วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 03, 2565

ช่วงกลางมกราคมที่ผ่านมา เศรษฐีที่ร่ำรวยหลักล้านหรือพันล้านขึ้นไปกว่า 102 คน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกเก็บภาษีพวกเขา เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลังเหลื่อมล้ำขึ้นอย่างสุดขีด ในจำนวนนี้ ยังไม่มีจากไทย (ฤ เค้าเสียแล้วโดยทางอ้อม ?)



ไม่พบเจ้าสัวไทยในรายชื่อ 102 เศรษฐี เรียกร้องรัฐบาลทั่วโลก “เก็บภาษีเราเดี๋ยวนี้”

2022-02-02
ประชาไท

ช่วงกลางมกราคมที่ผ่านมา เศรษฐีที่ร่ำรวยหลักล้านหรือพันล้านขึ้นไปกว่า 102 คน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกเก็บภาษีพวกเขา เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลังเหลื่อมล้ำขึ้นอย่างสุดขีด ในจำนวนนี้ ยังไร้เงาเศรษฐี 20​ อันดับแรกของเอเชียจากการจัดอันดับล่าสุดของบลูมเบิร์ก ซึ่งรวมถึง ตระกูลเจียรวนนท์ (อันดับ 5) และ ตระกูลอยู่วิทยา (อันดับ 10)

“เก็บภาษีเราเดี๋ยวนี้”

สำนักข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า เศรษฐีกว่า 102 คนทั่วโลก ได้ลงนามในจดหมายเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกเก็บภาษีของพวกเขาเพิ่มขึ้น ในจำนวนนี้ มี อะบิเกล ดิสนีย์ ทายาทของบริษัทดิสนีย์ร่วมลงนามด้วย เธอระบุว่าระบบภาษีในปัจจุบันถูกออกแบบมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวย และเป็นระบบที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเพื่อทำให้การเก็บภาษีเป็นธรรมกับคนที่ทำงานหนักมากขึ้น และทำให้คนเหล่านี้กลับมาศรัทธาในการเมืองอีกครั้ง

“ในฐานะเศรษฐี เรารู้ว่าระบบภาษีปัจจุบันไม่เป็นธรรม” ข้อความหนึ่งในจดหมายระบุ เมื่อวันพุธที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา “เราส่วนใหญ่คงพูดได้ว่า แม้โลกจะเผชิญกับความทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริงเรากลับเห็นว่าความมั่งคั่งของเราเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีโรคระบาด ทว่า น้อยคนหรือแทบไม่มีใครเลยที่บอกได้อย่างสัตย์จริงว่าเราจ่ายภาษีในสัดส่วนที่เป็นธรรม”

ผู้ลงนามในจดหมายดังกล่าว เรียกตัวเองว่า “เศรษฐีผู้รักชาติ” และเรียกร้องเสนอให้มี “การเก็บภาษีความมั่งคั่งอย่างถาวรกับกลุ่มคนที่รวยที่สุดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสุดขีดและเพิ่มงบประมาณสำหรับการเพิ่มบริการสาธาณะอย่างยั่งยืนในระยะยาว เช่น บริการสาธารณสุข” จากรายชื่อพบว่าผู้ลงนามเหล่านี้เป็นเศรษฐีในโลกตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี แคนาดา นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก

“การฟื้นคืนศรัทธากลับมาอีกครั้งจำเป็นต้องเก็บภาษีกับคนรวย” จดหมายดังกล่าวระบุ โดยมีการเผยแพร่ออกมาขณะที่ผู้นำโลกและผู้นำธุรกิจเข้าร่วมการประชุมเสมือนของ World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเมืองดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ “โลก และทุกประเทศในโลก จะต้องเรียกร้องให้คนรวยจ่ายภาษีในสัดส่วนที่เป็นธรรม เก็บภาษีพวกเราที่เป็นคนรวย และเก็บภาษีพวกเราเดี๋ยวนี้”

กลุ่มเศรษฐีผู้รักชาติ ซึ่งรวมถึงนิค ฮานูเออร์ นักลงทุนที่มีรายได้กว่า 1 พันล้านดอลล่าร์จากการซื้อหุ้นของอเมซอนในช่วงบุกเบิก ระบุว่าการเก็บภาษีความมั่งคั่งรายปีกับบุคคลที่มีรายได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ขึ้นไปจะทำให้รัฐบาลได้งบประมาณสูงถึง 2.52 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ เงินจำนวนนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนทั่วโลกได้อย่างมหาศาล

กลุ่มเศรษฐีผู้รักชาติระบุว่าเงินจำนวนนี้เพียงพอสำหรับการ “ยกระดับคนให้พ้นจากความยากจนได้กว่า 2.3 พันล้านคน” นอกจากนี้ ยังเหลือพอสำหรับการ “ผลิตวัคซีนให้เพียงพอสำหรับทั้งโลก และสร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและประกันสังคมให้กับพลเมืองทุกคนที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อยและรายได้น้อยถึงปานกลาง (ซึ่งนับเป็นประชากรทั้งหมด 3.6 ล้านคน)”

ทั้งนี้ ข้อเสนอนี้อยู่บนเงื่อนไขว่า จะต้องเก็บภาษี 2% กับคนที่มีรายได้มากกว่า 5 ล้านดอลล่าร์ 3% กับคนที่มีรายได้มากกว่า 50 ล้านดอลล่าร์ และ 5% สำหรับคนที่รายได้หนึ่งพันล้านดอลล่าร์ขึ้นไป กลุ่มเศรษฐีระบุด้วยว่าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทำให้เห็นแล้วว่าสังคมที่เหลื่อมล้ำสุดขีดอย่างมากมีจุดจบเป็นอย่างไร ถึงเวลาที่เศรษฐีจะต้องเลือกระหว่าง “ภาษี” หรือ “คราด” เสียบประจาน

ในช่วงไล่เลี่ยกัน กลุ่ม Oxfam ได้เผยแพร่รายงานชื่อ “ความเหลื่อมล้ำฆ่าคนได้” ระบุว่าเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก 10 อันดับร่ำรวยขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 และมีทรัพย์สินมากกว่าผู้คนทั่วไปถึง 3,100 ล้านคน ขณะความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21,300 คนต่อวัน ผู้ชายที่ร่ำรวยที่สุด 252 อันดับแรกยังมีทรัพย์สินมากกว่าผู้หญิง 1,000 ล้านคนในแอฟริกา ละตินอเมริกา และประเทศแถบแคริบเบียนรวมกันด้วย

ไร้เงาเจ้าสัวไทย-เอเชีย

แม้เศรษฐีในโลกตะวันตกบางกลุ่มจะเริ่มออกมาเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเกี่ยวกับการลดความเหลื่อมล้ำด้วยเก็บภาษี แต่ดูเหมือนว่าประเด็นนี้จะยังไม่ได้รับการตอบรับจากเศรษฐีในเอเชีย จากจดหมายเรียกร้องของเศรษฐี 102 คนข้างต้น มีเศรษฐีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่พอเรียกได้ว่ามีเชื้อสายเอเชียอยู่บ้าง นั่นคือ จาฟฟาร์ ชาลชี ซึ่งเป็นลูกครึ่งอิหร่านและเดนมาร์ก

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมาว่า ปัจจุบัน เศรษฐี 20 อันดับแรกของเอเชียครอบครองทรัพย์สินกว่า 495 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นับว่าสูงขึ้นกว่าปี 2020 ถึง 33 ล้านพันดอลล่าร์สหรัฐ ฯ ในจำนวนนี้มีเศรษฐีไทยติดอันดับ 2 ครอบครัว ได้แก่ ตระกูลเจียรวนนท์ อันดับ 5 มีทรัพย์สิน 30 พันล้านดอลล่าร์ และตระกูลอยู่วิทยา อันดับ 10 มีทรัพย์สิน 19.6 พันล้านดอลล่าร์

ตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของเครือเซ็นทรัลในปีนี้ไม่ติด 20 อันดับแรก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ตระกูลเชิง เจ้าของบริษัท New World Development และ Chow Tai Fook ผู้นำด้านธุรกิจอัญมณีและอสังหาริมทรัพย์ของฮ่องกงติดอันดับ 7 แต่เรื่องราวได้ขึ้นของบลูมเบิร์กเป็นคนแรก หลังได้รับผลกระทบจากการประท้วงในฮ่องกง และวางแผนว่าจะขายบ้านต่ำกว่าราคาตลาด 50% เพื่อแก้วิกฤติที่พักอาศัยในฮ่องกง

ปัจจุบันครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย 3 อันดับแรก 2 ครอบครัวมาจากประเทศอินเดีย ได้แก่ อันดับ1 ตระกูลอัมบานี เจ้าของบริษัท Reliance Industries ครอบครองทรัพย์สินกว่า 90.3 พันล้านดอลล่าร์ฯ จากอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน และอันดับ 3 ตระกูลมิสตรี เจ้าของบริษัท Shapoori Pallonji Group ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร วิศวกรรม และผู้ถือหุ้นในบริษัท Tata Group ซึ่งเป็นเจ้าของ Jaguar Land Rover

อันดับ 2 ตกเป็นของตระกูลฮาร์โตโนจากประเทศอินโดนีเซีย เจ้าของบุหรี่ยี่ห้อ Djarum แและ Bank Central Asia ขณะที่เศรษฐีฮ่องกงยังคง 20 ติดอันดับแรกของเอเชียถึง 5 ตระกูล แม้เผชิญกับการประท้วงและวิกฤติที่พักอาศัย นอกจากนี้เป็นเศรษฐีในเกาหลีใต้ ประเทศไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่ ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่าขณะนี้ครอบครัวมหาเศรษฐีในเอเชียกำลังหันไปสนใจเกี่ยวกับธุรกิจสีเขียวและอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

แปลและเรียบเรียงจาก

https://www.theguardian.com/business/2022/jan/19/millionaires-call-on-governments-worldwide-to-tax-us-now
...

ซีพี-คิงเพาเวอร์ เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [ 4 มี.ค. 61 ]

Mar 4, 2018

ProGressTH 789

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 20.23 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายวิชัย และนางเอมอร ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการและรองประธานกรรมการกลุ่มบริษัท คิงพาวเวอร์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และผู้บริหารบริษัทฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"
นายเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ประธานและรองประธานกรรมการบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด มหาชน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด และคณะกรรมการบริหารบริษัทฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

นางนวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด มหาชน และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"

นายประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ประธานที่ปรึกษากลุ่มบริษัท ทีโอเอ และครอบครัว เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสมทบมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และโดยเสด็จพระราชกุศล ร่วมในการจัดงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว"