วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 20, 2565

เก็บตกเพิ่มเติมจากกรณีการอภิปรายของรังสิมันต์ โรม #ค้ามนุษย์โรฮิงยา

...
Ekkarin Tuansiri
8h ·

สรุปจากมิตรผู้ไม่ขอรับเครดิต
หมายเหตุประเทศไทย
-การอภิปรายของรังสิมันต์ โรม ทำให้เห็นการบูรณาการหลายหน่วยงาน หลายระดับ เพื่อทำผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม อย่างการค้ามนุษย์
-จริงๆ รัฐของเราไม่ได้สนใจชีวิตเพื่อนมนุดนัก แต่มันดันไปสัมพันธ์กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาล เพราะมีมาตรฐานของอารยประเทศที่ส่งผลต่อการค้าขายสินค้นประมงกำกับอยู่ ประเทศไทยส่งออกสินค้าประมงปีหนึ่งๆ กว่าล้านตัน ปี 64 มูลค่าส่งออก 158,353 ล้านบาท
-แต่การส่งออกนี้จะลำบาก ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานโลก หลักๆ คือ IUU ที่ออกโดยสหภาพยุโรป แถมฝั่งอเมริกาก็ยังมีกลไลรายงาน TIP report
- เรื่องราวมันเริ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี 2557 หลังรัฐประหารเพียง 1 เดือน สหรัฐฯ เผยแพร่รายงาน TIP report ลดระดับไทยจากที่อยู่กลุ่ม Tier2 watch list ไปอยู่กลุ่ม Teir3 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการค้ามนุษย์เลวร้ายที่สุด และจะถูกคว่ำบาตรสินค้าประมง แต่บารัค โอบามา ตัดสินใจไม่คว่ำบาตร 'มิตรรัก' ให้โอกาสปรับปรุง
-ปลายปี 2557 นายกฯ จากการรัฐประหารในขณะนั้นได้ตั้งกรรมการแก้ไขปัญหาขึ้นมา 5 ชุด
-ต้นเดือน พ.ค.2558 สองแม่ลูกหนีจากแคมป์โรฮิงญาในป่ามาได้ ขอความช่วยเหลือจากทหารพรานที่ลาดตระเวร เรื่องเริ่มใหญ่โต ตำรวจ กอ.รมน.เข้าค้นพื้นที่เจอที่ตั้งแคมป์และพบหลุมศพ บนเกาะโต๊ะกระ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กับเทือกเขาแก้ว ชายแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา
-จากภาพข่าว แคมป์ที่ขังโรฮิงญาเรียกได้ว่า เล้าหมูอาจดูดีกว่า เจอซากโครงกระดูกที่ถูกฝัง ส่วนโรมมีการเปิดคลิปชายโรฮิงญาที่หนีตามไปกับคนอื่นไม่ทัน เดินไม่ได้เพราะถูกขังนานจนขาเปลี้ย ต้องกินใบไม้ในป่าประทังชีวิต และเล่าเรื่องโศกนาฏกรรมอื่นๆ รวมถึงการข่มขู่ญาติเพื่อให้ส่งเงินมาจ่ายค่าไถ่ด้วย
-พล.ต.ต. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นหัวหน้าชุดทำคดี เพราะมีประวัติทำคดีทุจริตใหญ่ๆ มามากรวมถึงคดีโกงการสร้าง สถานีตำรวจของกำนันสุเทพที่กำลังขึ้นศาลอยู่ด้วย จากข้อมูลของโรมระบุว่าคดีค้ามนุษย์อยู่ภายใต้การกำกับของ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.ตอนนั้น
-คดีนี้สาวไปถึงตั้งแต่นักการเมืองท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร โดยเฉพาะ พล.ท. มนัส คงแป้น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็นยศสูงที่สุดที่จับกุมได้ และโรมระบุว่า สำหรับทหารเรือที่ดูแลน่านน้ำไทย จับได้เพียง 1 คนเท่านั้น
-พอเริ่มมีคดีเคลื่อนไหว อันดับ TIP report ของไทยก็ขยับขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์การค้าขายดีขึ้น (จนกระทั่งเริ่มมีข่าวขบวนการค้ามนุษย์ภาคใต้หนาหูอีก และอันดับของไทยตกไปอยู่ Tier2 watch list อีกเมื่อ ม.ค.65)
-ตุลาคม 2558 พล.อ.เอก ถูกคสช.ย้ายไปเป็นปลัดสำนักนายกฯ แทน ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล แป่ว
-โรมเล่าถึงกระบวนการทำคดีของปวีณที่ถูกขวางเยอะ โดยอ้างถึงการไม่ได้รับความร่วมมือจาก พล.ต.ต. ดอเด็ก พ.ต.อ. อออ่าง พ.ต.อ.ฉอฉิ่ง ใคร ????? จนต้องหาพยานเองแล้วออกหมายจับคนเกี่ยวข้อง
-ไปค้นบ้านผู้ต้องหา พ.ต.อ.อออ่าง เป็นหัวหน้าชุด พบหลักฐานการโอนเงินของผู้ต้องหา คนรับเงินคือ เจ๊ง๊อ ซึ่งเสียชีวิตแล้ว (ไม่ได้บอกว่าเสียชีวิตอย่างไร เมื่อไหร่) หลักฐานการโอนเงิน มีโอนให้ พล.ท.มนัส 14 ล้านบาทแต่ไม่ส่งให้ปวีณ ปวีณไปตามเอาเอง จนเป็นหลักฐานสำคัญให้ศาลออกหมายจับ
-โรมระบุว่า เจ๊ง๊อมีสายสัมพันธ์กับ อดีต ผบ.ทบ.ที่อยู่ในรัฐบาล ใคร ?????
-พอออกหมายจับก็มีคนมามอบตัว รวมถึงโกโต้ง นายก อบจ.สตูล ที่เลือกไปมอบตัวกับ ผบ.ตร.จักรทิพย์ ชัยจินดา รอง ผบ.ตร.ตอนนั้นซึ่งก็เคยคุมภาค 9 คุมสงขลา สตูลมาก่อน
-ปวีณ ได้รับสายจากตำรวจคนสนิทของประวิตร อ้างว่าให้ปล่อยมนัส จากนั้นมนัสไปมอบตัวกับ ผบ.ตร. สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ตอนนั้น ซึ่งเรียนเตรียมทหารห่างกัน 1 รุ่น แต่พอผลสรุปไม่ได้ประกันก็โมโหมาก บอก "กูโดนหลอก" ดีลกับ ผบ.ตร.แล้วแต่รองผบ.ตร.เอก คัดค้านประกันตัว
-ปวีณถูกกดดันจากทั้งทหารและตำรวจ มีตำรวจที่ปัจจุบันเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.คุมตำรวจราบ บอกว่า ทหารไม่พอใจที่ออกหมายจับมนัส (แถมให้ - ตรงนี้ถ้าฟังอภิปรายรอบตั๋วช้างจะรู้ว่าหมายถึง "พล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" เป็น 1 ใน 13 ผู้ช่วย ผบ.ตร.ซึ่งในนั้นก็มี บิ๊กโจ๊ก สุรเชษฐ์ หักพาล ด้วย)
-แต่ปวีณไม่สน ออกหมายจับเพิ่ม ทหารบก 3 นาย ทหารเรือ 1 นาย ยศนาวาโท โดนเจ้านายด่า ก็เลยส่งหมายให้ทหารเงียบๆ เป็นเหตุให้ พล.ต.อ.เอก หัวหน้าดูแลคดีค้ามนุดถูกย้าย
-ทีมปวีณเริ่มเห็นสัญญาณไม่ดี รีบเคลียร์สำนวนส่งอัยการ 699 แฟ้ม มีกระดาษ 271,300 แผ่น ออกหมายจับได้ 153 คน (จับได้จริง 103 คน ตายแล้ว 2) ปัจจุบันถึงศาลอุทธรณ์ พิพากษาลงโทษไปแล้ว 75 คน
- ตุลาคม 2558 ก.ตร. ที่ประวิตรเป็นประธาน พิจารณาย้ายปวีณไปชายแดนใต้ ปวีณกลัวตาย ไม่อยากไป กลัวโดนแก้แค้น ขอให้ทบทวน แต่ทั้ง ผบ.ตร.และนายกฯ บอกว่า ไม่ล่ะ ตามนั้น
-5 พ.ย.2558 ปวีณลาออก (และบอกโรมหลังลี้ภัยแล้วว่า เรื่องนี้ยังขุดต่อได้อีกมาก ถ้าได้ทำคดีต่อ ทัพเรือภาค 3 ได้ละลายทั้งภาค)
-ไม่กี่วันหลังยื่นใบลาออกจนเป็นข่าวใหญ่ ได้รับสายจากจากตำรวจใหญ่แวดวงชั้นสูง พล.ต.ท.ฐอฐาน ใคร??????? อ้างว่าเบื้องบนเขาอีกทีได้ทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เสียดายถ้าลาออก
-ต่อมาได้รับสายนายทหารใหญ่ในแวดวงชั้นสูง พล.อ.จอจาน ยศขณะนั้นเป็น พล.ท. ชื่นชมการทำงานปวีณ ช่วยยืนยันว่าการย้ายไปภาคใต้ไม่ต่างจากส่งไปตาย
(แถม- ถ้าตามจากตั๋วช้างภาคแรก จะเข้าใจได้ว่าคือ พล.ท.จักรภพ ภูมิเดช รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ / ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ เขาพี่ชายของ พล.ต.ท.จิรภพ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางตอนเน้ กลางปี 62 มีข่าวจักรภพโดนปลด บอกบกพร่องในหน้าที่ แต่ไม่รู้ถูกแต่งตั้งกลับเข้าไปอีกละป่าว)
-การพูดคุยดังกล่าวนำพาให้ได้พบกับ พล.อ.อ.สอเสือ ข้าราชการชั้นสูงเบอร์ต้นๆ ของประเทศ (แถม - สืบเนื่องจากอภิปรายตั๋วข้าง เข้าใจได้ว่าคือ พล.อ.อ.สถิตย์พงศ์ สุขวิมล) ชวนไปทำงานด้วย ส่งใบสมัครมาให้ หัวกระดาษคือ "สนง.นปร.904" ปวีณกรอกเอกสารแล้ว แต่เปลี่ยนใจไม่ส่งเพราะอยากทำงานค้ามนุดมากกว่า พล.อ.อ.สอเสือก็ให้เลือกได้ว่า จะทำงานกับเขาหรือจะทำคดีค้ามนุดต่อในสังกัด "กองบัญชาการสอบสวนกลาง"
(แถม - พยามค้นดูว่ามันคือชื่อของหน่วยงานไหนแน่ๆ แต่หาไม่เจอ ไม่แน่ใจว่าใช่ "กองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904" ที่ตอนหลังเปลี่ยนเป็น "กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ"หรือเปล่า)
(แถมอีก - ต้องดูบริบทด้วยว่า ช่วงที่อิรุงตุงนังอยู่นี่ หมอหยองก็ตายคาคุกพิเศษ เมื่อ 7 พ.ย.2558)
-นอกจากนี้ยังมีนายตำรวจระดับสูงอีกคนที่ร่วมวงพูดคุยด้วย คือ พล.ต.อ.จอจาน ที่เป็นคนละจอจานกับคนแรก (ต่อมาโรมเฉลยว่า จุมพล มั่นหมาย) ให้ทางเลือกที่ 3 คือ ลาออกแล้วอยู่เงียบๆ
-ปวีณประเมินผิด เชื่อว่าได้รับสิทธิให้เลือก และผู้ใหญ่เห็นค่าการปราบการค้ามนุด จึงแจ้ง พล.อ.อ.สอเสือ ว่าจะทำงานต่อ ถอนใบลาออกจาก ผบ.ตร.ก็รับทราบ แต่คืนเดียวกันมีสายเรียกพบ ผบ.ตร.วันรุ่งขึ้นทันที จักรทิพย์ ผบ.ตร.บอกว่า ต้องลาออกแล้วอยู่เงียบๆ จากนั้นต่อสายถึง พล.ต.อ.จอจาน ซึ่งคราวนี้โรมระบุชัดว่าคือ "จุมพล มั่นหมาย" บอกว่าต้องลาออกแล้วอยู่เงียบๆ
(พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย น่าจะยังมีชีวิตอยู่และถูกคุมขังในคุกพิเศษ เขาถูกสำนักพระราชวังไล่ออกจากตำแหน่งเมื่อ 27ก.พ.2560 ให้เหตุผลว่า "กระทำผิดวินัยฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ราชการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง แสวงหาประโยชน์ให้กับตัวเอง "ฝักใฝ่ในเรื่องการเมือง เป็นอันตรายต่อความมั่นคง ไม่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย" พฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรง")
-ปวีณรู้แล้วว่า ไม่น่ามีชอยส์นี่หว่า
-10 ธ.ค.2558 เว็บไซต์เดอะการ์เดี้ยนรายงานว่า ปวีณเดินทางถึงเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียแล้ว และกำลังดำเนินการขอสถานะผู้ลี้ภัยการเมือง
-อิศรารายงานว่า ปีนั้น ในการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นนายพล ไม่มีตำรวจในชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่ดีขึ้นเลยแม้แต่คนเดียว
-กรกฎาคม 2560 ศาลอาญาลงโทษ พล.ท.มนัส หลายคดีรวมแล้ว 47 ปี และลงโทษจำคุกจำเลยอื่นๆ แตกต่างกันไป
-มิถุนายน 2564 พล.ท.มนัส เสียชีวิตในเรือนจำ ข่าวระบุหัวใจวายเฉียบพลัน โรมเปิดว่าเคยคุยกับผู้ต้องขังที่นอนห้องขังเดียวกับมนัส มนัสเคยพูดว่า ตอนทำแบ่งผลประโยชน์กัน ตอนโดนกูโดนคนเดียว ออกไปได้จะเอาคืนให้หมด
...

Angkhana Neelapaijit
12h ·

ต้องยอมรับว่าการอภิปรายของ สส. โรม เรื่อง #ค้ามนุษย์โรฮิงยา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ไม่ใช่ข้อมูลใหม่สำหรับคนที่ติดตามกรณีนี้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ได้รับทราบในวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะการคลี่คลายคดีการค้ามนุษย์ ที่กระทำด้วยความโหดร้าย ไร้มนุษยธรรมต่อชาวโรฮิงยา โดยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องล้วนเป็นผู้มีอิทธิพลทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น จนผู้ที่เกี่ยวข้องต่างถูกคุกคาม ถูกไล่ล่า ตั้งแต่หัวหน้าพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดี คือ พ.ต.อ. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 รวมถึงเหยื่อและพยานสำคัญในคดี ที่ทุกวันนี้แทบทั้งหมดต้องขอลี้ภัยไปตั้งรกรากในประเทศที่สาม ทั้งนี้ การคุกคามยังรวมถึงผู้นั่งสังเกตการณ์คดีในศาล และสื่อมวลชนที่ทำข่าวอีกด้วย จำได้ว่าวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ถึงกับมีการจัดกำลังรักษาความปลอดภัยในศาล
.
ดีใจที่วันนี้คุณปวีณ ออกมาพูดกับสังคมให้ได้รับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองจนต้องขอลี้ภัย ซึ่งมีหลายสิ่งที่สังคมควรให้ความสำคัญและติดตามทวงถามต่อรัฐบาลนี้ เช่น
1. ทำไมคดีนี้จึงไม่มี #การขยายผล ทั้งการหาตัวผู้กระทำผิด และผู้รู้เห็นเป็นใจซึ่งเชื่อว่าน่าจะยังมีอีกจำนวนมาก นอกจากนั้นทำไมจึงไม่มีการขยายผลเรื่อง #การล่วงละเมิดทางเพศ ต่อเหยื่อ ซึ่งวันนี้เหยื่อแทบทั้งหมดได้อพยพไปประเทศที่สามแล้วจึงน่าจะกล้าให้ข้อมูลโดยไม่หวาดกลัว
2. #จำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงยังคงเป็นปริศนา หลายคนเชื่อว่าจำนวนชาวโรฮิงยาที่เสียชีวิตที่เขาแก้วน่าจะมีมากกว่า 33 คนตามที่ปรากฏในสำนวนคดี
สิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ คือ การไม่สามารถระบุตัวตนหรืออัตลักษณ์ของศพเหล่านั้นได้ ทำให้ศพผู้เสียชีวิตชาวโรฮิงยาที่พบกลายเป็น "ศพนิรนาม" หรือ #บุคคลสูญหาย ซึ่งกรณีนี้เข้าลักษณะ #การกระทำให้สูญหายตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ เรื่องการบังคับสูญหายขององค์การสหประชาชาติ (CED) เนื่องจากเป็นการกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือรู้เห็นโดยเจ้าหน้าที่รัฐบางคน ที่ผ่านมาปัญหาของประเทศไทย คือ การเก็บรักษาอัตลักษณ์ของศพนิรนาม เพื่อพิสูจน์ตัวตนของผู้สูญหาย เพื่อคืนความเป็นธรรมและการชดใช้เยียวยาความเสียหายแก่ญาติ
จำได้ว่าตอนเกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ เคยตั้งคำถามว่ามีการใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการขุดศพ (exhumation) หรือไม่ (จำได้ว่าผู้ขุดศพไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ แต่เป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิฯ) และได้เก็บรักษาวัตถุพยานรวมถึงมีการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลไว้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่วันหนึ่งจะสามารถคืนศพเหล่านี้ได้กับญาติได้
3. #การให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบในการทำคดี และผู้เกี่ยวข้อง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจำเป็นต้องตอบ คุณจักรทิพย์ ซึ่งเป็น ผบช. สตช. สมัยนั้น และปัจจุบันกำลังจะมาเป็นนักการเมือง ต้องตอบสังคมไทยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมคุณปวีณ จึงถูกย้ายไป จชต. ที่แม้แต่ชาวบ้านเองยังรู้ว่าเป็นพื้นที่ที่ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีมีอิทธิพลอยู่อย่างมาก ทำไมเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมาจึงไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองจนต้องขอลี้ภัย รวมถึงกรณีที่นายก ปย. เองที่ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อในขณะนั้นว่า คุณปวีณ “มีความรักชาติหรือไม่” ซึ่งอาจเป็นเพราะคุณปวีณได้เปิดเผยความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล (https://www.youtube.com/watch?v=BBCtputC0-o)
.
กรณีค้ามนุษย์โรฮิงยา ที่มีการพบศพผู้เสียชีวิต และผู้ที่ถูกทรมานที่เขาแก้ว เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขบวนการค้ามนุษย์ไทย/ มาเลเซีย ซึ่งในส่วนประเทศไทย ด้วยคุณูปการของคุณปวีณในการทำหน้าที่หัวหน้าพนักงานสอบสวน ถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างมากในการสอบสวนและนำตัวคนผิดกลุ่มหนึ่งซึ่งมีทั้งข้าราชการ ผู้มีอิทธิพล รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นมาลงโทษได้ ในขณะที่มาเลเซียการดำเนินการยังเป็นไปอย่างล้าช้า ผลการขุดพิสูจน์ศพ (exhumation) ยังไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และยังไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้
(แนะนำผู้สนใจอ่านรายงานวิจัยเรื่อง “SOLD Like FISH” (https://www.fortifyrights.org/.../Fortify%20Rights... ) ของ Fortify Rights และ SUHAKAM - กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาเลเซีย ที่ศึกษาวิจัยเรื่องนี้ร่วมกัน ด้วยความเชื่อที่ว่า #ยังมีศพอีกจำนวนมากที่ถูกฝังไว้โดยไม่ได้รับความเป็นธรรม และ #ผู้กระทำผิดยังคงลอยนวล
.
สุดท้าย ต้อง ขอบคุณ และชื่นชม พ.ต.อ. ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ที่ทำคดีนี้อย่างกล้าหาญและไม่หวาดกลัวอิทธิพลใดๆ เพื่อปกป้องเหยื่อของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จนทำให้ประเทศไทยมีชื่อเสียงในด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ แม้ตัวเองต้องประสบเคาระห์กรรมความยากลำบาก ต้องออกจากราชการ ต้องจากครอบครัว และต้องลี้ภัยจากการถูกคุกคามถึงชีวิต