วันอังคาร, กันยายน 13, 2565

ชื่อและหน้าตาของผู้พิพากษา นายวัฒนพล ไชยมณี ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่พิพากษาจำคุก 2 ปี น้องนิว จตุพร คดี ม.112 จากการแต่งชุดไทย แล้วถูกกล่าวหาว่า #แต่งกายเลียนแบบราชินี คำตัดสินของนายวัฒนพล ไชยมณี ผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพฯใต้ ได้กระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ?


นายวัฒนพล ไชยมณี


Thanapol Eawsakul
12h

น่าสนใจว่าคำตัดสินของนายวัฒนพล ไชยมณี ผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพฯใต้ ได้กระทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และถ้าการตัดสินเช่นนี้ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจะต้องรับผิดชอบเช่นไร
ข่าวจากประชาไท
ศาลพิพากษาจำคุก ‘นิว จตุพร’
คดีม.112แต่งชุดไทย 3 ปี ไม่รอลงอาญา
อ้างล้อราชินีทำให้ตลกขบขัน
https://prachatai.com/journal/2022/09/100479
อ่านความเห็นแย้งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5475816889177018&id=100002462825367
การแต่งกายชุดไทย ต่อให้จงใจให้คล้ายบุคคลใด หากไม่มีการกระทำอื่นใดประกอบ ก็ไม่ใช่การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย
เป็นที่น่าสงสัยมากว่าเพียงการแต่งกายชุดไทยจะเป็นการ “ล้อเลียน” ได้อย่างไร และการ “ล้อเลียน” (หากเป็น) นั้นจะเป็นการดูหมิ่นที่หมายถึงการเหยียดหยามได้เพราะเหตุใด เพราะเมื่อพิจารณาตามตรรกะ การแต่งกายนั้นหากคล้ายคลึงจริง ย่อมไม่อาจเป็นการเหยียดหยามบุคคลผู้เป็นต้นแบบแห่งการแต่งกายนั้นไปได้
การพิพากษาของศาล โดยเฉพาะในคดีอาญาไม่ใช่การตัดสินความรับผิดเฉพาะของคู่ความเท่านั้น แต่เป็นการสื่อสารของรัฐต่อประชาชนว่าการกระทำใดที่เข้าองค์ประกอบของความผิด และต้องห้ามตามกฎหมาย การให้เหตุผลจึงต้องชัดเจน กระจ่างแจ้ง สมเหตุสมผล และน่าเชื่อถือ หาไม่แล้วความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาลจะสั่นคลอนและพังทลาย และนั่นคือวิกฤติต่อความมั่นคงของชาติที่แท้จริง หาใช่สั่นคลอนเพราะการแต่งชุดไทย หรือชุดใดไม่
ทั้งนี้ ศาลพึงต้องทำความเข้าใจว่าการแปลความมาตรา 112 นอกจากจะต้องทำตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ศาลต้องตีความให้มาตราดังกล่าวไปในทางที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิในการแสดงออกโดยสุจริตของประชาชน และรับรองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบ ”ประชาธิปไตย” ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขด้วย หาไม่แล้วจะเป็นการใช้มาตรา 112 ไปในทางที่ขัดแย้งและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและต้องสิ้นผลไป
คำถามที่ประชาชนมีในตอนนี้จึงไม่ใช่การตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของการคงอยู่ของมาตรานี้ แต่เป็นความเหมาะสมและความถูกต้องในการทำหน้าที่ของผู้พิพากษา ดังนั้นหากไม่มีเหตุผลพิเศษเฉพาะ หรือมีการกระทำอื่นใดของจำเลยที่ทำให้เป็นความผิดตามมาตรา 112 นอกจากการแต่งกาย ศาลควรเปิดเผยรายละเอียดของคดี และเหตุผลที่ศาลใช้ว่าทำไมการแต่งกายคล้ายคลึงจึงเป็นการดูหมิ่น เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าการตัดสินคดีของศาลยังคงชัดเจน น่าเชื่อถือ สมเหตุสมผล และสมควรได้รับการเคารพต่อไป