วันอังคาร, พฤษภาคม 24, 2565

สนใจคะแนนสกลธีเป็นพิเศษ มาอันดับ 4 พูดได้มั้ยว่าการหาเสียงโหนสถาบันเต็มที่ ไม่ขลังอีกต่อไป ?


Karaland
12h

สนใจคะแนนสกลธีเป็นพิเศษ เพราะเป็นคนที่หาเสียงโดยการโหนสถาบันเต็มที่ ทั้งกรณีที่โพสต์หลังเรื่องลาซาด้า การให้เกลือเป็นต่อขึ้นไปพูดวันปราศรัย การที่ ศชอ. และหมอเหรี

ยญทอง ออกมาสนับสนุน แต่คะแนนยังมาที่ 4 พูดได้มั้ยว่าการหาเสียงทำนองนี้มันเรียกคะแนนไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
คนเค้ามองแล้วค่ะว่าการโปรยว่ารักสถาบัน มันไม่ได้ช่วยให้ปัญหามันหายไปค่ะ คนเค้าอยากได้คนแก้ปัญหา ไม่ใช่คนที่มานั่งพูดว่ารักสถาบันแต่นโยบายอื่นจับต้องไม่ได้ มันก็ไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตเค้าดีขึ้นค่ะ
กลุ่มพวกนี้คือ ฮาร์ด คอร์ ไม่ฟังอย่างอื่นแล้ว พร้อมใช้งานเมื่อมีบัญชา (รวมบังคับใช้ อย่างทหารเกณฑ์) สามารถรวมจำนวนเป็นแสนนี่ ยังถ่วงประเทศชาติเยอะอยู่

...

The Reporters
Yesterday

BKK VOTE: ‘สกลธี’ คะแนนนำในหน่วยเลือกตั้งเขตทหาร ชัชชาติ-วิโรจน์ ตามเป็นลำดับรอง ‘สุชัชวีร์’ รั้งท้าย
วันนี้ (22 พ.ค. 65) ที่หน่วยเลือกตั้งที่ 37 หน้ากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท ซึ่งเป็นหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่เขตทหาร ผลการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) มีดังนี้
1. นายสกลธี ภัททิยกุล 55 คะแนน
2. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 49 คะแนน
3. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร 28 คะแนน
4. พ.ท.หญิงฐิตา รังสิตพล มานิตกุล 14 คะแนน
5. พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง 6 คะแนน
6. นางสาวรสนา โตสิตระกูล 5 คะแนน
7. ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 3 คะแนน
...
"ผู้จงรักภักดี" กับ "เลือกเชิงยุทธศาสตร์" ที่ไม่เกิดขึ้นในขั้วรัฐบาล

ขณะที่นักวิชาการและนักการเมืองต่างระบุตรงกันว่า คะแนนเสียงที่ผู้สมัครขั้วรัฐบาลได้รับ สะท้อนว่าการรณรงค์ให้เลือกเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Voting) ไม่เกิดขึ้นจริง แม้ฝ่ายอนุรักษนิยมจะพยายามจะปลุกวาทกรรม "ไม่เลือกเรา เขามาแน่" เนื่องจากมี "เรา" อย่างน้อย 4 คนในขั้วรัฐบาล และไม่มีใครยอมเทคะแนนให้ใคร จนเกิดภาพที่ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด เรียกว่า "สลิ่มเสียงแตก"

เช่นเดียวกับความพยายามการ "ปลุกผีสองตัว" คือ "ผีทักษิณ" กับ "ผีอนาคตใหม่/ก้าวไกล" และปลุกใจ "ผู้จงรักภักดี" ให้เลือกผู้สมัครรายหนึ่งรายใดที่เป็น "คนดี" แต่ก็ยังไม่อาจรวมคะแนนเสียงของฝ่ายอนุรักษนิยมให้เป็นหนึ่งเดียวได้

ก่อนถึงวันเลือกตั้ง ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะ โดยแนะนำประชาชนสั่งสอนให้บทเรียนทั้ง พวกซ้ายจัด-ขวาจัด

ข้อเขียนของไพศาลระบุถึงพวกขวาจัดว่า "แอบอ้างว่าเป็นผู้จงรักภักดีแต่ผู้เดียว คนอื่นไม่จงรักภักดีและ เรียกร้องให้ประชาชนที่จงรักภักดีเลือกตัวเอง นี่คือการแอบอ้างโหนเจ้า ที่สร้างศัตรูให้เจ้า และสร้างความเสียหายร้ายแรงแก่สถาบัน..."

ส่วนพวกซ้ายจัดตามข้อเขียนของไพศาลคือ "ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับสถาบัน วัน ๆ ดูแคลนเหยียดหยามสถาบัน ถึงขั้นจะไม่ให้มีรูปพระมหากษัตริย์ในกรุงเทพฯ"

ชัยธวัช เลขาธิการ ก.ก. กล่าวว่า แคมเปญที่พยายามนำสถาบันฯ เข้ามาดึงคะแนนนิยมทางการเมือง น่าจะได้ผลน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะผ่านบททดสอบมาแล้วหลายปรากฏการณ์ อย่างการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขต 9 (จตุจักร-หลักสี่) จะเห็นว่าพรรคที่ชูเรื่องนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ความคิดของผู้คนก็เปลี่ยนไปตั้งแต่รัฐประหาร 2549 และ 2557 ทั้งจากประสบการณ์ที่เปลี่ยนไป ข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไป มีความคิดใหม่ ๆ เข้ามา แต่ก็ยังมีคนดึงเรื่องนี้มาปั่น

"ยิ่งความคิดคนเปลี่ยน แล้วคุณยังแคมเปญการเมืองในแบบความคิดเก่า สุดท้ายฝ่ายที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เสียหายมากที่สุด ก็คือสถาบันฯ เพราะในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งใหญ่ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. หรืออะไรก็แล้วแต่ คนเขาเลือกด้วยหลายเหตุผลหลายมุมมอง โดยไม่ได้ต้องไปอิงอยู่กับเรื่องสถาบันฯ แต่คุณกลับเอาสถาบันฯ มาวางเดิมพัน อันนี้มันเท่ากับว่าคนเขาจะเลือกจากนโยบาย จะเลือกจากการบริหาร แต่อยู่ดี ๆ คุณเอาสถาบันฯ เข้ามาเดิมพันกับการเลือกตั้งด้วย คำถามคือ คุณแคมเปญบอกว่า ถ้ารักสถาบันฯ เลือกเบอร์นี้ แล้วถ้าเบอร์นั้นแพ้ เท่ากับว่าคนส่วนใหญ่ไม่เลือกสถาบันฯ หรือเปล่า นี่คืออันตรายที่สุดของแคมเปญแบบนี้ ขอให้เลิกได้แล้ว" เลขาธิการ ก.ก. กล่าว

ที่มา บีบีซีไทย
https://www.bbc.com/thai/thailand-61550746