วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 11, 2568

จดหมายจาก อานนท์ นำภา : "พลาด ก็ล้มทั้งกระดาน ไม่พลาด ก็ล้มทั้งกระดาน" ภูมิปัญญา มองเห็นได้ทั้ง ในหนัง ในละคร ในหนังสือ กระทั่งในชีวิตจริง

.
จดหมายวันที่ 10 ก.พ. 68
.
“จังหวะเวลาที่เหมาะสม” อาจมีได้ 2 แบบ แบบแรก คือจังหวะเวลาที่เหมาะสมอันอาจประมาณได้ เช่น ชั่วเวลาต้มน้ำให้เดือด ต้มไข่ให้สุก หมักสุราให้เลิศรส การผลิดอกออกผลของพืชพรรณธัญญาหาร การตั้งครรภ์ของสิ่งมีชีวิต
.
แบบที่สอง คือ จังหวะเวลาที่เหมาะสมซึ่งไม่อาจคาดประมาณได้ เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นมาถึง สิ่งนั้นปรากฎขึ้น เป็น “จังหวะเวลาที่เหมาะสม” จังหวะเวลาที่เหมาะสมอย่างหลังจึงยากกว่าทั้งในการจัดการและในการ ”หยั่งรู้“ หรือ “ประเมิน” ได้ว่าเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมหรือไม่
.
การเตรียมพร้อมจึงสำคัญสำหรับจัดการเมื่อถึงจังหวะ เวลาที่เหมาะสม ซึ่งไม่อาจคาดประมาณว่าจะมาถึงปรากฏขึ้นเมื่อใด สำคัญคือ การประเมินว่าช่วงไหน เวลาไหน คือช่วงเวลาหรือจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งส่วนนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ
.
พลาด ก็ล้มทั้งกระดาน
ไม่พลาด ก็ล้มทั้งกระดาน
.
ปรัชญา หรือ ภูมิปัญญาเช่นนี้ มีทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก แฝงเร้นให้อาจมองเห็นได้ทั้ง ในหนัง ในละคร ในหนังสือ กระทั่งในชีวิตจริง อะไรหรือช่วงเวลาใดคือจังหวะเวลาที่เหมาะสม จึงมีใครครุ่นคิดตั้งแต่เรื่องต้มน้ำชงกาแฟ ต้มไข่ให้สุก กระทั่งการยื่นประกันตัว หรือการให้ประกันตัว รวมทั้งอีกหลายเรื่องในช่วงชีวิตนี้
.
10 กุมภาพันธ์ 2568
อานนท์ นำภา

https://www.facebook.com/xannth.na.pha/posts/28458627003751992
จดหมายอยู่ในคอมเมนต์