วันพุธ, สิงหาคม 31, 2565

เรื่องการหลับนอนกับพระเจ้าแผ่นดิน เธรดเบิกเนตร การถวายตัวของนางสนมนั้นมีจารีตอย่างไร 👯 มารู้จัก "ท่าพับเป็ด"ของผู้หญิงเป็นท่าแรก และท่าบังคับตามจารีตประเพณี หลังจากนั้นแล้วแต่นิยมส่วนพระองค์


สร้อยอุบล - เจ้าจันทร์ยอดฟ้า 
@ParmitaNissa

"พับเป็ด" ที่ไม่ใช่การเอากระดาษมาพับเป็นเป็ด แต่เป็นเรื่องทีเด็ดในคืนถวายตัว . วันนี้เราจะมาดูกันค่ะ ว่าการถวายตัวของนางสนมนั้นมีจารีตอย่างไร แต่บอกก่อนว่าต้องถึงกับฝึกยิมนาสติกทีเดียวเชียวค่ะ 

ที่มาเธรด https://twitter.com/ParmitaNissa/status/1564582426227376128

ในการหลับนอนกับพระเจ้าแผ่นดินเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดแบบแผนไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่เรื่องของสถานที่ เนื่องจากผู้ที่เป็นกษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถบรรทมใต้นภปดลเศวตฉัตรซึ่งแขวนอยู่เหนือพระแท่นบรรทมได้ ผู้อื่นมิสามารถอยู่ใต้ร่มของพระมหาเศวตฉัตรนั้นได้

พิทยา บุนนาค (2552) กล่าวว่า ภายในห้องพระบรรทมจะมีพระแท่นรอง ใช้เวลานางทั้งหลายเข้าถวายงาน เท้าจะชี้ไปที่พระแท่นก็ไม่ได้ จึงมีท่ากามสูตรที่จะเก็บเท้าไม่ให้ชี้ ผู้หญิงมีตระกูลที่จะถวายตัว ต้องฝึกท่าที่คล้ายคลึงกับท่าโยคะบางท่าตั้งแต่เล็ก

บรรดาหญิงสาวต้องผ่านการล้าง และอบร่ำอวัยวะเพศอย่างพิถีพิถัน และท่าแรกในการถวายตัวคือ พนมมือนอนหงายใน "ท่าพับเป็ด" เพื่อไม่ให้ตีนของหญิงที่กษัตริย์กำลังทรงร่วมเพศไปสัมผัสพระวรกายของพระเจ้าแผ่นดิน

เพราะตามคติความเชื่อชาวสยามแล้ว ตีนเป็นของต่ำที่จะไม่สามารถถูกหรือสัมผัส พระเจ้าแผ่นดินซึ่งประหนึ่งเทพเจ้าอันสูงสุดได้แม้แต่เพียงพระบาทของพระองค์

"ท่าพับเป็ด" ของผู้หญิงจึงกลายเป็นท่าแรก และท่าบังคับตามจารีตประเพณี แต่ท่าร่วมเพศหลังจากนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับพระราชนิยมส่วนพระองค์ (เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)

แต่ถึงกระนั้นบางท่าบางลีลาน่าเป็นท่าต้องห้าม เพราะในสังคมสยามที่เชื่อถือกันมายาวนานว่าศีรษะหรือผมเป็นของสูง ห้ามให้ผู้อื่นไปสัมผัสอวัยวะดังกล่าว

หรือแม้แต่การเอื้อมมือกรายข้าม หรือการสัมผัสลอมพอกก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการดูถูกดูแคลนอย่างมหันต์ (มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์, สันต์ ท.โกมลบุตร, ผู้แปล, 2548, น. 180)

ส่วนพระแท่นบรรทมของกษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 4 ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน มีลักษณะ 4 เสา มีโครงหลังคาทำด้วยไม้ฉลุ มีที่พำนัก 3 ด้าน ขึ้นลงได้ด้านเดียว ซึ่งเป็นอิทธิพลจากราชสำนักจีน

ด้านหน้าพระแท่นบรรทมพบว่ามีเตียงขาคู้ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "พระแท่นลด" มีความสูงลดต่ำลงมา ประมาณ 1 ศอก เพื่อให้บาทบริจาริกาถวายงาน และเพื่อไม่ให้นางในที่ถวายงานอยู่ใต้พระมหาเศวตรฉัตรด้วย (เผ่าทอง ทองเจือ, 2552)

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชนชั้นสูงสยามได้รับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นพระแท่นบรรทม จึงมีหัวเตียงปลายเตียง ขึ้นลงได้ 2 ทาง ซ้ายและขวา เห็นได้จากพระแท่นบรรทมในพระที่นั่งอัมพรสถาน และทั้งด้านซ้ายและขวาของพระแท่นบรรทมจะเป็นเตียงลดต่ำลงมาทั้งสองข้าง

ภาพนี้คือตัวอย่างท่าพับเป็ด แต่เปลี่ยนให้เป็นมือพนมค่ะ . งานโยคะต้องเข้าละค่ะทีนี้ ไม่งั้นหลังหักนะแม่เอ๊ยยยย