วันอังคาร, สิงหาคม 30, 2565

แฉรัฐประยุทธ์ 8ปี สั่งอุ้มฆ่าผูู้ลี้ภัยการเมือง



แฉรัฐประยุทธ์ 8ปี สั่งอุ้มฆ่าผูู้ลี้ภัยการเมือง

byKANOKWAN KANKAW
August 28, 2022
Prakaifai


ภาพโดย ไข่แมวชีส

แฉรัฐไทย สั่งอุ้มฆ่าผู้ลี้ภัย ธิษะณา ชุณหะวัณ ขอโทษครอบครัวหะหยีสุหรง ในฐานะที่ทวดและลุงเขยคุณพ่อมีส่วนต่อการอุ้มฆ่าหะหยีสุหรง

30 สิงหาคม วันผู้สูญหายสากล คือวันรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ ในประเทศไทยปี 2565 แอมเนสตี้-ประเทศไทย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม คณะราษฎรยกเลิก 112 ร่วมกันจัดงานรำลึกผู้สูญหายสในประเทศไทยขึ้นที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ระหว่างเวลา 16.00-19.00 โดยมีญาติและครอบครัวผู้สูญหายหลายคนมาร่วมงาน การแสดงนิทรรศการ ปาถกถา และ เสวนาในหัวข้อ คนต้องไม่สูญหาย กฎหมายต้องเป็นธรรม

อังคณา นีละไพจิตร สมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหาย สหประชาชาติ ได้ปาฐกถาว่า การบังคับสูญหายของบุคคลทั่วโลก ปัจจุบันอยู่ในการดูแลกว่า 60,000 ราย จนถึงทุกวันนี้ คณะทำงานนี้เป็นช่องทางด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างรัฐบาล และผู้สูญหาย ที่ผ่านมาคณะทำงานฯสามารถชี้แจงถึงรายละเอียดของการถูกบังคับให้สูญหายได้มากถึง 13,000 กรณี สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันให้อนุสัญญาห้ามกระทำให้บุคคลสูญหายของสหประชาชาติ อาชญากรรมนี้ไม่ได้มีผลทำให้คนหายไป แต่ยังทำให้คนที่มีชีวิตอยู่เหมือนตายทั้งเป็น สิ่งที่ครอบครัวต้องเผชิญทุกลมหายใจ คือ ความคลุมเครือของการสืบสวน การต่อสู้แม้เต็มไปด้วยความพ่ายแพ้และเจ็บปวด แต่สักวันหนึ่งความจริงจะถูกเปิด ผู้กระทำผิดจะไม่มีที่หลบซ่อน และความยุติธรรมจะกลับมา”

ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ กล่าวว่า มีศพโผล่ที่แม่น้ำโขง 3 ศพ แต่อีกหนึ่งศพหายไป ซึ่งน่าจะเป็น สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หลังจากสุรชัย หายตัวไป ปราณี ต้องชดใช้ภาระการชำระหนี้เงินค่าประกันตัวของสุรชัยในคดีการชุมนุมที่พัทยา เป็นจำนวนถึง 500000 บาท ซึ่งขณะนี้ไม่มีรายได้ ต้องดิ้นรนหายืมเงินมาชำระในส่วนนี้ สร้างคงวามยากลำบากให้กับเธอจนถึงทุกวันนี้

อัญชนา หีมมิหน๊ะ อภิปรายว่า พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและอุ้มหายต่อให้กฎหมายฉบับดังกล่าว สามารถใช้ได้ แต่หากเจ้าหน้าที่รัฐยังมีแนวความคิดแบบเดิม ด้วยความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ กฎหมายนี้ก็ไร้ความหมาย

สมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้นำเสนอถึง การอุ้มฆ่าผู้ลี้ภัยการเมือง 9 คนที่เกิดจากรัฐประหาร 2557 ซึ่งระบุว่าเป็นฝีมือการอุ้มฆ่าโดยรัฐไทย นับตั้งปี 2475 จนถึงปัจจุบันรัฐที่ถูกเรียกว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการอุ้มฆ่า เป็นการใช้ความรุนแรงขั้นสูงสุดกระทำต่อ ประชาชนที่ต่อต้านเผด็จการ การอุ้มฆ่าที่กระทำระหว่างประเทศ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐในการแลกเปลี่ยนผู้ลี้ภัย ทำให้สามารถส่งทีมอุ้มฆ่าเข้าไปสังหารผู้ลี้ภัยการเมืองที่ลาวและกัมพูชาได้ ทั้งนี้จะได้มอบหลักฐานที่รวบรวมได้ให้กับสส.เบญจา แสงจันทร์ หากได้เป็นรัฐบาลสมัยหน้าจะได้ทวงคืนความยุติธรรมให้กับผู้สูญหายต่อไป

ส.ส.เบญจา แสงจันทร์ กล่าวว่าการอุ้มหายเป็นปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นยาวนาน ใช้เวลากว่า 15 ปีในการผ่านกฎหมายป้องกันการทรมานและอุ้มหาย ซึ่งหากกฎหมายไม่ผ่าน จะต้องมีคนได้รับผลกระทบต่อไป “เราต้องไม่ปล่อยวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดอีกต่อไป ซึ่งเราจะทำโดยลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยประชาชนในการช่วยผลักดันให้สามารถสู้ต่อไปได้ “

หลังการอภิปรายได้ ได้มีการจุดเทียนถือรูปภาพผู้สูญหาย 12 คน และได้อ่านบทกวี ร้องเพลง นักสู้ธุลีดิน รำลึกถึงผู้สูญหายเนื่องในโอกาสวันผู้สูญหายสากล

ด้านธิษะณา ชุณหะวัณ ซึ่งร่วมการอ่านบทกวีได้กล่าวปิดงานเล่าถึง การอุ้มฆ่า หะหยีสุหรง เมื่อปี 2497 ทั้งนี้ได้กล่าวคำขอโทษครอบครัว หะยีสุหลงอีกครั้ง เพราะการหายตัวของคุณหะยีสุหลง ได้หายไปในช่วงสมัยของการรัฐประหารโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ ทวดของดิฉัน และอธิบดีกรมตำรวจในเวลานั้นคือ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงเขยของคุณพ่อ


ธิษะณา ชุณหะวัณ ผู้สมัครสส.ก้าวไกล จ.กรุงเทพ กล่าวคำขอโทษต่อครอบครัวหะหยีสุหรง (ภาพโดยไข่แมวชีส)