วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 25, 2565

#ม็อบ24สิงหา65 : คำวินิจฉัย #นายก8ปี ฉบับประชาชน ไม่ใช่แค่ ่ประยุทธ์ ่ ไม่อยู่ต่อ แต่ที่สืบทอด คสช.มาต้องไปหมด


ประชาไท Prachatai.com
9h
ประชาชนหลากหลายกลุ่มแสดงจุดยืนว่านอกจาก "ประยุทธ์" จะไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นนายกฯ มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ศาล รธน.รวมถึงพวกพ้องที่สืบทอดอำนาจมาตั้งแต่ คสช.ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปด้วย
อ่านต่อ https://prachatai.com/journal/2022/08/100190
.....

iLaw
11h
#ม็อบ24สิงหา65 : คำวินิจฉัย #นายก8ปี ฉบับประชาชน
.
.
วันที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 16.00 น. ที่ศาลฎีกา คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือ ครช. จัดกิจกรรมเปิดคำวินิจฉัยฉบับประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมเช่น อนุสรณ์ อุณโณ ตัวแทนครช.และอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จีรนุช เปรมชัยพร เครือข่าย CALL และธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน
.
เวลาประมาณ 16.00 น. ตัวแทนอ่านคำวินิจฉัยฉบับประชาชน จากนั้นมีการแสดงความเห็นจากตัวแทน เช่น จีรนุช กล่าวว่า แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็วางใจไม่ได้ เนื่องจากคาดว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จะเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งไม่ใช่ชัยชนะของประชาชน การจะบอกว่า หมดเวลาประยุทธ์คงจะไม่พอ แต่จริงๆคือ หมดเวลาคสช. การพยายามที่จะสืบทอดอำนาจของคสช.ให้นานกว่าแปดปีเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ในรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2560 จำกัดการดำรงตำแหน่งแปดปีของนายกรัฐมนตรี เอาเข้าจริงแล้วเธอยังไม่สามารถบอกได้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเพราะสิ่งเหล่านี้ถูกเขียนโดยรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากประชาชนแต่มาจากคณะรัฐประหารทั้งสองฉบับ
ที่ตลกร้ายคือ การจำกัดเวลาเช่นนี้คือ การแก้มือที่จะปิดทางให้ผู้ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนไม่สามารถอยู่ในอำนาจได้ยาวนาน แต่ย้อนศรกลับมาเข้าทางรัฐบาลปัจจุบันแทน อย่างไรก็ตามที่บอกว่า คำสั่งดังกล่าวยังไม่ควรสบายใจคือ มติของตุลาการที่ออกเสียง 5 ต่อ 4 ซึ่งหมายความว่า ยังมีอีก 4 คนที่เห็นว่า พลเอกประยุทธ์สมควรหยุดปฏิบัติหน้าที่ระหว่างนี้ ยังไม่รวมถึงคำวินิจฉัยออกมา เป็นลักษณะของการลดอุณหภูมิทางการเมืองที่รู้สึกโกรธ ที่สนน่าใจคือ คนในฝั่งที่เคยสนับสนุนรัฐประหารก็กล่าวในทางเดียวกันว่า พลเอกประยุทธ์คงต้องไปเสียที แต่อย่าชะล่าใจกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไป
.
.
อนุสรณ์ อุณโณ กล่าวในสามประเด็นหลักคือ หนึ่ง วันนี้ประชาชนมาเผชิญกับโจทย์การดำรงตำแหน่งแปดปีโดยอาศัยการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำไมเราถึงจำเป็นจะต้องมาเจอกับโจทย์เช่นนี้ ทั้งที่ภูมิหลังของพลเอกประยุทธ์เริ่มจากการรัฐประหาร แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการทำตัวประหนึ่งว่า ตนเองนั้นมาอย่างถูกต้อง แต่เราก็เห็นว่า การเลือกตั้งไม่ได้บริสุทธิ์ยุติธรรม มีการตั้งพรรคการเมืองที่อิงกับนโยบายรัฐสมัยคสช. พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามถูกกดดันต่างจากพรรคพลังประชารัฐที่ดันพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มา กระบวนการขั้นตอนไม่ได้ถูกต้องมาตั้งแต่แรก จึงไม่มีความจำเป็นอันใดเลยที่จะต้องมานั่งตีความกันว่า เขาควรจะอยู่ในตำแหน่งหรือไม่
.
สอง ประยุทธ์พูดชัดว่า ตัวเองเคารพกฎหมาย ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอะไรออกมาตัวเองก็พร้อมรับ แต่เชื่อไม่ได้เพราะเขาทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ คำถามต่อมาคือ เราจะอิงอาศัยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่เดิมทีศาลนี้ออกแบบมาเพื่อถ่วงดุลอำนาจ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถึงแม้ว่าจะมาจากการเลือกของส.ว. แต่เวลานั้นส.ว.มาจากการเลือกตั้ง เดิมทีศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้แผลงฤทธิ์อะไรแต่หลังจากที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สิ่งที่ถูกหยิบใช้และกลายมาเป็นตุลาการวิบัติขึ้นมาคือการใช้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขจัดคู่แข่งทางการเมืองมาตลอด เราเห็นการวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมือง หลังจากนั้นเป็นต่อมาต่อให้มีการรัฐประหารก็ยังคงรักษาศาลรัฐธรรมนูญไว้ คำถามคือ ศาลรัฐธรรมนูญยังมีความชอบธรรมในการตีความหรือไม่ ซึ่งคิดศาลไม่มีสิ่งนั้น
.
และสาม รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นฐานชอบธรรมในการวินิจฉัยหรือไม่ เนื่องจากความไม่ชอบธรรมของการร่าง เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของคสช. ในตอนทำประชามติ ผู้ที่คัดค้านถูกดำเนินคดีจำนวนมาก ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเราจะอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ในการวินิจฉัยได้หรือไม่
.
.
ในตอนท้ายอนุสรณ์กล่าวว่า วันนี้เราจะไม่รอให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดจึงออกคำวินิจฉัยฉบับประชาชนเราจำเป็นต้องชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาเครือข่ายชนชั้นนำอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของคสช. อย่างไรและเราต้องไม่ตกเป็นเหยื่อ หรือรู้ไม่เท่าทันกับเกมนี้ด้วยการลงไปเล่นกับกติกาที่เขาวางไว้ วันนี้เราต้องยืนยันอย่างหนักแน่นถึงความชอบธรรมของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, ศาลรัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรม ไม่ยึดโยงกับประชาชน เป็นเครื่องมือในการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและแม้ว่าจะต้องอาศัยรัฐธรรมนูญ 2560 ในการตีความก็จริงแต่เราต้องไม่พอใจแค่นี้ เราต้องคิดถึงการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีกลไกที่เป็นหลักประกันในเรื่องการตรวจสอบและถ่วงดุล
.
.
นอกจากการแสดงความเห็นจากแทนแล้วยังมีกิจกรรมให้ประชาชนเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนและเผาดอกไม้จันทน์เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
อ่านทั้งหมด : https://www.mobdatathailand.org/case-file/1661338762490/