วันอาทิตย์, มีนาคม 20, 2565

ตรรกะเผด็จการ..เหมือนกันจริงๆ : "ปูติน"ประณามคนรัสเซียที่ไม่เห็นด้วย คือคนไม่รักชาติ - สลิ่มและสมุนประยุทธ์ ประณามคนไม่รักคือคน"ชังชาติ"


Wanlert Kittithorngul
Yesterday at 6:18 AM ·

ลัทธิปูติน - ระบอบประยุทธ์
NATO หรือองค์กรสนธิสัญญาแอตแลนด์ติกเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี คศ.1949 จากแนวคิดของ เชอร์วินสตัน เชอร์ชิล เนื่องจากตื่นกลัวภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่นำโดยสหภาพโชเวียตในขณะนั้น
กติกาสัญญาวอร์ซอ หรือ Warsaw Pact ก่อตั้งเมื่อปีคศ. 1955 เพื่อต่อต้านอิทธิพลของนาโต้ และดูแลการทหารและการปกครอง ประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรป
กลุ่มประเทศกติกาสัญญาวอร์ซอ ล่มสลายไปพร้อมกับสหภาพโชเวียตในปีคศ.1991 แต่นาโต้ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากภายหลังสงครามโลกครั้ง2 อเมริกาเป็นประเทศคู่สงคราม ที่มีความสูญเสียจากสงครามน้อยที่สุด และในขณะเดียวกันมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากที่สุด อเมริกาจึงกลายเป็นชาติมหาอำนาจ และเป็นผู้นำในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วยุโรปและทวีปอเมริกาในเวลานั้น และยิ่งจีน เปลี่ยนแปลงการปกครองในปีคศ. 1949 (ปีก่อตั้งนาโต้) ยิ่งทำให้บทบาทของอเมริกามีไปทั่วโลก
หากจะกล่าวกันอย่างสั้นๆคือ การต่อสู้กันระหว่าง ลัทธิเสรีนิยมประชาธิไตย ที่มีอเมริกาและนาโต้เป็นแกนนำ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่มีรัสเชียและจีนเป็นแกนนำ แต่ไม่เคยมีสงครามโดยตรงระหว่างกัน เป็นลักษณะสงครามตัวแทน จึงเรียกว่า “ยุคสงครามเย็น”
หากย้อนมาดู เฉพาะประเทศไทยและเพื่อนบ้านในเวลานั้น ด้วยอิทธิพลทางความคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เผยแพร่ไปทั่วทุกประเทศ ควบคู่ไปกับระบอบเผด็จการทหารที่ครอบงำอำนาจการปกครองในหลายประเทศเช่นกัน
สงครามโลกครั้งที่2 ไทยเคยประกาศเข้าร่วมกับญี่ปุ่น โดยจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ด้วยนโยบายชาตินิยม และนโยบายของญี่ปุ่นที่ประกาศจะปลดปล่อยประเทศในเอเชีย ให้พ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก และลัทธิล่าอานานิคม
แต่เมื่อสงครามยุติ ในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ไทยกลับเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะ “ขบวนการเสรีไทย” และอเมริกากับอังกฤษ รับรองในองค์การระหว่างประเทศ และในฐานะประเทศผู้ชนะสงคราม ที่รับรองและยืนข้างไทย
นับแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกาจึงมีความผูกพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ อย่างมีนัยสำคัญ
หากย้อนมาดู เฉพาะประเทศไทยและเพื่อนบ้านในอาเซียน ในเวลานั้น ด้วยอิทธิพลทางความคิดลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เผยแพร่ไปทั่วทุกประเทศ ควบคู่ไปกับระบอบเผด็จการทหารที่ครอบงำอำนาจการปกครองในหลายประเทศเช่นกัน
“ยุคสงครามเย็น” รัฐบาลไทยกับห้วงเวลาของรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่มาจากการทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ตั้งตนเป็นใหญ่ จึงเริ่มต้นขึ้น
ยุคสมัย “เผด็จการทหารสามานย์”” ใครพูดถึงลัทธิคอมมิวนิสต์ ใครพูดถึงประชาธิปไตย มีความหมายเหมือนกัน คือพวกคิดร้ายทำลายชาติ “หนักแผ่นดิน”
ยุคสมัยที่ใครพูดถึง สหภาพโชเวียตกับจีน แม้เพียงความคิดเห็นเพียงน้อยนิดในเชิงบวกกับทั้งสองประเทศ ก็คือผู้ร้ายคิดทำลายชาติ
ยุคสมัย “ภัยคอมมิวนิสต์” ที่ปัญญาชน สื่อฯ นักการเมือง ผู้นำกรรมกร ผู้นำชาวนา หลายคนต้องติดคุกและต้องตาย ด้วยอำนาจเผด็จการ
ยุคสมัยที่อเมริกาและชาติตะวันตกคือมหามิตร ที่คอยให้ความช่วยเหลือปกป้อง “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์”
ใครรังเกียจอเมริกา คือศัตรูของแผ่นดิน
หากนับเวลา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปีพศ. 2593 - 2537 กว่า 40 ปี วันนี้แทบจะไม่มีใครกล่าวถึงวันเวลาที่ผ่านมานั้น
จากมหามิตร กลายเป็นศัตรู จากศัตรูกลายเป็นผู้มีพระคุณอย่างล้นเหลือ แท้จริงเกิดขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร ปี2547 โดย คมช. จวบจนขบวนการสมคบคิด ทำรัฐประหาร ปี2557 โดย คสช. โครงสร้างส่วนบน ที่กุมอำนาจรัฐ ประดาเหล่าร่วมสมคบคิด และสมุนรับใช้ เปลี่ยนไปมาก
ช่วงเวลากว่า 40ปี ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐไทยและอเมริกา ที่ถูกเจตนาตัดตอน ไม่กล่าวถึง
กล่าวได้ว่า การทำรัฐประหาร ยึดอำนาจทุกครั้ง ทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้านอาเชี่ยน อเมริกาคือส่วนสำคัญในการสนับสนุนฝ่ายอนุรักษ์นิยมและเผด็จการทหาร ให้ทำการยึดอำนาจ ให้รัฐบาลเผด็จการนั้นๆ เป็นเครื่องมือต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยไม่ได้เผยแพร่หรือส่งเสริมให้เกิดระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย เช่นในยุโรป
นับแต่พศ. 2490 - พศ.2535 ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ทหาร และศักดินา ที่กลัวภัยจากคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจากจีน จึงยึดถืออเมริกาเป็นมหามิตรในทุกๆเรื่อง รัฐไทยก็เป็นเช่นนั้น
นโยบายเปิดประเทศของจีน และการล่มสลายของสหภาพโชเวียต ทำให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงไปด้วย
ในขณะเดียวกัน อเมริกาก็เปลี่ยนนโยบายจากที่สนับสนุนระบอบเผด็จการทหาร เป็นส่งเสริมระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย ชึ่งเพิ่งเริ่มอย่างแท้จริงในสมัยประธานาธิบดี บิลล์ คลินตัน เมื่อพศ.2537 เป็นต้นมา
ปัญหาการทุจริต สินบน ในภาครัฐหรือราชการ เกาะกินรัสเชียในทุกระดับ ตั้งแต่สมัยสหภาพโชเวียตตอนปลาย
“ปูติน” ได้รับการสนับสนุนจากอดีตอาจารย์และเจ้านายเก่า “ดร. อนาโตลี ชับชัค” อดีตผู้ว่าการเมือเลนินกราด จนเติบโตทางการเมืองใน “เช็นต์ปีเตอร์เบอร์ก” คือจุดเริ่มต้นทางการเมือง ก่อนก้าวสู่ทำเนียบ “เครมลิน” ในมอสโคว
จวบเป็นคนสนิท เป็นที่ไว้วางใจ จนได้เป็นทายาททางการเมืองของ “บอริส เยลชิ่น”
ส่วนหนึ่งที่เป็นบทพิสูจน์ตัวปูตินคือ เมื่อปูตินมีตำแหน่งเป็นเป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งหัวหน้ากองบังคับการทรัพย์สินส่วนประธานาธิบดี บอริส เยชิ่นที่มีนโยบายกวาดล้างการทุจริต ในระบบราชการ ได้มอบหมายให้ปูตินเป็นผู้มีอำนาจเต็ม ในเรื่องการกวาดล้างการทุจริต
ปูตินมีสำนวนคดีทุจริต ของอดีตเจ้านายเก่า ดร.อนาโตลี ชับชัค แต่ปูตินกลับช่วยเหลือเจ้านายเก่าจนพ้นผิด บอริส เยลชิ่น ประทับใจปูตินมาก มองว่าปูตินเป็นคนกตัญญู ไม่ลืมบุญคุณคน จึงเป็นที่ไว้วางใจของบอริส เยลชิ่น
ภายหลังปูติน ได้เป็นใหญ่ บอริส เยสชิ่น ถูกรื้อฟื้นคดีทุจริต เกี่ยวกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของครอบครัว ที่ได้รับงานและสัมปทานจากรัฐบาล ปูตินก็ได้ทดแทนบุญคุณจนทั้งครอบครัวพ้นผิด โดยเมื่อบอริส เยลชิ่น ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี วันที่ 31 ธันวาคม คศ. 1999 เพราะปัญหาสุขภาพ ปูตินได้รักษาการแทน และได้ออกประกาศคำสั่งฉบับแรก ลงนามโดยปูตินในวันเดียวกันนั้น
โดยเป็นคำสั่งเรื่อง “คำรับรองแก่อดีตประธานาธิบดี แห่งสหพันธรัฐรัสเชีย และสมาชิกครอบครัว เพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่า บรรดาข้อกล่าวหาที่มีการทุจริต ที่มีต่อประธานาธิบดี ที่เพิ่งพ้นตำแหน่งไป และที่มีต่อญาติของท่าน จะไม่ถูกสืบและดำเนินการต่ออีก” (เอกสารชิ้นนี้สามารถสืบค้นได้ ทั้งภาษารัสเชียและภาษาอังกฤษ)
การกวาดล้าง การทุจริต สินบน มาเฟีย ยาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้ปูตินเติบโตอย่างรวดเร็ว มีนักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ มาเฟีย จำนวนมากถูกจับดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด ชึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าที่ต่อเนื่องมาแต่สมัยสหภาพโชเวียต
กล่าวกันว่าการกวาดล้างดังกล่าว กลับเป็นการสร้างฐานอำนาจใหม่ให้ปูติน ใครเป็นพวกก็รอด ใครไม่ย้ายข้างก็ตาย
นักการเมือง นายทุน ข้าราชการ มาเฟียกลุ่มใหม่จึงเกิดขึ้น ทดแทนกลุ่มเก่า ภายใต้อำนาจของปูติน
ในทางการเมือง ปูติน แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกหลายครั้ง เพื่อความมั่นคงและอำนาจของตัวเอง เช่น เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปีคศ. 2008 ปูตินไม่สามารถลงเลือกตั้งได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีติดต่อกัน ได้ไม่เกิน 8 ปีหรือสองสมัย จึงให้ลูกน้องคนสนิท “ดมิตรี เมดเวเดฟ” ลงสมัครประธานาธิบดี เมื่อชนะเลือกตั้งก็ให้แต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี และให้แก้รัฐธรรมนูญ ลดอำนาจและบทบาทของประธานาธิบดี เพิ่มอำนาจและบทบาทของนายกรัฐมนตรี
เมื่อครบวาระ ปีคศ.2012 ปูตินก็กลับมาสมัครเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับอำนาจสูงสุดให้ประธานาธิบดีดั่งเดิม
ด้วยการสร้างกลุ่มทุนหรือนักธุรกิจใหม่ กลุ่มการเมืองใหม่ ราชการใหม่ กลุ่มอิทธิพลใหม่ แก้กฏหมาย แก้รัฐธรรมนูญ ทำให้ปูตินควบคุมรัสเชียได้อย่างเบ็ดเสร็จในทุกๆด้าน
แต่22ปีบนฐานอำนาจเบ็ดเสร็จแข็งแกร่ง และตุลาการสมคบคิด ปูตินก็ทำให้รัสเชียกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง แม้จะมีการกล่าวว่ารัสเชียควรก้าวไปไกลกว่านี้ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลที่มี บนแผ่นดินที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก หากปูตินไม่ทุจริต หลงอำนาจและหลงตัวเอง
“ระบอบประยุทธ์” คือการพยายามลอกแบบจากลัทธิปูติน ไม่ว่าสมุนทหารจากสภาความมั่นคง สมุนพลเรือนจากสถาบันทิศทางถ่อย สื่อรับจ้างทีถ่อย และขบวนไอโอจัดตั้ง ที่คอยสร้างชุดความคิดให้กับสลิ่ม และโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทย
จากอดีต พศ.2475 ไม่เคยมีรัฐบาลไหน มีอำนาจเบ็ดเสร็จเท่ารัฐบาลในระบอบประยุทธ์ แทบไม่ต่างจากระบบของลัทธิปูติน กระบวนการถ่วงดุลอำนาจ กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ ถูกทำลายวัตถุประสงค์และเป้าหมาย กลายเป็นเครื่องมือและกลไกให้ระบอบประยุทธ์ ครอบงำ สืบทอดอำนาจ เพื่อตัวเอง สมุน พวกพ้อง และทำลายล้างฝ่ายเห็นต่าง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด.