ที่มา https://thevotersthai.com/tanet/
นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป
รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS)
รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565)
ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย
รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ. 2006 รัฐไทยปฏิรูประบบการเมืองการปกครองครั้งสำคัญ โดยรับเอาวัฒนธรรมขอมที่มาจากอินเดียในอดีตเข้ามา 1.แนวคิดสมมุติเทวราช 2.เอาคำในภาษาขอมมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ 3.ปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ คือระบบจตุสดมภ์ และ 4.รับเอาพิธีกรรม-ศิลปวัฒนธรรมจากขอมเข้ามา รวมทั้งลัทธิฮินดูและลัทธิพราหมณ์
2.รัฐไทยมีที่ราบกว้างใหญ่เหมาะแก่การเกษตรมาก และอยู่อ่าวไทย มีเรือต่างชาติ การติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาก 3.ในระยะยาวมีความได้เปรียบด้านภูมิประเทศมาก เพราะมีรัฐที่เล็กกว่ารายรอบ คือ ล้านนา ลาว เขมร มลายู และมอญ จึงสามารถแผ่อิทธิพลออกไปได้ ไม่ต้องไปรบกับพม่า ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่กว่าและแข็งแกร่ง
จุดเด่นทั้ง 3 ข้อ ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐไต-ไทที่อยู่รอบๆ คือ ลื้อ-ยอง ไตเหนือ ไต-ฉาน ไต-อาหม ไท-ยวน ไท-ลาว ไทดำ-แดง-ขาว รัฐเหล่านั้นมีที่ราบที่เล็กกว่า มีดอยสูงล้อมรอบ อยู่ห่างไกลทะเล 3 ข้อเด่นดังกล่าวทำให้รัฐไทยพัฒนาไปหลายด้าน ออกสู่ทะเลไปยังโลกกว้าง จึงมีทั้งการส่งออกและรับสินค้าและการเรียนรู้จากต่างประเทศ รัฐไทยจึงแข็งแกร่งกว่ารัฐไต/ไทอื่นๆ ในทุกๆ ทางและมีศักยภาพสูงกว่า ฯลฯ
กษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2394-2411) บวชนานถึง 27 ปี ก่อนเสวยราชย์ ได้เล่าเรียนภาษาอังกฤษและความเจริญก้าวหน้าของยุโรปอย่างแตกฉาน จึงยอมลงนามทำสัญญาค้าขายกับอังกฤษ เรียกว่าสัญญาเบาว์ริ่ง (The Bowring Treaty) ทำให้ไทยเสียเปรียบมาก ต้องยกเลิกรัฐผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ ต้องเก็บภาษีขาเข้าและส่งออกในอัตราต่ำ ทำให้รัฐมีรายได้ต่ำ ถูกสินค้านำเข้าตีตลาด แก้ไขสัญญาต่างๆ ก็ไม่ได้ จึงตกเป็นรัฐกึ่งเมืองขึ้น ขณะที่รอบๆ ไทยตกเป็นเมืองขึ้น ถูกชาติตะวันตกปกครองโดยตรง
การทำสัญญาเสียเปรียบกับ 15 รัฐตะวันตก มีข้อดีเพียงรักษาดุลการตกเป็นรัฐกึ่งเมืองขึ้นของทุกฝ่าย เพื่อรักษาตัวเองให้รอด รัฐไทยจึงปฏิรูปใหญ่ 2 ด้านคือ 1.ปฏิรูประบบราชการ จัดการรวมศูนย์อำนาจอย่างมากในปี 2435 และกระชับอำนาจด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)
ในปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอังกฤษ จึงนำเอาการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเข้ามาจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ แต่เป็นการบัญชาการทุกอย่างจากเบื้องบน ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย แต่งตั้งขุนนางในกระทรวงเป็นผู้บริหารสุขาภิบาล ปี 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทุกอย่างยังคงเดิม คือ ให้ขุนนางบริหารสุขาภิบาล ประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการให้การศึกษาอบรมใดๆ แก่คนท้องถิ่น
เมื่อเกิดกบฏตามภาคต่างๆ ในทศวรรษ 2440 รัฐไทยจึงปราบกบฏ เข้ายึดครองและปกครองอาณานิคมรอบๆ โดยตรง ยกเลิกฐานะประเทศราชและระบบเจ้าผู้ปกครอง ผนวกดินแดนโดยรอบ ห้ามอ่านเขียนภาษาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียน และจัดระบบการปกครองวัด และหน่วยบริหารทั้งหมดโดยส่วนกลางทั้งหมด
การปฏิวัติประชาธิปไตยในปี 2475 มีคนเข้าร่วมจำกัด เพราะงานปิดลับ ประกอบกับผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบบราชการแบบเดิมจึงยังแข็งแกร่งมาก แม้คณะราษฎรได้จัดตั้งระบบเทศบาลในปี 2476 ให้ประชาชนมีบทบาทในสภาท้องถิ่นและเลือกตั้งผู้บริหาร แต่ก็ถูกระบบราชการรวมศูนย์เข้าครอบงำเป็นขั้นๆ อีกทั้งไม่มีการฝึกอบรมประชาชน ระบบราชการจึงสวนกลับ เพิ่มอำนาจมากขึ้นๆ เช่น ให้นายอำเภอเป็นประธานสุขาภิบาลในปี 2495 ให้ผู้ว่าราชการเป็นนายก อบจ. เริ่มในปี 2498
ลัทธิสังคมนิยมที่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันออก เข้าไปยังจีน เกาหลี และอินโดจีน ทำให้สหรัฐเป็นกังวลมาก หวังใช้ไทยเป็นฐานสู้กับลัทธิสังคมนิยม โดยสนับสนุนฝ่ายสูญเสียอำนาจและฝ่ายทหารก่อรัฐประหารในไทย เริ่มในปี พ.ศ. 2490 อำนาจของระบอบเก่าและกองทัพก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยการสนับสนุนของสหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2565 มีรัฐประหาร 13 ครั้ง องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ถูกครอบงำโดย กระทรวงมหาดไทย อย่างสิ้นเชิง รัฐประหารแต่ละครั้งทำลายระบบพรรคการเมืองระดับชาติ การพัฒนาประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน อปท. ถูกข้าราชการส่วนภูมิภาคคือนายอำเภอ และผู้ว่าฯ ควบคุมตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงรัฐประหาร มักให้ยกเลิกการเลือกตั้งและให้ข้าราชการประจำเข้าควบคุม อปท. กระทั่งเข้าดำรงตำแหน่งเสียเอง
ผลกระทบของรัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป
จากปี พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2540 เกิดปรากฏการณ์สำคัญ 4 อย่าง 1.งบท้องถิ่นทั่วประเทศ มีเพียง 9% ที่เหลือเป็นของงบรัฐบาลทั้งหมด ทำให้อปท. ยากจนและมีบทบาทการพัฒนาท้องถิ่นน้อยมาก 2.ระบบราชการแบบรวมศูนย์ใหญ่ขึ้นๆ การปกครองส่วนภูมิภาคขยายออกเรื่อยๆ เกิดการบริหารงานแบบแยกส่วน ขาดเอกภาพ แต่ละกระทรวงยิ่งเติบโต งานทับซ้อนกันระหว่างกระทรวงและกับท้องถิ่น 3.อำนาจรวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ ทำให้เมืองหลวงใหญ่ขึ้นๆ กลายเป็นเมืองโตเดี่ยว แตกต่างๆ กับต่างจังหวัดราวฟ้ากับดิน คนยากจนในชนบทนับวันอพยพเข้าเมืองหลวง กรุงเทพฯ ยิ่งเติบโตก็ยิ่งเป็นศูนย์รวมปัญหา ต่างจังหวัดได้แต่ล้าหลังและรอคอย รัฐไทยกลายเป็นรัฐราชการ กองทัพมีนายพล 1,500 คนทั้งๆ ที่ไม่เคยมีสงคราม สหรัฐซึ่งใหญ่กว่ารัฐไทย ด้านประชากร 3 เท่า มีเพียง 500 นาย
เมื่ออำนาจกระจุกตัวที่เมืองหลวง ข้าราชการส่วนภูมิภาคก็ได้แต่รอคอยคำสั่ง อยู่ไม่นานก็ย้าย อปท. ก็ทำอะไรได้ไม่มาก ปี 2518 นายไกรสร ตันติพงศ์ ส.ส. เชียงใหม่จึงเสนอว่าผู้ว่าฯ ควรมาจากการเลือกตั้ง กรุงเทพฯเติบโตมากเกินไป มหาดไทยจึงให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในปี 2519 นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป
แม้พรรคการเมืองหลายพรรคหาเสียงว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในปี 2542 สุดท้ายก็เป็นเพียงการหาเสียง แต่ไม่ทำ พลังการเรียกร้องผู้ว่าฯ เลือกตั้งก็ไม่แข็งแกร่ง การสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นก็มีจำกัดเพียงสาขาการเมืองการปกครอง สรุปได้ว่าบัณฑิต 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เพราะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้
รัฐธรรมนูญฉบับ พศ. 2540 กำหนดให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและมีกฎหมายให้เพิ่มรายได้แก่อปท. จาก 9% เป็น 40% แต่งบของอปท. ขึ้นไปเพียง 20 กว่า % ก็เกิดรัฐประหารอีกครั้งในปี 2549 และอีกครั้งในปี 2557 งบรายได้ของอปท. จึงหยุดอยู่ที่ 24% ตั้งแต่นั้น รัฐธรรมนูญถูกร่างใหม่ คำว่าการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงหายไปจากรัฐธรรมนูญอีกคำรบหนึ่ง
การปกครองท้องถิ่นที่อ่อนแอและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ล่าช้า
ที่ผ่านมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2554 ปมปัญหาสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นที่ล่าช้าคือ
นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป
รัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-Centralized State / OCS)
รัฐไทยเป็นรัฐรวมศูนย์อำนาจชนิดพิเศษที่หาได้ไม่ง่ายนักในโลก เรียกว่ารัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป (An Over-centralized State หรือ OCS) เป็นตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน รวมเวลาการเป็นรัฐ OCS มาแล้ว ทั้งหมดนานถึง 130 ปี (พ.ศ. 2435-2565)
ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ รัฐประเภทนี้ก็เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ใช่เลย
รัฐไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2325 มีจุดเด่น 3 ข้อ คือ 1. เป็นรัฐเกษตรขนาดเล็กเมื่อเทียบกับ 2 รัฐที่มีอารยธรรมสูง คือ ขอม และมอญ ด้านตะวันออกเฉียงใต้และทิศตะวันตก ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ราวปี พ.ศ. 2006 รัฐไทยปฏิรูประบบการเมืองการปกครองครั้งสำคัญ โดยรับเอาวัฒนธรรมขอมที่มาจากอินเดียในอดีตเข้ามา 1.แนวคิดสมมุติเทวราช 2.เอาคำในภาษาขอมมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ 3.ปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ คือระบบจตุสดมภ์ และ 4.รับเอาพิธีกรรม-ศิลปวัฒนธรรมจากขอมเข้ามา รวมทั้งลัทธิฮินดูและลัทธิพราหมณ์
2.รัฐไทยมีที่ราบกว้างใหญ่เหมาะแก่การเกษตรมาก และอยู่อ่าวไทย มีเรือต่างชาติ การติดต่อค้าขายกับต่างชาติมาก 3.ในระยะยาวมีความได้เปรียบด้านภูมิประเทศมาก เพราะมีรัฐที่เล็กกว่ารายรอบ คือ ล้านนา ลาว เขมร มลายู และมอญ จึงสามารถแผ่อิทธิพลออกไปได้ ไม่ต้องไปรบกับพม่า ซึ่งเป็นรัฐที่ใหญ่กว่าและแข็งแกร่ง
จุดเด่นทั้ง 3 ข้อ ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐไต-ไทที่อยู่รอบๆ คือ ลื้อ-ยอง ไตเหนือ ไต-ฉาน ไต-อาหม ไท-ยวน ไท-ลาว ไทดำ-แดง-ขาว รัฐเหล่านั้นมีที่ราบที่เล็กกว่า มีดอยสูงล้อมรอบ อยู่ห่างไกลทะเล 3 ข้อเด่นดังกล่าวทำให้รัฐไทยพัฒนาไปหลายด้าน ออกสู่ทะเลไปยังโลกกว้าง จึงมีทั้งการส่งออกและรับสินค้าและการเรียนรู้จากต่างประเทศ รัฐไทยจึงแข็งแกร่งกว่ารัฐไต/ไทอื่นๆ ในทุกๆ ทางและมีศักยภาพสูงกว่า ฯลฯ
กษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2394-2411) บวชนานถึง 27 ปี ก่อนเสวยราชย์ ได้เล่าเรียนภาษาอังกฤษและความเจริญก้าวหน้าของยุโรปอย่างแตกฉาน จึงยอมลงนามทำสัญญาค้าขายกับอังกฤษ เรียกว่าสัญญาเบาว์ริ่ง (The Bowring Treaty) ทำให้ไทยเสียเปรียบมาก ต้องยกเลิกรัฐผูกขาดการค้ากับต่างประเทศ ต้องเก็บภาษีขาเข้าและส่งออกในอัตราต่ำ ทำให้รัฐมีรายได้ต่ำ ถูกสินค้านำเข้าตีตลาด แก้ไขสัญญาต่างๆ ก็ไม่ได้ จึงตกเป็นรัฐกึ่งเมืองขึ้น ขณะที่รอบๆ ไทยตกเป็นเมืองขึ้น ถูกชาติตะวันตกปกครองโดยตรง
การทำสัญญาเสียเปรียบกับ 15 รัฐตะวันตก มีข้อดีเพียงรักษาดุลการตกเป็นรัฐกึ่งเมืองขึ้นของทุกฝ่าย เพื่อรักษาตัวเองให้รอด รัฐไทยจึงปฏิรูปใหญ่ 2 ด้านคือ 1.ปฏิรูประบบราชการ จัดการรวมศูนย์อำนาจอย่างมากในปี 2435 และกระชับอำนาจด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy)
ในปี พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสอังกฤษ จึงนำเอาการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเข้ามาจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ แต่เป็นการบัญชาการทุกอย่างจากเบื้องบน ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย แต่งตั้งขุนนางในกระทรวงเป็นผู้บริหารสุขาภิบาล ปี 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลทั่วประเทศ ทุกอย่างยังคงเดิม คือ ให้ขุนนางบริหารสุขาภิบาล ประชาชนไม่มีบทบาทใดๆ ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีการให้การศึกษาอบรมใดๆ แก่คนท้องถิ่น
เมื่อเกิดกบฏตามภาคต่างๆ ในทศวรรษ 2440 รัฐไทยจึงปราบกบฏ เข้ายึดครองและปกครองอาณานิคมรอบๆ โดยตรง ยกเลิกฐานะประเทศราชและระบบเจ้าผู้ปกครอง ผนวกดินแดนโดยรอบ ห้ามอ่านเขียนภาษาท้องถิ่น จัดตั้งโรงเรียน และจัดระบบการปกครองวัด และหน่วยบริหารทั้งหมดโดยส่วนกลางทั้งหมด
การปฏิวัติประชาธิปไตยในปี 2475 มีคนเข้าร่วมจำกัด เพราะงานปิดลับ ประกอบกับผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ระบบราชการแบบเดิมจึงยังแข็งแกร่งมาก แม้คณะราษฎรได้จัดตั้งระบบเทศบาลในปี 2476 ให้ประชาชนมีบทบาทในสภาท้องถิ่นและเลือกตั้งผู้บริหาร แต่ก็ถูกระบบราชการรวมศูนย์เข้าครอบงำเป็นขั้นๆ อีกทั้งไม่มีการฝึกอบรมประชาชน ระบบราชการจึงสวนกลับ เพิ่มอำนาจมากขึ้นๆ เช่น ให้นายอำเภอเป็นประธานสุขาภิบาลในปี 2495 ให้ผู้ว่าราชการเป็นนายก อบจ. เริ่มในปี 2498
ลัทธิสังคมนิยมที่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันออก เข้าไปยังจีน เกาหลี และอินโดจีน ทำให้สหรัฐเป็นกังวลมาก หวังใช้ไทยเป็นฐานสู้กับลัทธิสังคมนิยม โดยสนับสนุนฝ่ายสูญเสียอำนาจและฝ่ายทหารก่อรัฐประหารในไทย เริ่มในปี พ.ศ. 2490 อำนาจของระบอบเก่าและกองทัพก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยการสนับสนุนของสหรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2565 มีรัฐประหาร 13 ครั้ง องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ถูกครอบงำโดย กระทรวงมหาดไทย อย่างสิ้นเชิง รัฐประหารแต่ละครั้งทำลายระบบพรรคการเมืองระดับชาติ การพัฒนาประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน อปท. ถูกข้าราชการส่วนภูมิภาคคือนายอำเภอ และผู้ว่าฯ ควบคุมตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงรัฐประหาร มักให้ยกเลิกการเลือกตั้งและให้ข้าราชการประจำเข้าควบคุม อปท. กระทั่งเข้าดำรงตำแหน่งเสียเอง
ผลกระทบของรัฐรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป
จากปี พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2540 เกิดปรากฏการณ์สำคัญ 4 อย่าง 1.งบท้องถิ่นทั่วประเทศ มีเพียง 9% ที่เหลือเป็นของงบรัฐบาลทั้งหมด ทำให้อปท. ยากจนและมีบทบาทการพัฒนาท้องถิ่นน้อยมาก 2.ระบบราชการแบบรวมศูนย์ใหญ่ขึ้นๆ การปกครองส่วนภูมิภาคขยายออกเรื่อยๆ เกิดการบริหารงานแบบแยกส่วน ขาดเอกภาพ แต่ละกระทรวงยิ่งเติบโต งานทับซ้อนกันระหว่างกระทรวงและกับท้องถิ่น 3.อำนาจรวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ ทำให้เมืองหลวงใหญ่ขึ้นๆ กลายเป็นเมืองโตเดี่ยว แตกต่างๆ กับต่างจังหวัดราวฟ้ากับดิน คนยากจนในชนบทนับวันอพยพเข้าเมืองหลวง กรุงเทพฯ ยิ่งเติบโตก็ยิ่งเป็นศูนย์รวมปัญหา ต่างจังหวัดได้แต่ล้าหลังและรอคอย รัฐไทยกลายเป็นรัฐราชการ กองทัพมีนายพล 1,500 คนทั้งๆ ที่ไม่เคยมีสงคราม สหรัฐซึ่งใหญ่กว่ารัฐไทย ด้านประชากร 3 เท่า มีเพียง 500 นาย
เมื่ออำนาจกระจุกตัวที่เมืองหลวง ข้าราชการส่วนภูมิภาคก็ได้แต่รอคอยคำสั่ง อยู่ไม่นานก็ย้าย อปท. ก็ทำอะไรได้ไม่มาก ปี 2518 นายไกรสร ตันติพงศ์ ส.ส. เชียงใหม่จึงเสนอว่าผู้ว่าฯ ควรมาจากการเลือกตั้ง กรุงเทพฯเติบโตมากเกินไป มหาดไทยจึงให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในปี 2519 นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนหนึ่งเริ่มเรียกร้องให้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ต่างจังหวัดในปี 2534-2536 มหาดไทยตอบโต้ด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้คนระดับหมู่บ้าน-ตำบลหลงกับงาน อบต. พลังระดับจังหวัดจึงอ่อนลงไป
แม้พรรคการเมืองหลายพรรคหาเสียงว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในปี 2542 สุดท้ายก็เป็นเพียงการหาเสียง แต่ไม่ทำ พลังการเรียกร้องผู้ว่าฯ เลือกตั้งก็ไม่แข็งแกร่ง การสอนวิชาการปกครองท้องถิ่นก็มีจำกัดเพียงสาขาการเมืองการปกครอง สรุปได้ว่าบัณฑิต 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เพราะไม่มีโอกาสได้เรียนรู้
รัฐธรรมนูญฉบับ พศ. 2540 กำหนดให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและมีกฎหมายให้เพิ่มรายได้แก่อปท. จาก 9% เป็น 40% แต่งบของอปท. ขึ้นไปเพียง 20 กว่า % ก็เกิดรัฐประหารอีกครั้งในปี 2549 และอีกครั้งในปี 2557 งบรายได้ของอปท. จึงหยุดอยู่ที่ 24% ตั้งแต่นั้น รัฐธรรมนูญถูกร่างใหม่ คำว่าการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงหายไปจากรัฐธรรมนูญอีกคำรบหนึ่ง
การปกครองท้องถิ่นที่อ่อนแอและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ล่าช้า
ที่ผ่านมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2554 ปมปัญหาสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นที่ล่าช้าคือ
1.ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการทำให้ระบบการเมืองขาดความต่อเนื่อง ระบบการเมืองการปกครอง กฎหมายเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา
2.ประชาชนเกิดความสับสนเพราะระบบการเมืองการปกครองเปลี่ยนไปมาตลอด 75 ปีมานี้ การด่าทอ การโจมตีกล่าวหาฝ่ายประชาธิปไตยว่าทำให้ฝ่ายทหารต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศยิ่งทำให้ประชาชนสับสน
3.ระบบการศึกษาไม่เคยให้ความรู้เรื่องการเมืองการปกครองแก่นักเรียนและนักศึกษาอย่างจริงจัง
4.ระบบการปกครองทับซ้อนกัน ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบอย่างชัดเจน แต่ละท้องถิ่นมีทั้งอบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ เทศบาล อบจ. ปลัดจังหวัด ผู้ว่าฯ ข้าราชการสายต่างๆ ส่งมาจากส่วนกลาง บุคคลเหล่านี้อยู่ไม่นานก็ย้าย ระหว่างที่อยู่ ผลงานก็ไม่ชัดเจน
5.อปท.มีงบประมาณจำกัด อำนาจก็มีจำกัด วัดเป็นของกรมศาสนา ถนนเป็นของกรมทางหลวง แม่น้ำลำคลองเป็นของกรมชลประทาน ฝ่ายเกษตรดูแลการเพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์ โรงเรียนเล็กๆ เป็นของท้องถิ่น นอกนั้นเป็นของกระทรวงที่กรุงเทพฯ ป่าไม้เป็นของกระทรวงทรัพยากร ตำรวจเป็นของส่วนกลาง ประชาชนไม่ได้เรียนสิ่งเหล่านี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยยังไม่รู้เรื่องสิ่งเหล่านี้
เพียงแต่จะรับรู้ว่าหน่วยงานใดดูแลรับผิดชอบปัญหาใด ก็เป็นคำถามใหญ่ที่ไม่แน่ใจว่าใครจะตอบได้ มีแต่คนพูดว่า จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุนี้ ปัญหาจึงสะสมหมักหมมมากขึ้นๆ
ผู้ว่าฯ เป็นตำแหน่งที่สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด บางคนไปไกลถึงว่า ‘ต่างพระเนตรพระกรรณ’ แต่ที่ผ่านมาแทบไม่มีใครเคยพบเห็น ภารกิจหลักดูเหมือนจะเป็นการรับรองแขก การไปต้อนรับข้าราชการที่มาจากส่วนกลาง และการไปเป็นประธานเปิดงานต่างๆ ถ้าไม่ตีฆ้อง ก็ตัดริบบิ้น และกล่าวเปิดงานสั้นๆ โดยไม่เคยอยู่ตลอดงาน บอกว่ามีภารกิจมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าภารกิจของผู้บริหารจังหวัดคืออะไร
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงไม่เคยเกิดขึ้นตลอด 90 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นการเมืองที่ล่องลอยบนท้องฟ้า ประชาชนไทยไม่เคยได้สัมผัสอย่างจริงจัง การหาเสียงอย่างดุดันของนักการเมืองผู้สมัครตำแหน่งต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ แล้วก็หายไป แทนที่ด้วยเสียงเพลงปลุกใจให้คนไทยรักชาติ และตามด้วยประกาศของคณะรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้ง
2.ประชาชนเกิดความสับสนเพราะระบบการเมืองการปกครองเปลี่ยนไปมาตลอด 75 ปีมานี้ การด่าทอ การโจมตีกล่าวหาฝ่ายประชาธิปไตยว่าทำให้ฝ่ายทหารต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศยิ่งทำให้ประชาชนสับสน
3.ระบบการศึกษาไม่เคยให้ความรู้เรื่องการเมืองการปกครองแก่นักเรียนและนักศึกษาอย่างจริงจัง
4.ระบบการปกครองทับซ้อนกัน ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบอย่างชัดเจน แต่ละท้องถิ่นมีทั้งอบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดอำเภอ นายอำเภอ เทศบาล อบจ. ปลัดจังหวัด ผู้ว่าฯ ข้าราชการสายต่างๆ ส่งมาจากส่วนกลาง บุคคลเหล่านี้อยู่ไม่นานก็ย้าย ระหว่างที่อยู่ ผลงานก็ไม่ชัดเจน
5.อปท.มีงบประมาณจำกัด อำนาจก็มีจำกัด วัดเป็นของกรมศาสนา ถนนเป็นของกรมทางหลวง แม่น้ำลำคลองเป็นของกรมชลประทาน ฝ่ายเกษตรดูแลการเพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์ โรงเรียนเล็กๆ เป็นของท้องถิ่น นอกนั้นเป็นของกระทรวงที่กรุงเทพฯ ป่าไม้เป็นของกระทรวงทรัพยากร ตำรวจเป็นของส่วนกลาง ประชาชนไม่ได้เรียนสิ่งเหล่านี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยยังไม่รู้เรื่องสิ่งเหล่านี้
เพียงแต่จะรับรู้ว่าหน่วยงานใดดูแลรับผิดชอบปัญหาใด ก็เป็นคำถามใหญ่ที่ไม่แน่ใจว่าใครจะตอบได้ มีแต่คนพูดว่า จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูแลแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุนี้ ปัญหาจึงสะสมหมักหมมมากขึ้นๆ
ผู้ว่าฯ เป็นตำแหน่งที่สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด บางคนไปไกลถึงว่า ‘ต่างพระเนตรพระกรรณ’ แต่ที่ผ่านมาแทบไม่มีใครเคยพบเห็น ภารกิจหลักดูเหมือนจะเป็นการรับรองแขก การไปต้อนรับข้าราชการที่มาจากส่วนกลาง และการไปเป็นประธานเปิดงานต่างๆ ถ้าไม่ตีฆ้อง ก็ตัดริบบิ้น และกล่าวเปิดงานสั้นๆ โดยไม่เคยอยู่ตลอดงาน บอกว่ามีภารกิจมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าภารกิจของผู้บริหารจังหวัดคืออะไร
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงไม่เคยเกิดขึ้นตลอด 90 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นการเมืองที่ล่องลอยบนท้องฟ้า ประชาชนไทยไม่เคยได้สัมผัสอย่างจริงจัง การหาเสียงอย่างดุดันของนักการเมืองผู้สมัครตำแหน่งต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ แล้วก็หายไป แทนที่ด้วยเสียงเพลงปลุกใจให้คนไทยรักชาติ และตามด้วยประกาศของคณะรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้ง