วันเสาร์, พฤศจิกายน 17, 2561

บทเรียนที่เราเรียนรู้ได้ จากงาน "อนาคตประเทศไทย วิสัยทัศน์ของพรรคการเมือง" - Tanakorn Wongpanya



ภาพจาก The Standard


งานที่เกษตรศาสตร์วันนี้ ครับ
.
ผู้ฟังส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักศึกษาที่ยังไม่เคยผ่านการเลือกตั้งมาเลยในชีวิต
.
และต่อไปนี้คือวิสัยทัศน์และอนาคตประเทศไทยจากแต่ละพรรคการเมืองที่เราจะต้องตัดสินใจเลือกพวกเขามาเป็นผู้แทนฯ ของเรา
.
-ประชาธิปัตย์ขอเป็นแสงสว่างประเทศไทย เพื่อออกจากวงจรนี้
.
-พรรคประชาชนปฏิรูป เน้นปฏิบัติแก้ทุกข์ร้อนประชาชน มองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นเรื่องต้องมี
.
-เพื่อไทย ‘เราจะคว้าโอกาสของโลกยุคใหม่’ ทำให้ทุกคนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
.
-พรรครวมพลังประชาชาติไทย ต้องการสร้างพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้น
.
-พรรคอนาคตใหม่มองว่าการตลาดนโยบายแก้ไม่พอ สิ่งที่ต้องการคือเจตจำนงใหม่
.
-พรรคภูมิใจไทยลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ส่งเสริมให้คนไทยเท่ากัน เท่าทัน และเท่าเทียม

..





บทเรียนที่เราเรียนรู้ได้ จากงานที่เกษตรวันนี้
.
1.ขอชื่นชมการจัดงานที่สามารถเชิญ “หัว” แม่ทัพของแต่ละพรรคมาได้ถึง 7 พรรค แม้บางคนจะไม่มา หรือคนที่มาไม่ใช่หัวหน้า แต่ถือว่าเป็นแถวหน้าของแต่ละพรรค
.
2.การจัดงานแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ โชว์วิสัยทัศน์ อนาคตประเทศ / คำถามนางงาม / คำถามทางบ้าน ทุกคนตอบได้กระชับ ตามกรอบเวลาเป็นส่วนใหญ่ มีผิดคิวเกินบ้างเล็กน้อย
.
3.ใช้พิธีกร 4 ชุด /ด้านล่างเวที/อาจารย์/บนเวที ซ้ายขวาอย่างละคน ผลัดกันใน แต่ละช่วง งานจบลงด้วยดี จบลงสวยงาม มีคนเข้ามางานเยอะ
.
4.สื่อ รู้ข่าวจากไหนถึงไปงานนี้ รู้จากพีอาร์พรรคการเมือง รู้จากกำหนดนัดหมายงานที่ส่งต่อกันมา โปสเตอร์มีการแก้ไขบุคคลที่จะมาร่วมงานอีกครั้ง ก่อนวันงาน
.
5.ที่หน้าห้อง มีจุดให้ลงทะเบียนสื่อ มีน้องหลายคนมาขอถ่ายรูปฐปณีย์ มีความรับรู้โดยธรรมชาติว่าสื่อมางานนี้จำนวนมาก ทั้งทีวี ออนไลน์ หนังสือพิมพ์
.
6.มีการเปิดบูธแต่ละพรรคภายในห้องประชุม นับได้ 6 พรรค ขาดพลังประชารัฐ ที่หัวหน้าไม่มา ทำให้ไม่มีบูธในงานไปด้วย บรรยากาศแต่ละบูธคึกคักต่างกันแล้วแต่ความสนใจของคนมางาน
.
7.คนที่มางานส่วนใหญ่เป็นนิสิต เป็นนักเรียนมัธยม เป็นคนส่วนหนึ่งที่ติดตามนักการเมืองมา และสนใจใฝ่รู้ ข้อมูลที่มหาวิทยาลัยพึงบริการต่อสาธารณะ
.
8.หัวใจที่ทำให้งานออกมาในด้านที่เป็นกระแส ถูกพูดถึงกลับเป็นเรื่องการสื่อสาร เมื่องานจบลง พิธีกรผู้ทำหน้าที่ภาคสนาม ประกาศขอความร่วมมือให้สื่อมวลชนไม่สัมภาษณ์แหล่งข่าวบริเวณหอประชุม เพราะต้องใช้สถานที่จัดกิจกรรมอื่นต่อ
.
9.เราสังเกตว่า เมื่อนักการเมืองลงเวที มี2ส่วน กลุ่มผู้สนับสนุนรอให้กำลังใจ นักเรียนนักศึกษาขอถ่ายภาพ พวกเขามุ่งไปที่บูธ เพื่อไปหาประชาชนผู้สนับสนุน
.
10.การประกาศขอความร่วมมือ มีท่าที่ที่น่าเป็นข้อสังเกต เราอยู่ที่เวที เราสังเกตเห็นผู้สื่อข่าวท่านหนึ่ง เดินไปทำความเข้าใจ พูดคุยเพื่อขอความร่วมมือในการใช้เวลาสักครู่เพื่อสัมภาษณ์แหล่งข่าว แต่ได้รับการตอบปฏิเสธผ่านไมค์ ว่าห้ามสัมภาษณ์ และมีการสื่อสารในทำนองว่า หากเสียงของผู้ประกาศเข้าไปแทรกก็เป็นเรื่องที่ต้องรับความเสี่ยงไป
.
11.จังหวะนั้นมีนักการเมืองให้สัมภาษณ์หลายคน การหันหลังเข้าสู่งาน บริเวณหน้าประตูหอประชุม นั่นเพราะต้องการได้ภาพบรรยากาศงาน ที่อบอวลไปด้วยผู้คนที่สนใจมางาน และเราต่างชื่นชมว่างานจัดได้ดี มีมาตรฐาน อีกทั้งจุดตรงนั้นคือบรรดาบูธพรรคการเมือง
.
“ขอความกรุณาไม่สัมภาษณ์กับคณะท่านวิทยากร โดยกิจกรรมของคณะไม่เอื้อให้มีการสัมภาษณ์ ทางผู้จัดเสวนา พยายามอยากให้วิทยากรมีความประทับใจกลับไป ไม่อยากให้มีการสัมภาษณ์ เพื่อจะได้มีการจัดงานดีๆ แบบนี้ต่อไป” พิธีกรประกาศ
.
12.ท่าทีต่อสื่อเราไม่สนใจมากนัก แต่ก็ยอมรับว่ามีความฉงนอยู่ในใจ เราเดินเรียกน้องนิสิตหญิงท่านหนึ่งมาแนะนำด้วยความห่วงใยว่า ให้ไปกระซิบเพื่อนหน่อยว่า ให้ใช้วิธีเชิญชวนให้ลงไปสัมภาษณ์กันที่ชั้นหนึ่ง เหมือนว่า คณะได้อำนวยความสะดวกไว้แล้ว เพื่อเป็นทางออก แต่เหมือนจะไม่ทัน ที่เราบอกน้อง เพียงเพื่อต้องการพยายามจะบอกว่า “แหล่งข่าว” “นักการเมือง” ที่เชิญมาควรให้เกียรติ และมีมารยาท เพราะ โดยบรรยากาศแล้วมันคือการขอให้ออกจากพื้นที่ไปโดยไว
.
13.เรายังคงเรียกน้องผู้ชายช่างภาพท่านหนึ่ง ที่เป็นนิสิตมาบอกอีกครั้งว่า สื่อสารอีกที แบบที่บอกไปนะ หรือ ค่อยๆเดินไปแจ้ง
.
14.เรายังสงสัยต่อท่าทีการการสื่อสารของพิธีกร เรื่องไม่อยากให้มีการสัมภาษณ์ เพราะ แท้จริงแล้ว ทั้งผู้ให้สัมภาษณ์ และ ผู้สัมภาษณ์ต่างตกลงกันแล้ว ความกังวลมาจากสิ่งใด หรือวิทยากรขอร้องผู้จัดงานไว้ ว่าไม่ให้มีการสัมภาษณ์ต่อ
.
15.ทั้งหมดนี้เพียงเล่าให้ฟัง จากที่เห็นและเป็นไป เรายังคิดว่างานนี้เนื้อหาสนุก และ มีความแตกต่างหลากหลาย มีสื่อมวลชนมาเกาะติดได้จำนวนมาก
.
16.หัวใจของการทำงาน คือ การสื่อสาร และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพคือการสื่อสารอย่างมืออาชีพ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเคร่งครัดแต่ไม่เคร่งเครียด
.
17.ขอให้กำลังใจคนทำงานที่ตั้งใจทำงาน ขอให้ปรับปรุงส่วนที่ต้องแก้ต้องปรับ และขอให้งานแบบนี้มีอีก และเรียนรู้ต่อปัญหาครั้งนี้ที่เกิดขึ้น
.
18.เราก็จะเรียนรู้ไปด้วยกันนี้แหละ เพราะ งานก็ต้องทำ ข่าวก็ต้องเสนอ พูดง่ายๆ เราต่างมีหน้าที่ของกันและกัน พึงประสานพลังต่อกันเป็นดีที่สุด นั่นเอง

ที่มา FB

Tanakorn Wongpanya