22 มี.ค.2565 ขบวนประชาชนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน รายงานว่า เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน และตัวแทนขบวนประชาชนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน กล่าวว่า การเดินทางไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในวันที่ 24 มี.ค.2565 พร้อมกับเครือข่ายประชาชนทั่วประเทศนั้น เพื่อแสดงพลัง และจุดยืนต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. … และกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน เพราะกฎหมายนี้แฝงไปด้วยความต้องการ และเป็นความตั้งใจของรัฐที่จะทำลายการร่วมกลุ่มของประชาชนอย่างชัดเจน ทั้งที่การรวมกลุ่มมันเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เลิศศักดิ์บอกว่า กฎหมายนี้เกิดขึ้น โดยมีเหตุสืบเนื่องจากพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ซึ่งอาจมีช่องว่างพอสมควรที่รัฐไม่สามารถควบคุมการร่วมกลุ่มของประชาชนได้ทั้งหมด หรือหากใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแทน ก็ยังมีข้อจำกัดที่ว่าจะมาอ้างเหตุฉุกเฉินตลอดก็ไม่ได้ กฎหมายฉบับนี้จึงเข้ามาจัดการและทำลายตรงนี้
นอกจากการแสดงการคัดค้านคือกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมแล้ว กระบวนการของการออกกฎหมาย ซึ่งอยู่ในระหว่างการเปิดรับฟังความเห็น โดยมี พม. เป็นผู้ดำเนินการ ไปจนถึงวันที่ 25 มี.ค.2565 นี้ ก็มีความไม่ชอบธรรมด้วย
“เราอยากทำลายความชอบธรรมตรงนั้น การรับฟังความเห็นไม่ควรเร่งรัด รวบรัด เพื่อจะรีบร่างกฎหมายส่งให้รัฐบาลต่อ”
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ตัวแทนจากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) บอกว่า กฎหมายนี้รัฐมุ่งหมายเข้าถึงข้อมูลของพวกเรา รัฐมุ่งหมายที่จะกำกับควบคุมภายใต้มาตรา 20 แล้วเขียนข้อห้ามการดำเนินกิจกรรมไว้อย่างกว้างๆ โดยเฉพาะองค์กรที่มาขับเคลื่อนเรื่องสิทธิ สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน หรือสิทธิในการพัฒนาต่างๆ ก็จะถูกห้ามทำ ไม่ว่าด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงของรัฐ, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือความสงบเรียบร้อย หรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ หรือละเมิดเสรีภาพคนอื่น
“เราคิดว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิอย่างร้ายแรง กฎหมายขัดกับรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิการรวมกลุ่มของพี่น้อง เสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน ที่ผ่านมาภาคประชาชนพยายายามจะส่งเสียงทำหนังสือคัดค้าน ด้วยการลงชื่อในแถลงการณ์เป็น 1,000 กว่าองค์กร และส่งจดหมายถึงหน่วยงานรัฐ แต่หน่วยงานเหมือนไม่ได้ยินเสียงเรา แต่ยังเดินหน้ารับฟังความเห็นทั้งออฟไลน์-ออนไลน์ โดยไม่รู้ว่าเลือกคนเข้าร่วมอย่างไร กระบวนการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐยังไม่เห็นความสำคัญของเสียงประชาชนที่ออกมาคัดค้านกฎหมายฉบับนี้” ตัวแทน EnLAW กล่าว
สุภาภรณ์กล่าวต่อว่า กิจกรรมในวันที่24 นี้จึงเป็นหมุดหมายแรกที่ประกาศว่า รายชื่อในแถลงการณ์เพื่อคัดค้านกฎหมายและเสียงที่เคยส่งเสียงถึงรัฐบาลมีตัวตนอยู่อย่างชัดเจน พวกเราคือคนที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ และจะยืนหยัดในการที่จะส่งเสียงตามสิทธิ และเสรีภาพที่เรามีอยู่ตามระบอบประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ให้รัฐต้องฟังพวกเรา ต้องหยุดการเดินหน้ากฎหมายนี้โดยทันที
ตามกำหนดการของเครือข่ายประชาชน ต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชนจะรวมตัวกันที่ พม.ในวันที่ 24 มี.ค.ที่จะถึงนี้ตั้งแต่ 10.00-18.00 น. และจะมีการยื่นหนังสือถึงเจ้ากระทรวง ให้ถอนกฎหมายนี้ทันที จากนั้นประชาชนจะปักหลักที่ พม.เพื่อทำกิจกรรมคัดค้าน ตั้งแต่การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และการปราศรัยบนเวที ที่เครือข่ายประชาชนแต่ละที่พื้นที่จะขึ้นมาพูดว่า ทำไมถึงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ และจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
ที่มา
ภาคประชาสังคมเตรียมยื่นค้านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการรวมกลุ่ม ที่ พม. 24 นี้
ประชาไท
#มูลนิธิอาสามัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม
บทเรียนเพื่อนบ้าน ‘พ.ร.บ.การรวมกลุ่ม’ วิกฤตของประชาชน?
Mar 22, 2022
prachatai
กรณีตัวอย่างจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย และกัมพูชา ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ภายใต้กฎหมายควบคุมการดำเนินกิจกรรมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แลกเปลี่ยนผ่านเคสกรณีตัวอย่าง จะเข้ามามีผลกระทบประชาชนอย่างไร เรียนรู้ก่อนที่พรบ.ฉบับนี้จะเข้ามาอิทธิพลประเทศไทย
บทเรียนเพื่อนบ้าน ‘พ.ร.บ.การรวมกลุ่ม’ วิกฤตของประชาชน?
Mar 22, 2022
prachatai
กรณีตัวอย่างจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย และกัมพูชา ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ภายใต้กฎหมายควบคุมการดำเนินกิจกรรมองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แลกเปลี่ยนผ่านเคสกรณีตัวอย่าง จะเข้ามามีผลกระทบประชาชนอย่างไร เรียนรู้ก่อนที่พรบ.ฉบับนี้จะเข้ามาอิทธิพลประเทศไทย
Speaker
YUYUN WAHYUNINGRUM ผู้แทนจากอินโดนีเซีย คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)
Dr.Sary Seng นักวิจัยสังคม ประเทศกัมพูชา ไทย และญี่ปุ่น สถาบันวิจัยสังคม - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัมรินทร์ สายจันทร์, นักกฎหมาย, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)
Moderator
สัณหวรรณ ศรีสด ที่ปรึกษากฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล International commission of jurists (ICJ)
LIVE รับชมได้ที่:
ภาษาไทย
Facebook/Youtube : ประชาไท
Facebook/Youtube : มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม - Thai Volunteer Service
Facebook : IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
Facebook : The Reporters
Twitter Spaces : มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม-Thai Volunteer Service
ภาษาอังกฤษ
Facebook : Prachatai English
ผู้ร่วมจัด
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม , ประชาไท, ไทยแอ็ค , เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน , Patani Resources : กลุ่มศึกษาชุมชนและทรัพยากรปาตานี , IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
#มูลนิธิอาสามัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม , ประชาไท, ไทยแอ็ค , เครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน , Patani Resources : กลุ่มศึกษาชุมชนและทรัพยากรปาตานี , IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง
#มูลนิธิอาสามัครเพื่อสังคม #หยุดพรบควบคุมการรวมกลุ่ม #ไม่เอาพรบควบคุมภาคประชาสังคม