![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhQA79goWuD8sBzgxzY6vLnHL9VCz3wRoYJRJCO5IHSEuuS987oJ_kOmpCLoUDR-1VxpN428J33CZnSEjlPQE1aqusTBs0Kl23_8-bpZqXHpVYHMN3o9VH9jCQH2QIRHz2BYvMaiVeibAK78qqZQi169hXgUfme8EK3LNI3LLyhmnjyJCgj7sMLXw/w377-h471/476555906_1013351454160424_4503475611471485037_n.jpg)
Brand Inside
Yesterday
·
ย้อนรอยทีมกฎหมายกลุ่มซีพี ในรอบ 20 ปี มีผลงานเด่นอะไรบ้าง
.
ทีมกฎหมาย กลุ่มซีพี ถือเป็นหนึ่งในทีมที่เก่งกาจในฝั่งเอกชน เพราะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามายังบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
Brand Inside จึงรวม 6 ผลงานเด่นของทีมกฎหมายกลุ่มซีพี ที่ใช้ข้อกฎหมายแก้ปัญหา ตั้งแต่ดีลซื้อหุ้นออเรนจ์ในราคา 1 บาท จนถึงกรณีล่าสุดที่ชนะคดีกรณี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. เตือนโฆษณาแทรกบน True ID
.
คดีนี้มีจุดเริ่มต้นที่ ทรูดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิง True ID ได้ยื่นฟ้องต่อศาล โดยระบุว่าหนังสือเตือนจาก กสทช. ที่ออกมาได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท เนื่องจากระบุให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามกฎ Must Carry อย่างเคร่งครัด ห้ามแทรกโฆษณาเพิ่มเติมเมื่อเผยแพร่เนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มอื่น
.
ในกระบวนการพิจารณาคดี ศาลระบุว่า True ID ถือเป็นผู้ให้บริการ OTT (Over-The-Top) ซึ่งยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนจาก กสทช. ว่าจะต้องมีใบอนุญาตหรือไม่ แตกต่างจากผู้ให้บริการ IPTV, เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่ต้องได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายของ กสทช.
.
ศาลเห็นว่าการที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ มีมติให้ตรวจสอบและออกหนังสือเตือนไปยังแพลตฟอร์มเอกชนโดยไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
.
#CP #TrueID #BrandInside #ธุรกิจคิดใหม่
ย้อนรอยทีมกฎหมายกลุ่มซีพี ในรอบ 20 ปี มีผลงานเด่นอะไรบ้าง
.
ทีมกฎหมาย กลุ่มซีพี ถือเป็นหนึ่งในทีมที่เก่งกาจในฝั่งเอกชน เพราะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามายังบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
Brand Inside จึงรวม 6 ผลงานเด่นของทีมกฎหมายกลุ่มซีพี ที่ใช้ข้อกฎหมายแก้ปัญหา ตั้งแต่ดีลซื้อหุ้นออเรนจ์ในราคา 1 บาท จนถึงกรณีล่าสุดที่ชนะคดีกรณี พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. เตือนโฆษณาแทรกบน True ID
.
คดีนี้มีจุดเริ่มต้นที่ ทรูดิจิทัล กรุ๊ป ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิง True ID ได้ยื่นฟ้องต่อศาล โดยระบุว่าหนังสือเตือนจาก กสทช. ที่ออกมาได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท เนื่องจากระบุให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลต้องปฏิบัติตามกฎ Must Carry อย่างเคร่งครัด ห้ามแทรกโฆษณาเพิ่มเติมเมื่อเผยแพร่เนื้อหาผ่านแพลตฟอร์มอื่น
.
ในกระบวนการพิจารณาคดี ศาลระบุว่า True ID ถือเป็นผู้ให้บริการ OTT (Over-The-Top) ซึ่งยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนจาก กสทช. ว่าจะต้องมีใบอนุญาตหรือไม่ แตกต่างจากผู้ให้บริการ IPTV, เคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียมที่ต้องได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายของ กสทช.
.
ศาลเห็นว่าการที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ มีมติให้ตรวจสอบและออกหนังสือเตือนไปยังแพลตฟอร์มเอกชนโดยไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
.
#CP #TrueID #BrandInside #ธุรกิจคิดใหม่
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1013351447493758&set=a.628388912656682