วันจันทร์, พฤศจิกายน 10, 2557

เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น....ขาขึ้นไปก่ายบนหน้าผาก? หวั่นพ.ร.บ.ต่างด้าวทำลงทุนซบหลังสนช.เพิ่มเงื่อนไขควบคุมบริหาร

ภาพจาก Bangkok Post
Map Ta Phut industrial estate, Rayong province (AFP photo)
ที่มา สยามธุรกิจ
[ ฉบับที่ 824 ประจำวันที่ 1-9-2007 ถึง 4-9-2007 ]

การถอนร่างพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกลับไปปรับปรุงใหม่ หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.มีมติเห็นชอบแต่ให้แก้ไขคำนิยาม “คนต่างด้าว” ให้รัดกุมขึ้น โดยให้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจการบริหารจัด การและควบคุมของคนต่างด้าวเข้าไปด้วยนั้น นาย พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจ เกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่าการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจการบริหารจัดการและควบคุมเข้าไปด้วย นอกเหนือจากเงื่อนไขเดิมที่กำหนดการถือหุ้นและการออกเสียงห้ามเกินกึ่งหนึ่ง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเข้าข่ายนอมินี ขึ้นอยู่กับมุมมองว่าแต่ละคนมองอย่างไร แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าร่างเดิมที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้ สนช. พิจารณาถือว่ารัดกุมพออยู่แล้ว การเพิ่มเงื่อนไขด้านการบริหารจัดการเข้าไปอีกเป็นการกระทำที่เข้มงวดเกินไป

“ในความเห็นของผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียด มากขนาดนั้น แค่เงื่อนไขสองข้อคือกำหนด การถือหุ้นกับการออกเสียงก็น่าจะเพียงพอแล้ว ประกอบกับในอนาคตธุรกิจที่ต้องปกป้องก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ยกเว้นธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เมื่อเราต้องการเงินทุนต่างชาติเข้ามามากๆ แต่กฎหมายมีเงื่อนไขหยุมหยิมเกินความจำเป็นก็อาจทำให้นักลง ทุนต่างชาติขาดความสนใจเข้ามาลงทุนได้” นายพรศิลป์ กล่าว

ด้านนายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า สนช.มีมติให้เพิ่มนิยามคนต่างด้าวอีก 2 เรื่อง คือให้เพิ่มเกณฑ์การพิจารณาคนต่างด้าวเรื่องอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการฝ่ายข้างมาก และอำนาจชี้นำการดำเนินการของกิจการ เพื่อให้นิยามความหมายของคนต่างด้าวมีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กำชับว่าการนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กลับมาทบทวนต้องทำอย่างรอบคอบที่สุด เพราะการแก้ไขนิยามคนต่างด้าวที่สนช.ลงมติเห็นชอบ นั้น มีความเข้มงวดมากกว่าที่รัฐบาลและกรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอ รวมทั้งอาจมีผลกระทบกับพ.ร.บ. มาตรา 10 การให้สิทธิผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไข กฎหมาย และมาตราอื่นๆ

นายคณิสสรกล่าวต่อไปว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าการทบทวนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในวาระนี้จะเสร็จสิ้นเมื่อใด แต่ทั้งนี้จำ เป็นต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ซึ่งต้องมีการฟังความคิดเห็นจากนักธุรกิจไทยและต่างชาติ รวมทั้งนักวิชาการด้านต่างๆ และพยายามไม่ให้มีผลกระทบต่อการลงทุน แต่จะสร้างความมั่นใจกับนักลงทุนให้มากที่สุด และเช่นเดียวกันหากกฎหมายมีความชัดเจน จะทำให้เกิดความโปร่งใส และมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี เมื่อมาประกอบธุรกิจในไทย อีกทั้งจะเกิดความสมดุลในการเปิดเสรีทางการค้าและการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ ต่างด้าวในประเทศอีกด้วย
...

ทูตญี่ปุ่นเตือนนักลงทุนญี่ปุ่นเกินครึ่งหนีแน่ ถ้าสนช. แก้พ.ร.บ.ต่างด้าว

Japan envoy warns of investor exodus 
FBA changes to affect 'at least half' of firms 

ข่าว Bangkok Post