Neeraj Kim
Yesterday
ไม่มีมิตรแท้ในหมู่คนกรุงเทพอีกต่อไป
สิ่งที่น่าสนใจของการเลือกตั้งวันนี้ไม่ใช่ชัยชนะของชัชชาติ แต่เป็น ส.ก. ฝั่งประชาธิปไตย (พท/กก/ทสท) ซึ่งรวมเก้าอี้ได้มากถึง 37 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 74% ซึ่งน่าจะทำให้การทำงานของชัชชาตินั้นง่ายขึ้น และน่าจะผิดความคาดหมายของฝ่ายขวาที่อยากได้เกมนี้ขัดขวางการทำงานตลอดระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่ง
คำถามก็คือ คนกรุงเทพไม่สลิ่มแล้วจริงหรือ?
อยากอธิบายปรากฏการณ์นี้ผ่านมายาคติชุดหนึ่งที่เชื่อว่าคนเมืองหลวงเป็นคนเห็นแก่ตัว หลายครั้งที่คนกรุงเทพเอาแต่ใจในเรื่องการเมือง วาทกรรม "คนต่างจังหวัดเลือก คนกรุงเทพล้ม" น่าจะอธิบายบรรยากาศทางการเมืองเมื่อสิบกว่าปีก่อนได้ดี หลังจากที่ประยุทธ์รัฐประหารในวันที่ 22 พ.ค. 2557 ทุกคนเห็นแล้วว่าประเทศฉิบหายขึ้นเรื่อยๆ + การอยู่ในตำแหน่งของอัศวินนาน 5 ปี คนกรุงเทพตาสว่างแล้วว่าไม่มีอะไรให้พูดถึงนอกจากคลองโอ่งอ่าง
วันนี้คนกรุงเทพอยากจะลองของใหม่ และโอ้อวดอยู่ในใจว่าฉันนี่แหละจะสั่งสอนพวกแกเอง ไอ้พวกกลุ่มอำนาจเก่า
4.4 ล้านคนจากผู้มีสิทธิ โดยมีเพียง 1.7 ล้านที่เป็นคนรุ่นใหม่ และไม่แน่ใจว่าออกมาใช้สิทธิกันเยอะแค่ไหน (รอผล demographic อีกที) ถ้า ส.ก. 37 ที่นั่งเป็นผลงานของผู้มีสิทธิอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป + กาให้ชัชชาติด้วย พวกเขาอาจเข้าใจแล้วว่าการอดตายและวนอยู่กับที่เดิมๆ มันเป็นแบบไหน พวกเขาอาจชูเลข 3 แต่เข้าไปกาให้ 8 อาจยิ้มแห้งๆ เวลาเพื่อนบอกให้เลือก ปชป แต่เข้าไปกา พท เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็ถือว่าคนกรุงเทพหักหลังฝ่ายขวารุนแรงมาก และเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องถอดบทเรียนให้เร็วที่สุดสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพราะถ้าอยู่ต่อก็โดนอภิปราย ถ้ายุบสภาก็แพ้แน่นอน สมน้ำหน้ามัน
ตั้งแต่พอจะเข้าใจว่าการเมืองและผู้ว่าคืออะไร เราเห็นสมัครนั่งตีระนาดตรงลานเจษฎาบดินทร์ในวันพ่อทุกปี หลังจากนั้นกรุงเทพก็อยู่ในร่มเงาของฝ่ายขวามาตลอด ตั้งแต่อภิรักษ์จนถึงอัศวิน หรือพูดง่ายๆ ว่าตั้งแต่เกิดมา ยังไม่เคยเห็นผู้ว่ากรุงเทพที่มีความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในตำแหน่งเลย ซึ่งแน่นอนว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพไม่ได้เดือดร้อน พวกเขาสบายใจกับผู้ว่าชนชั้นกลาง ที่มาทำให้กรุงเทพเป็นเมืองสวรรค์ มากกว่าจะมาเอาใจคนรากหญ้าใน กทม พวกเขาไม่ค่อยพึ่งพิงสวัสดิการจากรัฐเท่าไหร่เพราะมีอยู่มีกินจากโอกาสที่มีมากกว่าเมืองอื่น แต่คราวนี้น่าจะสาหัสจริงๆ พวกเขาเริ่มมีแผลและความกลัวจากโรคระบาด หมดศรัทธาจากประยุทธ์ที่ตัวเองเอาเข้ามา รวมทั้งอยากเห็นผู้ว่าที่ดูฉลาดกว่าสุขุมพันธ์และอัศวิน
ตื่นเต้นกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่โดนแช่แข็งมาเกือบ 10 ปี อยากให้ 4 ปีนี้เป็นทางเลี้ยวไปสู่ความเจริญและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของเมืองนี้ ไม่ทอดทิ้งคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้ อยากให้ทุกคนเข้าใจว่าบรรยากาศประชาธิปไตยมันหายใจโล่งแค่ไหน อย่าให้เผด็จการมันมาพรากพื้นที่นี้ไปจากเราอีก
.....
Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
6h
คะแนน ส.ก. ทุกเขต แบ่งตามพรรค ใช้ผลคะแนนอย่างเป็นทางการจาก กกต. ค่ะ (แต่ กกต. ไม่ยอมทำให้ดูง่ายแบบนี้ อาสาสมัครเลยต้องรวมเอง ถถถ)
ถ้าเอาอันนี้ไปเทียบกับคะแนนเลือกผู้ว่าฯ แบ่งตามผู้สมัครแต่ละพรรค จะเห็นเลยว่าแทบทุกพรรค (ยกเว้นเพื่อไทย เพราะไม่ได้ส่งผู้สมัคร) มีคนใช้ “สูตรไขว้” ไปกาเลือกชัชชาติแทนที่จะกาเลือกผู้สมัครจากพรรคที่ตัวเองเลือก ส.ก. ไม่น้อยเลยทีเดียว
(ยกตัวอย่างเช่น พรรคก้าวไกล มีคนเลือก ส.ก. ก้าวไกล + ไม่ได้เลือกคุณวิโรจน์ เท่ากับ 482,832 - 253,851(คะแนนเสียงวิโรจน์) = 228,981 คน ซึ่งเดาว่าทั้งหมดนี้กาเลือกชัชชาติ)
แหล่งข้อมูล — https://drive.google.com/.../1sOUeUPryTJFPV8W9bUGpj1tO...
ตัวเลขจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กทม.
digitize โดยอาสาสมัคร Vote62
Atukkit Sawangsuk
5h
“ไม่เลือกเราเขามาแน่”
คนฝั่งประชาธิปไตยกลัวสลิ่มรวมหัวทำชัชชาติสอบตก จึงเทคะแนนให้
แต่อีกอย่างชัชชาติก็ชนะใจ fc ทุกพรรคในฝั่งประชาธิปไตย
(ไทยสร้างไทยได้คะแนน สก.สองแสนกว่า แต่คะแนนผู้ว่าให้ชัชชาติเกิน 2 ใน 3)
ยิ่งกว่านั้น คนที่เลือก สก.ฝั่งตรงข้าม ก็ยังเลือกชัชชาติอีกร่วมสามแสนคน
5h
“ไม่เลือกเราเขามาแน่”
คนฝั่งประชาธิปไตยกลัวสลิ่มรวมหัวทำชัชชาติสอบตก จึงเทคะแนนให้
แต่อีกอย่างชัชชาติก็ชนะใจ fc ทุกพรรคในฝั่งประชาธิปไตย
(ไทยสร้างไทยได้คะแนน สก.สองแสนกว่า แต่คะแนนผู้ว่าให้ชัชชาติเกิน 2 ใน 3)
ยิ่งกว่านั้น คนที่เลือก สก.ฝั่งตรงข้าม ก็ยังเลือกชัชชาติอีกร่วมสามแสนคน