![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjCpvRDB5oVGCgPH-4MDzMeAF37PEXhYwb2muNj_IebdzEFQmFHxTLLEVjyqsekhslOrNoOGz6i_Udwj3Nq5LOiPQ-BgQEaRDY9LMh_E7TZPcYkAUSeIfHn67zNRxOmKzx-TQ4_mcalnI59J93Wo9Yo8L0XW_w0V1WaScvfHu6YcbR9Uh1t4HCgMQ/w395-h494/476147947_10162145388436649_7327394413915418884_n.jpg)
Pipob Udomittipong
17 hours ago
·
KKP Research “รัฐบาลทุ่มงบประมาณ 1.4 แสนล้านบาท หรือ 0.7% ของ GDP แต่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้แค่ 0.3%” ตัวคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier Effect) จากโครงการนี้จะเกิดขึ้นในในระดับต่ำมากเพียงประมาณ 0.1-0.3 เท่า หรือการแจกเงิน 100 บาทจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงประมาณ 10-30 บาทเท่านั้น เนื่องจาก
(1) ระดับหนี้ครัวเรือนสูง เงินถูกนำไปใช้เพื่อการชำระหนี้ ไม่ได้เพิ่มการบริโภคใหม่ที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ (2) การใช้จ่ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจนอกระบบ วัดไม่ได้ World Bank บอกว่า เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่ประมาณ 45% ของ GDP คิดเป็นลำดับที่ 8 ของโลก
และ (3) ทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ทำให้แม้มีการแจกเงินแต่ไม่พอจะชดเชยปัจจัยลบอื่น ๆ (สินเชื่อภาคธนาคารที่ยังมีทิศทางหดตัวต่อเนื่อง รายได้ของครัวเรือนยังคงอ่อนแอ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง)
ควรหยุดแจกเงินหมื่นได้แล้วครับ สิ้นเปลืองมาก
https://thestandard.co/10k-distribution-lessons/
https://www.facebook.com/photo/?fbid=10162145388431649&set=a.10150096728651649https://thestandard.co/10k-distribution-lessons/