ก่อนจะมี 30 บาท คนก็ให้เหตุผลในการโต้แย้งแบบนี้แหละ ทำไมรัฐต้องเอาเงินไปจ่ายเพื่อรับผิดชอบสุขภาพของ ปชช บลาๆๆๆ#ล้างหนี้กยศ
— ✊Sir Dogtor Common 🌹 #ปล่อยทุกคน #ปล่อยเพื่อนเรา (@WeAre99Percentt) August 17, 2022
คนสนับสนุนการเรียนฟรี แต่ต่อต้านแคมเปญล้างหนี้กันเยอะจัง ปัญหาคืออะไร? ปัญหาคือคุณมองว่ามันไม่แฟร์ที่คุณพยายามหาเงินมาจ่ายหนี้ได้ แต่บางคนยังใช้หนี้ไม่จบ คนอื่นจึงควร struggle ต่อไป?
— แบมบี้ #รื้อระบอบอำนาจนิยม (@bamthk) August 17, 2022
เอ้า นึกว่าอยากได้สังคมที่แฟร์ขึ้น แต่พอจะล้างหนี้ให้คนลำบากที่เคยกู้ยืมดันงอแง https://t.co/q3GUBVjgmX
ถ้าทำนั่นนี่ไม่ได้เพราะไม่แฟร์กับคนก่อนหน้า:
— UP Nㄱㄱ (@UUUPPP11) August 17, 2022
-มีประชาธิปไตยไม่ได้ ไม่แฟร์กับคนอยู่ยุคเผด็จการ
-มี 30 บาทไม่ได้ ไม่แฟร์กับคนที่ป่วยตายไปก่อน
-มีเบี้ยคนชราไม่ได้ ไม่แฟร์กับคนแก่ที่ตายไปแล้ว
-สมรสเท่าเทียมไม่ได้ ไม่แฟร์กับคู่รักที่ถูกกีดกันกดขี่จากกฎหมายสมัยก่อน ฯลฯ
ศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการ was live.
May 31
“เปิดเทอม โศกนาฏกรรมความเหลื่อมล้ำ: ล้างหนี้ กยศ. เรียนฟรีตลอดชีพ ข้อเสนอเพื่อคน 99%”
วันนี้ (31 พ.ค. 2565) เวลา 20.00 น. บนเพจ Facebook ศูนย์วิจัยรัฐสวัสดิการ
ในสายตาของนักการศึกษา รวมไปถึงนโยบายหลายท่าน กองทุนดังกล่าวดูเหมือนจะเป็น “ทางออก” ที่จะทำให้ผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เข้าถึงโอกาสในการศึกษาได้ อย่างไรก็ดี “ทางออก” ดังกล่าวกลับแลกมาด้วย “หนี้” ที่เป็นทั้งภาระทางเศรษฐกิจ ชีวิต และศีลธรรม ที่พวกเขาต้องแบกไว้ ภาพที่สวยหรูว่า การศึกษาจะมอบโอกาสและเสรีภาพให้แก่ชีวิตหลังเรียนจบถูกทำลายเพราะผู้เรียนไม่เพียงแต่จะถูกพันธนาการด้วยหนี้การศึกษา และหนี้การศึกษายังเป็นตัวตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอีกด้วย
พบกับ
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล และ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี