วันพุธ, สิงหาคม 31, 2565

ทำไมสังคมไทย ไม่เป็นมิตรต่อผู้เสียหายคดีข่มขืน เหยื่อของคดีล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นฝ่ายรับ ทำไมสังคมไทยกล่าวโทษผู้เสียหาย มากกว่าตั้งคำถามต่อผู้กระทำ


"ดาราสาว" ชี้ว่า ถูก "หลานอดีตรัฐมนตรี" มอมยา-ข่มขืน

สังคมที่กดดัน...ให้ผู้หญิงปิดปากเงียบ

กระแส “Me Too” ที่เกิดขึ้นและดับลงในไทยเป็นวงจรซ้ำไปมา โดยครั้งล่าสุดที่เริ่มเห็นชัดเจน คือ กรณีนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย ลวนลาม และข่มขืน แต่มาถึงตอนนี้ กระแสเรียกร้องความยุติธรรมเริ่มหายไปจากหน้าสื่อ แม้นายปริญญ์กำลังเผชิญคดีหลายกระทง

ดร.ชเนตตี ทินนาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญประเด็นเพศสภาพและเพศวิถี เคยให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยว่า มีผู้หญิงเพียงหยิบมือที่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะผู้หญิงไม่รู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเป็นมิตร และช่วยเหลือผู้หญิงได้จริง


ดร.ชเนตตี ทินนาม

ในสังคมไทย ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของคดีล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นฝ่ายรับ มักถูกตำหนิว่าไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือว่าเปิดโอกาสให้อีกฝ่าย หรือสมยอมเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงินหรือทางการเมือง และหลายคนก็ถูกกล่าวหาว่าต้องการไต่เต้าไปสู่ระดับการงานที่สูงกว่า

"สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่ามันมีแต่เสียเปรียบในกระบวนการยุติธรรม เพราะชื่อเสียงของผู้หญิงไม่เคยได้รับการปกป้องในเชิงศักดิ์ศรีเลย” ดร.ชเนตตี กล่าว

ผู้ก่อตั้งองค์กรชีโร่ อธิบายว่า ไม่เพียงระบบตุลาการ และการซักถามผู้เสียหายคดีข่มขืนของเจ้าหน้าที่สอบสวนที่ขาดความเข้าใจ จนกลายเป็นซ้ำเติมผู้ถูกกระทำ แต่การนำเสนอของสื่อ และความคิดเห็นในโลกสังคมออนไลน์ เป็นอีกปัจจัยที่ “เหยียบให้ผู้เสียหายปิดปากเงียบลงเรื่อย ๆ” ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ผู้ใช้สังคมออนไลน์
  • ตั้งคำถามกับผู้ถูกกระทำเป็นหลัก อาทิ ทำไมไม่ดูแลตัวเอง ทำไปไปดื่มกับคนแปลกหน้า เป็นต้น
  • ทำตัวเป็นนักสืบออนไลน์ จ้องจับผิด ขุดคุ้ยประวัติ
  • แม้จะไม่ได้เชื่อผู้เสียหาย 100% แต่สังคมไม่ใช่ศาลเตี้ยว่าใครผิดถูก จึงควรแสดงความเห็นด้วยความเข้าใจ

บทบาทของสื่อ

  • เวลารายงานเรื่องความรุนแรงที่มีต่อเพศ หรือการข่มขืน สื่อนำเสนอรายละเอียดที่ไม่พิทักษ์ศักดิ์ศรีและละเมิดสิทธิของผู้เสียหาย อาทิ “ผู้เสียหายโดนอะไรยัดเข้าไปในอวัยวะเพศ” และนำจุดนี้มาเป็นพาดหัวข่าว
  • การรายงานที่ลงรายละเอียดพฤติการณ์การกระทำชำเรา ไม่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อบรรทัดฐานสังคม และไม่ใช่มาตรวัดของความยุติธรรม

“ผู้เสียหายคนหนึ่งต้องใช้พลังงาน กาย และใจมากเหลือเกิน" บุษยาภา

“ผู้เสียหายคนหนึ่งต้องใช้พลังงาน กาย และใจมากเหลือเกิน ในการลุกขึ้นมาพูดในสังคมแบบนี้ เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าเขาจะโดนกล่าวโทษ... แต่เขารวบรวมพลังชีวิตแล้วลุกขึ้นมาสู้” บุษยาภา กล่าว

เหตุผลเหล่านี้เองเกื้อหนุน “วัฒนธรรมข่มขืน” ให้คงอยู่ในสังคมไทย เพราะกลายเป็นสังคมที่ “เป็นมิตรกับผู้กระทำ” แทนที่จะ “เป็นมิตรกับผู้เสียหาย”

“มันเป็นการอนุญาตให้ผู้กระทำรู้สึกว่า ทำได้ ฉันจะทำ และฉันจะรอดด้วย”

ดังนั้น จุดเริ่มต้นสู่สังคมที่เป็นมิตรกับผู้เสียหายและผู้ถูกกระทำ อาจเริ่มจากการไม่ซ้ำเติม และหันมาตั้งคำถามให้มากขึ้นต่อผู้กระทำ เพราะ “ผู้เสียหายกำลังเดินเข้าไปในสนามรบที่มีหอกมากมาย พุ่งเข้ามาปัก เราจะทำยังไงที่ไม่ใช่ยื่นมีดให้เขาไปแทงคนอื่น แต่มีโล่กำบังไม่ให้เขาโดนไปมากกว่านี้”


อ่านบทความเต็ม ทำไมสังคมไทย (ยัง) ไม่เป็นมิตรต่อผู้เสียหายคดีข่มขืน
ที่มา บีบีซีไทย