วิรัตน์ วรศสิริน
August 27
8 ปีประยุทธ์ เทียบเคียง 2 มาตรา
มาตรา 262 (บทเฉพาะกาล)
“ให้คณะองคมนตรีซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
_ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรี ดำรงตำแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จากการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2541 ต่อเนื่องมาถึงแก่อสัญกรรมปี 2562 รวมเป็นเวลา 21 ปี โดยไม่จำเป็นต้องโปรดเกล้าฯใหม่หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560
ดังนั้นกรณีพลเอกเปรมนี้ จึงชัดเจนไม่จำเป็นต้องตีความ เป็นการดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีรวมกันแล้ว 21 ปี
มาตรา 264 (บทเฉพาะกาล)
“ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
_ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จากการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2557 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลา 8 ปี
ดังนั้น เมื่อเทียบเคียงกรณีพลเอกเปรมฯแล้ว พลเอกประยุทธ์ฯจึงได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมกันแล้ว 8 ปี เป็นที่ชัดเจนทั้งตัวหนังสือที่ใช้คำว่า ‘วันก่อนวัน’
แต่ถ้ารัฐธรรมนูญ(บทเฉพาะกาล)เขียนว่า
“ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่’ในวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
_คณะรัฐมนตรี ‘ในวัน’ที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็คือคณะฯที่อยู่ในวันที่ 6 เม.ย.60 ก็จะสิ้นสุดปี 68’
และถ้าหากรัฐธรรมนูญ(บทเฉพาะกาล)เขียนว่า
“ให้คณะรัฐมนตรีที่’เข้า’บริหารราชการแผ่นดิน ’หลังวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
_คณะรัฐมนตรีที่’เข้าหลังวัน’คือคณะฯที่ได้รับโปรดเกล้าฯในวันที่ 9 มิ.ย.2562 ก็จะสิ้นสุดปี 70’
ดังนั้น ตามความเห็นผม ความเป็นรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ฯในฐานะนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุด 8 ปี วันที่ 24 ส.ค.2565 ครับ
August 27
8 ปีประยุทธ์ เทียบเคียง 2 มาตรา
มาตรา 262 (บทเฉพาะกาล)
“ให้คณะองคมนตรีซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะองคมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
_ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ประธานองคมนตรี ดำรงตำแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จากการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2541 ต่อเนื่องมาถึงแก่อสัญกรรมปี 2562 รวมเป็นเวลา 21 ปี โดยไม่จำเป็นต้องโปรดเกล้าฯใหม่หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560
ดังนั้นกรณีพลเอกเปรมนี้ จึงชัดเจนไม่จำเป็นต้องตีความ เป็นการดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีรวมกันแล้ว 21 ปี
มาตรา 264 (บทเฉพาะกาล)
“ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “
_ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งอยู่ใน’วันก่อนวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ จากการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2557 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลา 8 ปี
ดังนั้น เมื่อเทียบเคียงกรณีพลเอกเปรมฯแล้ว พลเอกประยุทธ์ฯจึงได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมกันแล้ว 8 ปี เป็นที่ชัดเจนทั้งตัวหนังสือที่ใช้คำว่า ‘วันก่อนวัน’
แต่ถ้ารัฐธรรมนูญ(บทเฉพาะกาล)เขียนว่า
“ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่’ในวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
_คณะรัฐมนตรี ‘ในวัน’ที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็คือคณะฯที่อยู่ในวันที่ 6 เม.ย.60 ก็จะสิ้นสุดปี 68’
และถ้าหากรัฐธรรมนูญ(บทเฉพาะกาล)เขียนว่า
“ให้คณะรัฐมนตรีที่’เข้า’บริหารราชการแผ่นดิน ’หลังวัน’ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
_คณะรัฐมนตรีที่’เข้าหลังวัน’คือคณะฯที่ได้รับโปรดเกล้าฯในวันที่ 9 มิ.ย.2562 ก็จะสิ้นสุดปี 70’
ดังนั้น ตามความเห็นผม ความเป็นรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ฯในฐานะนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุด 8 ปี วันที่ 24 ส.ค.2565 ครับ