วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 18, 2561

2 ข่าวนี้ต่อเนื่องกัน (จะมีสลิ่ม ออกมากล่าวหานายกว่าขายชาติมั๊ยน๊อ?)



Athasit Poolsawat จะมีสลิ่ม ออกมากล่าวหานายกว่าขายชาติมั๊ยน๊อ?

Apirux Wanasathop สองสามวันนี้ คสช ออก ม44 ถี่ๆมีผลติดๆกันหลายฉบับ ล้วนขี้ๆ
ทั้งเอื้อ ปย ทุนใหญ่(ยกเว้น ภงด)
สั่งการเกี่ยวกับจัดเลือกตั้ง(ปาดหน้า กกต)
และอื่นๆกำลังตามมาติดๆ
นี่คือการทิ้งทวน???

ooo


วัดใจ’บิ๊กตู่’อาลีบาบาซื้อที่ แลกลงทุนหมื่นล้านบูมอีอีซี





17 November 2018
ประชาชาติธุรกิจ


“แจ็ก หม่า” ยื่นข้อเสนอใหม่ “ฮับโลจิสติกส์” ในไทย ขอเปลี่ยนจากการ “เช่าที่ดิน” เป็น “ซื้อที่ดิน” แทน ปั้นฮับไทยให้ยิ่งใหญ่ EEC-BOI หาช่องดึงอาลีบาบาลงทุน เปิด พ.ร.บ. EEC ให้ถือกรรมสิทธิ์ได้แค่เช่า 49+50 ปี พ.ร.บ. BOI ให้ซื้อที่ดินได้แต่สิทธิประโยชน์น้อยกว่า ส่วน WHA มั่นใจดีลเช่าที่ยังไม่ล้ม


ระยะเวลาได้ผ่านมากว่า 6 เดือนแล้ว หลังจากที่ “แจ็ก หม่า” ประธานบริษัทอาลีบาบากรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้ลงนามความร่วมมือด้าน Smart digital hub and digital transformation strategic partnership ซึ่งประกอบไปด้วย MOU 4 ฉบับกับรัฐบาลไทย โดยหนึ่งในนั้น อาลีบาบาได้เตรียมแผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hub (2561-2562) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท ทว่าจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง แต่มีแนวโน้มที่จะขอเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่ง “กรรมสิทธิ์” ในที่ดินจากการ “เช่า” มาเป็น “ซื้อ” ที่ดินแทน

ข้อเสนอใหม่ของแจ็ก หม่า

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานระหว่างการเยือนจีนของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าชมงาน International China Import-Export เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการหารือระหว่างฝ่ายไทยกับแจ็ก หม่า ประธานบริษัทอาลีบาบาในเรื่องของการ transform ประเทศไทยสู่ digital 4.0 โดยแจ็ก หม่า ได้ยื่น “ข้อเสนอใหม่” ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น hub logistic ที่มากกว่าการเป็น hub ธรรมดา ๆ ตามความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและจีน รวมถึงการสร้างศูนย์พัฒนาบุคลากรไทย-จีน โดยอาลีบาบาต้องการที่จะขอ “ซื้อที่ดิน” ในประเทศไทยแทนการ “เช่าที่ดิน” ที่ตกลงเบื้องต้นกันไว้

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่ผ่านมาบริษัทอาลีบาบาได้ทำข้อตกลงกับภาคเอกชนคือ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เพื่อขอเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสมาร์ทโลจิสติกส์

“ขณะนี้ทีม EEC และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้รับทราบข้อเสนอใหม่ของอาลีบาบาแล้ว โดยมีการสั่งการให้ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกันในการหาทางออกให้กับข้อเสนอซื้อที่ดินว่าจะสามารถทำได้อย่างไร และเกี่ยวพันกับกฎหมายฉบับใดที่เปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้บ้าง”

กฎหมาย EEC ให้ได้แค่เช่า 99 ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561) ได้กำหนดไว้ในมาตรา 52 นักลงทุนจะไม่สามารถใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อการ “ซื้อ” ที่ดินลงทุนได้ แต่จะทำได้เพียงการ “เช่า” พื้นที่ตามกฎหมายเท่านั้นคือ แบ่งการอนุมัติให้เช่าออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกอนุมัติระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี และระยะที่สองสามารถต่ออายุการเช่าได้อีกไม่เกิน 49 ปี เมื่อรวม 2 ระยะแล้วไม่เกิน 99 ปี ดังนั้นในกรณีที่นักลงทุนต้องการจะซื้อที่ดินจะต้องใช้กฎหมายฉบับอื่นที่ว่าด้วยเรื่องของการขายที่ดิน เช่น กฎหมายที่ดินเพื่อนำมาพิจารณาเพื่อขอซื้อที่ดินแทนกฎหมาย EEC เพื่อลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวที่นักลงทุนสนใจ

“หากนักลงทุนจะซื้อที่ดิน เราไม่ขาย ถามว่าในกฎหมายเราให้เช่าได้อย่างเดียวใช่หรือไม่นั้น มันแล้วแต่กรณี มันมีหลายอันที่เราไม่ค่อยเกี่ยวข้องคือเรื่องของที่ดิน ซึ่งในกฎหมาย EEC พูดถึงเรื่องที่ดินน้อยมาก แต่กฎหมายอื่นให้ในเรื่องของที่ดิน เช่น กฎหมายของ BOI ถ้าได้การส่งเสริมบางกิจการก็สามารถซื้อที่ดินได้และที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมก็ซื้อได้ แต่ใน EEC ไม่ได้ เราไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ซื้อ” นายคณิศกล่าว

BOI ซื้อได้แต่เลิกต้องคืน

นางสาวพจณี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการ EEC กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนที่มีความต้องการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนในพื้นที่ EEC นั้น “สามารถทำได้” โดยมีช่องให้ใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนด เช่า เรื่องของเงินลงทุนส่วนใหญ่จะสูงเป็นระดับหลาย ๆ พันล้านบาท รวมถึงจะต้องเป็นการลงทุนที่นำเอาห่วงโซ่ทั้งคลัสเตอร์มาลงทุนด้วย หากเป็นกิจการเดียวลงทุนครั้งเดียวแล้วก็ถือว่า “ไม่เข้าเงื่อนไขของ BOI ไม่สามารถซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างและลงทุนได้”

“ตามกระบวนการหากเป็นอุตสาหกรรมเล็ก ๆ กิจการธรรมดาจะขอรับการส่งเสริมที่ BOI หากเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) จะมาคุยที่สำนักงาน EEC เพราะนักลงทุนเหล่านี้มีซัพพลายเชนมาก จะดึงกันมาลงทุนทั้งยวง” น.ส.พจณีกล่าว

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนระบุไว้ในมาตรา 27 “ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบการกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการ (มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) พิจารณาเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฏหมายที่ดินเลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริมหรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ มิฉะนั้นให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน”

ข้อดี-เสีย 2 พ.ร.บ.

อย่างไรก็ตาม การใช้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป กล่าวคือ พ.ร.บ. EEC ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินใน “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” ด้วยการ “เช่า” แต่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 1 ชั่วอายุคนคือ 49+50 ปี พร้อมกับได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ อาทิ การ “ยกเว้น” หรือลดหย่อนภาษีเป็นกรณีพิเศษ, ยกเว้นการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา, สามารถใช้เงินตราต่างประเทศในการชำระค่าสินค้าได้, สามารถนำเข้าผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมไปถึงการขอ visa

ส่วน พ.ร.บ. BOI ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวในการ “ซื้อที่ดิน” ได้ แต่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประเภทกิจการนั้น ๆ เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่บริษัทอาลีบาบาที่จะเข้ามาลงทุนตั้ง smart digital hub จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจ

WHA มั่นใจดีลยังไม่ล้ม

ด้านนางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท WHA Corporation กล่าวว่า ยังไม่สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำสัญญากับบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนได้ เพราะ “เป็นไปตามข้อตกลง” แต่ยืนยันว่าได้มีการทำสัญญาไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม โดยผู้ประกอบการรายดังกล่าวจะซื้อที่ดินประมาณ 130,000 ตร.ม. ทั้งนี้ยังมีกระบวนการด้านการเงินตามรายละเอียดของสัญญาที่ตกลงกันไว้แล้วด้วย