื่นรายชื่อ เพื่อผลทางกฎหมาย เร็วๆ นี้